Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ปริศนาธรรม (4) “แนวทาง” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (4) “แนวทาง” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

4.1 แนวทางของศาสนาระดับโลกธรรมอยู่ที่ การให้ “ธรรมชาติ” เป็นศูนย์กลาง

4.2 แนวทางของศาสนาระดับโลกุตรธรรมอยู่ที่ การให้ “มนุษย์” เป็นศูนย์กลาง

4.3 แนวทางของศาสนาระดับอมตะธรรมอยู่ที่ การให้ “คนกลาง” เป็นศูนย์กลาง

อัปเดต:

ตอบ คุณ T.K. ธรรม....ที่เคารพ... คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับ?

1. “Manoch” คือ ชื่อจริง และ “P” ก็เป็นนามสกุลจริง ๆ ของผมด้วยครับ

ผลงานที่ตีพิมพ์ไปแล้ว 7 เล่ม ผมก็ใช้ชื่อนี้มาตลอด (ขอโทษที่พูดเรื่องส่วนตัว)

2. ผมไม่เคยเปลี่ยนชื่อ และก็ไม่เคยโดนลบแอคเคาน์เลยครับ (มีแต่ผมลบเอง 1 ข้อ)

3. ทุกครั้งที่ตั้งคำถาม ผมจะให้ข้อมูล รายละเอียดเท่าที่จะให้ได้ ถึงที่มาของการตั้งคำถามนั้น แต่ สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้สอนธรรมะที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ “การเปรียบเทียบกัน” แม้มิได้จงใจกระทบกระทั่งกัน เพราะหากผู้สอนไม่แตกฉานเพียงพอ หรือรู้เพียงมิติใดมิติหนึ่งเท่านั้น ก็อาจจะสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนจนพลัดตกไปสู่หลักปฏิบัติของลัทธิ nilhil หรือลัทธิเต๋า (ธรรมะระดับโลกธรรม) โดยไม่รู้ตัว และถึงขั้นทำลายล้างคำสอนดั้งเดิมของศาสนาพุทธ (ธรรมะดับโลกุตรธรรม) เลยทีเดียว

อัปเดต 2:

4. การมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่มีใครมีข้อมูลเพียบพร้อมครบถ้วน แต่บางครั้งผู้ที่ไม่รู้จริง แต่มีอำนาจได้เข้ามาร่วมวงด้วยจนก่อให้เกิดความสับสน สร้างความเสียหาย และสร้างบรรทัดฐานที่ผิดจนไม่อาจจะแก้ไขหรือลบล้างได้ง่าย ๆ

5. การเข้าถึง “ธรรมะ” นั้นไม่ยาก แต่เพราะความหมายดั้งเดิมถูกบิดเบือนไป ส่วนอื่น ๆ จึงถูกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ (จากรากฐาน, เป้าหมาย, หน้าที่, แนวทาง และตัววัดผลสำเร็จของธรรมะ) เพราะกลุ่มประชาชนที่ใช้ภาษาอินโด-ยุโรป ได้แก่ ภาษาในยุโรป อาร์เมเนียน เปอร์เชี่ยนและสันสกฤต จะมีโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่คล้าย ๆ กัน และมีรากศัพท์อันเดียวกัน เพราะชาวอารยันที่เป็นบรรพบุรุษของชาวอินเดียนั้นใช้ภาษาที่มีรากมาจากภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป ซึ่งเวลาต่อมากลายเป็นแม่ของภาษาต่างๆในอินเดีย เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาเบงกาลี ฯลฯ

อัปเดต 3:

6. ถ้าผมสอนผิด คุณก็ชี้แจงมาซิครับว่า ผิดตรงไหน? อย่างไร? จะขอบพระคุณยิ่ง เพื่อข้อมูลนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผม คุณ และคนอื่น ๆ ที่ศึกษาด้วยกันใน yahoo รู้รอบ ผมพยายามหักล้างเฉพาะคำสอนที่ตรวจสอบแล้วว่าไม่ถูกต้องเท่านั้น และต้องขอโทษที่การตั้งคำถามนั้น ทำให้เกิดคว���มเข้าใจผิด อย่ารีบตัดสินสิ่งใดด้วยอคติ ควรศึกษาคำตอบก่อนไม่ดีกว่าหรือ? ผมเชื่อว่า คุณ T.K. ธรรม....เป็นคนดี มีเหตุ มีผล และก็เคารพในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่นครับ

อัปเดต 4:

หมายเหตุ

1. กลุ่มอเทวนิยม (ทัศนะที่ไม่เชื่อและไม่ยอมรับว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1.1 โลกธรรม

1.2 โลกุตรธรรม

2. กลุ่มเทวนิยม (ทัศนะที่เชื่อว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 3 ระดับ คือ

2.1 โลกธรรม เช่น ศาสนาเต๋า ฯลฯ

2.2 โลกุตรธรรม เช่น ศาสนาพุทธ ฯลฯ

2.3 อมตะธรรม เช่น ศาสนาคริสต์ ฯลฯ

อัปเดต 5:

ตอบ คุณเอก ที่เคารพ

ผมต้องขอบพระคุณ...ท่านพุทธทาสภิกขุ

ผมต้องขอบพระคุณ...ท่าน ป. อ.ปยุตฺโต

ผมต้องขอบพระคุณ...ท่านโพธิรักษ์

ผมต้องขอบพระคุณ...คุณเอก (ผมติดตามผลงานของคุณเอกด้วย)

ผมต้องขอบพระคุณ...คนที่แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย

ผมต้องขอบพระคุณ...คนที่แปลพระคัมภีร์เป็นภาษาไทย

ผมต้องขอบพระคุณ...google

ผมต้องขอบพระคุณ...yahoo รู้รอบ

ผมต้องขอบพระคุณ...ญาติธรรมอีกจำนวนมากที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกัน

ผมได้รับความรู้จากบุคคลเหล่านี้ และได้รับจากการศึกษาด้วยตนเองเป็นการส่วนตัว

อัปเดต 6:

จุดประสงค์เพื่อจะบอกว่า หากมอง “ธรรมะทั้งปวง” (โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม) แบบ “เป็นหนึ่ง” จะพบว่า “ธรรมะทั้งปวง” นั้นเป็น “ปริศนาธรรม” ซ้อน “ปริศนาธรรม” ยิ่งพบ “โลกธรรม” ชัดเจนเท่าใด ก็จะพบ “โลกุตรธรรม” และ“อมตะธรรม” ชัดเจนเท่านั้น

โดยความต่างกันของ “ธรรมะทั้งปวง” กลับจะเติมเต็มซึ่งกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ไม่มีธรรมะใดที่เป็นเอกเทศจากธรรมะอื่น และไม่มีธรรมะใดที่ทำหน้าที่อย่างครบถ้วนโดยตัวมันเอง “ธรรมะทั้งปวง” ล้วนเป็นตัวตนและเป็นเงาของกันและกัน จนไม่อาจแยกออกจากกันได้ง่าย ๆ

คำตอบอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่การได้ไตร่ตรองอะไรบางอย่างที่แฝงอยู่ใน “ปริศนาธรรม” อาจช่วยให้เรามองเห็นสิ่งจำเป็นอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตและการเปิดรับแนวคิดของผู้อื่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจศาสนาของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อัปเดต 7:

เพราะฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่มีจิตใจยึดมั่นถือมั่นใน “ธรรมะ” เพียงมิติใดมิติหนึ่งอย่างสุดโต่ง จึงเป็น “ความมืดบอด” ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง “ธรรมะทั้งหมด” เพราะยิ่งเขาพบ “แก่น” ในมิติที่ 1 ชัดเจนเท่าใด ก็จะไม่สามารถพบ “แก่น” ในมิติที่ 2 และมิติที่ 3 ได้เลย เพราะเรื่องๆ เดียวกัน ถ้ามองในมิติที่ 1 จะเป็นอย่างหนึ่ง ถ้ามองในมิติที่ 2 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในมิติที่ 3 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและส่วนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาทดแทนกันได้ โดย “แก่น” ของมิติใดก็ตาม เมื่อย้ายไปอยู่ในอีกมิติหนึ่ง ก็จะเป็นแค่เพียง “เปลือกกระพี้” เท่านั้น เราจึงไม่อาจยึดเอาข้อสรุปจากมิติใดมิติหนึ่งนั้น มาเป็นคำตอบของทั้งหมดได้

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    คุณ Manoch P มีความรู้ความคิดทางธรรมะ ลึกซึ้งมากๆเลยนะครับ

    ไม่ทราบว่าศึกษาจากไหน และผมสงสัยว่าจริงๆแล้ว คุณ Manoch P นับถือศาสนาพุทธ หรือ คริสต์ ครับ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    .ใช่เลยตุณเอกเค้า นับถือศาสนาอะไรครับ ต้องการอะไรมาถามทำนองนี้จัง ใคร งะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เจ้าของกระทู้ได้ตั้งคำถามไว้ แล้วก็เฉลยคำตอบที่เขาคิดว่าคนอื่นจะต้องตอบในมุมมองของแต่ละคนที่ได้รับการสั่งสอนมาจากศาสนาของตน ผมยอมรับว่า การตอบคำถามเหล่านี้ จึงยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่ท้าทายนะ

    ผมเพียงแต่คาดเดาเอาเองจากข้อมูลที่มีอยู่ว่า

    - เขาต้องการให้เรามุ่งตรงไปที่ธรรมะเป็นหลัก เพราะธรรมะนั้นเป็นสากลที่ทุกคนยอมรับ

    - เขาต้องการให้เราค้นหาคำตอบนั้นด้วยตนเอง ไม่ใช่ไปลอกคำตอบของคนอื่นเอามาตอบ

    - เขาต้องการให้เราพิจารณาจุดที่ตนเองยืนอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ และจุดที่คนอื่นยืนอยู่ด้วยว่าต่างจากจุดของตนอย่างไร

    - เขาต้องการให้เราเรียนรู้จากมุมมองอื่นที่แตกต่างออกไปด้วย

    - ข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด คือ พวกเราหันมาให้ความสนใจกับศาสนาพุทธของเรามากขึ้น

    มัวไปค้นหาคำตอบอยู่ กว่าจะหาคำตอบได้

    เวลาก็หมดซะแล้ว ขอขยายเวลาตอบออกไปหน่อยได้ไหม?

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    แนวทางของธรรมะคือความจริง ที่ว่าไม่มีใครหักล้างได้แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ใหน(ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา)

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เหตุให้เกิดศาสนาในโลก

    มนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ได้ประสบกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ซึ่งมีทั้งความน่ากลัว แปลกประหลาด และมหัศจรรย์สำหรับตัวมนุษย์ เช่น ความมืด ความสว่าง พายุพัด ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ไฟป่า เป็นต้น และด้วยความที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านั้น มนุษย์จึงเกรงกลัวปรากฏธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาสิ่งที่จะมาคุ้มครองป้องกันตนจากภัยอันตรายที่คิดว่าจะได้รับจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ รวมทั้งแสวงหาสิ่งซึ่งเชื่อว่าสามารถคุ้มครองให้อยู่อย่างเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณียอมรับนับถือพลังลึกลับทางธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ และได้สร้างขนบธรรมเนียมที่คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น และควรประพฤติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยอมรับนับถือ จากความเชื่อของกลุ่มคน และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ จึงค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นลัทธิ และศาสนาต่างๆ นั่นเอง

    เหตุให้เกิดศาสนาในโลกสรุปได้ดังนี้

    เกิดจากความไม่รู้ ( อวิชชา ) ความไม่รู้ ได้แก่ ความไม่รู้เหตุรู้ผล เริ่มแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ทางดาราศาสตร์ ไม่รู้ชีววิทยา และไม่รู้จักธรรมชาติอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อมีความไม่รู้เหตุผลก็เกิดความกลัวในพลังทางธรรมชาติ ต้องการความช่วยเหลือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือตน จึงมีการส ร้ างขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อบูชาเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถช่วยให้มนุษย์มีความอยู่รอดไม่มีภัยต่อๆ ไป

    เกิดจากความกลัว มนุษย์จะอยู่ในโลกได้ต้องมีหน้าที่ คือ การต่อสู้กับธรรมชาติ และสู้สัตว์ร้ายนานาชนิด และโดยเฉพาะกับมนุษย์ด้วยกันเอง ยามใดที่เราสามารถเอาชนะธรรมชาติหรือคนได้ ความเกรงกลัวธรรมชาติ สัตว์ร้าย หรือมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ถ้าไม่สามารถต่อสู้ได้ มนุษย์จะเกิดความก ลั วต่อสิ่งเหล่านั้น และในยามนั้นเอง ที่มนุษย์ต้องพากันกราบไหว้บูชา และแสดงความจงรักภักดี ทำพิธีสังเวยเซ่นไหว้ต่อธรรมชาติดังกล่าว ด้วยความหวังหรืออ้อนวอนขอให้สำเร็จต��¸²à¸¡à¸„วามปรารถนาอันเป็นผลตอบแทนขึ้นมาเป็นความสุข ความปลอดภัย และอยู่ได้ในโลก

    เกิดจากความจงรักภักดี ความจงรักภักดีเป็นศรัทธาครั้งแรกที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยยอมเชื่อว่า เป็นกำลังก่อให้เกิดความสำเร็จได้ทุกเมื่อ ในกลุ่มศาสนาที่นับถือพระเจ้า ( ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ) มุ่งเอาความภักดีต่อพระเจ้าเป็นหลักใหญ่ในศาสนา ในกลุ่มชาวอารยันมี ศ าสนาพราหมณ์ ( ฮินดู ) มีคำสอนถึงภักติมรรค คือ ทางแห่งความภักดี อันจะยังบุคคลให้ถึงโมกษะ คือหลุดพ้นได้ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับว่าศรัทธา หรือความเชื่อ ความเลื่อมใสเท่านั้นที่จะพาข้ามโอฆสงสารได้ เมื่อเป็นดังนี้แสดงว่ามนุษย์ยอมตนให้อยู่ใต้อำนาจของธรรมชาติเหนือตน อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองซึ่งเรียกว่าเทพเจ้า หรือพระเจ้า อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดตามมาคือมนุษย์ยอมให้เครื่องเ ซ่น สังเวยแก่ธรรมชาตินั้นๆ ด้วย ลักษณะนี้จึงเท่ากับมนุษย์เสียความเป็นใหญ่ในตน ยอมอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่ตนคิดว่ามีอำนาจเหนือตน

    เกิดจากความอยากรู้เหตุผล ( ปัญญา ) ศรัทธาอันเกิดจากปัญญาคือมูลเหตุให้เกิดศาสนาอีกทางหนึ่ง แต่ศาสนาประเภทนี้มักเป็นฝ่ายอเทวนิยม คือไม่สอนเรื่องเทพเจ้าสร้างโลก ไม่ถือเทพเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนา หากแต่ถือความรู้ประจักษ์จริงเป็ น สำคัญ เช่น พระพุทธศาสนา ความเน้นหนักของพระพุทธศาสนา คือ ญาณ หรือปัญ ญ าชั้นสูงสุดที่ทำให้รู้แจ้งประจักษ์ความจริง และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

    เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ ศาสนาหรือลัทธิที่เกิดจากความสำคัญของบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่งหน ที่มีเรื่องราว หรือความสำคัญของบุคคลที่อยู่ ณ ที่นั้น ความสำคัญของบุคคลที่เป็นเหตุเริ่มต้นของศาสนา หรือลัทธิ โดยมากมักมีเหตุเริ่มต้นโดยความบริสุทธิ์จากจิตใจของมนุษย์ ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครวางหลัก อีกทั้งเมื่อใครนับถือความสำคัญของบุคคลผู้ใดก็จะพากันกราบไหว้ และเคารพบูชา

    เกิดจากลัทธิการเมือง ลัทธิการเมืองอันเป็นมูลเหตุของศาสนาเป็นเรื่องสมัยใหม่ อันสืบเนื่องจากกา

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้