Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

แด่ธรรมะซึ่งไม่รู้จัก : ธรรมะใดที่สามารถค้นพบได้ด้วยปัญญาของมนุษย์ ย่อมมิใช่ธรรมะที่ถาวรและแท้จริง?

อัปเดต:

ผมต้องขอขอบพระคุณพวกท่านมากนะครับที่พยายามช่วยเหลือผม แต่ผมขอรบกวนพวกท่านช่วยกันอ่านข้อมูลต่อไปนี้ก่อนนะครับ

ปัญหาคือ : มีอาจารย์หลายท่านได้นำคำว่า “ธมฺม” (บาลี) และ “ธรฺม” (สันสกฤต) ที่แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” มาสรุปว่า “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม ก็เป็นธรรมะทั้งนั้น” ถ้าเราฟังพระสวดศพก็จะได้ยินคำว่า “กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา อพยากตาธมฺมา” หมายความว่า “ธรรมะฝ่ายดีก็เป็นธรรมะ ธรรมะฝ่ายชั่วก็เป็นธรรมะ และธรรมะฝ่ายที่ไม่มีดีไม่มีชั่วก็ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น”

การวิเคราะห์ปัญหา : เมื่อถามว่า “ธรรมะ คือ อะไร?” คนที่ตอบคำถามนี้ส่วนใหญ่มัก “หลงทาง” และ “สับสน” เสียเองใน 4 ประเด็น คือ

อัปเดต 2:

(1) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะที่ดำรงอยู่ได้เอง” แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะที่อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” (กฎของปฏิจจสมุปบาท) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

(2) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” (กฎของวัฏสงสาร) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

(3) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะของเหตุ” เท่านั้น แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะที่เชื่อมโยงกันระหว่างเหตุและผล” (กฏของอิทัปปัจจยตา) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

(4) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะที่ปัญญาหยั่งรู้ไม่ได้” แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะอนิจจัง-ทุขัง-อนัตตาที่ปัญญาหยั่งรู้ได้” (กฎของไตรลักษณ์) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

อัปเดต 3:

ธรรมะใดที่ค้นพบได้ด้วยปัญญาหรือบอกเล่ากันได้ ย่อมมิใช่ธรรมะที่แท้จริง ธรรมะ “มีหนึ่ง” แต่คนฉลาดกล่าวให้มากไปเอง และการที่คนโง่ ๆ จะทำลายความเป็นหนึ่งโดยสรุป (เอาเอง) ว่า “ธรรมะ” นั้น “ไม่มีอะไรเลย” ย่อมถือว่าเป็นความผิดพลาด

ความผิดพลาดเกิดจากผู้ตอบไปนำเอา “คำตอบ” ในมิติหนึ่ง (อเทวนิยม) มาตอบในอีกมิติหนึ่ง (เทวนิยม) โดยไม่ได้พิจารณา “มิติ” หรือ “บริบท” เพราะฉะนั้น “คำตอบ” นั้นจึงสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน ถึงขั้นทำลายล้าง “รากฐาน” ของศาสนาพุทธเลยทีเดียว เพราะความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” เป็น “เทวนิยม” แต่ความหมาย “ใหม่” ของ “ธรรมะ” นั้นเป็น “อเทวนิยม” จึงไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ นั่นเอง

อัปเดต 4:

สรุป “ธรรมะ” ตามความหมายดั้งเดิม คือ พฤติธรรม หรือ สภาวธรรม ของ “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะ “คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” ซึ่ง “ไม่มีอยู่ในโลกนี้” จึง “ไม่มีใครรู้จัก” และไม่อาจหาคำพูดใดๆ มาพรรณนาคุณลักษณะที่สัมบูรณ์นั้นได้ แต่หากจำเป็นต้องพรรณนาก็ไม่ควรใช้คำว่า “อนิจจัง-ทุขัง-อนัตตา” แต่ควรใช้คำว่า “อมตะ-สุขัง-อัตตา” เพราะ “ธรรมะ” ไม่ใช่ภาวะของโลก ที่เป็น “อนิจจัง” (การดำรงอยู่ชั่วคราวของกรรมดี-กรรมชั่ว) “ทุขัง” (การทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของกรรมดี-กรรมชั่ว) และ “อนัตตา” (การไม่ใช่ตัวตนของกรรมดี-กรรมชั่ว) แต่ “ธรรมะ” คือ ภาวะเหนือโลก ที่เป็น “อมตะ” (การดำรงอยู่ตลอดไปของคุณงามความดี) “สุขัง” (การคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงของคุณงามความดี) และ “อัตตา” (การดำรงอยู่ได้เองของคุณงามความดี)

อัปเดต 5:

สรุป “ธรรมะ” ตามความหมายใหม่ คือ พฤติกรรม หรือ สภาวะกรรม ของ “สรรพสิ่งทั้งปวง” โดยพระโคตมพุทธเจ้าได้ยึดเอา “หลักกรรม” และ “หลักปฏิจจสมุปบาท” นั้นมาเป็น “รากฐาน” ของศาสนาพุทธด้วย เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” ในศาสนาพุทธจึงไม่ได้หมายถึง “การรู้แจ้งในสภาวธรรมของสิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” แต่หมายถึง “การรู้แจ้งในสภาวะกรรมของตนเอง” หรือ “การปฏิบัติให้ถึงการตรัสรู้ของมนุษย์” กล่าวคือ เป็นการพยายามรู้จักตนเองหรือการทำให้ตัวเองบริบูรณ์มากกว่าที่จะรู้จักหรือเข้าถึงพระเจ้า

แต่ในพจนานุกรมไทยจะตีความหมายของ “ธรรมะ” แบบกลาง ๆ โดยตัดคำว่า “ของสิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” ซึ่งเป็น “พฤติธรรม” ของผู้ทรงดำรงอยู่ออกไป แต่กลับนำเอา “พฤติกรรม” ของมนุษย์เข้าไปไว้แทนที่

อัปเดต 6:

ดังนั้น “ธรรมะ” (แบบไทย ๆ ) จึงมีความหมายเพียงแค่ คำสั่งสอนทางศาสนา, การปฏิบัติตามคำสั่งสอนทางศาสนา, คุณความดี, ความชอบ, มรรคผลนิพพาน, ความรู้ของจริง, เหตุ, บุญกุศล, ข้อบังคับ, กฎหมาย, อารมณ์, สิ่งที่ใจคิด, ชาติภพ, สิ่งของ, สภาพที่ทรงไว้ รักษาไว้เป็นพื้น เป็นราก ฯลฯ

และยิ่งสับสนมากขึ้นเมื่ออาจารย์ทั้งหลายไปสรุปว่า กรรมดีก็เป็นธรรมะ กรรมชั่วก็เป็นธรรมะ และกรรมที่ไม่ดีไม่ชั่วก็เป็นธรรมะทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น แล้วอย่างนี้ เราจะไปสอนคนบาปคนชั่วให้กลับใจได้อย่างไร? เพราะคุณลักษณะที่อาจารย์ทั้งหลายกำลังสรุปอยู่นั้น มันเป็น “สภาวะกรรม” ไม่ใช่ “สภาวธรรม”

อัปเดต 7:

เราจะหวังพึ่งอาจารย์เหล่านี้ได้อย่างไร เพราะนอกจากพวกเขาจะไม่เข้าใจความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” (เทวนิยม) แล้ว พวกเขายังหลงผิดนำเอาคุณลักษณะ “กรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว” ซึ่งเป็น “ไตรภาวะ” ของ “ปุถุชน” มาใช้อธิบายความหมาย “ใหม่” ของ “ธรรมะ” (อเทวนิยม) ซึ่งเป็น “เอกภาวะ” ของ “อริยชน” อีกด้วย เพราะฉะนั้น คำสั่งสอนของอาจารย์เหล่านี้ จึงนำความเสื่อมมาสู่ศาสนาพุทธ และนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ขับไล่ไสส่งชาวพุทธให้เตลิดออกไปนับถือศาสนาอื่น

อัปเดต 8:

อาจารย์พุทธทาส กล่าวว่า “นิพพาน (ไกวัลยธรรม) เป็นสภาวะชนิดหนึ่ง แม้จะพูดว่ามีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงก็ยังน้อยไป พูดว่าอยู่คู่กับสิ่งทั้งปวงก็ยังน้อยไปเพราะเป็นสภาพที่อยู่เช่นนั้นโดยตัวเองจนตลอดอนันตกาล จึงกล่าวได้แต่เพียงว่า นิพพาน คือ อมตะธรรม คือไม่ตาย เป็นอสังขตธาตุคือไม่เปลี่ยนแปลงดุจอานุภาพของพระเจ้าที่ไม่มีวันตาย ตรงกันข้ามกับธรรมอื่นซึ่งประกอบด้วยสังขตธาตุ…ไกวัลยธรรมเป็นสิ่งเดียวที่ทรงตัวเที่ยงแท้อยู่ได้โดยตัวมันเอง คือ ไม่อาศัยเหตุ-ปัจจัยอื่นมาช่วยเหลือให้เกิดขึ้นหรือไหลเวียนเปลี่ยนแปลง” ในพระไตรปิฏกบาลีกล่าวว่า “อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตา ว สา ธาตุ” แปลว่า “ภิกขุทั้งหลาย, เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม, ตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว..คือ “ไกวัลยธรรม” มันมีฤทธิ์มีเดชเหลือประมาณจนพระพุทธเจ้าก็ต้องยอมแพ้ พระพุทธเจ้ายอมแพ้ว่าตถาคตจะเกิดขึ้นหรือจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม เจ้านี่มันมีอยู่แล้วอย่างนั้น (อ. อโณทัย, สรุป ไกวัลยธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 3 , กรุงเทพฯ, พิมพ์ดี, 2549, 35-37, 154)

อัปเดต 9:

ธรรมะนั้นมี “หนึ่ง” แต่คนฉลาดกล่าวให้มากไปเอง และการที่คนโง่ ๆ จะทำลายความเป็น “หนึ่ง” นั้นโดยสรุป (เอาเอง) ว่า “ธรรมะ” คือ ความว่าง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย การตีความเช่นนี้ไม่ถูกต้อง ถือว่าเป็นความผิดพลาดของการสอนธรรมะในสังคมไทย เพราะสำคัญผิดว่า “ธรรมะ” (อสังขตธรรม, สภาวะที่เป็นอมตะ) และ “ธรรมชาติ” (สังขตธรรม, สภาวะที่เสื่อมสูญ) นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันเดียวกัน

อัปเดต 10:

“ธรรมะ” คือ สภาวะที่เป็นอมตะ ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มีวันเสื่อมสูญ ถ้าศาสนาพุทธเสื่อมสูญจริงตามคำทำนาย ธรรมะในศาสนาพุทธ ย่อมมิใช่ “ธรรมะ” ที่แท้จริง

จึงเป็นที่มาของคำว่า “แด่ธรรมะซึ่งไม่รู้จัก” ธรรมะใดที่ค้นพบได้ด้วยขบวนการทางปัญญาของมนุษย์ หรือสามารถบอกเล่ากันได้ ย่อมมิใช่ธรรมะที่แท้จริง

9 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ในพระไตรปิฎกนั้น เราต้องแยกให้ออกว่า คำสอนส่วนใหนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เอง และส่วนไหนที่พระองค์นำของคนอื่นมากล่าวอ้างถึงด้วยเช่นกัน

    อาจารย์เสฐียร พันธรังสี กล่าวว่า “เมื่อพระพุทธเจ้าแสวงธรรมเพื่อการตรัสรู้ของพระองค์ และประกาศธรรมเพื่อการตรัสรู้ของสาวกเหล่าอื่น พระองค์ได้ทรงยึดเอาหลักต่าง ๆ ซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิมของอินเดีย มีลัทธิพระเวท คัมภีร์พราหมณะ และคัมภีร์อุปนิษัท มาดัดแปลงเป็นอันมาก”

    แหล่งข้อมูล: (เสฐียร พันธรังสี, พุทธศาสนามหายาน, (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534, 10-12)
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พระพุทธเจ้าก็เคยเป็นมนุษย์ พระอรหันต์ก็เช่นกัน แล้วหากปัญญาของมนุษย์ซึ่งได้รับการฝึกฝนและขัดเกลาจิตใจมาแล้ว ยังไม่สามารถพบธรรมะที่แท้จริง แล้วอะไรล่ะจึงจะมีโอกาสพบธรรมะที่แท้จริง

    ธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับโลก มีมาตั้งแต่ยังไม่มีมนุษย์ ยังไม่มีพระพุทธเจ้า และจะยังมีต่อไป หากพุทธเจ้าคือผู้ค้นพบและนำมาสอนต่อมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐเหนือเดรัจฉานทั่วไป

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ด้วà¸��พระองค์เอง ! ........... แล้วงัยล่ะขอรับท่าน ?

    แหล่งข้อมูล: www.raksa-dhamma.com
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คำว่า "แด่ธรรมะซึ่งไม่รู้จัก" หมายถึงผู้ถามที่ไม่ทราบ ธรรมะของพระพุทธเจ้าหรือเปล่าครับ? ท่านนับถือศาสนาพุทธหรือเปล่า? สมมุติว่าไม่ใช่ ผมจะได้ใช้คำพูดที่ง่ายๆธรรมดาๆเพื่อท่านจะได้เข้าใจ ในศาสนาของเราครับ

    ธรรมะ คือ ธรรมชาติที่เป็นของจริงมีอยู่จริง มีสภาพไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่แปรเปลี่ยนไป แล้วดับไปในที่สุด นี้คือสภาพธรรมแท้ที่สรรพสิ่งต้องอยู่ภายใต้กฏธรรมชาตินี้ ไม่มีใครไปสร้างมันขึ้นมา จึงเรียกว่า "ธรรมชาติที่มีอยู่ เป็นอยู่จริง" แต่พระพุทธเจ้าของเราได้ทรงค้นพบธรรมชาติอันนี้ รวมเรียกว่า"ธรรม-พระธรรม"หรือ"ธรรมะ"ที่ผู้ถามเขียนมา ตัวอย่างที่ปัญญามนุษย์ที่ค้นพบธรรมะนั้นได้ ก็คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย สือต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ก็ยังคงมีอยู่ครับ

    แล้วอะไรคือ "ธรรม/ธรรมะ" ก็ความดี ความชั่ว ความยินดี ความยินร้าย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฝนตก ฟ้าร้อง ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ดิน คน สัตว์ สิ่งของ ท้องฟ้า อากาศ และอื่นๆ ....สรุปสั้นๆว่าทุกสิ่งในโลกนี้เรารวมเรียกว่า ธรรม/ธรรมะทั้งหมดครับ ธรรมะเหล่านี้มันไม่ยากเกินปัญญามนุษย์ ที่จะเข้าไปรู้ได้หรอกครับ ขอให้พิจารณาดู บนพื้นฐานของ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่แปรเปลี่ยนไป แล้วดับไปในที่สุด

    ธรรมที่ถาวร สภาพธรรมถาวรไม่มีหรอกครับ มันมีแต่สภาพที่ไม่เที่ยง.....เท่านั้นครับ เช่นการสร้างถาวรวัตถุ มันก็ไม่ถาวรหรอกครับ มันเป็นได้เพียงชื่อ แท้จริง มันก็ผุก็พังไปตามกาลเวลา

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ........สาธุ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คงไม่ใช่หรอกค่ะ มนุษย์เท่านั้น ที่จะรู้ว่าสิ่งใดที่ทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งล้วนเกิดจากการใช้ปัญญา แต่เป็นปัญญาที่ได้รับการฝึกฝนและขัดเกลาอย่างดีที่สุด

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พยายามอ่านและทำความเข้าใจประโยคคำถามที่ผู��¹‰à¸–ามตั้งกระทู้ไว้ ก็ให้เข้าใจว่า ผู้ถามคงนิยามคำว่า "ธรรมะ" ในแง่ที่เป็นปรัชญาสูงสุดในศาสนาพุทธ และในอีกในนัยยะหนึ่งคงหมายถึงคำสอนของศาสนาพุทธ

    ปรัชญาพุทธเองก็ยอมรับว่า สรรพสิ่งไม่มีสิ่งใดถาวร คงสภาพ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เว้นแม้แต่คำสอนของศาสนาพุทธเอง

    แต่ปรัชญาพุทธได้พิสูจน์ตัวเองว่า ภายใต้เงื่อนไข รูปแบบของการมีชีวิตในแบบอย่างปัจจุบันนี้ คือ มี เกิด แก่ ตาย นี้ ปรัชญาพุทธได้คลี่คลายปัญหาต่างๆในระหว่างการมีชีวิตในรูปแบบตามนี้ไว้ได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง

    หากธรรมะของสภาวะการมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ เช่น การที่ไม่มีการตาย ไม่มีการแก่ ไม่มีการเกิด ปรัชญาพุทธที่มีในขณะนี้ ก็อาจไม่ได้เป็นคำตอบอีกก็ได้

    แต่ท้ายที่สุด ไม่ว่าการมีชีวิตจะมีรูปแบบใดก็ตาม ปัญหาของรูปแบบการมีชีวิตของแบบใด ก็ย่อมสามารถคลี่คลายด้วยภูมิปัญญาของสิ่งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขการมีชีวิตในรูปแบบนั้นๆ....

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “ถ้าไม่ยึดติดในศาสดาของตนจนเกินไปก็จะเห็นว่า ถ้าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ยังมีอำนาจเหนือศาสดาได้ ความเป็นมนุษย์ของศาสดาก็ทำให้เกิดข้อจำกัดด้วย เพราะฉะนั้นศาสดาจึงไม่ได้รู้ไปหมดทุกเรื่อง” เพราะในสมัยพุทธกาลมีทัศนะเกิดขึ้นมากมายนับได้ 62 ทัศนะ ในทัศนะเหล่านี้ มีบางเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ ไม่ทรงพยากรณ์ เรียกว่า อัพยากฤตปัญหา เช่น ทัศนะ 10 ประการ ได้แก่ โลกเที่ยงหรือไม่, สัตว์ตายแล้วเกิดหรือไม่ ฯลฯ และยังมีคำถามเรื่องภาวะของพระองค์ภายหลังปรินิพพานว่ามีอยู่หรือไม่ ปัญหาเหล่านี้พระองค์ทรงนิ่งเฉยเมื่อถูกถาม เพราะมีลักษณะเป็นเรื่องที่อธิบายได้ไม่สิ้นสุด ฯลฯ

    แหล่งข้อมูล: หนังสือ "คู่มือแสดงหลักธรรม" ฉบับสมบูรณ์,ธรรมสภา
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ศาสาดาส่วนใหญ่ไม่อาจพรรณนาขอบเขตอันสัมบูรณ์ของธรรมะได้ว่า "ธ��¸£à¸£à¸¡à¸°à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸™à¸±à¹‰à¸™ ธรรมะเป็นอย่างนี้" แต่หากจำเป็นต้องพรรณนาก็จะกล่าวว่า "ธรรมะไม่ใช่อย่างนั้น ธรรมะไม่ใช่อย่างนี้"

    แหล่งข้อมูล: ปรัชญาอินเดียร่วมสมัย
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้