Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

แด่ธรรมะซึ่งทำให้คนหลงข้ามภพข้างชาติ : พวกเรากำลังหลงธรรมหรือ?

หลักการตีความหมายของธรรมะที่ถูกต้อง

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทางฟิสิกส์และทางเคมี เขาต้องรู้คุณสมบัติของสารด้วยว่า อะไรผสมกับอะไรได้ อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

ความรู้ทางไสยศาสตร์ เช่น การเล่นแร่แปรธาตุ เขาต้องรู้ว่าเมื่อนำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้นแล้วจะเป็นอะไร อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

ความรู้ทางธรรมะ เช่น การเล่นแง่แปล (อภิ) ธรรม ก็เหมือนกัน เขาต้องรู้คุณสมบัติของธรรมะด้วยว่า ธรรมะผสมกับอะไรได้ และธรรมะผสมกับอะไรไม่ได้ เพราะหากถอดความของ “ธรรมะ” ผิดไปจุด ๆ หนึ่ง ก็จะคลาดเคลื่อนไปเป็นพัน ๆ ข้อ สังคมจะเสื่อมสลาย ผู้คนจะเลวทราม และสถานการณ์คับขันจะอุบัติขึ้นในชั่วพริบตา เพราะฉะนั้น การถอดความของ “ธรรมะ” จะต้องรู้ถึง “ข้อยกเว้น” ของธรรมะทั้ง 4 ประการ ได้แก่

อัปเดต:

(1) เมื่อนำเอา “ธรรมะ” ไปใช้ต้องดูที่ “มิติ” หรือ “บริบท” ด้วย เพราะ “ธรรมะ” นั้นสูงสุดเป็นหนึ่ง และสมบูรณ์แบบ จึงไม่ควรเติมคำว่า กุศล, ดี, ปรมัตถ์, อนุตร, อุดม, เกิดขึ้น ฯลฯ ไว้ด้านหน้าหรือด้านหลัง “ธรรมะ” ถ้าหากเติมคำเหล่านี้ลงไป ก็จะเกิดคำตรงข้าม และภายหลังใครก็ตามที่นำเอาคำเหล่านี้ไปใช้โดยไม่ได้พิจารณาที่ “มิติ” หรือ “บริบท” ก็จะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าคำตรงข้ามเหล่านั้นก็เป็นธรรมะด้วย

อัปเดต 2:

(2) เมื่อนำเอา “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีด้านตรงข้าม” เช่น

กุศลธรรม-อกุศลธรรม,

โลกธรรม-อมตะธรรม

ปรมัตถธรรม-สมมติธรรม,

อนุตรธรรม-ธรรมดา,

ความอุดม-ความว่าง

ธรรมะที่เกิดขึ้น-ธรรมะที่ดับไป ฯลฯ

คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” นั้น “สูงสุด” จึงไม่มีด้านตรงข้าม ขอย้ำ ธรรมะใดที่มีด้านตรงข้าม ธรรมะนั้นไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง

อ��ปเดต 3:

(3) เมื่อนำเอา “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีการแบ่งแยกได้” เช่น

กุศลธรรม-(อัพยากฤตธรรม)-อกุศล,

โลกธรรม-(โลกุตรธรรม)-อมตะธรรม ฯลฯ

ปรมัตถธรรม-(มัชฌิมาธรรม)-สมมติธรรม,

อัตตา-(อนัตตา)-นิรัตตา,

ธรรมะที่เกิดขึ้น-(ธรรมะที่ตั้งอยู่)-ธรรมะที่ดับไป

อนุตรธรรม-(ธรรมที่เป็นกลาง ๆ)-ธรรมดา,

ความอุดม-(ความเป็นกลาง)-ความว่าง ฯลฯ

คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” เป็น “หนึ่ง” จึงไม่มีการแบ่งแยก

อัปเดต 4:

(4) เมื่อนำ “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีความหมายไปในทางชั่ว” เช่น ธรรมะฝ่ายดี-ธรรมะฝ่ายชั่ว-ธรรมะฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” นั้น “สมบูรณ์แบบ” จึงอยู่เหนือกรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว, อยู่เหนือกรรมสุข-กรรมทุกข์-กรรมที่ไม่สุขไม่ทุกข์, อยู่เหนือกรรมเกิด-กรรมดับ-กรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ ฯลฯ เราจึงไม่อาจนำเอา “ธรรมะ” นั้นไปเปรียบเทียบกับคำอื่น ๆ ได้นอกจากตัวของธรรมะนั้นเอง เช่น ธรรม-อธรรม-ธรรมาธรรม, ธัมมะธัมโม ฯลฯ

อัปเดต 5:

(4) เมื่อนำ “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีความหมายไปในทางชั่ว” เช่น ธรรมะฝ่ายดี-ธรรมะฝ่ายชั่ว-ธรรมะฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” นั้น “สมบูรณ์แบบ” จึงอยู่เหนือกรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว, อยู่เหนือกรรมสุข-กรรมทุกข์-กรรมที่ไม่สุขไม่ทุกข์, อยู่เหนือกรรมเกิด-กรรมดับ-กรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ ฯลฯ เราจึงไม่อาจนำเอา “ธรรมะ” นั้นไปเปรียบเทียบกับคำอื่น ๆ ได้นอกจากตัวของธรรมะนั้นเอง เช่น ธรรม-อธรรม-ธรรมาธรรม, ธัมมะธัมโม ฯลฯ

อัปเดต 6:

ตัวอย่างที่ 1 การเปรียบเทียบในหมวดของ “ธรรมะ-อธรรม-ธรรมาธรรม”

1. มิติของ “ธรรมะ” คือ “สภาวะสูงสุด” ไม่มีด้านตรงข้าม โดยจะมุ่งเน้นไปที่คุณงามความดี (เท่านั้น) ที่มนุษย์ต้องกระทำ

2. มิติของ “อธรรม” คือ “สภาวะเป็นหนึ่ง” ไม่มีการแบ่งแยก โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความชั่ว (เท่านั้น) ที่มนุษย์ต้องละเว้น ไม่ควรกระทำ

3. มิติของ “ธรรมาธรรม” คือ “สภาวะสมบูรณ์แบบ” โดยจะมุ่งเน้นดำรงตนให้อยู่เหนือทุกสิ่ง หากธรรมะใดอยู่ใต้กรรมดี-กรรมชั่ว, อยู่ใต้กรรมสุข-กรรมทุกข์, อยู่ใต้กรรมเกิด-กรรมตายของสรรพสิ่งทั้งปวง สิ่งนั้นจึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง

โดยทั้ง 3 มิตินั้น เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งหมด เพื่อยืนยันว่า “ธรรมะ” นั้นสูงสุดจึงไม่มีด้านตรงข้าม เป็นหนึ่งจึงไม่แบ่งแยก และสมบูรณ์แบบจึงอยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะฉะนั้น สิ่งใดมีด้านตรงข้าม แบ่งแยกได้ และอยู่ใต้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ สิ่งนั้นจึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง

อัปเดต 7:

คนที่บรรลุธรรมในมิติที่ 1 ก็จะ “เต็มบริบูรณ์” ไปด้วยความดี จึงเรียกว่า “ อุดม (ธรรม) ”

คนที่บรรลุธรรมในมิติที่ 2 ก็จะ “ว่างเปล่า” จากความชั่ว จึงเรียกว่า “ สุญตา (ธรรม) ”

คนที่บรรลุธรรมในมิติที่ 3 ก็จะเห็นถึงความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่าง “ความบริบูรณ์” ของความดี กับ “ความว่างเปล่า” จากความชั่ว จึงเรียกว่า “ ปฏิจจสมุปบาท (ธรรม) ”

ธรรมะมี “หนึ่ง” แต่มีความแตกต���างกัน (ทั้ง 3 มิติ) ไปตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการในจิตใจของมนุษย์ แต่ผู้ฉลาดกล่าวให้มากไปเอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างกัน (ทั้ง 3 มิติ) นั้น แต่เมื่อมนุษย์บรรลุถึงความเป็น “หนึ่ง” ความแตกต่างกัน (ทั้ง 3 มิติ) นั้นก็จะหมดไป เพราะฉะนั้น การที่คนโง่ ๆ ไปทำลายความแตกต่างนั้นเสีย โดยสรุปว่า “ธรรมะ คือ ความว่าง” ที่หมายถึงการไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย จึงถือว่าเป็นความผิดพลาด และยังพาให้คนเป็นอันมากพลอยหลงผิดไปด้วย

อัปเดต 8:

ตัวอย่างที่ 2 การเปรียบเทียบในหมวดของ “โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม”

1. มิติของ “โลกธรรม” คือสภาวะที่มนุษย์ใช้ดำเนินชีวิตให้ “สอดคล้อง” กับวิถีโลกียกรรม (กุศลกรรม-อกุศลกรรม-อัพยากฤตกรรม) โดยผ่านทางศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมขั้นพื้นฐาน

2. มิติของ “โลกุตรธรรม” คือสภาวะที่มนุษย์ “หลุดพ้น” จากวิธีของโลกียกรรม มี “เสรีภาพ” แล้วจากศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมนั้น โดยผ่านทางกายธรรม มโนธรรม ฯลฯ

3. มิติของ “อมตะธรรม” คือ สภาวะที่มนุษย์ใช้ “ดับ” อำนาจของกรรมดี-กรรมชั่ว, กรรมสุข-กรรมทุกข์ของตน จึงทำให้มนุษย์นั้นยังคง “ดำรงอยู่” ตลอดไป แม้ว่าสิ่งอื่น ๆ จะดับไปแล้ว

โดย “ทางสายกลาง”(โลกุตรธรรม) ไม่ใช่ “ความว่าง” ที่เล็งถึง “การไม่มีอะไรเลย” แต่เป็นความเกี่ยวเนื่องกัน งามทั้งเบื้องต้น-เบื้องกลาง-เบื้องปลาย แต่เมื่อสำนึกแห่ง “ไตรธรรม” สูญหายไป ผู้คนก็จะลืมความเป็น “หนึ่ง” ปัญหาที่จะตามมาคือ ลัทธิความว่าง, ลัทธิข้ามภพข้ามชาติ

อัปเดต 9:

ตัวอย่างที่ 3 การเปรียบเทียบในหมวดของ “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม”

1. มิติของ “กุศลธรรม” คือ เราสามารถเข้าถึง “ธรรมะ” ได้จากการทำความดี

2. มิติของ “อกุศลธรรม” คือ เราสามารถเข้าถึง “ธรรมะ” ได้จากการหยุดทำความชั่ว

3. มิติของ “อัพยากฤตธรรม” คือ เราสามารถเข้าถึง “ธรรมะ” ได้จากความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่างการทำความดีและการหยุดทำความชั่ว นั่นเอง

ดังนั้น การสรุปว่า “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม” หมายถึงความดีก็เป็นธรรมะ-ความชั่วก็เป็นธรรมะ-ความไม่ดีไม่ชั่วก็เป็นธรรมะทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น โดยไม่ได้พิจารณา “บริบท” หรือ “ข้อยกเว้น” การตีความอย่างนี้จึงถือว่าเป็นทัศนะที่ผิดพลาด เพราะเขาได้แบ่ง “ธรรมะ” ออกเป็น 3 หมวด ไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่อาจลดทอนลงมาเป็นสิ่งเดียวกันได้ อยู่ตรงข้ามกัน ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สัมพันธ์กันได้

อัปเดต 10:

ตัวอย่างที่ 4 การเปรียบเทียบในหมวดของ “กุศลกรรม-อกุศลกรรม-อัพยากฤตกรรม”

เช่นเดียวกัน เราก็สามารถหลงจาก “ธรรมะ” ได้ 3 ช่องทางด้วยเช่นกัน คือ

1. เราหลง “ธรรมะ” เพราะไปยึดติด “กุศลกรรม” (การทำกรรมดี) ของตน

2. เราหลง “ธรรมะ” เพราะไปยึดติด “อกุศลกรรม” (การทำกรรมชั่ว) ของตน

3. เราหลง “ธรรมะ” เพราะไปยึดติด “อัพยากฤตกรรม” (การไม่ทำกรรมดี การไม่ทำกรรมชั่ว) หรือ (ความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่างการทำกรรมดีและการทำกรรมชั่ว) ของตน......(ต้องพิจารณาที่ “บริบท” ด้วย ว่าจะเลือกใช้ความหมายอันไหน)

เพราะฉะนั้น การสรุป (เอาเอง) ว่า “กุศลกรรม-อกุศลกรรม” เป็นธรรมะระดับ “โลกธรรม” ส่วน “อัพยากฤตกรรม” เป็นธรรมะระดับ “โลกุตรธร���ม” ที่หมายถึง กรรมชนิดที่ 3 ได้แก่ กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว, กรรมที่ไม่ขาวไม่ดำ ฯลฯ จึงเป็นทัศนะที่ผิดพลาดด้วย เพราะหมวด “กุศลกรรม-อกุศลกรรม-อัพยากฤตกรรม” นั้นเป็นเพียงสภาวะกรรมของปุถุชนธรรมดาสามัญเท่านั้น ไม่ใช่สภาวะที่พิเศษอะไรเลย

อัปเดต 11:

เราจะหวังพึ่งอาจารย์เหล่านี้ได้อย่างไร เพราะนอกจากจะไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างความหมาย “ดั้งเดิม” และความหมาย “ใหม่” ของ “ธรรมะ” แล้ว พวกเขายังหลงผิดไปนำเอาคุณลักษณะ “กรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว” ซึ่งเป็น “ไตรภาวะ” ของ “ปุถุชน” มาใช้อธิบายความหมาย “ใหม่” ของ “ธรรมะ” (อเทวนิยม) ซึ่งเป็น “เอกภาวะ” ของ “อริยชน” อีกด้วย เพราะฉะนั้น คำสั่งสอนของอาจารย์เหล่านี้ จึงนำความเสื่อมมาสู่ศาสนาพุทธ และนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ขับไล่ไสส่งชาวพุทธให้เตลิดออกไปนับถือศาสนาอื่น

อัปเดต 12:

ตัวอย่างที่ 5 การเปรียบเทียบในหมวดของ “อัตตา-นิรัตตา-อนัตตา”

1. การนำ “อัตตา” มาใช้กับ “วิญญาณ” เพื่อจะบอกว่า “วิญญาณ” นั้นเป็นตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร จึงดำรงอยู่ได้ตลอดไป

2. การนำ “นิรัตตา” มาใช้กับ “กาย”เพื่อจะบอกว่า “กาย” นั้นเป็นตัวตนที่ขาดสูญ จึงดำรงอยู่ได้ชั่วคราว และไม่มีใครต้องรับผลนั้น เพราะไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีถูกไม่มีผิด ไม่มีเขาไม่มีเรา ฯลฯ

3. การนำ “อนัตตา” มาใช้กับ “จิต”เพื่อจะบอกว่า “จิต” นั้นไม่ใช่ทั้ง “อัตตา” (ตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวรแบบวิญญาณ) และก็ไม่ใช่ “นิรัตตา” (ตัวตนที่ขาดสูญแบบกาย) ด้วย

และสำคัญที่สุด เพื่อจะปฏิเสธ “ตัวตน” ที่จิตสร้างขึ้นด้วย โดย “ตัวตน” นั้นเกิดจากความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในโลกของจิต แล้วจิตจึงสร้าง “ตัวตน” นั้นขึ้นมา “ตัวตน” ที่จิตสร้างขึ้นนั้นจะเกิด-ดับสืบต่อกันไปนับจำนวน เราจึงไม่อาจจะไป “ยึดถือ” หรือ “ละทิ้ง” ตัวตนที่จิตสร้างขึ้นได้ เพราะมันดำรงอยู่ได้เพียงแค้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นแล้วก็แตกดับไปเอง

อัปเดต 13:

สรุป (1)

“อนัตตา” ไม่ควรแปลว่า “ไม่มีตัวตน, ไม่ใช่ตัวตน, ไม่เป็นตัวตน”

แต่ “อนัตตา” ต้องแปลว่า “ไม่ใช่ทั้งอัตตา และก็ไม่ใช่ทั้งนิรัตตา”

หมายความว่า “จิต” นั้นไม่ใช่วิญญาณและก็ไม่ใช่กาย” ด้วย

สรุป (2)

“อนัตตา” ไม่ควรแปลว่า “ว่างจากตัวเรา และก็ว่างจากของเรา”

แต่ “อนัตตา” ต้องแปลว่า “ว่างจากอัตตา และก็ว่างจากนิรัตตา”

หมายความว่า “จิต” นั้นเป็นอิสระจากวิญญาณ และก็เป็นอิสระจากกาย” ด้วย นั่นเอง

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เพราะเราเชื่อกันตามที่อรรถาจารย์ได้ตีความและแยกแยะออกมาว่า การปฏิบัติธรรมต้องมี “ศีล สมาธิ และปัญญา” เพราะความเชื่อเช่นนี้จึงทำให้เกิดอาการงมงายกันคนละแบบ เช่น

    บางสำนัก บางอาจารย์ ก็เคร่งศีลจนกลายเป็น “บ้าศีล” …คนเหล่านี้ไร้ปัญญาพิจารณาให้เห็นเป็นสัจธรรม เมื่อสมาทานศีล “ปาณาติปาตา” เว้นจากการฆ่าสัตว์ น้ำก็ดื่มไม่ได้เพราะในน้ำมีชีวิตสัตว์ อากาศมีเชื้อโรคหายใจเข้าไปก็ฆ่าเชื้อโรคล้วนเป็นบาปทั้งสิ้น คนบ้าศีลจึงอยู่ในโลกนี้และตายไปด้วยความทุกข์ทรมาน

    บางสำนัก บางอาจารย์ ก็เคร่งสมาธิจนกลายเป็น “สมาธิบ้า” …อาการ “สมาธิบ้า” นับว่าอันตรายที่สุด เพราะนั่งกันจนเพลิดเพลินหลอกหลอนตัวเองว่าได้พบสวรรค์วิมาน ระลึกชาติได้ พบพระพุทธองค์ขนาดได้นั่งฟังพระองค์เทศนาให้ฟังจนบรรลุมรรคผลนิพพาน

    บางสำนัก บางอาจารย์ ก็หลงใหลปัญญาจนกลายเป็น “ยะโสโอ-หังมมังการ” …ก็ไม่อาจแยกแยะให้เห็นสัจธรรม คนเหล่านี้เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่าตามที่อาจารย์บอกเล่าแลยึดแต่คำสอนของอาจารย์เป็นสรณะ คำสอนอื่น ๆ ไร้สาระ

    แหล่งข้อมูล: อนัตตา, หนังสือสูตรของเว่ยหล่าง. พิมพ์ครั้งที่ 2, สมุทรปราการ, ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, 2539, 155-156
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ก็มี 2 กลุ่มที่เชื่อแตกต่างกัน

    กล่มที่ 1 เชื่อว่า ธรรมะ คือ อนัตตา ที่หมายถึง ว่างจากตัวตน และว่างจากของตน พระอาจารย์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็สอนกันอย่างนี้ทั้งนั้น

    กลุ่มที่ 2 เชื่อว่า ธรรมะ คือ อัตตา เช่น คณะธรรมกลาย

    แล้วท่านจะว่าอย่างไร ?

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พระอาจารย์พุทธทาส กล่าวว่า “…

    กรรมที่ 1 คือ กรรมดี

    กรรมที่ 2 คือ กรรมชั่ว

    กรรมที่ 3 คือ กรรมไม่ดีไม่ชั่ว, กรรมไม่ขาวไม่ดำ

    กรรมอย่างนี้เรียกว่า “อริยมรรค” ท่านควรจะจดหรือจำไว้เลยว่า อริยมรรคนั้นคือกรรมที่ 3 ที่ไม่ดีไม่ชั่ว ใครทำกรรมที่ 3 นี้เข้าแล้วจะอยู่เหนือโลก จะอยู่เหนือกรรมแล้วจะนิพพาน เป็นการปฏิบัติที่มุ่งไปเพื่อมรรคผลนิพพานà��‚ดยตรง ไม่มุ่งเพื่อเกิดใหม่เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้….เพราะว่ามันเป็นไปเพื่อไม่เกิด มันเป็นไปเพื่อไม่ดับ…ซึ่งกรรมไม่ดีไม่ชั่วนี้ล้างหมดทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว”

    แหล่งข้อมูล: พุทธทาส อินทปัญโญ, คู่มือแสดงหลักธรรม, ฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพฯ,ธรรมสภา, 95-96
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ได้หลงธรรมหลอกครับ หลงตัวเองมากกว่า หลงคิดว่าถูก หลงคิดว่าใช่ อาจารย์ยังไม่รู้ย่อมไม่สอน เพราะอาจทำให้ผู้ตามผิดประเด็น รู้จักโลกน้อยเท่าไหร่หลงน้อยเท่านั้นแหละครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ครูบาอาจารย์ท่านหวังดีกับพวกเรา อะไรที่ท่านสอนผิด เมื่อเราทราบก็ช่วยกันปรับปรุงและแก้ไขเสียให้ตรงทางก็แล้วกัน ช่วยกันนะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ส่วนใหญ่พวกเราตีความหมายของธรรมะโดยใช้ (ใจเนื้อ) มนุษย์เป็นศูนย์กลาง เราไม่ได้ใช้ธรรมะเป็นศูนย์กลาง เช่น "ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ (เนื้อ) คือ มีใจ (เนื้อ) เป็นใหญ่ และมีใจ (เนื้อ) เป็นหัวหน้า"

    นี่คือการหลงธรรม เพราะความจริงแล้ว ทุกสิ่งจะสำเร็จได้ก็ด้วยธรรมะ (เท่านั้น) คือ ต้องมีธรรมะ (เท่านั้น) ที่เป็นใหญ่ และต้องมีธรรมะ (เท่านั้น) ที่เป็นหัวหน้า โดยเราต้องโน้มตัวเองเข้าหาธรรมะ ไม่ใช่ดัดแปลงธรรมะให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ก็หลงไปแล้ว จะให้ทำอย่างไรได้ กูรูในสมัยโบราณนั้น เขาไม่เรียก “ธรรมะ” ว่า “โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม” เพราะ “ธรรมะ” นั้นเป็นสภาวะสูงสุด เป็นหนึ่ง และสมบูรณ์แบบ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่จะเรียกสิ่งอื่น ๆ ที่พึ่งอาศัย “ธรรมะ” ต่างหากว่าเป็น “โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม” โดยสิ่งนั้น ๆ จะถูกเรียกชื่อแตกต่างกันไปตาม “พฤติธรรม” ของ “ธรรมะ” ในขณะนั้น โดยจะครอบคลุม “สภาวธรรม” ทั้ง 3 ประการ เช่น

    (1) ถ้า “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “ใน” ธรรมชาติ เราจะเรียก “สภาวธรรม” นั้นว่า “โลกธรรม” หรือ “อันตรธรรม” (Immanence Dharma)

    (2) ถ้า “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “เหนือ” ธรรมชาติ เราจะเรียก “สภาวธรรม” นั้นว่า “โลกุตรธรรม” หรือ “อุตรธรรม” (Transcendence Dharma)

    (3) ถ้า “ธรรมะ” ยังคงดำรงอยู่กับธรรมชาตินั้นตลอดไป แม้ว่าธรรมชาติอื่น ๆ จะแตกดับไปแล้ว เราจะเรียก “สภาวธรรม” นั้นว่า “อมตะธรรม” (Immortal Dharma)

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้