Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ท่านพุทธทาสสอนผิด (5) เรื่อง "การตีความของธรรมะ" หรือ ?

หลักในการตีความหมายของ “ธรรมะ” ที่ถูกต้อง

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทางฟิสิกส์และทางเคมี เขาต้องรู้คุณสมบัติของสารด้วยว่า อะไรผสมกับอะไรได้ อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

ความรู้ทางไสยศาสตร์ เช่น การเล่นแร่แปรธาตุ เขาต้องรู้ว่าเมื่อนำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้นแล้วจะเป็นอะไร อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

ความรู้ทางธรรมะ เช่น การเล่นแง่แปล (อภิ) ธรรม ก็เหมือนกัน เขาต้องรู้คุณสมบัติของธรรมะด้วยว่า ธรรมะผสมกับอะไรได้ และธรรมะผสมกับอะไรไม่ได้ เพราะหากถอดความของ “ธรรมะ” ผิดไปจุด ๆ หนึ่ง ก็จะคลาดเคลื่อนไปเป็นพัน ๆ ข้อ สังคมจะเสื่อมสลาย ผู้คนจะเลวทราม และสถานการณ์คับขันจะอุบัติขึ้นในชั่วพริบตา เพราะฉะนั้น การถอดความของ “ธรรมะ” จะต้องรู้ถึง “ข้อยกเว้น” ของธรรมะทั้ง 4 ประการ ได้แก่

อัปเดต:

(1) เมื่อนำเอา “ธรรมะ” ไปใช้ต้องดูที่ “มิติ” หรือ “บริบท” ด้วย เพราะ “ธรรมะ” นั้นสูงสุด เป็นหนึ่ง และสมบูรณ์แบบ จึงไม่ควรเติมคำว่า กุศล, ดี, ปรมัตถ์, อนุตร, อุดม, ชาติ (เกิด, ปรากฏ) ฯลฯ ไว้ด้านหน้าหรือด้านหลัง “ธรรมะ” ถ้าหากเติมคำเหล่านี้ลงไป ก็จะเกิดคำตรงข้าม และภายหลังใครก็ตามที่นำเอาคำเหล่านี้ไปใช้โดยไม่ได้พิจารณาที่ “มิติ” หรือ “บริบท” ก็จะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าคำตรงข้ามเหล่านั้นก็เป็นธรรมะด้วย

(2) เมื่อนำเอา “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีด้านตรงข้าม” เช่น

โลกธรรม-โลกุตรธรรม

กุศลธรรม-อกุศลธรรม,

ปรมัตถธรรม-สมมติธรรม,

อนุตรธรรม-ธรรมดา,

ความอุดม-ความว่าง

ธรรมเกิด-ธรรมดับ ฯลฯ

คำเหล่านี้ จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” นั้น “สูงสุด” จึงไม่มีด้านตรงข้าม ขอย้ำ ธรรมะใดที่มีด้านตรงข้าม ธรรมะนั้นไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง

อัปเดต 2:

(3) เมื่อนำเอา “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีการแบ่งแยกได้” เช่น

โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม,

กุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม-อกุศลธรรม,

ปรมัตถธรรม-มัชฌิมาธรรม-สมมติธรรม,

อนุตรธรรม-องค์ธรรม-ธรรมดา,

ความอุดม-ความเป็นกลาง-ความว่าง

ธรรมที่เกิดขึ้น-ธรรมที่ตั้งอยู่-ธรรมที่ดับไป

คำเหล่านี้ จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” เป็น “หนึ่ง” จึงไม่มีการแบ่งแยก ขอย้ำ ธรรมะใดที่แบ่งแยกได้ ธรรมะนั้นไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง

(4) เมื่อนำ “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีความหมายไปในทางชั่ว” เช่น ธรรมะดี-ธรรมะชั่ว-ธรรมะไม่ดีไม่ชั่ว, ธรรมะขาว-ธรรมะดำ-ธรรมะไม่ดำไม่ขาว ฯลฯ คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” นั้น “สมบูรณ์แบบ” จึงอยู่เหนือกรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว, อยู่เหนือกรรมสุข-กรรมทุกข์-กรรมที่ไม่สุขไม่ทุกข์, อยู่เหนือกรรมเกิด-กรรมดับ-กรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ ฯลฯ เราจึงไม่อาจนำเอา “ธรรมะ” นั้นไปเปรียบเทียบกับคำอื่น ๆ ได้นอกจากตัวของธรรมะเอง เช่น ธรรม-อธรรม-ธรรมาธรรม, ธัมมะธัมโม ฯลฯ

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    อย่าไปโทษท่านพุทธทาสเลยว่า......ผิดพลาด

    เพราะความผิดพลาดนั้นมันถูกท่ายทอดกันมาตั้งแต่....สมัยโบราณแล้ว

    หลักการทั้ง 4 ประการ ของเจ้าของกระทู้.......จึงไม่ใช่ความรู้ใหม่

    ที่ว่าเป็นความรู้ใหม่ เพราะเราพึ่งเคยได้ยิน แต่ความจริง...มีมานานแล้ว

    แต่ไม่ได้จัดเรียงลำดับเป็นข้อ ๆ อย่างนี้เท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น ใน "กาลามสูตร" (10 ประการ) จึงย้ำนักน้ำหนาว่า...

    1. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา

    2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา

    3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ

    4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา

    5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา

    6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา

    7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล

    8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน

    9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้

    10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

    แหล่งข้อมูล: จากพระไตรปิฎก
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าเข้าใจข้อยกเว้นทั้ง 4 ประการนี้

    เราว่าเราก็ตีความหมายของธรรมะได้ง่ายขึ้น

    แต่น่าเสียดาย ภาษาที่ใช้กับธรรมะ มันทำให้เราเบื่อ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขอบคุณ yahoo รู้รอบ

    หลักการนี้ ศึกษาแล้วได้ประโยชน์จริง ๆ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าหลักการนี้ถูกต้อง เป็นจริง

    เราก็ตีความกันมั่วไปหมดนะซี

    ถึงว่ายิ่งเรียนรู้ ยิ่งงง

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    หลักการนี้ ถือว่าสมเหตุสมผลดี อยุ่แล้ว แน่นอน

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    โอ้โห่...สุดยอด

    เพิ่งรุ้รสพระธรรมก้อวันนี้แหละ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยอมรับว่า นี่คือความรู้ใหม่

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้