Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ท่านพุทธทาสสอนผิด (3) เรื่อง “ ธรรมะ คือ อะไร ” หรือ ?

ปัญหาคือ : มีอาจารย์หลายท่านได้นำคำว่า “ธมฺม” (บาลี) และ “ธรฺม” (สันสกฤต) ที่แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” มาสรุปว่า “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม ก็เป็นธรรมะทั้งนั้น” ถ้าเราฟังพระสวดศพก็จะได้ยินคำว่า “กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา อพยากตาธมฺมา” หมายความว่า “ธรรมะฝ่ายดีก็เป็นธรรมะ ธรรมะฝ่ายชั่วก็เป็นธรรมะ และธรรมะฝ่ายที่ไม่มีดีไม่มีชั่วก็ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น”

การวิเคราะห์ปัญหา : เมื่อถามว่า “ธรรมะคืออะไร?” ผู้ตอบส่วนใหญ่ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่าง “ธรรมะ” ตามความหมาย “ดั้งเดิม” และ “ธรรมะ” ตามความหมาย “ใหม่” ให้ชัดเจน จึงทำให้ผู้ตอบ “หลงทาง” และ “สับสน” เสียเองใน 4 ประเด็น คือ

อัปเดต:

(1) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะที่ดำรงอยู่ได้เอง” แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะที่อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” (กฎของปฏิจจสมุปบาท) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

(2) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” (กฎของวัฏสงสาร) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

(3) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะของเหตุ” เท่านั้น แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะที่เชื่อมโยงกันระหว่างเหตุและผล” (กฏของอิทัปปัจจยตา) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

(4) “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง “สภาวะที่ปัญญาหยั่งรู้ไม่ได้” แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “สภาวะอนิจจัง-ทุขัง-อนัตตาที่ปัญญาหยั่งรู้ได้” (กฎของไตรลักษณ์) แล้วเขาก็ไปสรุป (เอาเอง) ว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดย���เว้น

อัปเดต 2:

ความผิดพลาดเกิดจากผู้ตอบไปนำเอา “คำตอบ” ในมิติหนึ่ง (อเทวนิยม) มาตอบในอีกมิติหนึ่ง (เทวนิยม) โดยไม่ได้พิจารณา “มิติ” หรือ “บริบท” เพราะฉะนั้น “คำตอบ” นั้นจึงสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน ถึงขั้นทำลายล้าง “รากฐาน” ของศาสนาพุทธเลยทีเดียว เพราะความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” เป็น “เทวนิยม” แต่ความหมาย “ใหม่” ของ “ธรรมะ” นั้นเป็น “อเทวนิยม” จึงไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ นั่นเอง

ต่อไปนี้ จะวิเคราะห์ความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” (เทวนิยม) จากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งทั้ง 2 ภาษานั้นต่างก็ล้วนมาจาก “ภาษาพระเวท” ทั้งสิ้น

อัปเดต 3:

1. คำว่า “ธรรมะ” ตรงกับภาษาบาลี คือ “ธมฺม” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ธ + มฺม

1.1 “ธ” (dha) ถ้าใช้กับมนุษย์จะใช้แทนชื่อบุคคลชั้นสูง เช่น พระเจ้าแผ่นดิน มีความหมายว่า ท่าน, เธอ

1.2 “มฺม” (mum) แปลว่า แม่, ให้กำเนิด, บ่อเกิด, ปลอมตัว, เงียบ ฯลฯ และถูกใช้ในความหมายอื่นด้วย เช่น ชอบ, ดี, ถูกต้อง ฯลฯ ความจริงคำว่า “มฺม” เป็นรากของคำว่า “Mummy” กับ “Mother” ในแถบเอเชียที่ให้ความสำคัญกับ “แม่” จึงเรียก “ธมฺม” ว่า “พระแม่ทรงธรรม” หรือ “พระแม่องค์ธรรม” แต่ในแถบยุโรปนั้นจะให้ความสำคัญกับ “พ่อ” จึงเรียก “ธมฺม” ว่า “องค์พระบิดา” ฯลฯ โดยทั้ง 2 คำนั้นจะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แต่โดยรวมแล้ว ส่วนใหญ่ทุกฝ่ายต่างยอมรับว่าหมายถึง ผู้ให้กำเนิด, ผู้สร้าง, ผู้เป็นต้นเหตุ, ผู้เป็นต้นตระกูล, ผู้สูงสุด, ผู้เป็นหนึ่ง ฯลฯ

อัปเดต 4:

เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “ธมฺม” หมายถึง สภาวะที่เป็นเหตุ

ของผู้ทรงดำรงอยู่, สภาวะสูงสุดของผู้ทรงดำรงอยู่ ฯลฯ โดย “ธมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ประชาธรรม” (หน้าที่ของประชาชน) แต่เน้นที่ “ราชธรรม” (หน้าที่ของพระราชา) หมายความว่า “ธมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “มนุษยกรรม” (กรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมไม่ดีไม่ชั่วที่เสื่อมสูญของมนุษย์) แต่มุ่งเน้นที่ “อมตธรรม” (คุณความดีที่เป็นอมตะของผู้ทรงดำรงอยู่)

2. คำว่า “ธรรมะ” ตรงกับภาษาสันสกฤต คือ “ธรฺม” ประกอบด้วย 2 คำ คือ ธร + รฺม

2.1 “ธร” (dhara) แปลว่า การยึดไว้, การถือไว้, การรักษาไว้, ผู้ทรงไว้ ฯลฯ

2.2 “รฺม” (rum) แปลว่า ผิดธรรมดา, ไม่รู้จัก ฯลฯ คำนี้เป็นรากของคำว่า “รมฺม” กับ “รมฺย” แปลว่า น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, น่ารัก, น่าสบาย, น่าพึงใจ, น่ายินดี, งาม ฯลฯ

อัปเดต 5:

เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “ธรฺม” หมายถึง สภาวะที่อยู่เหนือธรรมชาติของผู้ทรงดำรงอยู่, สภาวะที่ไม่รู้จักของผู้ทรงดำรงอยู่, ความสุขของผู้ทรงดำรงอยู่, ความชอบธรรมของผู้ทรงดำรงอยู่, คุณความดีของผู้ทรงดำรงอยู่ ฯลฯ โดย “ธรฺม” ไม่ได้เน้นที่ “ทุ” (สอง, ปรุงแต่ง, ชั่ว, ยาก, มลทิน, มืด, ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) แต่เน้นที่ “สุ” (หนึ่ง, แท้, ดี, งาม, ง่าย, สะอาด, สว่าง, สงบ) หมายความว่า “ธรฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ความทุกข์” (ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) แต่เน้นที่ “ความสุข” (คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง) เพราะฉะนั้น ในโลกนี้จึงมีแต่ “ความทุกข์” เท่านั้นที่เกิดขึ้นและก็มีแต่ “ความทุกข์” เท่านั้นที่ดับไป ด้วยเหตุนี้ จึงมีแต่ “ความสุข” เท่านั้นที่ “ทรงตัวอยู่” เป็น “อมตะสุข”

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    สาเหตุที่ ทำให้เกิดความสับสนอยุ่ ทุกๆวันนี้

    1. ผู้ตอบคำถามไม่รู้ความหมายดั้งเดิมของ คำที่ได้นำมาใช้

    2. ผู้ตอบคำถามไม่ได้ เปรียบเทียบว่า ความหมายของเดิม - ใหม่ ต่างกันอย่างไร

    3. ผู้ที่ รับข้อมูลมาก็ไม่ได้ พิจารณาด้วยปัญญา แต่เชื่อตามเพราะ เชื่อว่าคำสอนของ อาจารย์ จะถูกต้อง และน่าเชื่อถือ เพียงเท่านั้น

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เจ้าของกระทู้ได้ทำสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย

    พึ่งรู้ตัวนะนี่ว่า เราสนใจธรรมะขึ้นเยอะเลย

    ถ้าแยกแยะอย่างนี้ ธรรมะก็น่าสนใจ น่าศึกษาจริง ๆ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เราเป็นอิสระแล้ว

    ท่านละเป็นอิสระหรือยัง?

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เพื่อไม่ให้คนฟังสับสน เมื่อสอนว่า “ธรรมะ คือ อะไร” ผู้สอนก็ควรชี้แจงให้ชัดเจนด้วยว่าเล็งถึง “ธรรมะ” อันไหน “เดิม” ? “ใหม่” ? หรือ “ทั้งหมด” ? ไม่มียกเว้น เปรียบเทียบความแตกต่างให้ชัดเจน เช่น

    “ธรรมะ” แบบ “ดั้งเดิม” หมายถึง พฤติธรรม ของ “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะ “คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” ซึ่ง “ไม่มีอยู่ในโลกนี้” จึง “ไม่มีใครรู้จัก” และไม่อาจหาคำพูดใด ๆ มาพรรณนาคุณลักษณะที่สัมบูรณ์นั้นได้ แต่หากจำเป็นต้องพรรณนา ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า “อมตะ-สุขัง-อัตตา” เพราะเป็นสภาวะที่อยู่เหนือธรรมชาติ

    ส่วน “ธรรมะ” แบบ “ใหม่” หมายถึง พฤติกรรม ของ “สรรพสิ่งทั้งปวง” โดยพระโคตมพุทธเจ้าได้ยึดเอา “หลักกรรม” และ “หลักปฏิจจสมุปบาท” นั้นมาเป็น “รากฐาน” ของศาสนาพุทธ ดังนั้น การอธิบายธรรมะของพระองค์ ส่วนใ��ญ่จะใช้คำว่า “อนิจจัง-ทุขัง-อนัตตา” เพราะหมายถึง การทำให้ตัวเองบริบูรณ์มากกว่าที่จะเข้าถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เออ.....แด่ธรรมะที่ไม่รู้จักจริง ๆ คิดว่ารู้แล้วนะเนี่ย

    เออ.....ไม่รู้จักจริง ๆ ถ้ารู้จักก็คงไม่เถียงกันอยู่ขนาดนี้หรอก

    เออ.....ถ้ารู้จัก แล้วเล่าให้เขาฟัง เขาจะไม่ว่าเราบ้า? หรือเมา? หรือเปล่า?

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ผิดพลาดจริง ๆ และเราเองก็เคยมีประสบการณ์นี้มาบ้าง บอกตามตรง ฟังคำตอบแล้วงง....คือไม่รู้คำตอบก็ยังดีกว่า ที่รู้แล้วกลับยิ่งทำให้งงมากขึ้นกว่าเก่าอีก

    คำถามมี 1

    คำตอบอาจจะมีมากกว่า 1 ก็ได้

    แต่เมื่อตอบแล้วควรจะบอกด้วยว่าเป็นมุมมองของเทวนิยมหรืออเทวนิยม....นี่คือการตอบที่ถูกต้อง ชัดเจน

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การแยกแยะข้อแตกต่างให้ละเอียดอย่างนี้

    น่าจะช่วยให้พวกเราสะดวกขึ้นในการค้นหาความหมายต่อไป

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้