Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ปริศนาธรรม (5) “ตัววัดผลสำเร็จ” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (5) “ตัววัดผลสำเร็จ” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

5.1 ตัววัดผลของศาสนาระดับโลกธรรมอยู่ที่ การได้รับ “ความสุข” ในโลกนี้

5.2 ตัววัดผลของศาสนาระดับโลกุตรธรรมอยู่ที่ การ “ไม่ยึดมั่นถือมั่น” อะไรเลย

5.3 ตัววัดผลของศาสนาระดับอมตะธรรมอยู่ที่ การรัก “พระเจ้า” และ “มนุษย์”

อัปเดต:

ตอบ คุณ T.K. ธรรม....ที่เคารพ... คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับ?

1. “Manoch” คือ ชื่อจริง และ “P” ก็เป็นนามสกุลจริง ๆ ของผมด้วยครับ

ผลงานที่ตีพิมพ์ไปแล้ว 7 เล่ม ผมก็ใช้ชื่อนี้มาตลอด (ขอโทษที่พูดเรื่องส่วนตัว)

2. ผมไม่เคยเปลี่ยนชื่อ และก็ไม่เคยโดนลบแอคเคาน์เลยครับ (มีแต่ผมลบเอง 1 ข้อ)

3. ทุกครั้งที่ตั้งคำถาม ผมจะให้ข้อมูล รายละเอียดเท่าที่จะให้ได้ ถึงที่มาของก��รตั้งคำถามนั้น แต่ สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้สอนธรรมะที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ “การเปรียบเทียบกัน” แม้มิได้จงใจกระทบกระทั่งกัน เพราะหากผู้สอนไม่แตกฉานเพียงพอ หรือรู้เพียงมิติใดมิติหนึ่งเท่านั้น ก็อาจจะสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนจนพลัดตกไปสู่หลักปฏิบัติของลัทธิ nilhil หรือลัทธิเต๋า (ธรรมะระดับโลกธรรม) โดยไม่รู้ตัว และถึงขั้นทำลายล้างคำสอนดั้งเดิมของศาสนาพุทธ (ธรรมะดับโลกุตรธรรม) เลยทีเดียว

อัปเดต 2:

4. การมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่มีใครมีข้อมูลเพียบพร้อมครบถ้วน แต่บางครั้งผู้ที่ไม่รู้จริง แต่มีอำนาจได้เข้ามาร่วมวงด้วยจนก่อให้เกิดความสับสน สร้างความเสียหาย และสร้างบรรทัดฐานที่ผิดจนไม่อาจจะแก้ไขหรือลบล้างได้ง่าย ๆ

5. การเข้าถึง “ธรรมะ” นั้นไม่ยาก แต่เพราะความหมายดั้งเดิมถูกบิดเบือนไป ส่วนอื่น ๆ จึงถูกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ (จากรากฐาน, เป้าหมาย, หน้าที่, แนวทาง และตัววัดผลสำเร็จของธรรมะ) เพราะกลุ่มประชาชนที่ใช้ภาษาอินโด-ยุโรป ได้แก่ ภาษาในยุโรป อาร์เมเนียน เปอร์เชี่ยนและสันสกฤต จะมีโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่คล้าย ๆ กัน และมีรากศัพท์อันเดียวกัน เพราะชาวอารยันที่เป็นบรรพบุรุษของชาวอินเดียนั้นใช้ภาษาที่มีรากมาจากภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป ซึ่งเวลาต่อมากลายเป็นแม่ของภาษาต่างๆในอินเดีย เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาเบงกาลี ฯลฯ

อัปเดต 3:

6. ถ้าผมสอนผิด คุณก็ชี้แจงมาซิครับว่า ผิดตรงไหน? อย่างไร? จะขอบพระคุณยิ่ง เพื่อข้อมูลนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผม คุณ และคนอื่น ๆ ที่ศึกษาด้วยกันใน yahoo รู้รอบ ผมพยายามหักล้างเฉพาะคำสอนที่ตรวจสอบแล้วว่าไม่ถูกต้องเท่านั้น และต้องขอโทษที่การตั้งคำถามนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิด อย่ารีบตัดสินสิ่งใดด้วยอคติ ควรศึกษาคำตอบก่อนไม่ดีกว่าหรือ? ผมเชื่อว่า คุณ T.K. ธรรม....เป็นคนดี มีเหตุ มีผล และก็เคารพในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่นครับ

“การแตกแยกเป็นสิ่งที่น่ากลัว

แต่การรวมตัวกันอย่างผิด ๆ ก็น่ากลัวกว่า”

อัปเดต 4:

หมายเหตุ

1. กลุ่มอเทวนิยม (ทัศนะที่ไม่เชื่อและไม่ยอมรับว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1.1 โลกธรรม

1.2 โลกุตรธรรม

2. กลุ่มเทวนิยม (ทัศนะที่เชื่อว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 3 ระดับ คือ

2.1 โลกธรรม เช่น ศาสนาเต๋า ฯลฯ

2.2 โลกุตรธรรม เช่น ศาสนาพุทธ ฯลฯ

2.3 อมตะธรรม เช่น ศาสนาคริสต์ ฯลฯ

อัปเดต 5:

จุดประสงค์เพื่อจะบอกว่า หากมอง “ธรรมะทั้งปวง” (โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม) แบบ “เป็นหนึ่ง” จะพบว่า “ธรรมะทั้งปวง” นั้นเป็น “ปริศนาธรรม” ซ้อน “ปริศนาธรรม” ยิ่งพบ “โลกธรรม” ชัดเจนเท่าใด ก็จะพบ “โลกุตรธรรม” และ“อมตะธรรม” ชัดเจนเท่านั้น

คำตอบอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่การได้ไตร่ตรองอะไรบางอย่างที่แฝงอยู่ใน “ปริศนาธรรม” อาจช่วยให้เรามองเห็นสิ่งจำเป็นอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตและการเปิดรับแนวคิดของผู้อื่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจศาสนาของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

โดยความต่างกันของ “ธรรมะทั้งปวง” กลับจะเต���มเต็มซึ่งกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ไม่มีธรรมะใดที่เป็นเอกเทศจากธรรมะอื่น และไม่มีธรรมะใดที่ทำหน้าที่อย่างครบถ้วนโดยตัวมันเอง “ธรรมะทั้งปวง” ล้วนเป็นตัวตนและเป็นเงาของกันและกัน จนไม่อาจแยกออกจากกันได้ง่าย ๆ

อัปเดต 6:

เพราะฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่มีจิตใจยึดมั่นถือมั่นใน “ธรรมะ” เพียงมิติใดมิติหนึ่งอย่างสุดโต่ง จึงเป็น “ความมืดบอด” ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง “ธรรมะทั้งหมด” เพราะยิ่งเขาพบ “แก่น” ในมิติที่ 1 ชัดเจนเท่าใด ก็จะไม่สามารถพบ “แก่น” ในมิติที่ 2 และมิติที่ 3 ได้เลย เพราะเรื่องๆ เดียวกัน ถ้ามองในมิติที่ 1 จะเป็นอย่างหนึ่ง ถ้ามองในมิติที่ 2 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในมิติที่ 3 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและส่วนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาทดแทนกันได้ โดย “แก่น” ของมิติใดก็ตาม เมื่อย้ายไปอยู่ในอีกมิติหนึ่ง ก็จะเป็นแค่เพียง “เปลือกกระพี้” เท่านั้น เราจึงไม่อาจยึดเอาข้อสรุปจากมิติใดมิติหนึ่งนั้น มาเป็นคำตอบของทั้งหมดได้

อัปเดต 7:

ตอบ คุณ on-ces ที่เคารพ

“โลกธรรม” เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ “สอดคล้อง” กับความเป็นจริงของ “ธรรมชาติ” โดยจะปรากฏอยู่ในรูปแบบของกฎศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมขั้นพื้นฐาน เราจึงเปรียบ “โลกธรรม” ได้กับ “เปลือกกระพี้” ของธรรมะเท่านั้น หากมองในแง่ของหลักปฏิบัติ เราจะต้องพิจารณาที่ “จุดมุ่งหมาย” (ดั้งเดิม) ของโลกธรรมนั้นอยู่ตรงไหน? เช่น

มิติที่ 1 เป็นเพียงเครื่องมือในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ “สอดคล้อง” กับสภาวะของกรรมดี-กรรมชั่วของมนุษย์ (เป็นหลักการที่ใช้กับบางสิ่งเท่านั้น ไม่ใช่กับทุกสิ่ง)

อัปเดต 8:

มิติที่ 2 เป็นเพียงเครื่องมือในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ “สอดคล้อง” กับสภาวะของกรรมสุข-กรรมทุกข์ของมนุษย์ (เป็นหลักการที่ใช้กับบางสิ่งเท่านั้น ไม่ใช่กับทุกสิ่ง)

มิติที่ 3 เป็นเพียงเครื่องมือในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ “สอดคล้อง” กับสภาวะของกรรมเกิด-กรรมตายของมนุษย์ (เป็นหลักการที่ใช้กับบางสิ่งเท่านั้น ไม่ใช่กับทุกสิ่ง)

แต่นักศาสนากลับเน้นที่ “เจตนา” ของผู้ปฏิบัติธรรมมากกว่า “จุดมุ่งหมาย” (ดั้งเดิม) ของโลกธรรมโดยให้ความสำคัญกับการสะสมกรรมดีของตนเองมากกว่า “จุดมุ่งหมาย” (ดั้งเดิม) ของโลกธรรม จึงทำให้ “โลกธรรม” นั้นกลายเป็น “ลัทธิบัญญัตินิยม” (Legalism) โดยปฏิบัติตามกฎศีลธรรม จริยธรรมต่าง ๆ อย่างเคร่งครัดจนถึงกับยกย่องกฎศีลธรรมจริยธรรมว่าเป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” เลยทีเดียว

อัปเดต 9:

“ปัญหา” คือ ปุถุชนทั่วไปมองโลกธรรมเพียงแค่ 2 มิติ เท่านั้น เรียกว่า “ทวิภาวะ” (Duality) คือมอง “เป็นคู่”

โดยจับ “ดี” กับ “ชั่ว” มาคู่กัน เช่น ความดี-ความชั่ว, กุศล-อกุศล ฯลฯ พอนาน ๆ ไปเกิดความเคยชิน จึงถูกลวงด้วยสิ่งที่ “เป็นคู่” โดยคิดว่าความชั่ว (อกุศล) ก็เป็นธรรมะด้วย หรือจับคำตรงข้าม ของ “โลกียกรรม” มาคู่กัน เช่น มีลาภ-เสื่อมลาภ, มียศ-เสื่อมยศ, สรรเสริญ-นินทา, สุข-ทุกข์ โดยคิดว่า “ผลแห่งการรับ” ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่วก็เป็นธรรมะทั้งนั้น ไม่มียกเว้น จนถึงกับยกย่องการมองเป็นคู่ว่าเป็น “ภูมิปัญญา” ของผู้เจริญเลยทีเดียว

8 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ธรรมะไม่มีมิเตอร์มาวัด หรือถ้าวัดจะเอาอะไรมาวัด เพราะการปฏิบัติธรรมไม่ใช่การแข่งขัน มีการแต่ปลดปล่อยจิตใจให้ออกจากการแข่งขัน

    ถ้าธรรมะไม่ใช่ธรรมชาติอย่างที่คุณเคยกล่าวเอาไว้ การวัดผลสำเร็จของธรรมะก็ไม่ควรเอาการวัดในแบบธรรมชาติมาวัด

    ขอถามกลับอีกนิดนะครับ คุณเป็นศาสนิกชนแห่งศาสนาใดครับ? (เอาสั้น ๆ หรือถ้าไม่สะดวกจะเฉยไว้ก็ไม่ขัดข้องครับ)

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าไม่ได้นับถือศาสนาพุทธจริง ๆ ก็อย่ามาแอบอ้างเอาคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาตีความผิด ๆ ให้คนหลงทางผิด ๆ ควรเกิดความละอายแà��à¹ˆà¹ƒà¸ˆà¸šà¹‰à¸²à¸‡

    พระเจ้าไม่เคยสอนให้กล่าวร้ายผู้อื่นไม่ใช่หรือ แต่นี่อะไรมาทำตัวให้น่ารังเกียจเช่นนี้ ในการทำลายผู้อื่นแบบนี้แม้จะเปิดเผยตัวจริงยังไม่กล้า ใช้วิธีการอันสกปรก คนแบบนี้ตายไปก็อย่าหวังจะได้ไปอยู่กับพระเจ้าเลย...

    ที่สำคัญไม่มีคำสอนใดในศาสนาพุทธให้นับถือพระเจ้าหรือพึ่งพาพระเจ้า มากไปกว่าการมุ่งทำความดี ปฏิบัติตนและใจให้อยู่ในความดี ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากการกระทำและรับผลแห่งการกระทำนั้น ๆ ไม่ใช่มาอ้อนวอนขอจากพระเจ้าองค์ไหน ๆ

    เคยโดนลบแอคเคาน์ไปแล้วนี่ อุตส่าห์ไปเปลี่ยนชื่อมาสมัครใหม่ แต่ยังมีนิสัยโพสต์ข้อความผิด ๆ ไม่เลิก...

    งั้นขอตอบต่อ...

    พูดมาทั้งหมดนั่นแหละ คือเปลือกกระพี้..

    เพราะถ้าศึกษาศาสนาพุทธได้เข้าใจจริง ๆ ก็จะรู้ว่าทุกสิ่งที่ศาสนาพุทธสอน ท้ายที่สุดของทั้งมวลอยู่ในกายในใจเรานี่เอง เขาดูลงมาที่กายที่ใจตนเอง ดูการเคลื่อนไหวของจิต และรู้เท่าทันจิต จักรวาลทั้งมวลรวมลงมาอยู่ที่กายที่ใจนี่แหละ และท้ายที่สุดก็เห็นไตรลักษณ์ และถึงซึ่งอริยสัจสี่ในที่สุด..เป็นความยากที่อยู่ในความง่ายแค่นี้เอง

    การศึกษาศาสนาพุทธเขาไม่ได้อยู่ที่การอวดภูมิวิเคราะห์วิจารณ์ แต่ต้องลงมือปฏิบัติให้เห็นจริงรู้จริงด้วยตนเอง คนที่ดีแต่วิเคราะห์วิจารณ์แต่ไม่เคยลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง ก็คงไม่ต่างจากเถรใบลานเปล่า ซึ่งหาประโยชน์หรือความรู้แจ้งเห็นจริงอะไรไม่ได้ เพราะถ้าหากได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ จนเห็นผลตามคำสอนได้แล้ว คำถามหรือข้อสงสัยแบบนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นมาหรอก...

    ปล.ถ้าปฎิบัติตนให้"จิตตื่น"ได้เมื่อไหร่ นั่นก็ถือว่าเห็นผลขั้นต้นได้บ้างแล้ว และก็จะได้รู้เองว่าผลแห่งการปฎิบัติธรรมเป็นอย่างไร...

    อ้อ..และถ้าเป็นคนนับถือศาสนาพุทธจริงดังว่า หากยังทำตนให้จิตตื่นไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งไปเขียนหนังสือแนววิเคราะห์ศาสนาพุทธเลย เพราะจะเป็นบาปเป็นกรรมที่ทำคนให้หลงผิด ๆ

    และถ้าไม่ใช่คนที่นับถือศาสนาพุทธก็ยิ่งไม่สมควรมาวิเคราะห์วิจารณ์ เพราะตนเองก็ไม่ได้รู้จริงจึงเป็นการกระทำที่น่าละอายใจอย่างยิ่ง...

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าคุณใช้คำศัพท์แบบนี้เราจะถือว่า

    คุณกำลังกล่าวถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่นะคะ

    ก่อนอื่นคุณอาจยังไม่เข้าใจคำว่าโลกธรรมดีพอ

    เราลอกโลกธรรมบางส่วนมาจากโลกวิปัตติสูตรดังนี้

    [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก

    และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ

    ๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ,

    ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ ,นินทา ๑ สรรเสริญ ๑, สุข ๑ ทุกข์ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล

    ย่อมหมุนไปตามโลก แà��¥à¸°à¹‚ลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ..

    เดี๋ยวจะยาวเกินนะคะ ขอตัดให้เหลือแค่นี้

    แต่ขอให้คุณกลับไปเสิร์จอ่านให้จบด้วยนะคะ เพื่อความเข้าใจอันดี

    โลกธรรม8เป็นสิ่งที่ทำให้ใจปุถุชนหวั่นไหวได้

    เมื่อระลึกรู้อยู่เนืองๆว่าโลกธรรม8 เมื่อเกิดอย่างหนึ่ง เดี๋ยวก็เหวี่ยงมาอีกคู่หนึ่ง

    เช่น เมื่อไหร่มีสุขได้ แปลว่ายังมีทุกข์ได้

    มีสรรเสริญย่อมไม่พ้นคำนินทา เป็นต้น

    เห็นความจริงว่าโลกธรรม8 ก็ไม่เที่ยง(อนิจจัง)

    เกิดแล้วตั้งอยู่นานไม่ได้(เป็นทุกข์) บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้(เป็นอนัตตา)

    ใจก็จะยอมรับความจริงได้ว่ามันไม่น่ายึดมั่นถือมั่น (ไม่ใช่คิดเอาเองว่าจะไม่ยึดมั่น)

    จนวันหนึ่งความรู้พอแล้ว เกิดได้มรรคขึ้นมา ได้แก่ โสดาปติมรรค เป็นต้นไป

    ก็จะคลายความยึดมั่นได้เป็นขั้นๆแบบไม่กำเริบกลับอีก

    (มรรคตรงนี้ไม่ใช่การคิดเอาเหมือนกันคะ แต่มีกระบวนการทางใจอยู่ โดยเกิดขึ้นเองเมื่อใจสะสมความรู้ถูกอย่างเพียงพอ มีศีลพร้อม มีสัมมาสมาธิพร้อม)

    การได้มรรคผลนั้นต้องเจริญสติปัฏฐาน4

    ให้เห็นใจความจริงว่าสิ่งทั้งหลายไม่น่ายึดเพราะมันไม่ใช่ตัวเรา

    ถ้าคุณแย้งว่าทำไมบางคนฟังธรรมแล้วบรรลุ

    ก็ต้องตอบว่าเพราะท่านเคยสั่งสมปัญญามามากแล้วในอดีต

    แค่มีพระพุทธเจ้าพูดให้ฟัง แล้วส่งกระแสจิตตามก็บรรลุได้

    ดังนั้นอยากเน้นว่าคิดเฉยๆไม่สามารถเข้าถึงธรรมะแบบพุทธได้

    แต่ต้องรู้ความจริงอย่างที่เป็นสามัญลักษณะ(คืออีกชื่อของไตรลักษณ์)

    เท่าที่อ่านข้อความก็พบว่าคุณแตกฉานเรื่องศาสนามากนะคะ

    เรื่องที่ธรรมทั้งหลายเกี่ยวข้องกันอยู่นั้นถูกแล้วคะ

    แต่ด้วยความเห็นที่ว่าถ้าเข้าใจหมดแล้วจะเรียกว่าเข้าถึงธรรมะนั้นยังไม่ถูก

    เราทราบว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าถ��¹‰à¸²à¸­à¸¢à¸²à¸à¸šà¸¹à¸Šà¸²à¸žà¸£à¸°à¸­à¸‡à¸„์

    ขอให้ปฏิบัติบูชาเพราะเป็นการบูชาสูงสุด เหนือดอกไม้เครื่องหอมใดๆ

    และท่านไม่ได้ขอให้ใครมาเถียงแทนท่านในสิ่งที่ท่านไม่ตรัส

    แต่เราก็ต้องออกมาแสดงความเห็นไว้คะ

    เพราะยังไม่เข้าใจว่าเจตนาของคุณมาโนชตั้งใจจะทำอะไร

    อยากให้คนเข้าใจในทุกศาสนาอย่างลึกซึ้ง หรือมีเจตนาอื่นหรือไม่

    ข้อจำกัดของนักวิชาการ คือเรียนเพื่อเอาความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง

    แล้วเอาความรู้นั้นไปสรุปเพื่อเอาไปทำอย่างไรอย่างหนึ่งเพื่อพัฒนาให้มีความสุข

    อาจเป็นการเพิ่มอัตตาให้ตัวเองว่าในที่สุดเราก็ค้นพบแล้ว เราเก่งแล้ว

    แต่ความรู้ของพุทธมีเพื่อพ้นทุกข์ เพื่อให้หมดไปซึ่งความทุกข์โทมนัส

    ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญรำพันนะคะ

    เพราะเห็นแล้วว่าเราเก่งไม่มี มีแต่ความเก่ง มีแต่ความคิด มีแต่ความขยัน

    มีแต่กายกับใจ(รูปกับนาม)ทำงานของมันเอง

    ซึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา

    ถ้าคุณไม่เข้าใจที่พูดมาก็ต้องลองเจริญสติปัฏฐาน4 ดูนะคะ

    แนะนำให้ที่ www.wimutti.net/pramote หรือ

    สายหลวงพ่อเทียน (ที่ขยับมือแล้วรู้อาการมือขยับ เมื่อใจหลุดจากการรู้ก็รู้ว่าใจลอยคะ)

    หลวงตามหาบัว(ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น)

    คอร์สการปฏิบัติธรรมของคุณแม่สิริ กรินชัย และสายหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

    (ท่านมีอาจารย์คนเดียวกันคือท่านเจ้าคุณโชดก)

    คอร์สของแม่ชีศัสนีย์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกหรือเปล่า) เสถียรธรรมสถาน

    (ไม่ทราบว่ารับผู้ชายมั้ยนะคะ)

    คอร์สของท่านโคเอนก้า นักธุรกิจชาวอินเดียที่เรียนวิชาจากพระในพม่าคะ

    คอร์สและวัดเหล่านี้ยังสอนธรรมะเพื่อการพ้นทุกข์อยู่นะคะ

    นอกจากนี้ก็ยังมีอีก แต่เรายังไม่ทราบ และอาจหลงลืมไปบ้าง

    ขอให้เจริญในธรรมคะ เราคงเสียดายมาก

    ถ้าคุณจะหยุดความรู้ลง��¹à¸„่ว่าความเห็นของตัวเองถูกแล้ว

    จนไม่ยอมเปิดรับสิ่งอื่นที่ยังรู้ไม่ทั่วอีก

  • Urai
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขออนุญาตมีเอี่ยวหน่อยเถอะครับ เพราะคุณถามเยอะเหลือเกิน

    ยอมรับว่าไม่รู้เรื่องครับ ส่วนหนึ่งเพราะคุณไม่สรุปแต่ใจความสำคัญ แต่ทำเหมือนจะเอาหนังสือหนึ่งเล่มมาโพสต์ในนี้

    คนไกลศาสนาแบบผม อ่านสี่ห้าบรรทัดก็เลิกแล้วครับ เชื่อว่าคนที่ตั้งใจอ่านข้อความของคุณ ก็คงเป็นคนที่สนใจ และรู้ซึ้งอยู่แล้ว

    ถ้าจะให้ดี น่าจะไปโพสต์ไว้ที่เว็ปใดเว็ปหนึ่ง แล้วมาโพสต์ลิ้งค์ที่นี่ ใครสนใจก็ตามไปอ่าน ส่วนที่นี่เอาเฉพาะคำถาม หรือส่วนสำคัญน่าจะพอนะครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตัววัดควมสำเร็จ มันไม่ด้ายอยู่ที่ไหนแต่มันอยู่ที่ว่าคุณตั้งใจทำแค่ไหน พยายามทำมั้ยต่างหากเล่า

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เกรงว่า จะไม่ใช่ศาสนาพุทธที่สอนอยู่ในดินแดนประเทศไทย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    -.ความหมายในภาษาไทย

    คำว่า “ศาสนา” แปลมาจากคำว่า สาสนํ ในภาษาบาลี, ศาสนํ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง “คำสั่งสอน” คำสั่งสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้น เป็นประดิษฐกรรมทางความคิดอันสูงสุดของคนเท่านั้น ของสัตว์ไม่มี ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นสมบัติของคนถ้าคนไม่มีศาสนาก็เท่ากับไม่มีสมบัติของคน

    -.ความหมายในภาษาอังกฤษ

    คำว่า “ศาสนา” ในภาษาไทย ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “religion” คำอังกฤษคำนี้มีผู้สันนิษฐานว่า มาจากภาษาลาติน “religio” และคำนี้ในภาษาลาติน ก็สันนิษฐานอีกว่ามาจาก 2 คำ คือ “relegere” ซึ่งแปลว่า “การปฏิบัติต่อ หรือการเกี่ยวข้องกับความระมัดระวัง” อย่างหนึ่ง, จากคำว่า “religare” ซึ่งแปลว่า “ผูกพัน”

    นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมายหรือคำจำกัดความตามเนื้อหาที่นักปราชญ์ทางศาสนาได้ให้ไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไป ดังนี้

    1.ดร.โรเบิต เออร์เนสต์ ฮุม เสนอไว้ 8 ข้อ

    1.เน้นความหมายทางพุทธิปัญญา (Intelectual Emphasis)

    2.เน้นความหมายทางศีลธรรม (Moral Emphasis)

    3.เป็นความหมายทางสะเทือน (Emotional Emphasis)

    4.เน้นความหมายทางการบูชา (Emphasis worship)

    5.เน้นความหมายทางประโยชน์ส่วนตน Emphasis on self-advantage)

    6.เน้นความหมายทางสังคม (Social Emphasis)

    7.เน้นความหมายเรื่องส่วนตนของแต่ละคน (Indivividual Emphasis)

    8.เน้นความหมายทางกระบวนการแห่งอุดมคติอันสูงสุด

    (Emphasis on the Supeme Idealizing process)

    2.Max Miller เน้นพุทธิปัญญา (Intellect) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความสามารถหรืออำนาจทางจิตซึ่งไม่ขึ้นแก่ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสหรือเหตุผล สามารถนำบุคคลให้เข้าถึงพระเจ้าภายใต้พระนามต่างๆ

    3.Immanuel Kant เน้นศีลธรรม (Moral) กล่าวว่า ศาสนา คือ การยอมรับรู้ถึงหน้าที่ทั้งปวง ตามเทวโองการ

    4.Allen Menses เน้นการบูชา (Worship) กล่าวว่า ศาสนา คือ การบูชาพลังที่สูงกว่า

    5.Edward Scribner Ams เน้นสังคม (Society) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความรู้สึกถึงคุณค่าทางสังคมอันสูงสุด

    6.G.W. Stratton เน้นอุดมคติอันสูงส่ง (Supreme Ideal) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความนิยมชมชอบถึงโลก

    7.Adams Brown เน้นชีวิต (Life) กล่าวว่า ศาสนา หมายถึงชีวิตของบุคคลในส่วนที่สัมพันธ์กับท่านผู้เหนือมนุษย์ธรรมดาของเขา

    8.หลวงวิจิตรวาทการ เน้นองค์ประกอบของศาสนา กล่าวว่า คำสอนที่จัดเป็นศาสนานั้นต้องเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางจรรยา มีศาสดา มีคณะบุคคลที่รักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนไว้ เช่น พระหรือนักบวช และมีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี

    9.ศ. เสถียร พันธรังสี เน้นลักษณะของศาสนา กล่าวว่า ลักษณะที่เรียกว่าศาสนาได้ มีหลักดังนี้คือ ต้องเป็นเรื่องความเชื่อถือได้โดยมีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางธรรมจรรยา มีศาสดา และมีผู้สืบต่อคำสอนที่เรียกว่าพระหรือนักบวช

    10.อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เน้นลักษณะคำสอน กล่าวว่า คำสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้นว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ คือ ความเชื่อในอำนาจที่มองเห็นไม่ได้ด้วยตาบางอย่าง เช่น อำนาจของธรรม หรือ อำนาจของพระเจ้า มีหลักศีลธรรม มีคำสอนว่าด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต และมีพิธีกรรม

    11.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในง่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในง่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ

    ศาสนาคืออะไร

    1.คำสั่ง(บังคับให้ทำ)

    2.คำสอน (แนะนำชักชวนให้ทำ)

    3.คำสั่งสอน

    4.ความเชื่อในอำนาจที่มองไม่เห็นด้วยตาบางอย่าง

    5.หลักศีลธรรม

    6.จุดหมายสูงสุดแห่งชีวิต

    7.พิธีกรรมทางศาสนา

    ศาสนา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศิลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

    เหตุให้เกิดศาสนาในโลก

    มนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ได้ประสบกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ซึ่งมีทั้งความน่ากลัว แปลกประหลาด และมหัศจรรย์สำหรับตัวมนุษย์ เช่น ความมืด ความสว่าง พายุพัด ฟ้าแลบ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เจ้าของกระทู้ได้ตั้งคำถามไว้ แล้วก็เฉลยคำตอบที่เขาคิดว่าคนอื่นจะต้องตอบในมุมมองของแต่ละคนที่ได้รับการสั่งสอนมาจากศาสนาของตน ผมยอมรับว่า การตอบคำถามเหล่านี้ จึงยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่ท้าทายนะ

    ผมเพียงแต่คาดเดาเอาเองจากข้อมูลที่มี��¸­à¸¢à¸¹à¹ˆà¸§à¹ˆà¸²

    - เขาต้องการให้เรามุ่งตรงไปที่ธรรมะเป็นหลัก เพราะธรรมะนั้นเป็นสากลที่ทุกคนยอมรับ

    - เขาต้องการให้เราค้นหาคำตอบนั้นด้วยตนเอง ไม่ใช่ไปลอกคำตอบของคนอื่นเอามาตอบ

    - เขาต้องการให้เราพิจารณาจุดที่ตนเองยืนอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ และจุดที่คนอื่นยืนอยู่ด้วยว่าต่างจากจุดของตนอย่างไร

    - เขาต้องการให้เราเรียนรู้จากมุมมองอื่นที่แตกต่างออกไปด้วย

    - ข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด คือ พวกเราหันมาให้ความสนใจกับศาสนาพุทธของเรามากขึ้น

    มัวไปค้นหาคำตอบอยู่ กว่าจะหาคำตอบได้

    เวลาก็หมดซะแล้ว ขอขยายเวลาตอบออกไปหน่อยได้ไหม?

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้