Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ปริศนาธรรม (3) “หน้าที่” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (3) “หน้าที่” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

3.1 หน้าที่ของศาสนาระดับโลกธรรมอยู่ที่ การสร้างมนุษย์ให้เป็น “คนดี”

3.2 หน้าที่ของศาสนาระดับโลกุตรธรรมอยู่ที่ การสร้างมนุษย์ให้เป็น “อรหันต์”

3.3 หน้าที่ของศาสนาระดับอมตะธรรมอยู่ที่ การสร้างมนุษย์ให้เป็น “พระเจ้า”

อัปเดต:

หมายเหตุ

1. กลุ่มอเทวนิยม (ทัศนะที่ไม่เชื่อและไม่ยอมรับว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1.1 โลกธรรม

1.2 โลกุตรธรรม

2. กลุ่มเทวนิยม (ทัศนะที่เชื่อว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 3 ระดับ คือ

2.1 โลกธรรม เช่น ศาสนาเต๋า ฯลฯ

2.2 โลกุตรธรรม เช่น ศาสนาพุทธ ฯลฯ

2.3 อมตะธรรม เช่น ศาสนาคริสต์ ฯลฯ

อัปเดต 2:

จุดประสงค์เพื่อจะบอกว่า หากมอง “ธรรมะทั้งปวง” (โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม) แบบ “เป็นหนึ่ง” จะพบว่า “ธรรมะทั้งปวง” นั้นเป็น “ปริศนาธรรม” ซ้อน “ปริศนาธรรม” ยิ่งพบ “โลกธรรม” ชัดเจนเท่าใด ก็จะพบ “โลกุตรธรรม” และ“อมตะธรรม” ชัดเจนเท่านั้น

โดยความต่างกันของ “ธรรมะทั้งปวง” กลับจะเติมเต็มซึ่งกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ไม่มีธรรมะใดที่เป็นเอกเทศจากธรรมะอื่น และไม่มีธรรมะใดที่ทำหน้าที่อย่างครบถ้วนโดยตัวมันเอง “ธรรมะทั้งปวง” ล้วนเป็นตัวตนและเป็นเงาของกันและกัน จนไม่อาจแยกออกจากกันได้ง่าย ๆ

คำตอบอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่การได้ไตร่ตรองอะไรบางอย่างที่แฝงอยู่ใน “ปริศนาธรรม” อาจช่วยให้เรามองเห็นสิ่งจำเป็นอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตและการเปิดรับแนวคิดของผู้อื่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจศาสนาของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อัปเดต 3:

เพราะฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่มีจิตใจยึดมั่นถือมั่นใน “ธรรมะ” เพียงมิติใดมิติหนึ่งอย่างสุดโต่ง จึงเป็น “ความมืดบอด” ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง “ธรรมะทั้งหมด” เพราะยิ่งเขาพบ “แก่น” ในมิติที่ 1 ชัดเจนเท่าใด ก็จะไม่สามารถพบ “แก่น” ในมิติที่ 2 และมิติที่ 3 ได้เลย เพราะเรื่องๆ เดียวกัน ถ้ามองในมิติที่ 1 จะเป็นอย่างหนึ่ง ถ้ามองในมิติที่ 2 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในมิติที่ 3 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและส่วนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาทดแทนกันได้ โดย “แก่น” ของมิติใดก็ตาม เมื่อย้ายไปอยู่ในอีกมิติหนึ่ง ก็จะเป็นแค่เพียง “เปลือกกระพี้” เท่านั้น เราจึงไม่อาจยึดเอาข้อสรุปจากมิติใดมิติหนึ่งนั้น มาเป็นคำตอบของทั้งหมดได้

อัปเดต 4:

ตอบ คุณ on-ces ผู้เต็มไปด้วยความเมตตาต่อผู้หลงทาง

ผมขอชี้แจง 2 ข้อ

1. คุณกลับไปอ่านคำถามใหม่ ผมไม่ได้บอกว่า “เปลือกกระพี้ไม่สำคัญ”

แต่ผมบอกว่า “แก่นของมิติหนึ่ง ถ้าย้ายไปอยู่ในอีกมิติหนึ่งจะกลายเป็นเปลือกกระพี้” ครับ

2. “ศรัทธา” และ “ปัญญา” นั้นเป็นเพียงเครื่องมือเข้าถึง “ธรรมะ” เท่านั้น ถ้าใช้มันล้ำเส้นมากเกินไป มันจะฉุดรั้งมนุษย์ให้จมสู่ความทะนงตน

อัปเดต 5:

ผมไม่ได้เข้าใจผิด แต่คุณกำลังมาถูกทางต่างหาก เพราะเมื่อคุณมุ่งตรงไปที่ธรรม���แล้วคุณก็จะค้นพบกลับคำตอบนั้นด้วยตัวของคนเอง

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เจ้าของกระทู้ได้ตั้งคำถามไว้ แล้วก็เฉลยคำตอบที่เขาคิดว่าคนอื่นจะต้องตอบในมุมมองของแต่ละคนที่ได้รับการสั่งสอนมาจากศาสนาของตน ผมยอมรับว่า การตอบคำถามเหล่านี้ จึงยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่ท้าทายนะ

    ผมเพียงแต่คาดเดาเอาเองจากข้อมูลที่มีอยู่ว่า

    - เขาต้องการให้เรามุ่งตรงไปที่ธรรมะเป็นหลัก เพราะธรรมะนั้นเป็นสากลที่ทุกคนยอมรับ

    - เขาต้องการให้เราค้นหาคำตอบนั้นด้วยตนเอง ไม่ใช่ไปลอกคำตอบของคนอื่นเอามาตอบ

    - เขาต้องการให้เราพิจารณาจุดที่ตนเองยืนอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ และจุดที่คนอื่นยืนอยู่ด้วยว่าต่างจากจุดของตนอย่างไร

    - เขาต้องการให้เราเรียนรู้จากมุมมองอื่นที่แตกต่างออกไปด้วย

    - ข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด คือ พวกเราหันมาให้ความสนใจกับศาสนาพุทธของเรามากขึ้น

    มัวไปค้นหาคำตอบอยู่ กว่าจะหาคำตอบได้

    เวลาก็หมดซะแล้ว ขอขยายเวลาตอบออกไปหน่อยได้ไหม?

  • Aragon
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ปริศนาปุจฉา สงสัยว่าคนถามเป็นใครนะครับ

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การอ่าน คิด เขียน พูด ฟัง หรือจิตนาการเพียงอย่างเดียว

    ก็เป็นการยึดมั่นว่าทำแบบนี้แล้ว

    จะไม่ยึดมั่นในมิติใดมิติหนึ่งอย่างสุดโต่งด้วยนะคะ

    เพราะมีความเห็นว่าการทำในสิ่งเหล่านี้แล้ว ถึงจะถูกที่สุด

    ในศาสนาพุทธแบ่งปัญญาเป็น3ระดับ

    คือ1.สุตมยปัญญา 2.จินตามยปัญญา 3.ภาวนามยปัญญา

    ความรู้ที่ไม่ได้จากการภาวนาเพื่อเผากิเลส

    ก็จะอยู่ในระดับจำมาจากคนอื่นและจิตนาการเอาเองนะคะ

    การเรียนรู้ธรรมะของพระสมณโคดม

    ไม่เหมือนการเรียนวิชาอื่นๆที่พวกเราเคยเรียนมา

    เพราะต้องดูต้องรู้กายใจของตัวเอง(ตามวิธีสติปัฏฐาน4)จนเห็นไตรลักษณ์

    แรกๆอาจต้องเปรียบเทียบหรือทำอะไรบางอย่างด้วยความจงใจ

    แต่พอสัมมาสติเกิดก็จะรู้เห็นความจริงได้เองโดยไม่ต้องตั้งใจคะ

    ดูเหมือนคุณไม่อยากให้คนยึดเปลือกแก่นกับกระพี้ของต้นไม้

    แต่ต้องขอเรียนอย่างนี้คะ (ลอกความคิดมาจากมาจากมิลินทปัญหา)

    ว่าถ้าปลอกเปลือกผลไม้ทิ้งไว้ ผลไม้นั้นจะอยู่ได้นานหรือไม่

    คำตอบคือ ไม่นาน

    แต่ถ้าไม่ปลอกผลไม้นั้นแล้ววางทิ้งไว้

    ผลไม้นั้นจะวางไว้ในนานพอดูใช่มั้ยคะ

    ถ้าเราไม่มีเปลือก ไม่มีใบไม้ ไม่มีกิ่งก้านสาขาเสียแล้ว

    ต้นไม้นั้นจะเป็นต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะขาดอวัยวะน้อยใหญ่ที่ต้นไม้ควรมี

    เมื่อใครเจอแก่นแล้ว เข้าถึงแก่นได้ก็น่าอนุโมทนาสาธุการเหลือเกินคะ

    แต่เราจะทิ้งเปลือกก็ไม่ได้เหมือนกัน

    ส่วนคำถามของคุณนั้นถามว่าหน้าที่ของธรรมะคืออะไร

    เราก็อยากถามกลับว่าธรรมะต้องทำอะไรด้วยหรือ?

    ธรรมะไม่ต้องทำอะไร แต่เป็นสิ่งที่คงอยู่อย่างนั้น

    เป็นความจริงอยู่อย่างนั้น โดยไม่ขึ้นกับกาลนะคะ

    ธรรมะคงทำเพียงรอให้เราค้นพบ

    และยอมรับเพราะเห็นความจริงอย่างแจ่มแจ้งแล้ว

    จากนั้นใจจะวางเอง

    สะกิดเตือนนิดหนึ่งว่าความเห็นตรงนี้ของคุณ ผิดแล้วนะคะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ประเภทของศาสนา

    ประเภทศาสนา มีวิธีการจัดแบ่งที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ได้แก่

    1. แบ่งประเภทตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า

    1.1 เทวนิยม (Theism) นับถือพระเจ้า เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ สร้างโลกและสรรพสิ่งต่างๆ

    แบ่งเป็น

    ก . เอกเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ศาสนาสิข ศาสนาเต๋า ศาสนายูดาหรือยิว ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม

    ข . พหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือพระเจ้าหลายองค์ และอาจผสมผสานกับการบูชาธรรมชาติ (Nature worship) ได้แ ก่ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาขง จื๊ อ ศาสนาชินโต

    1.2 อเทวนิยม (Atheism) เป็นศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า คือไม่เชื่อหรือไม่สอนให้เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลกได้แก่ ศาสนาพุทธ และ เชนหรือนิครนถ์

    2. แบ่งประเภทตามการที่มีผู้นับถืออยู่หรือไม่

    2.1 ศาสนาที่ตายไปแล้ว (Dead Religions) หมายถึง ศาสนาที่มีผู้นับถือในอดีตกาล แต่ในปัจจุบันไม่มีผู้นับถือ มี 12 ศาสนา ได้แก่

    1. ศาสนาของพวกกรีกโบราณ

    2. ศาสนาของพวกติวตันโบราณ

    3. ศาสนาของพวกโรมันโบราณ

    4. ศาสนาของพวกสแกนดิเนเวียนโบราณ

    5. ศาสนาของพวกเปรูโบราณ

    6. ศาสนาของพวกเม็กซิกันโบราณ

    7. ศาสนาของพวกอียิปต์โบราณ

    8. ศาสนาของพวกบาบิโลเนียน

    9. ศาสนาของพวกฟินิเชียน

    10. ศาสนามนีกี

    11. ศาสนามิถรา

    12. ศาสนาของพวกฮิทไท

    2.2 ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living Religions) หมายถึง ศาสนาที่ยังมีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบัน มี 11 ศาสนา ได้แก่

    1. ศาสนาคริสต์

    2. ศาสนาอิสลาม

    3. ศาสนาพุทธ

    4. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

    5. ศาสนาโซโรอัสเตอร์

    6. ศาสนาเชน

    7. ศาสนาสิข

    8. ศาสนาเต๋า

    9. ศาสนาขงจื้อ

    10. ศาสนาชินโต

    11. ศาสนายิว

    3. แบ่งประเภทตามการมีผู้นับถือเฉพาะชาติหรือหลายชาติ

    3.1 ศาสนาของชาติ (National Religions) ได้แก่ ศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น และมีผู้นับถือภายในประเทศนั้น หรือชนชาตินั้น ได้แก่

    1 . ศาสนาชินโต มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติญี่ปุ่น

    2. ศาสนาขงจื๊อ มีผู้นับถือเฉพาะชาวจีน

    3. ศาสนาเต๋า มีผู้นับถือเฉพาะชาวจีน

    4. ศาสนาศาสนาเชน มีผู้นับถือเฉพาะชาวอินเดีย

    5. ศาสนาสิข มีผู้นับถือเฉพาะชาวอินเดีย

    6. ศาสนาหราหมณ์-ฮินดู มีผู้นับถือเฉพาะชาวอินเดีย

    7. ศาสนายิวหรือยูดา มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติยิว

    8. ศาสนาโซโร อั สเตอร์ เกิดในเปอร์เชียแต่ยังมีผู้นับถือประมาณ 1 แสนคนในอินเดีย

    3.2 ศาสนาของโลก (Universal Religions) คือ ศาสนาสากล ได้แก่ ศาสนาที่เกิดในแห่งหนึ่ง แต่มีผู้นับถืออีกหลายแห่งในประเทศอื่น ได้แก่

    1. ศาสนาคริสต์

    2. ศาสนาอิสลามหรือมหมัด

    3. ศาสนาพุทธ

    4. แบ่งตามชื่อศาสนา

    4.1 ชื่อตามผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ตั้งชื่อตามท่านขงจื๊อ หรือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ตั้งชื่อตามท่านศาสดา โซโรอัสเตอร์

    4.2 ชื่อตามนามเกียรติยศของผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ คำว่าพุทธะ แปลว่า ท่านผู้รู้ ทั้ง ๆ ที่นามแท้จริงของพระพุทธเจ้าคือ สิทธัตถะ โคตมะ หรือศาสนาเชน คำว่า เชน มาจากคำว่า ชินะ แปลว่าผู้ชนะ ทั้งที่ชื่อจริงของผู้ตั้งศาสนาคือ วรฺธมานะ ศาสนาคริสต์ คำว่า คริสต์หรือ ไครสต์ ( Christ ) แปลว่าผู้ได้รับอภิเศก

    4.3 ชื่อตามหลักคำสอนในศาสนา ได้แก่ ศาสนาเต๋า คำว่า " เต๋า " แปลว่า ทาง (The Way) หรือทิพยมรรคา (The Divine Way) ศาสนาชินโต คำว่า " ชินโต " แปลว่า ทางแห่งเทพทั้งหลาย (The Way of the Gods) ศาสนาอิสลาม คือศาสนามหมัดนั่นเอง แต่นิยมเรียกว่าอิสลาม คำว่า อิสลาม แปลว่า ยอมจำนน หรือยอมอ่อนน้อม (ต่อพระเป็นเจ้า) ศาสนาสิข แปลว่า ศาสนาของสาวก ( The religion of “the Disciples” )

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    หน้าทีของธรรมะอยู่ที่ความไม่รู้(อวิชชา) เหมือนความเจ็บป่วยจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบำบัดความเจ็บป่วยให้หาย ธรรมะก็ทำหน้าที่บำบัดความไม่รู้

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ ��าคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้