Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ปริศนาธรรม (1) “ราก���าน” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (1) “รากฐาน” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

1.1 รากฐานของโลกธรรมอยู่ที่ความเป็น “สามัญ” ของธรรมชาติ

1.2 รากฐานของโลกุตรธรรมอยู่ที่ความเป็น “พิเศษ” ของมนุษย์

1.3 รากฐานของอมตะธรรมอยู่ที่ความเป็น “มนุษย์” ของพระเจ้า

อัปเดต:

หมายเหตุ

1. กลุ่มอเทวนิยม (ทัศนะที่ไม่เชื่อและไม่ยอมรับว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1.1 โลกธรรม

1.2 โลกุตรธรรม

2. กลุ่มเทวนิยม (ทัศนะที่เชื่อว่ามีพระเจ้า) จะแบ่งธรรมะออกเป็น 3 ระดับ คือ

2.1 โลกธรรม เช่น ศาสนาเต๋า ฯลฯ

2.2 โลกุตรธรรม เช่น ศาสนาพุทธ ฯลฯ

2.3 อมตะธรรม เช่น ศาสนาคริสต์ ฯลฯ

อัปเดต 2:

จุดประสงค์เพื่อจะบอกว่า หากมอง “ธรรมะทั้งปวง” (โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม) แบบ “เป็นหนึ่ง” จะพบว่า “ธรรมะทั้งปวง” นั้นเป็น “ปริศนาธรรม” ซ้อน “ปริศนาธรรม” ยิ่งพบ “โลกธรรม” ชัดเจนเท่าใด ก็จะพบ “โลกุตรธรรม” และ“อมตะธรรม” ชัดเจนเท่านั้น

คำตอบอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่การได้ไตร่ตรองอะไรบางอย่างที่แฝงอยู่ใน “ปริศนาธรรม” อาจช่วยให้เรามองเห็นสิ่งจำเป็นอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตและการเปิดรับแนวคิดของผู้อื่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจศาสนาของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

โดยความต่างกันของ “ธรรมะทั้งปวง” กลับจะเติมเต็มซึ่งกันและกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ไม่มีธรรมะใดที่เป็นเอกเทศจากธรรมะอื่น และไม่มีธรรมะใดที่ทำหน้าที่อย่างครบถ้วนโดยตัวมันเอง “ธรรมะทั้งปวง” ล้วนเป็นตัวตนและเป็นเงาของกันและกัน จนไม่อาจแยกออกจากกันได้ง่าย ๆ

อัปเดต 3:

เพราะฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่มีจิตใจยึดมั่นถือมั่นใน “ธรรมะ” เพียงมิติใดมิติหนึ่งอย่างสุดโต่ง จึงเป็น “ความมืดบอด” ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง “ธรรมะทั้งหมด” เพราะยิ่งเขาพบ “แก่น” ในมิติที่ 1 ชัดเจนเท่าใด ก็จะไม่สามารถพบ “แก่น” ในมิติที่ 2 และมิติที่ 3 ได้เลย เพราะเรื่องๆ เดียวกัน ถ้ามองในมิติที่ 1 จะเป็นอย่างหนึ่ง ถ้ามองในมิติที่ 2 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในมิติที่ 3 ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและส่วนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาทดแทนกันได้ โดย “แก่น” ของมิติใดก็ตาม เมื่อย้ายไปอยู่ในอีกมิติหนึ่ง ก็จะเป็นแค่เพียง “เปลือกกระพี้” เท่านั้น เราจึงไม่อาจยึดเอาข้อสรุปจากมิติใดมิติหนึ่งนั้น มาเป็นคำตอบของทั้งหมดได้

อัปเดต 4:

ตอบ คุณ on-ces ผู้เป็นบุตรของพระพุทธองค์

สมแล้ว��ี่คุณ on-ces เป็นบุตรของพระพุทธองค์ ผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตาต่อผู้หลงทาง ความแล้วผมตั้งใจว่าจะไม่ตอบคำถามใด ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคำตอบ เพราะต้องการให้ทุกคนมุ่งตรงไปที่ “ธรรมะ” เท่านั้น แต่เมื่อเกิดความเข้าใจผิดก็จำเป็นต้องชี้แจงบ้าง

แต่กรณีของคุณ on-ces นั้นมันต่างออกไป เพราะข้อความของคุณ on-ces ผมวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผมและผู้อ่าน yahoo รู้รอบ จึงขอตอบเป็นข้อ ๆ ดังนี้

อัปเดต 5:

1. เรื่องการแบ่งชั้นทางศาสนาเป็น โลกธรรม-โลกุตรธรรม ฯลฯ นั้น ชาวพราหมณ์และชาวพุทธเป็นคนแบ่งเอง ไม่ใช่ผม ข้อพิสูจน์

(1.1) หนังสือปวงปราชญ์อินเดีย, ฟื้น ดอกบัว, 2545, หน้า 26, 29

(1.2) หนังสือ ปรัชญาแห่งโยคะ, ซูซาน, หน้า 96

(1.3) หนังสือ จากคน..สู่มนุษย์ จากมนุษย์..สู่อริยบุคคล, มนูญ วงศ์นารี, 2546, หน้า 10-12

(1.4) หนังสือ สุดยอดธรรมะ ฉบับพินัยกรรม 2, วรยุทธ พิชัยศรทัต, 2549, หน้า 4

2. การอธิบายเรื่องโลกธรรม 8 ได้แก่ (มีลาภ-เสื่อมลาภ), (มียศ- เสื่อมยศ), (สรรเสริญ-นินทา), (สุข-ทุกข์) ของปุถุชนนั้น (พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, สุชีพ ปุญญานุภาพ, หน้า 571) ความจริงแล้วควรเรียกว่า “โลกียกรรม” ไม่ควรเรียกว่า “โลกธรรม” (หรือโลกียธรรม) เพราะทั้ง 2 คำนั้น ความหมายในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตแตกต่างกันมาก สรุปสั้น ๆ คือ

อัปเดต 6:

(2.1) “โลกียกรรม” คือ “กรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่มีดีไม่มีชั่ว” เป็นเพียงแค่วิถีของปุถุชนเท่านั้น โดยจะออกมาในรูปแบบของพฤติกรรม เช่น (มีลาภ-เสื่อมลาภ) , (มียศ-เสื่อมยศ), (มีสรรเสริญ-มีนินทา) , (มีสุข-มีทุกข์) นั่นเอง

(2.2) “โลกธรรม” คือ หลักการที่มนุษย์ใช้ดำเนินชีวิตเพื่อให้ “สอดคล้อง” กับวิถีของ “โลกียกรรม” เช่น เมื่อมีลาภควรปฏิบัติตัวอย่างไร และเมื่อเสื่อมลาภแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร ฯลฯ โดยจะออกมาในรูปแบบของพฤติธรรม เช่น ศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมขั้นพื้นฐาน นั่นเอง

(2.3) “โลกุตรธรรม” คือ สภาวะที่มนุษย์ “หลุดพ้น” แล้วจากวิถีของ “โลกียกรรม” (มีลาภ-เสื่อมลาภ ฯลฯ) และก็ “หลุดพ้น” จากวิถีของ “โลกธรรม” (ศีลธรรม ฯลฯ) ด้วยเช่นกัน เราจึงเรียกสภาวะที่มนุษย์ “หลุดพ้น” จากโลกียกรรมและโลกธรรมว่า “โลกุตรธรรม” ที่เล็งถึง (หรือแปลว่า) “การมีพฤติธรรมเหนือโลก” เท่านั้น ไม่ใช่ “การมีพฤติธรรมเหนือธรรม” (แล้วจะสูงสุดกว่าธรรมได้อย่างไร?) โดยจะออกมาในรูปแบบของมนุษยธรรม เช่น กายธรรม มโนธรรม ฯลฯ

อัปเดต 7:

3. ศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ฯลฯ ก็สอนให้คนทั้งหลายพ้นจากวิถีของโลกียกรรม (โรม 12:1-2, ยากอบ 4:4, 1 ยอห์น 2: 15-17) และจากวิถีของโลกธรรม (กาลาเทีย 2:15-21, 3:10-13, 4:4) ด้วยเหมือนกัน

4. ความจริงเราไม่เรียก “ธรรมะ” ว่า “อมตะธรรม” เพราะ “ธรรมะ” เป็นอมตะอยู่แล้ว (ไม่เกิด-ไม่ดับ) จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ “ธรรมะ” เป็น “หนึ่ง” ไม่แบ่งแยก สิ่งใดแบ่งแยก สิ่งนั้นไม่ใช่ธรรมะที่แท้จริง แต่เราจะเรียกสิ่งอื่น ๆ ซึ่งพึ่งพาอาศัยธรรมะต่างหากที่แบ่งแยกออกเป็น “โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม” ซึ่งมันจะถูกเรียกชื่อต่างกันไปตามสภาวะที่ธรรมะนั้น “ดำรงอยู่” แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

อัปเดต 8:

(4.1) ถ้า “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “ใน” สิ่งใด สภาวะนั้นจะถูกเรียกว่า “โลกธรรม”

(4.2) ถ้า “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “เหนือ” สิ่งใด สภาวะนั้นจะถูกเรียกว่า “โลกุตรธรรม”

(4.3) ถ้า “ธรรมะ” ยังคงดำรงอยู่ในสิ่งนั้น “ตลอดไป” แม้สิ่งอื่น ๆ จะดับไปแล้ว สภาวะนั้นจะถูกเรียกว่า “อมตะธรรม” เป็นสภาวะที่มนุษย์ต้องการมีอำนาจเหนือ “การเกิด-การตาย” ของร่างกาย มนุษย์ จึงให้ความสำคัญกับ “กายอมตะ” ซึ่งเป็น “สภาวะใหม่” ของมนุษย์เพราะศัตรูตัวสุดท้ายที่มนุษย์ต้องเอาชนะคือ “ความตาย” นั่นเอง

อัปเดต 9:

5. ผมไม่ได้บิดเบือนรากฐานของศาสนาพุทธ คุณ on-ces หากคุณต้องการตำหนิต้องไปตำหนิพระธรรมปิฎกเอง เพราะท่านกล่าวว่า “มนุษย์สามารถมีปัญญาที่จะมีชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ธรรมชาติของมนุษย์ตรงนี้ ถือเป็นรากฐานของศาสนาพุทธเลยทีเดียว ธรรมชาติ “พิเศษ” ของมนุษย์ คือ เป็นสัตว์ที่ฝึกได้มาเป็นหลักสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นการให้กำลังใจมนุษย์ว่า มนุษย์ที่ฝึกแล้วนั้น เลิศประเสริฐ จนกระทั่งแม้แต่เทวดาและพรหมก็น้อมนมัสการ” (จากหนังสือ ทุกข์สำหรับเห็น สุขสำหรับเป็น, พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), 2547, หน้า 47-50 (ผมจึงย้ำไว้แล้วทุกข้อว่าก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (1) ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบ 1.1-1.3 ต่อไปนี้ก่อน

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เจ้าของกระทู้ได้ตั้งคำถามไว้ แล้วก็เฉลยคำตอบที่เขาคิดว่าคนอื่นจะต้องตอบในมุมมองของแต่ละคนที่ได้รับการสั่งสอนมาจากศาสนาของตน ผมยอมรับว่า การตอบคำถามเหล่านี้ จึงยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่ท้าทายนะ

    ผมเพียงแต่คาดเดาเอาเองจากข้อมูลที่มีอยู่ว่า

    - เขาต้องการให้เรามุ่งตรงไปที่ธรรมะเป็นหลัก เพราะธรรมะนั้นเป็นสากลที่ทุกคนยอมรับ

    - เขาต้องการให้เราค้นหาคำตอบนั้นด้วยตนเอง ไม่ใช่ไปลอกคำตอบของคนอื่นเอามาตอบ

    - เขาต้องการให้เราพิจารณาจุดที่ตนเองยืนอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ และจุดที่คนอื่นยืนอยู่ด้วยว่าต่างจากจุดของตนอย่างไร

    - เขาต้องการให้เราเรียนรู้จากมุมมองอื่นที่แตกต่างออกไปด้วย

    - ข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด คือ พวกเราหันมาให้ความสนใจกับศาสนาพุทธของเรามากขึ้น

    มัวไปค้นหาคำตอบอยู่ กว่าจะหาคำตอบได้

    เวลาก็หมดซะแล้ว ขอขยายเวลาตอบออกไปหน่อยได้ไหม?

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ที่พูดมาทั้งหมดนั่นแหละ คือเปลือกกระพี้..

    ก่อนที่จะใช้วิธีสกปรกทำลายความศรัทธาที่ผู้อื่นมีต่อศาสนาพุทธ ก็ขอให้เข้าใจเสียก่อนว่า ทุกสิ่งที่ศาสนาพุทธสอน ท้ายที่สุดของทั้งมวลอยู่ในกายในใจเรานี่เอง เขาดูลงมาที่กายที่ใจ ดูการเคลื่อนไหวของจิต และรู้เท่าทันจิต และท้ายที่สุดก็เห็นไตรลักษณ์ และถึงซึ่งอริยสัจสี่ในที่สุด..

    เห็นยกเมฆมาตั้งมาก มัวแต่เขียนมั่วซั่วอ้อมภูเขาเลากา แตะได้แต่เปลือกได้แต่กระพี้ ศาสนาพุทธเขาไม่พูดจาหรือวิเคราะห์อะไรแบบใช้เหตุผลเลื่อนเปื้อน เพราะเขียนแบบนี้เห็นมีแต่พวกคลั่วศาสนาอื่นเท่านั้นแหละ

    ศาสนาพุทธเขาไม่ได้สอนด้วยภาษายากเย็นแสนเข็ญที่พยายามอวดภูมิแบบผิด ๆ ถูก ๆ ด้วยการฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับมากระเดียดมั่วซั่วปนเปด้วยการพยายามพูดจาให้เข้าใจยากเข้าไว้ และชักประโยชน์เข้าศาสนาที่ตนเองเชื่ออยู่ วิธีการอันน่าอดสูแบบนี้ พระเจ้าท่านไม่เคยสั่งสอนไว้สักหน่อย ไปเปิดพระคัมภีร์ดูซะบ้างนะ...

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ทำสัญญากันก่อน ว่าไม่ว่าจะตอบโต้อะไรกันก็จะไม่โกรธนะคะ

    ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้และความเห็นปนๆกันไป

    ถ้าวาจาเราสามหาว ล่วงเกินคุณให้โกรธต้องขออภัยล่วงหน้าคะ

    ก่อนอื่นต้องขอติคุณมาโนชก่อนว่าการแบ่งชั้นทางศาสนา

    เป็นความเห็นของคุณคนเดียวหรืออาจมีคนจำนวนหนึ่งเห็นด้วยอยู่นะคะ

    ยังไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นสัจจะ เป็นความจริงแล้ว

    ถ้าแปลตามตัวแล้วคำว่าโลกุตรธรรม แปลว่า ธรรมเหนือโลก

    คือพ้นแล้วจากโลก โลกนั้นอาจมองว่าเป็นโลกธรรม8ก็ได้

    คือไม่หวั่นไหวในสิ่งทั้งปวง เพราะใจวางความยึดมั่นได้แล้ว

    การแบ่งระดับมาเป็นระดับกลางไม่ถูก เพราะธรรมะประเภทนี้ไม่เกี่ยวกับโลกแล้ว

    ถ้าจะให้ชี้ชัดๆว่าพุทธสอนให้ใจไม่ถูกโลกธรรม8ครอบงำใจได้แล้ว

    แต่ศาสนาที่สอนเรื่องพระเจ้าไม่ได้สอนให้คนทั้งหลายมีใจพ้นจากโลกธรรมนะคะ

    (การมีใจพ้นจากโลกธรรมไม่ได้แปลว่ากดใจให้นิ่งๆ ไม่หวั่นไหว

    ใครพูดอะไรก็ไม่โกรธ แต่หมายถึงการทำสติปัฏฐาน4จนเห็นความจริง

    และใจวางไปจากความยึดมั่นเอง ไม่หวั่นไหวไปเองเพราะเห็นความจริงแล้ว)

    และคำว่าอมตะธรรม แปลตามตัว ว่าธรรมที่ไม่ตาย

    ต้องถามคุณมาโนชคะ ว่าทำไมถึงให้ศาสนาที่เชื่อในพระเจ้า

    ว่าเป็นอมตะธรรมหรือธรรม(ที่เราแปลว่าความจริง)ที่ไม่ตาย

    และเรียงลำดับว่าธรรมที่อยู่เหนือโลกเป็นศาสนาระดับกลางนะคะ

    (ธรรมที่อยู่เหนือโลก ไม่ได้แปลว่าดีเหนือใครๆ

    แต่หมายความว่าใจไม่ติดอยู่ในโลกธรรม8แล้ว

    พ้นไปแล้วจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง)

    เรื่องต่อมาที่อยากติ คือการวางสมมติฐานที่ไม่จริงเกี่ยวกับศาสนาพุทธ

    เพราะรากฐานของโลกุตรธรรมไม่ได้อยู่ที่ความพิเศษของมนุษย์

    แต่เป็นการเรียนรู้ความธรรมดา ความจริงของมนุษย์

    ว่าความทุกข์ทั้งปวงเกิดจากความเห็นผิดว่าตัวเรามี

    เราจึงอยากให้กายใจนี้มีความสุข จนทำกรรมต่างๆ

    ทั้งกรรมดีกรรมชั่วเพื่อให้"ตัวเรา"มีความสุข

    แต่เมื่อเห็นว่าตัวเราไม่มี ใจก็วางลงพ้นจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

    (กิเลส แปลว่า เครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย)

    ในฐานะปุถุชนย่อมเห็นว่าการเป็นพระอรหันต์นั้นเป็นเรื่องพิเศษ

    แต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายไม่ได้เห็นอย่างนั้น

    ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ดูตัวอย่างพุทธพจน์นะคะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้

    ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น "เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว" กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

    ไม่มีคำไหนจะกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเน้นความวิเศษเหนือมนุษย์นะคะ

    มีแต่รู้ความจริงแล้วใจจะหลุดพ้น

    (ทิ้งลิงค์ไว้ให้แล้ว ถ้าคุณอ่านพระสูตรนี้ตั้งแต่ต้นจะเข้าใจมากขึ้นคะ)

    เรียกว่ากลับไปมองความจริง จนเห็นความจริง

    ไม่ได้มองความจริง เพื่อให้เป็นคนพิเศษคะ

    และต่อให้อยากวิเศษจริง เมื่อยังมีตัณหาอยู่ก็ยังหลุดพ้นไม่ได้อยู่ดี

    อ่านแล้วอาจงง อาจสับสน เพราะเป็นเรื่องที่รู้ด้วยตนเอง

    ต้องปฏิบัติให้เห็นแจ้งด้วยตนเองทำแทนกันไม่ได้

    เล่าไปก็ไม่เข้าใจ(และเราก็เล่าไม่ถูกด้วย) ต้องรู้เห็นกันเฉพาะตัวเท่านั้นคะ

    (ผู้เขียนเองก็ยังเป็นนักเรียนอนุบาล ไม่ได้ธรรมแม้ขั้นต้นนะคะ)

    เรื่องศาสนาอื่น ศึกษามาน้อยคะ

    ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี่อีกนะคะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ที่ตั้งของธรรมะในทัศนของศิษย์ของพระโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้าคือพึงละโลกภายนอก(อายตนะ)ไม่มีตัวตน (อนัตตา)ไม่มีกาล(time) ไม่มีที่ว่าง (space) มีแต่โลกภายในทีอัดแน่นด้วยพลังงานต้นกำเนิด(c.o.p.)

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้