Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ท่านพุทธทาสสอนผิด (4) เรื่อง “ธรรมะขั้นสูงสุดคือกรรมที่ไม่มีดีไม่มีชั่ว”หรือ?

ท่านพุทธทาส กล่าวว่า

กรรมที่ 1 คือ กรรมดี

กรรมที่ 2 คือ กรรมชั่ว

กรรมที่ 3 คือ กรรมไม่ดีไม่ชั่ว, กรรมไม่ขาวไม่ดำ

กรรมอย่างนี้เรียกว่า “อริยมรรค” ท่านควรจะจดหรือจำไว้เลยว่า อริยมรรคนั้นคือกรรมที่ 3 ที่ไม่ดีไม่ชั่ว ใครทำกรรมที่ 3 นี้เข้าแล้วจะอยู่เหนือโลก จะอยู่เหนือกรรมแล้วจะนิพพาน เป็นการปฏิบัติที่มุ่งไปเพื่อมรรคผลนิพพานโดยตรง ไม่มุ่งเพื่อเกิดใหม่เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้….เพราะว่ามันเป็นไปเพื่อไม่เกิด มันเป็นไปเพื่อไม่ดับ…ซึ่งกรรมไม่ดีไม่ชั่วนี้ล้างหมดทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว”

(พุทธทาส อินทปัญโญ,คู่มือแสดงหลักธรรม ,ฉบับสมบูรณ์,กรุงเทพฯ,ธรรมสภา, 95-96)

อัปเดต:

คำว่า “อัพยากฤตกรรม” มาจากคำ 3 คำ คือ อพยพ + กฤต + กรฺม

- “อพยพ” (อวยวะ) แปลว่า ย้ายที่อยู่, ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

- “กฤต” แปลว่า ทำแล้ว, ประกอบแล้ว, สร้างแล้ว

- “กรฺม” แปลว่า การเคลื่อนไหวที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, การกระทำที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ฯลฯ

สรุป “อัพยากฤตกรรม” หมายถึง ปฏิสัมพันธ์กันของการเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่งของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้น การนำ “อัพยากฤตกรรม” มาใช้กับ “กาย” เพื่อชี้ให้เห็นว่า

(1) “อัพยากฤตกรรม” เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ตอบสนองและต่อต้านกันเองของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น หรือเป็นการหลีกเลี่ยงจากอันตราย

(2) “อัพยากฤตกรรม” เป็นปฏิสัมพันธ์ที่เคลื่อนไหวและหยุดนิ่งซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่อยู่ในอำนาจสั่งการของสมอง ไม่มีใครสามารถบังคับให้เป็นตามเจตนารมณ์ของตนได้

อัปเดต 2:

(3) สภาพเดิมของกายนั้น “ว่างเปล่า” โดยกรรมดี-กรรมชั่วของวิญญาณก็อพยพเข้ามาหรือเริ่มขึ้นในกายนี้, สุข-ทุกข์ของจิตก็อพยพเข้ามาหรือเริ่มขึ้นในกายนี้, สายเกิด (รวมกัน) สายดับ (แยกกัน) ของธาตุทั้ง 4 (ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ) ของกายก็อพยพเข้ามาหรือเริ่มขึ้นในกายนี้ ฯลฯ

ดังนั้น (1) การสรุปว่า “อัพยากฤตกรรม” เป็น กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว ที่หมายถึง กรรมชนิดที่ 3 ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นทัศนะที่ผิดพลาด เพราะ “กรรม-อกรรม-อัพยากฤตกรรม” เป็นความสืบเนื่องกัน เพื่อชี้ให้เห็นว่าเราสามารถเข้าถึงความจริงได้ 3 ทาง คือ (1) จากการทำดี (2) จากการไม่ทำชั่ว (3) จากปฏิสัมพันธ์ของการทำดีและการไม่ทำชั่ว

ดังนั้น (2) การสรุปว่า “อัพยากฤตกรรม” เป็น ความว่าง ที่หมายถึง การไม่มีอะไรเลย จึงเป็นทัศนะที่ผิดพลาด เพราะ“อัตตา-อนัตตา-นิรัตตา” นั้น เป็นความสืบเนื่องกัน เพื่อชี้ให้เห็นว่าเราสามารถเข้าถึงความจริงได้ 3 ทาง คือ (1) จากตัวตนเที่ยงแท้ (2) จากตัวตนซึ่งจิตสร้างขึ้น (3) จากตัวตนที่เป็นแหล่งที่รวมของตัวตนเที่ยงแท้และตัวตนซึ่งจิตสร้างขึ้น

อัปเดต 3:

ดังนั้น (3) การสรุปว่า “อัพยากฤตกรรม” เป็น สภาวะพิเศษ ที่อยู่เหนือกฎอื่น ๆ จึงเป็นทัศนะ���ี่ผิดพลาดเพราะ “เหตุ-ผล-ปฏิจจสมุปบาท” นั้น เป็นความสืบเนื่องกัน เพื่อชี้ว่าเราเข้าถึงความจริงได้ทั้ง 3 ทาง คือ (1) จากเหตุ (2) จากผล (3) จากความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล

ดังนั้น (4) การสรุปว่า “อัพยากฤตกรรม” เป็น สภาวะกลาง ๆ เท่านั้น ที่หมายถึง ไม่มีสภาวะใดรองรับเลย จึงเป็นทัศนะที่ผิดพลาด เพราะ “เบื้องต้น-เบื้องปลาย-เบื้องกลาง” นั้น เป็นความสืบเนื่องกัน เพื่อชี้ให้เห็นว่าเราสามารถเข้าถึงความจริงได้ทั้ง 3 ทาง คือ (1) จากสภาวะเบื้องต้น (2) จากสภาวะเบื้องปลาย (3) จากสภาวะเบื้องกลาง

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    จริง ครับ ผม เห็นด้วย ที่ว่า กรรมดี กรรมชั่ว กรรมไม่ดีไม่ชั่ว

    เป็น วิสัยของ ปุถุชน และโลกุตรธรรม เป็น ธรรมมะ ขั้นระดับกลาง เท่านั้น

    ไม่ใช่ระดับขั้นสูงสุด!

  • 4 ปี ที่ผ่านมา

    เถียงกันจัง

    ทำกันหรือยัง

    สติ ปัญญา บุญ แต่ละคนไม่เท่ากัน

    เข้าใจไม่เหมือนกัน ได้ไม่เท่ากัน

    คำสอนคำเดียวกัน ยังตีความต่างกัน

    จะมาตัดสินกันเพื่ออะไร?

    เพื่อความถูกต้องรึ?

    ถูกของคุณ ก็ไม่ใช่ถูกของเขา

    หน้าที่คือ ลงมือทำของตัวเองให้ดีที่สุดและไม่ต้องวิจารณ์ใคร ไม่ต้องตัดสินอะไร

    ธรรมะ=ธรรมชาติ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การไม่ยึดติด...กลับกลายเป็น...การติดกับดัก...ไปได้อย่างไงนี่

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    มีผู้รู้บอกว่า เราสามารถหลงจาก “ธรรมะ” ได้ 3 ช่องทาง คือ

    (1) เราหลง “ธรรมะ” เพราะยึดติด “กุศลกรรม” (กรรมดี) ของตนเอง

    (2) เราหลง “ธรรมะ” เพราะยึดติด “อกุศลกรรม” (กรรมชั่ว) ของตนเอง

    (3) เราหลง “ธรรมะ” เพราะยึดติด “อัพยากฤตกรรม” (ยกย่องกรรมที่ไม่มีเจตนาคือ ไม่มีดีไม่มีชั่ว,ไม่มีถูกไม่มีผิด,ไม่มีเขาไม่มีเรา) ของตนเอง

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพราหมณ์และมีความเชื่อเรื่อง “กรรม” พวกเขาเข้าใจว่า

    “กรรมดี-กรรมชั่ว” เป็นธรรมะระดับต้น เรียกว่า “โลกียธรรม” ของปุถุชน

    ส่วน “กรรมที่ไม่มีดีไม่มีชั่ว” เป็นธรรมะระดับสูง เรียกว่า “โลกุตรธรรม” ของอริยชน

    เมื่อพวกเขาหันมานับถือพุทธ แนวคิดนี้ก็ถูกนำมาประยุกต์เข้ากับพุทธด้วย…

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เมื่อพูดถึง "ธรรมะ" ทุกคนสรุปเหมือนกัน คือ เล็งถึง ความดี

    แต่เมื่อพูดถึง "กรรม" ทุกคนจะตีความต่างกัน แต่สรุปได้ว่า อาจจะดีก็ได้ อาจจะชั่วก็ได้ หรืออาจจะไม่ดีไม่ชั่วก็ได้

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    โลกียกรรม คือ ก���รมดี-กรรมชั่ว-กรรมไม่มีดีไม่มีชั่ว เป็นพฤติกรรมของปุถุชนธรรมดาเท่านั้น

    แต่โลกุตรธรรมนั้นหลุดพ้นจากกรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมไม่ดีไม่ชั่ว ไปแล้ว จึงไม่หรือ "เอกภาวะ" ของโลกียกรรมอีก

    และถ้าเหลือ "เอกภาวะ" ก็น่าจะเป็นของโลกุตรธรรม คือ การไม่มีภาวะของโลกียกรรม นั่นเอง

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้