Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ท่านพุทธทาสสอนผิด (1) เรื่อง “ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ” หรือ ?

ความถูกต้องดีงามที่ชนรุ่นก่อนทำไว้คือสิ่งที่ชนรุ่นหลังจะต้องเลียนแบบและถ่ายทอดต่อไป แต่ความบกพร่องและบิดเบี้ยวที่ชนรุ่นก่อนได้ทำไว้ มันท้าทายให้ชนรุ่นหลังหาทางเติมเต็มและแก้ไขให้ตรงทาง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ “การเปรียบเทียบกัน” แต่มิได้จงใจลบหลู่ และขอให้เป็น “กรณีศึกษา” ก็แล้วกัน ก่อนที่จะตอบคำถามเรื่องที่ 1 (ธรรมะ คือ ธรรมชาติ) ขอให้ท่านพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ก่อนครับ

อัปเดต:

ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “คำว่า “ธรรมะ” ในภาษาบาลีก็ตาม ในภาษาสันสกฤตก็ตาม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุดคือ หมายถึงสิ่งทุกสิ่งทั้งที่มนุษย์รู้จักและยังไม่รู้จัก คำ ๆ นี้เป็นคำพูดคำเดียวที่ประหลาดที่สุดในโลกจนไม่อาจจะแปลเป็นภาษาอื่นได้นอกจากภาษาที่ทำให้กำเนิดแก่คำ ๆ นี้....โดยคำจำกัดความของ “ธรรมะ” นั้น จะครอบคลุมถึง 4 ประการ คือ

(1) ตัวธรรมชาติ

(2) ตัวกฎของธรรมชาติ

(3) ตัวหน้าที่ที��มนุษย์จะต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ

(4) ตัวผลต่าง ๆ อันเกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่นั้น ๆ นั่นเอง

อัปเดต 2:

แต่เมื่อผู้เขียนค้นหากลับพบว่า “ธมฺม” (ภาษาบาลี) และ “ธรฺม” (ภาษาสันสกฤต) ที่แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” นั้นจะไปคล้องจองกับคำว่า “Y-H-W-H” (ภาษาฮีบรู) ที่แปลว่า “ผู้ทรงดำรงอยู่” โดยนิยามของ “ธรรมะ” จะครอบคลุมสภาวธรรมทั้ง 4 ประการ คือ

(1) ตัวของธรรมะ คือ “ความเป็นหนึ่ง” ไม่มีด้านตรงข้าม

แต่ตัวของธรรมชาติ คือ “สิ่งตรงข้ามซึ่งประกอบกันเป็นหนึ่ง”

(2) กฎของธรรมะ คือ “การดำรงอยู่ได้เอง” ตลอดกาล

แต่กฎของธรรมชาติ คือ “การอาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไป”

(3) หน้าที่ของธรรมะคือ “อำนาจในการปกครอง” ซึ่งอยู่เหนือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

แต่หน้าที่ของธรรมชาติ คือ “การปฏิบัติตาม” ซึ่งอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ

(4) ผลของธรรมะ คือ “เหตุแห่งการให้” เพื่อสนองตอบการปกครอง

แต่ผลของธรรมชาติ คือ “ผลแห่งการรับ” เมื่อปฏิบัติตามนั้น

เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” กับ “ธรรมชาติ” จึงแตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย

อัปเดต 3:

สรุป (1)

ตัวตนของ “ธรรมะ” ไม่ใช่ตัวตนของ “ธรรมชาติ”

(1) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ

แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ สภาวะของสิ่งที่เป็นผล

(2) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ความเป็นเหตุ (เท่านั้น)

แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันของเหตุและผล

(3) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ปฐมธรรม, พฤติธรรม, สุธรรม

แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ปฐมกรรม, พฤติกรรม, ทุรกรรม

(4) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ อสังขตธรรม (ธรรมะที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยกรรม)

แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ สังขตธรรม (ธรรมะที่ถูกปรุงแต่งด้วยกรรม)

(5) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ความเป็นสูงสุด ไม่มีด้านตรงข้าม

แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ความเป็นธรรมดา มีด้านตรงข้าม

(6) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ความเป็นจริงสัมบูรณ์

แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ความเป็นจริงสัมพัทธ์

อัปเดต 4:

สรุป (2)

กฎของ “ธรรมะ” ไม่ใช่ “กฎ” ของธรรมชาติ

(1) “กฎ” ของธรรมะ คือ การดำรงอยู่ของเหตุ

แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของผล

(2) “กฎ” ของธรรมะ คือ การดำรงอยู่ได้เองของเหตุ

แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การอาศัยเหตุดำรงอยู่ของผล

(3) “กฎ” ของธรรมะ คือ การดำรงอยู่ได้ตลอดไปของเหตุ

แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การดำรงอยู่ได้เพียงแค่ชั่วคราว (เท่านั้น) ของผล

(4) “กฎ” ของธรรมะ คือ กฎแห่งความเจริญของเหตุ

แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ กฎแห่งความเสื่อมของผล

(5) “กฎ” ของธรรมะ คือ อำนาจในการปกครองของเหตุ

แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ หน้าที่ในการปฏิบัติตามของผล

(6) “กฎ” ของธรรมะ คือ ความบริสุทธิ์ (การเป็นหนึ่ง) ของเหตุ

แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การปรุงแต่ง (การผสม) ของผล

อัปเดต 5:

สรุป (3)

หน้าที่ของ “ธรรมะ” ไม่ใช่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ

(1) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การยึดมั่นไว้ซึ่งสภาวะของเหตุ

แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากสภาวะของผล

(2) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การถือมั่นไว้ซึ่งคุณความดีของเหตุ

แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากกรรมดี-กรรมชั่วของผล

(3) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การมีไว้ซึ่งความเจริญของเหตุ

แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากความเจริญ-ความเสื่อมของผล

(4) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การธำรงรักษาไว้ซึ่งความบริบูรณ์ของเหตุ

แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากความบริบูรณ์-ความว่างของผล

(5) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การทรงไว้ซึ่งการปกครองของเหตุ

แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การทรงไว้ซึ่งการปฏิบัติตามของผล

อัปเดต 6:

สรุป (4)

“ผล” ของธรรมะ ไม่ใช่ “ผล” ของธรรมชาติ

(1) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึงสภาวะของเหตุ

แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึงสภาวะ (ที่อาศัยเหตุดำรงอยู่) ของผล

(2) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึงการดำรงอยู่ (ไม่เปลี่ยนรูป) ของเหตุ

แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป (เปลี่ยนรูป) ของผล

(3) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งถึงความบริบูรณ์ของเหตุ

แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึงความว่างเปล่าของผล

(4) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึงความเป็นหนึ่งของเหตุ

แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึงความเท่าเทียมกันของผล

(5) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึง “เหตุแห่งการให้” ของเหตุ

แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึง “ผลแห่งการรับ” ของผล

(6) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึง “ผลที่ดับไม่ได้ ((เราดับธรรมะไม่ได้)

แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึง “ผลที่ดับได้” (เราดับกรรมได้)

อัปเดต 7:

ตอบ คุณ BruNeLLo ครับ

จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมะ มีสองข้อ

1.ศึกษาธรรมะ(สังขตะ)เพื่อให้รู้แจ้งแทงตลอดในการเปลี่ยนแปลงของวิถีแห่งโลก

2. ศึกษาธรรมะ(อสังขตะ)เพื่อให้รู้แจ้งแทงตลอดในการดำรงอยู่ของวิถีแห่งธรรม

อัปเดต 8:

ตอบคุณ แมลงมุม

คำสอนของท่านพุทธทาสมีมากมายที่สอนได้ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อมหาชน

แต่.. คำสอนนี้ เป็นคำสอนที่ผิด ซึ่งสามารถหาข้อเท็จจริงได้จากรายละเอียด ข้างต้นนี้

และ คำตอบอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่การได้ไตร่ตรองอะไรบางอย่างที่ได้แฝงอยุ่ใน ปริศนาธรรม อาจช่วยให้เรามองหาสิ่งจำเป็น อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิต และการเปิดรับแนวคิดของผู้อื่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจในศาสนาของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อัปเดต 9:

ตอบ คุณGrory777 ครับ

"ความถูกต้องดีงามที่ท่านพุทธทาส (ชนรุ่นก่อน) ทำไว้ คือสิ่งที่ผมและคุณ (ชนรุ่นหลัง) จะต้องเลียนแบบและถ่ายทอดต่อไป แต่ความบกพร่องและบิดเบี้ยวที่ท่านพุทธทาส (ชนรุ่นก่อน)ได้ทำไว้ มันท้าทายให้ผมและคุณ (ชนรุ่นหลัง) หาทางเติมเต็มและแก้ไขให้ตรงทาง "

อัปเดต 10:

ตอบคุณ BruNeLLo (ครั้งที่ 2) ครับ

ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำเตือนสติของท่าน ผมจะระมัดระวังให้มากขึ้น เป็นความจริงครับ ข้อมูลที่มีอยู่ในทุกวันนี้ถูกจำกัดด้วยภาษา ด้วยเงื่อนไขแห่งยุคสมัย ฯลฯ แนวคิดของแต่ละคนจึงหาใช่คำตอบที่สมบูรณ์ไม่ แต่โดยหลักการที่เป็น “แก่น” ของธรรมะนั้นเราสามารถกชี้ได้ว่า คำสอนใดถูก คำสอนใดผิด เช่น

หากวันใดที่มนุษย์ยกย่อง “กรรม” ขึ้นแทนที่ “ธรรมะ” หรือยกย่อง “สิ่งอื่น” ขึ้นแทนที่ “ศาสดา” ทุกความเคลื่อนไหวของพวกเขานั้น “ก็น่ากลัวยิ่งกว่า” คนที่ไม่มีศาสนาเสียอีก

20 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Worada
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ต้องยอมรับว่าคุณเก่ง ที่พยายามที่จะให้คำจำกัดความในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก เพื่อให้เกิดความชัดเจน

    แต่แม้ท่านพุทธทาสเองที่ท่านสัมผัสได้อย่างลึกซึ้ง ท่านกำหนดเป็นคำสอนเพื่อที่จะเผื่อแผ่ให้แก่มวลมนุษย์ได้ศึกษากัน ก็ยังทำให้เกิดความไม่ชัดเจนได้

    หากจะพิจารณาตามหลักการที่พระศาสดาได้กล่าวไว้ว่า ธรรมมะเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนนั้น จริงแท้

    บางสิ่งบางอย่างต้องใช้ใจ สัมผัส บางครั้งไม่สามารถกลั่นออกมาเพื่อที่จะให้ชัดเจนได้

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พุทธทาสสอนผิดหรือผู้อ่านตีความไม่ถูกเป็นเรื่องต้องพิจารณาเอง ศึกษาธรรมะให้เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงของโลก ความไม่เที่ยงแท้ในสรรพสิ่ง หากจะศึกษาเพื่อจับผิดเกรงว่าจะไม่ได้ความดับทุกข์ แต่จะติดใน���วามข้องใจสงสัยในคำสอนเสียมากกว่า

    จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมะของคุณคืออะไร ถามใจตนเองให้ชัดแจ้ง ธรรมะคือธรรมชาติ หากธรรมะมิใช่ธรรมชาติ อธรรมคือธรรมชาติหรือ?

    ธรรมะศึกษาด้วยใจ ไม่ใช่ตำรากฎหมาย สาธุ

    (เพิ่มเติม)

    พระป่ามากมายมิได้เรียนปริยัติ แต่ก็สามารถบรรลุธรรมได้ และหากท่านคิดว่าจะศึกษาธรรมเพื่อให้เรียนรู้แจ้ง แต่....ทำไมจึงย้ำนักหนาว่า พุทธทาสสอนผิด เอาคำนี้มาใช้หลายครั้งเหลือเกิน

    ภาษาเป็นข้อจำกัดในการสื่อสารเช่นกัน พระไตรปิฏกเองมีการสังคายนามาหลายครั้ง ความเปลี่ยนแปลงในภาษาอาจมีขึ้นได้ในแต่ละครั้ง หวังว่าการมาตั้งคำถามและอธิบายถึงสิ่งที่ท่านคิดว่าไม่ถูกต้องนั้น เป็นไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์เพื่อความถูกต้องแห่งการเรียนรู้ ผมไม่มีอะไรจะเพิ่มเติมแล้วครับ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถามกลับอีกครังว่า คุณต้องการอะไรจากคำถามนี้ คำถามคุณไม่เคลีย คำถามของคุณทำให้คนอ่านเข้าใจท่านพุทธทาสผิด คุณเข้าใจธรรมแค่ไหนถึงได้ตังคำมาถามคำถามนี้??

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เอาเป็นว่า ถ้าคุณคิดว่าท่านพุทธทาสสอนผิด คุณก็หาหนทางของคุณเอง ลองผิดแล้วก็ลองถูกไปเรื่อยๆเหมือนกับโทมัส เอดิสันอะ กว่าจะทำหลอดไฟสำเร็จ เค้าก็ทดลองเป็นหมื่นๆครั้งนะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขอหลบการเมืองมาซ้ากพัก

    ไม่ตอบเกี่ยวกับคำถามได้มั้ยเนี่ย

    พุทธทาสแปลว่าทาสของศาสนาพุทธหรือพระพุทธเจ้า

    แล้วในปัจจุบันคุณเป็นทาสของศาสนาพุทธหรือพระพุทธเจ้าหรือยัง

    การที่คำสอนนั้นอาจบิดเบือนไปบ้างแต่เราก็ต้องหาถูกหาผิดเอาเอง

    เช่นประวัติศาสตร์อย่างนี้ต้องบอกว่าเกือบทุกชาติโดนบิดเบือนจากความจริง

    แต่ก็ต้องมาหาต่อเอาเองว่าอันไหนมันถูกต้องกันแน่

    ที่ท่านพุทธทาสอาจสอนผิดไปบ้างก็อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงให้เข้ายุคสมัย

    ทุกอย่างและทุกคนย่อมมีผิดพลาดกันได้ตามการเวลา แม้แต่คุณเอง

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าเราศึกษาด้วยใจเป็นกลางจริง ๆ ก็จะพบว่า

    1. ถ้าศึกษาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต จะพบว่า "ธรรมะ" กับ "ธรรมชาติ" แตกต่างกันจริง ๆ

    "ธรรมะ" คือ "สิ่งที่เป็นเหตุ"

    แต่ "ธรรมชาติ" คือ "สิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุ ตั้งอยู่โดยเหตุ และก็ดับไปเพื่อเหตุ"

    2. ถ้าศึกษาจากพระไตรปิฎก จะพบว่า "อสังขตะ" กับ "สังขตะ" ก็แตกต่างกันด้วย

    "อสังขตะ" คือ "เหตุ" ล้วน ๆ คือ "ธรรมะ" ล้วน ๆ ไม่มีการปรุงแต่งใด ๆ

    แต่ "สังขตะ" คือ การปรุงแต่งของผลด้วยเหตุ, การปรุงแต่งของกรรมด้วยธรรมะ

  • 6 ปี ที่ผ่านมา

    ทุกสิ่งทุกอย่าง คือธรรมะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมชาติของ "โลก" ก็อย่างหนึ่ง

    ธรรมชาติของ "ธรรม" ก็อีกอย่างหนึ่ง

    ธรรมชาติของ "โลก" คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    ธรรมชาติของ "ธรรม" คือ การดำรงอยู่ ไม่เกิด ไม่ดับ

    ปุถุชนเขาก็เชื่อกันอย่างนี้ทั้งนั้น ง่าย ๆ

    ทำไมเมื่อเป็นอรหันต์แล้ว จึงคิดว่ามันเป็นสิ่งเดียวกันได้ ยิ่งฟัง ก็ยิ่งงง!!!!!!!!

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยอมรับว่าข้อโต้แย้งนี้ มีเหตุ มีผล มีความเป็นไปได้มากกว่า

    แต่คนค่อนประเทศเลยนะที่เชื่ออย่างพระอาจารย์พุทธทาส

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เห็นด้วยที่ ว่า ธรรมะ ไม่ใช่ ธรรมชาติ !

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้