Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ท่านพุทธทาสสอนผิด (2) เรื่อง “ ธรรมะ คือ ความว่าง ” หรือ?

เพื่อไม่ให้ประชาชนที่ฟังสับสน เมื่อสอนว่า “ธรรมะ คือ ความว่าง” ผู้สอนควรชี้แจงให้ชัดเจนด้วยว่าเล็งถึง “ธรรมะ” ตามความหมาย “ดั้งเดิม” ? หรือ “ธรรมะ” ตามความหมาย “ใหม่” ? หรือว่ารวมถึง “ธรรมะทั้งหมด” ? ไม่มีธรรมะใดยกเว้น

เพราะเมื่อวิเคราะห์ “ธรรมะ” (ดั้งเดิม) และ “ธรรมะ” (ใหม่) ทั้งจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตก็ไม่มีส่วนไหนที่ระบุว่า “ธรรมะ” คือ “ความว่าง” ที่หมายถึง การไม่ยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย แต่ตรงกันข้าม กลับพบว่า “ธรรมะ” หมายถึง “การยึดมั่นถือมั่นไว้ซึ่งคุณงามความดี” เช่น

ตัวอย่างที่ 1

การวิเคราะห์จาก “มรรคมีองค์ 8”

โดยพระโคตมพุทธเจ้าศาสดาของศาสนาพุทธได้ทรงนำคำว่า “มฺม” มาสร้างคำใหม่ เรียกว่า “มรรคมีองค์ 8” ได้แก่

อัปเดต:

(1) ส+มฺม+ทิฏฐิ = สัมมาทิฏฐิ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความเห็นตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด” (เห็นตามเหตุ)

ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความเห็นตามแนวทางที่ถูกต้อง” (ความเห็นชอบ)

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “มีความเห็นตามแนวทางของความว่าง” (มันไม่มีอะไรเลย)

(2) ส+มฺม+สังกัปปะ = สัมมาสังกัปปะ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความคิดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด” (คิดตามเหตุ)

ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความคิดตามแนวทางที่ถูกต้อง” (การดำริชอบ)

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “มีความคิดตามแนวทางของความว่าง” (มันไม่มีอะไรเลย)

(3) ส+มฺม+วาจา = สัมมาวาจา

นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการพูดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด” (พูดตามเหตุ)

ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการพูดตามแนวทางที่ถูกต้อง” (การเจรจาชอบ)

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “พูดตามแนวทางของความว่าง” (มันไม่มีอะไรเลย)

(4) ส+มฺม+กัมมันตะ = สัมมากัมมันตะ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการกระทำตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด” (กระทำตามเหตุ)

ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการกระทำตามแนวทางที่ถูกต้อง” (กระทำชอบ)

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “กระทำตามแนวทางของความว่าง” (มันไม่มีอะไรเลย)

อัปเดต 2:

การวิเคราะห์จาก “อัตตา-นิรัตตา-อนัตตา”

1. การเปรียบเทียบ “อัตตา” กับ “วิญญาณ” เพื่อจะบอกว่า “วิญญาณ” นั้น (1) ดำรงอยู่ได้เอง และ (2) ดำรงอยู่ตลอดไป ดังนั้น “วิญญาณ” จึงเป็นตัวตนเที่ยงแท้ถาวร

2. การเปรียบเทียบ “นิรัตตา” กับ “กาย” เพื่อจะบอกว่า “กาย” นั้น (1) เป็น“อพยพกรรม” (ปฏิกิริยาของอวัยวะต่าง ๆ ในกาย) (2) เป็นการกระทำที่ไม่มีใครต้องรับผลเพราะเป็นกระทำที่เป็นกลาง ๆ ไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ฯลฯ ดังนั้น “กาย” จึงเป็นตัวจนที่ขาดสูญ

อัปเดต 3:

3. การเปรียบเทียบ “อนัตตา” กับ “จิต” เพื่อจะบอกว่า “จิต” นั้น (1) ไม่ใช่ทั้ง “อัตตา” (ตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวรแบบวิญญาณ) และก็ไม่ใช่ “นิรัตตา” (ตัวตนที่ขาดสูญแบบกาย) ด้วย (2) เพื่อจะปฏิเสธ “ตัวตน” ที่จิตสร้างขึ้นด้วย เพราะ “ตัวตน” เหล่านั้นเกิดจากความคิดเห็นเป็นภาพขึ้นในโลกของจิต แล้วจิตจึงสร้าง “ตัวตน” นั้นขึ้นมา “ตัวตน” ที่จิตสร้างขึ้นนั้นจะเกิด-ดับสืบต่อกันไปนับจำนวน เราจึงไม่อาจจะไป “ยึดถือ” หรือ “ละทิ้ง” ตัวตนที่จิตสร้างขึ้นได้ เพราะดำรงอยู่ได้เพียงชั่วคราว แล้วก็แตกดับไปเอง

อัปเดต 4:

มองในแง่ของ “ปริศนาธรรม” (1)

“อนัตตา” จึงไม่ควรแปลว่า “ไม่มีตัวตน, ไม่ใช่ตัวตน, ไม่เป็นตัวตน”

แต่ “อนัตตา” ต้องแปลว่า “ไม่ใช่ทั้งอัตตา และก็ไม่ใช่ทั้งนิรัตตา” ด้วย

หมายความว่า “จิต” นั้นไม่ใช่วิญญาณและก็ไม่ใช่กายด้วยนั่นเอง

มองในแง่ของ “ปริศนาธรรม” (2)

“อนัตตา” จึงไม่ควรแปลว่า “ว่างจากตัวเรา และก็ว่างจากของเรา”

แต่ “อนัตตา” ต้องแปลว่า “ว่างจากอัตตา และก็ว่างจากนิรัตตา” ด้วย

หมายความว่า “จิต” นั้นเป็นอิสระจากวิญญาณ และก็เป็นอิสระจากกายด้วย นั่นเอง

มองในแง่ของ “ปริศนาธรรม” (3)

เพราะฉะนั้น การเข้าถึง “นิพพาน” ด้วย “จิตว่าง” จึงไม่ใช่การดับ “จิต”

และ “นิพพาน” ก็ไม่ได้แปลว่า “การตายของพระอรหันต์” ด้วย แต่ “นิพพาน” แปลว่า การดับรอบของจิต, การมีอิสรภาพทางจิต, การหลุดพ้นจากสภาวะที่จิตสร้างขึ้น ฯลฯ

อัปเดต 5:

เพราะฉะนั้น การมองไม่เห็น “วิญญาณ” (อัตตา-ตัวตนถาวร) ของ “สิ่งซึ่งดำรงอยู่” แล้วไปสรุป (เอาเอง) ว่า “ธรรมะทั้งหมด” เป็น “อนัตตา” คือ “ความว่างเปล่า” ที่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา บุคคล สัตว์ ชีวะ หรือไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีถูกไม่มีผิด ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ฯลฯ จึงเป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง

เช่นเดียวกัน การมองเห็น “กาย” (นิรัตตา-ตัวตนขาดสูญ) ของ “สิ่งซึ่งเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป” แล้วไปสรุป (เอาเอง) ว่า “ธรรมะทั้งหมด” เป็น “อนัตตา” คือ “ความว่างเปล่า” ที่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา บุคคล สัตว์ ชีวะ หรือไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีถูกไม่มีผิด ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ฯลฯ ก็เป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

อัปเดต 6:

ตัวอย่างที่ 3

การวิเคราะห์จาก “ธรรมะ-อธรรม-ธรรมาธรรม”

การตีความหมายในสมัยโบราณ กูรูที่รู้จริง ๆ ส่วนใหญ่จะไม่นำเอา “ธรรมะ” ไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นนอกจากตัวของมันเอง เช่น “ธรรมะ-อธรรม-ธรรมาธรรม” เช่น

1. มิติของ “ธรรมะ” คือ “สภาวะสูงสุด” ไม่มีด้านตรงข้าม โดยจะมุ่งเน้นไปที่คุณงามความดี (เท่านั้น) ที่มนุ���ย์ต้องกระทำ ดังนั้น คนที่บรรลุธรรมในมิติที่ 1 นี้ก็จะ “เต็มบริบูรณ์” ไปด้วยความดี จึงเรียกว่า “ อุดม (ธรรม) ”

2. มิติของ “อธรรม” คือ “สภาวะเป็นหนึ่ง” ไม่มีการแบ่งแยก โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความชั่ว (เท่านั้น) ที่มนุษย์ต้องละเว้น ไม่ควรกระทำ ดังนั้น คนที่บรรลุธรรมในมิติที่ 2 นี้ก็จะ “ว่างเปล่า” จากความชั่ว จึงเรียกว่า “ สุญตา (ธรรม) ”

อัปเดต 7:

3. มิติของ “ธรรมาธรรม” คือ “สภาวะสมบูรณ์แบบ” โดยจะมุ่งเน้นดำรงตนให้อยู่เหนือทุกสิ่ง หากธรรมะใดอยู่ใต้กรรมดี-กรรมชั่ว, อยู่ใต้กรรมสุข-กรรมทุกข์, อยู่ใต้กรรมเกิด-กรรมตายของสรรพสิ่งทั้งปวง สิ่งนั้นจึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง ดังนั้น คนที่บรรลุธรรมในมิติที่ 3 นี้ก็จะเห็นถึงความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่าง “ความบริบูรณ์” ของความดี กับ “ความว่างเปล่า” จากความชั่ว จึงเรียกว่า “ ปฏิจจสมุปบาท (ธรรม) ”

โดยทั้ง 3 มิตินั้น เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งหมด เพื่อยืนยันว่า “ธรรมะ” นั้น “สูงสุด” จึงไม่มีด้านตรงข้าม “เป็นหนึ่ง” จึงไม่แบ่งแยก และ “สมบูรณ์แบบ” จึงอยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะฉะนั้น สิ่งใดมีด้านตรงข้าม แบ่งแยกได้ และอยู่ใต้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ สิ่งนั้นจึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง

อัปเดต 8:

เพราะฉะนั้น คนที่สอนว่า “ธรรมะ” คือ “ความว่าง” จึงถูกเพียง 1 มิติ เท่านั้น แต่ผิดถึง 2 มิติ เพราะธรรมะมี “หนึ่ง” แต่มีความแตกต่างกัน (ทั้ง 3 มิติ) ไปตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการในจิตใจของมนุษย์ แต่ผู้ฉลาดกล่าวให้มากไปเอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างกัน (ทั้ง 3 มิติ) นั้น แต่เมื่อมนุษย์บรรลุถึงความเป็น “หนึ่ง” ความแตกต่างกัน (ทั้ง 3 มิติ) นั้นก็จะหมดไป เพราะฉะนั้น การที่บางคนไปทำลายความแตกต่างนั้นเสีย โดยสรุปว่า “ธรรมะทั้งหมด คือ ความว่าง” ที่หมายถึงการไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย จึงถือว่าเป็นความผิดพลาด และยังพาให้คนเป็นอันมากพลอยหลงผิดไปด้วย

อัปเดต 9:

ตัวอย่างที่ 4

การวิเคราะห์จาก “โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม”

1. มิติของ “โลกธรรม” คือสภาวะที่มนุษย์ใช้ดำเนินชีวิตให้ “สอดคล้อง” กับวิถีของโลกียกรรม (กุศลกรรม-อกุศลกรรม-อัพยากฤตกรรม) โดยผ่านทางศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมขั้นพื้นฐาน

2. มิติของ “โลกุตรธรรม” คือสภาวะที่มนุษย์ “หลุดพ้น” จากวิธีของโลกียกรรม คือมี “เสรีภาพ” แล้วจากศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมขั้นพื้นฐานนั้น โดยผ่านทางกายธรรม มโนธรรม และวิญญาณธรรม

3. มิติของ “อมตะธรรม” คือ สภาวะที่มนุษย์ใช้ “ดับ” อำนาจของกรรมดี-กรรมชั่ว, กรรมสุข-กรรมทุกข์ของตน จึงทำให้มนุษย์นั้นยังคง “ดำรงอยู่” ตลอดไป แม้ว่าสิ่งอื่น ๆ จะดับไปแล้ว

อัปเดต 10:

โดย “ทางสายกลาง” คือ “โลกุตรธรรม” นั้นไม่ใช่ “ความว่าง” ที่หมายถึง การไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย แต่เป็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่าง “โลกธรรม” กับ “อมตะธรรม” จึงงดงามทั้งโลกธรรม (สภาวธรรมเบื้องต้น) โลกุตรธรรม (สภาวธรรมเบื้องกลาง) และอมตะธรรม (สภาวธรรมเบื้องปลาย) แต่เมื่อสำนึกแห่ง “ไตรธรรม” นี้สูญหายไปเมื่อใด ผู้คนก็จะลืมความเป็น “หนึ่ง” นั้น ปัญหาใหญ่ที่จะตา��มาก็คือ ลัทธิความว่าง, ลัทธิข้ามภพข้ามชาติ ฯลฯ

อัปเดต 11:

ตอบ คุณแมลงมุม ครับ

ความถูกต้องดีงามที่ท่านพุทธทาส (ชนรุ่นก่อน) ทำไว้ คือสิ่งที่ผมและคุณ (ชนรุ่นหลัง) จะต้องเลียนแบบและถ่ายทอดต่อไป แต่ความบกพร่องและบิดเบี้ยวที่ท่านพุทธทาส (ชนรุ่นก่อน)ได้ทำไว้ มันท้าทายให้ผมและคุณ (ชนรุ่นหลัง) หาทางเติมเต็มและแก้ไขให้ตรงทาง

อัปเดต 12:

ตอบคุณ Pattaya ครับ

มีแต่ “อัพยากฤตปัญหา”เท่านั้น ที่พระศาสดาไม่ทรงตอบ ไม่ทรงอธิบาย เพราะไม่ว่าจะยืนยันหรือปฏิเสธก็อธิบายให้สิ้นสุดไม่ได้ และก็ไม่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ด้วย

ถ้าพระศาสดาสอนว่า “กรรมดี คือ กรรมดี”

แต่มีพวกมิจฉาทิฏฐิอื่น ๆ สอนว่า “กรรมดี คือ กรรมชั่ว”

เราไม่ควรวิเคราะห์และก็ไม่ควรโต้แย้งหรือ?

แล้วทำไม “พระศาส***็ยังทำอย่างนั้นเลย” เล่า?

ถ้าพระศาสดาสอนว่า “กรรมชั่ว คือ กรรมชั่ว”

แต่มีพวกมิจฉาทิฏฐิอื่น ๆ สอนว่า “กรรมชั่ว คือ กรรมดี”

เราไม่ควรวิเคราะห์และก็ไม่ควรโต้แย้งหรือ?

แล้ว “กาลามสูตรทั้ง 10 ประการ” มีไว้ทำไมเล่า?

16 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    สรรพสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ "ไม่มี" สิ่งใด "ว่าง" จาก "ธรรม"

    "ธรรม" อยู่ "ใน" ทุกสิ่ง

    "ธรรม" อยู่ "เหนือ" ทุกสิ่ง

    "ธรรม" อยู่ "ทั่วไป" กับทุกสิ่ง

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ทราบว่าผู้ตั้งคำถามีจุดประสง์อะไร??ช่วยถามให้ชัด ชัด จะได้ไม่ตีความกันผิด ไม่ใช่คำถามการเมืองถึงต้องให้คิดกันเอง อีกทั้งท่านก็ไม่ได้อยู่โต้ตอบกับ ผู้ทีมีบทวิจานย์ท่านแล้ว??ท่านพุทธทาส เป็นหนึ่งในพระที่ไม่มากนักที่เราก้มลงกราบได้อย่างสนิทใจ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พุทธศาสนาไม่ได้เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ เพราะจะโต้แย้งกันไม่มีที่สิ้นสุด

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    6 ปี ที่ผ่านมา

    ธรรมะ คือความว่าง พุทธาสบอกโดยใช้สติและปัญญาสูงสุด เป็นเรื่องพ้นโลก ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยความคิดวิเคราะห์แต่เข้าถึงได้ด้วยสติและปัญญา วิธีการเข้าถึงลองตั้งสติตามรู้ตามดูที่ร่างกายของตนทุกขณะปัจจุบันก่อน นี่เริ่มต้นทำให้ได้ก่อน

    ทุกอย่างล้วนไม่คงที่แปรไปยึดถือเอาไม���ได้ เป็นทุกข์แก่ผู้ยึดถือ ธรรมทั้งปวงนี้ท่านปล่อยวางเห็นเป็นแต่ความว่าง ไม่ยึดถือทุกข์จึงไม่เกิดในขณะปัจจุบัน นี่มองแบบผู้พ้นทุกข์

  • 6 ปี ที่ผ่านมา

    จะไม่มีคำถามใดๆ ถ้าท่านปฏิบัติถึง จึงสิ้นความสงสัย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนส่วนใหญ่ทำไม่สำเร็จ เพราะเข้าใจว่า "ความว่าง" คือ การทำใจให้ว่างเฉย ๆ

    พระศาสดาพยายามจะอธิบายธรรมด้วยภาษาคน

    แต่สาวกกลับอธิบายภาษาคนด้วยภาษาธรรม (ที่ตัวเอ���ก็ยังไม่รู้จัก)

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    “ธรรมะ” เป็น “ตัวธรรมะ”

    และ “ธรรมะ” เป็น “ของธรรมะ”

    การเข้าถึง “ตัวเอง” จึงไม่ใช่การเข้าถึง “ธรรมะ”

    การยกย่อง “ตัวเอง” ขึ้นแทนที่ “ธรรมะ” จึงเรียกว่า "ยโสโอหังมมังการ"

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จากตัวอย่างที่ 3 พึ่งทราบนะนี่ว่า

    "อธรรม" ไม่ใช่ความชั่ว

    แต่ "อธรรม" คือความว่างจากความชั่ว

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมว่าคนถามเขาไม่ได้อคติหรอก

    ไปค้นหาข้อมูลมาชี้แจงได้มากมายขนาดนี้

    แสดงว่าเขาก็เรียนรู้จากพระอาจารย์พุทธทาสมามากทีเดียว

    มองเขาในแง่ดีไว้ก่อน ดีกว่านะ อย่าทำตัวเป็นน้ำล้นแก้ว

    เพราะในดียังมีเสีย ในเสียยังมีดี

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จำเป็นต้องมีการโต้แย้งกันบ้าง เพื่อความจริง ความถูกต้อง จะปรากฏเด่นขึ้น

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้