Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

“ธรรมะคืออะไร?” ขอความกรุณา หาคำตอบที่เข้าใจง่ายๆหน่อยค่ะ?

ดิฉันเคยถามพระอาจารย์เป็นสิบ ๆ แล้วค่ะว่า “ธรรมะคืออะไร?” พวกท่านก็นำคำบาลี คือ “ธมฺม” และคำสันสกฤต คือ “ธรฺม” มาแปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายความว่า “ธรรมะฝ่ายดีก็เป็นธรรมะ ธรรมะฝ่ายชั่วก็เป็นธรรมะ ธรรมะฝ่ายที่ไม่มีดีไม่มีชั่วก็เป็นธรรมะ ไม่มีอะไรยกเว้น ล้วนเป็นธรรมะทั้งนั้น” บอกตรงๆ ยิ่งฟังคำตอบแล้ว ยิ่งงง มีคำตอบอื่นอีกไหมคะ?

อัปเดต:

จากหนังสือ “ดอกโมกข์” พระพุทธทาสกล่าวว่า “คำว่า “ธรรมะ” ในภาษาบาลีก็ตาม ในภาษาสันสกฤตก็ตาม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุดคือ หมายถึงสิ่งทุกสิ่งทั้งที่มนุษย์รู้จักและยังไม่รู้จัก คำ ๆ นี้เป็นคำพูดคำเดียวที่ประหลาดที่สุดในโลกจนไม่อาจจะแปลเป็นภาษาอื่นได้นอกจากภาษาที่ทำให้กำเนิดแก่คำ ๆ นี้....โดยคำจำกัดความของ “ธรรมะ” นั้น จะครอบคลุมถึง 4 ประการ คือ

(1) ตัวธรรมชาติ

(2) ตัวกฎของธรรมชาติ

(3) ตัวหน้าที่ที่มนุษย์จะต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ

(4) ตัวผลต่าง ๆ อันเกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่นั้น ๆ นั่นเอง

แต่จากหนังสือ “ตอบฝรั่งเรื่องสังคมพทธ เล่ม 2” สมณะโพธิรักษ์ กล่าวว่า “คุณก็คงจะเคยได้ยินใคร ๆ พูดกันมามากว่า “ธรรม” คือ “ธรรมชาติ” แต่สำหรับอาตมานั้น ก็เคยยืนยันมาหลายครั้งหลายคราแล้วว่า กล่าวเช่นนั้นมีส่วนถูกแค่ขั้นหยาบผิวเผินเท่านั้น หรือจะกล่าวว่าพูดเช่นนั้น “ผิด” ก็ได้ เพราะถ้าแม้นเข้าใจ “ธรรม” ขั้นสูงขั้นเนื้อหาสำคัญ ชั้นสุดยอดของพุทธศาสนาแล้วจะรู้แจ้งชัดเจนว่า “ธรรม” ไม่ใช่ “ธรรมชาติ” เพราะธรรมขั้นนิพพานนั้นดับธรรมชาติ”

อัปเดต 2:

ดิฉันต้องขออภัยด้วยนะค๊ะ ที่ยกชื่อของหลวงพ่อพุทธทาสและหลวงพ่อโพธิรักษ์ ดิฉันอยากทราบคำตอบจริง ๆ ค่ะ

16 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เมื่อถามว่า “ธรรมะ คือ อะไร?” คนที่ตอบคำถามนี้ส่วนใหญ่มัก “หลงทาง” และ “สับสน” เสียเองใน 4 ประเด็น คือ

    (1) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะที่ “ไม่มีอยู่ในโลกนี้” เพราะ ดำรงอยู่ได้เอง แต่ผู้ตอบกลับพยายามชี้ให้เห็นว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ที่มีอยู่ในโลกนี้ซึ่ง อาศัยสิ่งอื่นดำรงอยู่ (กฎของปฏิจจสมุปบาท) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

    (2) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะที่ “คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” จึงดำรงอยู่ได้ตลอดไป แต่ผู้ตอบกลับชี้ให้เห็นว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ที่ผันแปรเปลี่ยนรูปซึ่งดำรงอยู่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น (กฎของวัฏสงสาร) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

    (3) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะที่ “ไม่มีใครในโลกรู้จัก” จึงไม่สามารถหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญา แต่ผู้ตอบกลับชี้ให้เห็นว่า “สรรพสิ่งทั้งปวง” ซึ่งมนุษย์สามารถหยั่งรู้ได้ด้วยปัญญา (กฎของไตรลักษณ์) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

    (4) “ธรรมะ” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” คือ สภาวะของความเป็นเหตุ ที่เรียกว่า “เราเป็นซึ่งเราเป็น” แต่ผู้ตอบกลับชี้ให้เห็นว่า สภาวะของเหตุและผล ที่เรียกว่า “ความเป็นเช่นนั้นเอง” (กฏของอิทัปปัจจยตา) ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น

    ความผิดพลาดเกิดจากผู้ตอบนำเอา “คำตอบ” ในมิติหนึ่ง (อเทวนิยม) มาตอบในอีกมิติหนึ่ง (เทวนิยม) โดยไม่ได้พิจารณา “มิติ” หรือ “บริบท” เพราะฉะนั้น “คำตอบ” นั้นจึงสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน และถึงขั้นทำลายล้าง “รากฐาน” ของศาสนานั้น ๆ เลยทีเดียว เพราะความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” เป็น “เทวนิยม” แต่ความหมาย “ใหม่” ของ “ธรรมะ” นั้นเป็น “อเทวนิยม” จึงไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ นั่นเอง

  • SATAN
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะ คือ ธรรมชาติ..ธรรมชาติ ก็คือ สัจจธรรม...อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...หรือ ความสะอาด สว่าง สงบ ในจิตใจครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    “ตัวตน” ของธรรมะ คือ สภาวะที่เป็นเหตุ

    ส่วน “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ สภาวะที่เป็นเหตุ-เป็นผล

    แต่การรู้แจ้งใน “ตัวตน” ของธรรมะได้นั้น เราจะต้องผ่านทาง “ตัวตน” ของธรรมชาติก่อน...นี่คือ “ปริศนาธรรม” ซ้อน “ปริศนาธรรม”

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คำถาม : ธรรมะคืออะไร?

    คำตอบ : แด่ธรรมะซึ่งไม่มีใครรู้จัก

    คำว่า "ธรรมะ" ในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต จะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ

    1. ธร (dhara) แปลว่า ผู้ทรงไว้, ผู้ทรงดำรงอยู่ ฯลฯ

    2. รฺม (rum) แปลว่า ผิดธรรมดา, ไม่รู้จัก ฯลฯ

    เมื่อนำคำทั้ง 2 คำ มาสมาสกันเข้าจะแปลว่า "ผู้ที่ไม่มีใครรู้จัก" เพราะฉะนั้น ธรรมะใดที่สามารถค้นพบได้ด้วยขบวนการทางปัญญาของมนุษย์ย่อมมิใช่ธรรมะที่ถาวร หรือธรรมะใดที่บอกเล่ากันได้ ย่อมมิใช่ธรรมะที่แท้จริง

    แหล่งข้อมูล: จาก yahoo รู้รอบ
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะ คือ คุณงามความดีเท่านั้น

    ธรรมะไม่ใช่ กรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่มีดีไม่มีชั่ว

    แหล่งข้อมูล: จากใจวินิจฉัยผิดและชอบ ชั่วและดี
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะนั้นมี "หนึ่ง" แต่ผู้ฉลาดกล่าวให้มากไปเอง

    แหล่งข้อมูล: ปรัชญาอินเดีย
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะนั้นเป็น “หนึ่ง” ไม่ได้ “เจริญขึ้น” หรือ “เสื่อมลง” แต่สิ่งใด ๆ ที่พึ่งอาศัยธรรมะต่างหากที่ “เจริญขึ้น” หรือ “เสื่อมลง”

    ธรรมะนั้นเป็น “หนึ่ง” ไม่ได้เป็น “อัตตา” หรือ “นิรัตตา” แต่สิ่งใด ๆ ที่พึ่งอาศัยธรรมะต่างหากที่เป็น “อัตตา” หรือ “นิรัตตา”

    ธรรมะนั้นเป็น “หนึ่ง” ไม่ใช่ “โลกธรรม” หรือ “โลกุตรธรรม” แต่สิ่งใด ๆ ที่พึ่งอาศัยธรรมะต่างหากที่เป็น “โลกธรรม” หรือ “โลกุตรธรรม”

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คำว่า “ธรรมะ” ที่เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” อาจจะไม่ใช่คำแปลที่ถูกต้องก็ได้โดยสภาวธรรมนั้นเกิดขึ้นจากการปรากฏของธรรมะเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นจากการใช้เหตุและผลของมนุษย์ เพราะฉะนั้น ธรรมะใดที่สามารถค้นพบได้ด้วยขบวนการทางปัญญาของมนุษย์ย่อมมิใช่ธรรมะที่ถาวร หรือธรรมะใดที่สามารถบอกเล่ากันได้ ย่อมมิใช่ธรรมะที่แท้จริง

    แหล่งข้อมูล: จากปรัชญาอินเดีย
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    “ธรรมะ” แบบ “เทวนิยม” เล็งถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะ “คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” ซึ่ง “ไม่มีอยู่ในโลกนี้” จึง “ไม่มีใครรู้จัก” และไม่อาจหาคำพูดใดๆ มาพรรณนาคุณลักษณะที่สัมบูรณ์นั้นได้ แต่หากจำเป็นต้องพรรณนาก็ไม่ควรใช้คำว่า “อนิจจัง-ทุขัง-อนัตตา” แต่ควรใช้คำว่า “อมตะ-สุขัง-อัตตา” เพราะเป็นสภาวะเหนือโลก

    แต่ “ธรรมะ” แบบ “อเทวนิยม” เล็งถึง “สรรพสิ่งทั้งปวง” ในโลกนี้โดยพระโคตมพุทธเจ้าได้ยึดเอา “หลักกรรม” (ผลที่เป็นไปตามเหตุ) และ “หลักปฏิจจสมุปบาท” (ความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล) นั้นมาเป็น “รากฐาน” ของศาสนาพุทธด้วย เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” แบบ “อเทวนิยม” จึงไม่ได้เล็งถึง “การเข้าถึงสิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” แต่เล็งถึง “การรู้จักตนเอง” คือการทำให้ตัวเองบริบูรณ์มากกว่าที่จะรู้จักหรือเข้าถึงพระเจ้า

    แหล่งข้อมูล: อ่านจาก yahoo รู้รอบ และ google โดยวิเคราะห์จากพวกพี่ ๆ นี่แหละ
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สำหรับผม

    ธรรมะ คือ สิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นปกติธรรมดา ครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมในความคิดหมายถึงธรรมชาติและธรรมดาที่มีหลักการว่าความไม่เที่ยง

    (อนิจจัง),ทุกสิ่งย่อมมีปัญหา(ทุกขัง),และทุกสิ่งล้วนไม่มีตัวตน(อนัตตา)เมื่อได้

    เรียนรู้และปฏิบัติแล้วจะพบว่าหากเข้าใจธรรมและนำไปปฏิบัติแล้วไม่ยึดติด

    ก็สามารถหลุดพ้นจากกิเลสและตันหาซึ่งเป็นความต้องการของสัตว์ทุกชนิด

    ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ความผิดหวัง,ไม่สบายใจ,ต่างๆโดยการพิจรณา,ศึกษา,

    เข้าใจธรรมจะพบทางแก้ปัญหาได้ด้วยมรรค8ที่ได้แก่การกระทำชอบ,วาจาชอบ,

    เลี้ยงชีพชอบ,มีสติ,ก่อเกิดปัญญา,ง่ายๆคิดดี,ทำดีนั่นแหละครับอย่าไปยึดติดกับ

    อะไรเลยครับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้