Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

การประหารชีวิตในประเทศไทย?

ขอเชิญเพื่อนๆชาวyahooรู้รอบ ชมรายการบางอ้อในวันอังคารที่ 12 พ.ค.52 เวลา 23.00 น.ซึ่งจะออกอากาศตอน "ลมหายใจสุดท้ายของนักโทษประหาร"

หลังจากชมรายการแล้วขอความคิดเห็นด้วยว่า "การประหารชีวิตในไทยยังควรมีต่อไปหรือไม่ เพราะเหตุใด และถ้าควรมีการประหารต่อไป คุณคิดว่าควรใช้วิธีใดในการประหาร และน่าจะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้หรือไม่

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Kid D
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    การที่มนุษย์ต้องดำรงชีวิตร่วมกันเป็นสังคมจำเป็นจะต้องมีกฎระเบียบ กติกาต่างๆเพื่อควบคุมให้ทุกคนอยู่ด้วยกันอย่างปกติ ดังที่เราเรียกกันว่ากฎหมาย ซึ่งจะมีทั้งอนุญาตและไม่อนุญาต

    ให้สมาชิกในสังคมให้กระทำ อะไรได้ตามอำเภอใจ ทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามผู้ฝ่าฝืนก็จะมีบทลงโทษ ซึ่งบทลงโทษนี้ได้กำหนดไว้เป็นการล่วงหน้าแล้ว

    โทษประหารชีวิต เป็นโทษลักษณะหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มีความหมายว่า การปฏิบัติของรัฐต่อผู้กระทำความผิด โดยทำให้คนผู้นั้นถึงแก่ความตาย เป็นการทดแทน เพราะเหตุที่เขาได้กระทำความผิดวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการลงโทษประหารชีวิตนั้นมีดังต่อไปนี้

    1. เพื่อเป็นการแก้แค้นและทดแทนกับความผิดที่ได้กระทำขึ้น

    2.เพื่อเป็นการข่มขู่มิให้ผู้ใด���ระทำความผิดนั้นขึ้นอีก

    3.เพื่อเป็นการตัดโอกาสในการกระทำความผิดซ้ำขึ้นอีก

    เมื่อเราพิจารณาถึงลักษณะและวัตถุประสงค์ของโทษประหารชีวิตแล้วจะพบว่า โทษประหารชีวิตเป็นโทษที่ปฏิเสธหลักการลงโทษเพื่อดัดนิสัยของผู้กระทำผิด ทั้งนี้เพราถือว่าผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่จะมีโทษประหารชีวิตนั้น คือ ผู้ที่เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสังคม การให้โอกาส

    แก่บุคคลประเภทนี้ให้กลับตัวกลับใจก็เท่ากับปล่อยให้สังคมต้องเสี่ยงภัยที่น่ากลัวอยู่ต่อไปไม่รู้จบสิ้น

    (ลองเปรียบเทียบกับคดีข่มขืนน่ะครับที่โทษเบากว่าการประหารชีวิต

    ตั้งเยอะอย่างมากก็แค่ติดคุกแล้วพอออกมาจากคุกก็ทำการข่มขืนอีก

    ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดกับเครือญาติเราจะรู้สึกอย่างไร )

    ดังนั้นโดยหลักการและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับโทษประหารชีวิตแล้ว จึงเป็นไปเพื่อป้องกัน และรักษาความปลอดภัยภายในให้กับสังคม เพื่อการดำรงชีวิตของสมาชิกภายในสังคมให้เป็นปรกติสุข

    ถึงแม้ว่าโทษประหารชีวิตจะมีผลทำให้คนต้องเสียชีวิต ซึ่งมองอย่างผิวเผินแล้วย่อมเป็นความน่าสะพรึงกลัวต่อทุกชีวิตๆ ในสังคม แต่ถ้าพิจารณาตามหลักเหตุและผลแล้วจะพบว่า การที่

    คนทั่วไปจะต้องเสียชีวิตด้วยโทษประหารชีวิตนั้น เป็นไปได้น้อยและห่างไกลจากชีวิตปกติมากเพราะว่าการที่คนใดคนหนึ่งจะต้องถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิตนั้น คนๆนั้นจำเป็นจะต้องทำผิดกฎหมายถึงขั้นร้ายแรงถึงขั้นที่กฎหมายกำหนดระวางโทษไว้ให้เป็นโทษประหารชีวิต

    เมื่อชีวิตคนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อตั้งใจกระทำผิดกฎหมาย ไม่ได้เกิดมาเพื่อตั้งใจกระทำความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้สังคม

    เสี่ยงภัย ชีวิตปกติกับโทษประหารชีวิตจึงไม่ได้เป็นภัยต่อกันและกัน และหาได้เป็นภัยคุกคามต่อชีวิตคนปรกติไม่

    ทุกคนรับรู้อยู่ก่อนแล้วว่าอะไรบ้างที่กระทำลงไปแล้วจะได้รับโทษประหารชีวิต ซึ่งได้กำหนดฐานความผิดระวางโทษและวิธีการลงโทษไว้อย่างตายตัวล่วงหน้าแล้ว เมื่อทุกคนสามารถรับรู้ได้ล่วงหน้าดังกล่าวแล้ว ทุกคนสามารถเลือก

    วิถีการดำรงชีวิตเลือกกระทำอะไรต่างๆเพื่อมิให้ได้รับโทษดังกล่าวได้ ดังนั้นโทษประหารชีวิตไม่ได้เป็นกระทำที่เป็นไปในทางละเมิดสิทธิมนุษยชน ไร้มนุษยธรรม หากแต่เป็นการรักษากฎกติกาของสังคม ด้วยความเคร่งครัดการยกเลิกโทษประหารชีวิตด้วยเหตุผลที่ว่าโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรมนั้นจึงไม่ถูกต้อง

    ความไร้มนุษยธรรมหาได้อยู่ที่ตัวของโทษประหารชีวิตไม่ หากแต่อยู่ที่วิธีการในการประหารชีวิตเมื่อความไร้มนุษยธรรมอยู่ที่วิธีการในการประหาร การแก้ไขเพื่อให้เกิดมนุษยธรรม จึงอยู่ที่การแก้ไข

    วิธีการประหารชีวิต หาได้อยู่ที่การยกเลิกโทษประหารชีวิตไม่ เพราะถ้ายกเลิกโทษประหารชีวิตลงไปจะมีอะไรรับประกันความปลอดภัยให้กับสังคมได้มีประสิทธิภาพเท่ากับบทโทษดังกล่าว และกับข้ออ้างที่บางคนเชื่อว่า"มนุษย์ทุกคนสามารถขัดเกลานิสัยได้เสมอนั้น "เป็นการใช้วลีที่ผิดไปจากความเป็นจริงเพราะในทางพระพุทธศาสนายังทรงสอนไว้ว่า " คนเรานั้นเปรียบได้ดังกับบัว 4 เหล่า " บัวที่จมอยู่ใต้โคลนตม

    ไม่ยอมโผล่พ้นน้ำก็ยอมเป็นอาหารของเต่าของปลาเช่นนั้น แม่แต่สุภาษิตไทยยังมีคำพูดที่ให้เด็กๆ ฝึกท่องจำกัน

    มาตลอดนั้นคือ " สันดอนนั้นขุดได้ส่วนจันดานนั้นขุดไม่ได้ " แล้วคิดว่าคนที่ชั่วโดยจันดานนั้นจะฝึกได้หรือ ?????

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การประหารก็คือการทำล้ายชีวิต มันเหมือนการแก้แค้นมากกว่าการป้องกันอะไรทั้งสิ้น และผมมองว่ามันเป็นอาชญากรรม เหมือนกัน

    การลดอาชญากรรมด้วยควารกลัว มันเป็นความเชื่อแบบมุสลิมหรือคริสในยุคมืด ซึ่งตรงข้ามกับ คำสอนของพุทธในเรื่องการไม่ทำร้ายชีวิต และก็ไม่มีคำสอนข้อใหนบอกให้เรา จัดการกะบัวใต้โคลนด้วยการตัดคอมัน ผมเจอแต่สอน ให้พยายามดึงบัวใต้โคลนเหล่านั้น ให้พ้นโคลน

    ผมหมั่นใจว่าคนที่สับสนกะคำสอน ไม่ใช่กลุ่มคนที่ต่อต้านการประหารชีวิต

    ผมไม่เห็นด้วยกับการประหาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดทั้งสิ้น

    ลดความรุนแรงในสังคม ด้วยวิธีที่รุนแรงอย่างการประหารชีวิต ผมว่าฟังแล้วมันขัดๆกัน

    การลดอาชญากรรมในสังคม ควรสอนให้คนเคารพในสิทธิ์ เสรีในการมีชีวิต และ เสรีภาพในการปฏิบัติ ของกันและกัน โดยไม่เอาสิทธิ์ของเรา หรือ คนใดคนหนึ่งไปละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นในสังคม

    ผมมองไม่ออกว่าจะสอนคนให้เคารพ ชีวิต และ เสรีภาพของกันและกันได้ยังไง ถ้าคนสอนเองยังขาดความเค้ารพในสิทธิ์ของคนอื่น มันเหมือนกะคนสอนพยายามสอนในสิ่งที่ ตัวเองยังสับสน ยังไม่เข้าใจ!

    ส่วนเรื่องคำสอนโบราณแบบไทยๆ ผมเลิกฟังเลิกคิดไปนานแล้ว คำสอนโบราณของประเทศเรานั้น เป็นแบบสุดโต่ง หรือไม่ก็ยกย่องคนเลวแกมโกงว่าเป็นคนฉลาด ประเทศมันถึงเป็นแบบนี้

    ส่วนตัวแล้วไม่เคยเจอ และ ก็ไม่คิดว่าจะมี คน ดี หรือ เลว โดยสันดาร โลกแห่งความเป็นจริงนั้น ห่างใกลจากโลกแห่งความสุดโต่ง แบบไทยๆมากครับ

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยังไม่ได้ชมรายการนะคะ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว

    คิดว่าไม่เราไม่มีสิทธิทำโทษใครด้วยการฆ่าให้ตายคะ

    เหตุผลชัดแจ้งที่สุด คือ ใครๆก็รักตัวกลัวตาย ใครๆก็เคยทำผิด

    ถ้าใครทำผิดมากๆ ก็ควรแก้ไขด้วยการให้เขาสำนึกกลับตัวคะ

    ถ้าเขาสำนึกไม่ได้ก็ขังไว้ให้ทำร้ายใครไม่ได้ดีกว่า

    การทำร้ายคนอื่นไม่สามารถหยุดได้ ด้วยการทำร้ายกลับ

    แต่หยุดได้ด้วยการเปลี่ยนความเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดีคะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้