Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

"ความเชื่อ""ศรัทธา""ความรู้"คุณคิดว่าสิ่งไหนสำคัญกว่ากันเพราะอะไร?

หากมนุษย์จะดำเนินการใดๆย่อมจะต้องใช้พื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องอย่างใดครับ

11 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Aragon
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ความรู้ หรือปัญญา สำคัญที่สุด

    (1)ความเชื่อ มนุษย์สมัยก่อนโคเปอ��์นิคัสเชื่อว่าโลกแบน(ปัจจุบัน?)

    (2)ศรัทธา มนุษย์ในยุคก่อนโคเปอร์นิคัส"ศรัทธา"ในคริสศาสนา เชื่อว่าโลกแบนตามความเชื่อเดิม(เพราะรู้สึก?)และเพราะศรัทธาในคำสอน ความศรัทธาก่อให้เกิดความเชื่อว่าโลกแบนแนบแน่นยิ่งขึ้น

    (3)ความรู้ โคเปอร์นิคัส นำมาสู่ข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่มีวิธีการพิสูจน์ที่โต้แย้งไม่ได้(ปัจจุบันมีภาพถ่ายดาวเทียม)

    ตามข้อ(1) เป็นความเชื่อจากประสาทสัมผัสและสามัญสำนึก ว่าหากโลกกลม เราก็คงหัวหกก้นขวิด ตีลังกายืนอยู่ได้อย่างไร แล้วทำไมไม่หลุดตกไปจากโลก ฯลฯ ขัดต่อสามัญสำนึกของมนุษย์

    ตามข้อ(2)เป็นศรัทธาที่ไ่ม่ได้เกิดจากองค์ความรู้ แต่เป็นศรัทธาที่เกิดจากความเชื่อในคำภีร์ และบาทหลวงนักสอนศาสนา

    ตามข้อ(3) ความรู้ก่อให้เกิด"ศรัทธา"ในวิทยาศาสตร์กระทั่งกลายเป็นศาสดาองค์ใหม่ ที่อะไรๆต้องพิสูจน์ได้จึงจะเชื่อถือ นักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เริ่มปฏิเสธความรู้ที่เกิดจากศรัทธา เท่ากับว่า เริ่มปฏิเสธพระเจ้าและคัมภีร์ แต่...

    วงการวิทยาศาสตร์เคยปฏิเสธว่า แสงเป็นอนุภาค"หรือเม็ด curpuscles"ดังที่นิวตันเคยมีญาณทัศนะเอาไว้ เพียงเพราะว่า ยังไม่มีทฤษฎีและอุปกรณ์รองรับในขณะนั้นๆ รวมถึงว่า...

    วิทยาศาสตร์ไม่อาจพิสูจน์สิ่งที่ไกลเกินอุปกรณ์หรือเครื่องมือตรวจจับวัดได้ เช่น สมัยหนึ่งก็ว่า ปฏิอนุภาคไม่มีอยู่จริง พลังงานมืด หรือสสารมืดไม่มีอยู่ ฯลฯ เพราะไม่มีทฤษฎีรองรับ หรือไม่มีเครื่องมือตรวจจับวัดได้ นั่นคือ คนที่ศรัทธาในวิทยาศาสตร์จะปฏิเสธ(ความจริง)ไว้ก่อน หากยังพิสูน์ไ่่ม่ได้ แม้สิ่งนั้นจะเป็น"ความจริง"ก็ตาม

    เช่นกัน "กรรมและวิบากกรรม" เป็นเรื่องซับซ้อนเรื่องหนึ่่งที่"วิทยาศาสตร์"ยังอาจยังไม่อาจใช้เครื่องมือพิสูจน์ได้ในปัจจุบัน แต่ก็อาจมีหนทางพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการ ระลึกชาติ ที่มีการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

    กรณีพุทธศาสนา

    ความเชื่อ คือเชื่อตามที่ได้ยินได้ฟังมา ตามบิดามารดา ฯลฯ เช่นว่า ทำบุญสังฆทานคือ"ถังเหลือง"ทำแล้วได้บุญมาก นั่นคือ ความเชื่อเป็นศรัทธาอ่อนๆที่สักแต่ว่าเชื่อ เพราะยังไ่ม่เ็ห็นผลที่ชัดเจน

    ศรัทธา คือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยความเชื่อ แต่มิได้ใช้ความรู้หรือปัญญามานำศรัทธา ทำให้หลงเข้าใจว่า การถวายถังเหลืองคือถวายสังฆทาน ถวายแบบอื่นไม่เรียกว่าถวายสังฆทาน ฯลฯ แต่สำหรับผู้มีความรู้หรือปัญญาก็ปฏิบัติด้วยอาการที่แตกต่างออกไป หรือ การเข้าใจว่าปล่อยนกปล่อยปลาเพื่อต่ออายุชีวิตตนตามคติที่สอนต่อๆกันมา แต่สำหรับผู้มีปัญญาความรู้ ก็มีศรัทธาในการปล่อยนกปล่อยปลาที่แตกต่างออกไปคือ เจือด้วยเมตตากรุณานึกถึงชีวิตอื่นเป็นประโยชน์ที่หนึ่ง ประโยชน์ตนเป็นที่สอง ฯลฯ อย่างนี้เป็นความเชื่อที่เกิดจากองค์ความรู้ เป็นความเชื่อที่แนบแน่น

    ความรู้ คือ องค์ความรู้ในพุทธธรรมว่า่ สังฆทานเป็นอย่างไร? ทำแล้วดีอย่างไร? ศีล สมาธิ ปัญญาคืออย่างไร? เมื่อปฏิบัติ(ไตรสิกขา)แล้วได้รับผลดี ก็ยิ่งศรัทธาในคำสอน(องค์ความรู้)ยิ่งๆขึ้นไป เมื่อปัญญาเกิด ศรัทธาก็มีมากตามความรู้และปัญญานั้น นั่นคือ...ศรัทธาที่มีปัญญานำ ไม่ทำให้ใครหลงทางได้เลย นั่นคือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ย่อมเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง

    ทั้ง 3 ประการนี้ ปัญญา(หรือความรู้)สำคัญที่สุด

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    "ความเชื่อ" คือ คิดว่าจริง แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนแน่นอน

    "ศรัทธา" ก็เป็นความเชื่อ (ไม่แน่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่) แต่นอกจากจะเชื่อแล้วยังเลื่อมใสด้วย

    ส่วน "ความรู้" คือ ความจริงที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ

    ดังนั้น มนุษย์ควรใช้ความรู้ เป็นพื้นฐานในการดำเนินการใด ๆ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อย ไม่เสียเวลาเปล่า

    โดยการศึกษาเล่าเรียนค้นคว้าให้รู้ความจริง เกิดความรู้ แล้วปฏิบัติ

    เช่น ศีล 5 เป็นความรู้ความจริงที่ควรศึกษาและปฏิบัติเป็น "พื้นฐานความเป็นมนุษย์"

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าจะคิดถึง สามอย่างนี้ คิดว่าทั้งหมดมีแต่คุณ หากนำมาใช้ในทางที่สร้างสรรค์ น่าจะสำคัญพอๆกัน เหมือนกับเป็นองค์ประกอบที่ควรมี ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คงทำให้ไม่สมบูรณ์แบบค่ะ

    -ความเชื่อ เป็นสิ่งที่รับสืบทอดกันมา อาจเป็นความรู้ แบบภูมิปัญญา ที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ใช้วิธีบอกเล่าต่อๆกันมา อาจทำให้ผิดเพี้ยนบ้าง แต่ก็ยังสามารถค้นหาสิ่งที่แอบแฝงอยู่ได้บ้าง

    -ศรัทธา เป็นเรื่องที่ทำให้เรามีความมั่นใจต่อเรื่องราวนั้น อาจไม่มีเหตุผลเป็นรูปธรรม แต่ก็เป็นเสมือนแรงผลัก ที่จะขับเคลื่อนการกระทำให้มุ่งไปข้างหน้า

    -ความรู้ เป็นข้อมูลสำเร็จรูป ที่่ได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบ ค่อนข้างมีความแม่นยำ แต่ก็อาจตาลปัตรเป็นอีกอย่างได้ หากมีการค้นคว้าใหม่ๆ มาคัดค้าน ความรู้นั้นๆ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สำคัญทั้งหมด

    ความเชื่อและความศรัทธาที่ดี ย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจ

    เช่น เมื่อเราได้รู้ได้เข้าใจในหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเกิดความศรัทธาในความจริงนั้น เริ่มจากตรงนี้ เราก็จะได้คำตอบกับอะไรหลาย ๆ อย่างในชีวิตประจำวันของเรา เช่น เราเข้าใจในหลักของกรรม เราก็จะมีความระมัดระวังในคำพูด การกระทำ ความคิดของเรา ที่จะไม่ให้เป็นอกุศล จะได้ไม่สร้างอกุศลกรรม หรือเราเข้าใจในกฎความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง เราก็จะไม่ยึดมั่นกับสภาวะต่าง ๆ ตรงหน้าเรา ว่าจะคงทนถาวร

    พื้นฐานที่ถูกต้องที่ถาม หากหมายความถึงจุดเริ่มต้นที่ถูก ของตอบว่า ต้องเริ่มจากสัมมาทิฏฐิ เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็เปรียบเหมือนเรามีเข็มทิศคอยชี้ทางนั่นเอง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ส่วนตัวผมคิดว่าความเชื่อ

    ชาวนาลงมือหว่านข้าวก็เพราะเชื่อว่าจะได้เก็บเกี่ยว

    ส่งลูกเรียนสูงๆก็เพราะเชื่อว่าจะได้ดี

    เปิดร้านค้าก็เชื่อว่าจะขายได้

    ถ้าเอาแบบตรงๆมีแต่คนตรวจDNAลูกที่เกิดมา

    แต่ไม่มีใครตรวจDNAพ่อและแม่เพราะเชื่อว่าท่านคือพ่อและแม่ของเรา

    ต้องขออภัยอาจจะแรงไปหน่อย แต่มันเป็นความจริง

    ผมก็ไม่เคยคิดจะตรวจเพราะเชื่ออย่างสนิทใจ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ความเชื่อและความศรัทธามีความเกี่ยวข้องเชื่à¸��โยงกันจนแทบจะแยกไม่ออกเพราะความเมื่อเราศรัทธากับสิ่งใดเราก็จะเชื่อในสิ่งนั้น โดยบางที่ไม่สนใจเหตุผลหรือความรู้ด้วยซำ้ การจะตัดสินใจว่าสามสิ่งนี้อะไรสำคัญกว่าขึ้นอยู่กับสิงที่คุณจะทำอะไร แต่สำหรับฉันแล้วฉันว่าหากเชื่อและศรัทธาในตัวเองว่าฉันทำได้แน่นอน ฉันจะลงมือทำโดยไม่คำนึงถึงเหตุผลที่ต้องประเมินด้วยความรู้

  • ?
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ศรัทธาในกระบวนการพัฒนาตามหลักพระพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อมั่น ความซาบซึ้ง

    ศรัทธา จึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบมอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา

    เราสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ ศรัทธา = ความเชื่อ ----> ความรู้

    ดังนั้นเราจึงควรมีความศรัทธาในสิ่งที่ถูกต้อง ยึดหลักเ้หตุผล โดยอาศัยปัญญาและความรู้ พิจารณาให้ถ้วนถี่แล้วจึงค่อยเชื่อในสิ่งที่ตนมั่นใจ

    ความศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขอแยกตอบเป็นข้อ ๆ ดังนี้

    1. เชื่อ (คำไทย) และ ศรัทธา (คำสันสกฤต) ความหมายเหมือนกัน แปลว่า ไว้วางใจ, เลื่อมใส, เคารพนับถือ, จงรักภักดี ฯลฯ

    2. ความเชื่อแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

    2.1 ความเชื่อ (เท่านั้น) คือ ความไว้วางใจโดยไม่มีการประพฤติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย, เป็นความแน่ใจในสิ่งที่ตนหวังไว้ เป็นความรู้สึกอย่างแน่นอนว่าสิ่งนั้นมีจริง เช่น เชื่อว่าผีมีจริง, เชื่อในพระพุทธคุณของพระศาสดา ฯลฯ

    2.2 ความเชื่อฟัง (เชื่อและประพฤติตาม) คือ ความไว้วางใจที่มีการประพฤติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ประพฤติตามคำสั่งสอนของพระศาสดาด้วยความจงรักภักดี

    3. ความรู้ แปลว่า ความเข้าใจ, ทราบว่าอะไรเป็นอะไร, ทราบว่าอะไรดีอะไรชั่ว ฯลฯ

    4. ความสำคัญของทั้ง 2 คำนี้ “ไม่เท่ากัน” ขึ้นอยู่กับบุคคลและสถานการณ์มากกว่า เช่น

    4.1 ถ้าเขายังเป็นเด็กอยู่ ความเชื่อฟัง (พ่อแม่) ย่อมสำคัญกว่าความรู้ (ด้วยตัวเอง)

    4.2 แต่ถ้าเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว ความรู้ (ด้วยตนเอง) ย่อมสำคัญกว่าความเชื่อ (ตามผู้อื่น)

    5. การดำเนินการใด ๆ ย่อมต้องใช้พื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง 2 ข้อ คือ

    5.1 เมื่อเรียนรู้จากพระศาสดา ความศรัทธาต้องมาก่อนความรู้

    5.2 เมื่อเรียนรู้จากมนุษย์ ความรู้ต้องมาก่อนความศรัทธา

  • Toy C
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตอบยากค่ะ สำคัญทั้งหมดเลย

    ความเชื่อ...ความเชื่ออย่างเดียว ไม่สามารถทำอะไรให้เป็นจริงได้ เพราะเอาแต่เชื่อ ไม่เคยจะลงมือทำ เพราะไม่มีความรู้ ฉะนั้นเชื่ออย่างเดียวก็ไม่มีประโยชน์

    ศรัทธา...อันนี้รู้สึกจะคล้ายกับความเชื่อ จะรัก หรือศรัทธาใครสักคน ถ้าเราไม่พูด เอาแต่เก็บเงียบอยู่คนเดียว ก็จะไม่เกิดผล

    ความรู้...เมือมีความรู้อยู่เต็มหัว แต่ไม่มีศรัทธาและความเชื่อ ไม่เคยเชื่อใคร ก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมายนั้นได้ เหมือนกับ คนที่มี ความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอด

    สรุปก็คือ ทุกส่วนนั้นล้วนมีความสำคุญหมด แต่จะมากหรือน้อยกว่ากัน ก็ขึเนอยู่กับสถานการณ์ คนเราต้องมีทุกอย่าง เพราะถ้ามีอย่างเดียว ก็ไม่อาจประสบความสำเร็จในชีวิตได้

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ทั้งสามอย่างมีสำคัญเท่าเทียมกันครับ อยู่ที่เงื่อนไขของมนุษย์แต่ละบุลคลทีมีความแตกต่าง มีพื้นฐานทีมาต่างกัน

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้