Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Pai ถามใน สังคมศาสตร์จิตวิทยา · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

อาการแบบนี้ควรจะไปหา " จิตแพทย์ " หรือยัง ?

สังเกตุตัวเอง..ว่า หมู่นี้ ไม่ค่อยอยากพูดจากับใคร....อยากอยู่เงียบ ๆ มากกว่า

แต่ละวันพูดกับคนน้อยมาก...แต่สามารถฟังเพื่อนเล่า เรื่องราวได้ แต่ไม่โต้ตอบ

ไม่ได้รู้สึก ซึมเศร้า...ก็มีความสุขดีทุกประการ....ยังชอบฟังเพลง..เวลาอาบน้ำ ก็ยังฮัมเพลง...อ่านหนังสือตลก ก็หัวเราะได้....ดูละครก็ยิ้มได้....

เพียงแต่ไม่อยากพูด เท่านั้นเอง....

คนในครอบครัว เข้าใจดี ... เพราะตัวเองปกติก็เป็นคนพูดน้อย...

แต่กลัวเพื่อน ร่วมงานจะอึดอัด...เพราะเราไม่พูดจาอะไรกับใคร....และไม่ร่วมวงสนทนากับใคร เพียงแต่นั่งฟังยิ้ม ๆ เท่านั้น

จึงอยากทราบว่า ตัวเองผิดปกติ อะไรหรือเปล่า....ต้องไปหาหมอบำบัดหรือเปล่าค่ะ ?...

16 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    คนพูดน้อย เป็นผู้ฟังที่ดีเป็นคนที่ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ราบรื่น การไม่พูดไม่ใช่ไม่คิด แต่เป็นคนที่รู้จักคิด รู้จักยับยั้งชั่งใจ คนที่พูดมากๆ ไม่ค่อยมีใครชอบ ถ้าพูดแต่เรื่องไม่มีสาระก็จะทำให้ความน่านับถือลดลง คนอื่นก็จะไม่ค่อยให้ความเกรงใจ แต่ถ้าคนอื่นถามแล้วจะไม่ตอบอะไรเลย ยิ้มลูกเดียวแบบนี้คงไม่ค่อยดีนะคะ คงต้องพูดบ้าง ตามความเหมาะสม ดีนะมีคนพูดน้อยอยู่ใกล้ๆ เพราะถ้ามีแต่คนแย่งกันพูดเหมือนกับเป็นมลพิษประเภทหนึ่งเลยล่ะค่ะ มึนๆๆๆ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เป็นแค่ "คนเงียบๆ พูดไม่เก่ง" ครับ ไม่ต้องไปหาà��ˆà¸´à¸•à¹à¸žà¸—ย์

    อาจเป็นคนไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ ไม่เหมาะกับงานบางงานเช่นงานสัมพันธ์มวลชน-งานประชาสัมพันธ์

    เพื่อนร่วมงานจะเข้าใจเอง ถ้ายัง "นั่งฟังยิ้มๆ" อีกหน่อยเพื่อนก็จะเข้าใจ แต่ถ้าเราพยายามคุยให้มากขึ้นอีกนิด (ไม่ต้องฝืนมาก) ก็จะดี

    แค่ยิ้มบ่อยๆก็ดีมากแล้วครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนเราทุกคนต้องการมีโลกส่วนตัวเหมือนกันคะ ไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง หรือสนุกสนานหัวเราะ ตลอดเวลา เพียงแค่ ไม่อยากพูดก็เท่านั้น ก็เคยแต่ก็เฉยๆ นานๆไปก็ชินเองค่ะ ไม่ต้องคิดมากค่ะ ถ้าเรารู้นิสัยตัวเองไม่ต้องถึงขั้นพบแพทย์หรอกนะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ต้องดูด้วยว่าคุณไปสังสรรกับเพื่อน ๆ หรือเปล่า เช่นไปกินข้าวกลางวันด้วยกัน ไม่ใช่ปลีกวิเวกคนเดียว แบบนี้อาจเป็นอาการของพวกจิตซึมเศร้า แบบหลบในก็ได้ ต้องดูด้วยว่าคุณทำอะไรแบบซ้ำ ๆ ด้วยหรือเปล่า ถ้าทำก็เป็นจิตซึมเศร้าหลบในชัวร์

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ต้องไปหาหมอหรอกครับ การที่ไม่คุยกับใคร คุยก็มีเวลาทำอะไรในแต่ละวันได้เยอะ คิดอะไรได้เยอะ หลีกหà��™à¸µà¸„วามสับสนวุ่นวายได้ การปิดปาก แต่เปิดหูเปิดตา ทำให้เรารับอะไรได้เต็มที่ มีโลกส่วนตัวสูง แต่บางทีก็เหมือนคับแคบ ไม่ยอมรับรู้เรื่องราวอะไรกับใคร

    ขอมอบเพลงนี้ให้ครับ

    คุยกับตัวเอง ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์

    คนเราเล็กๆน้อยๆ บางทีเราก็ลืม

    ลืมตัวมัวคิดถึงเขา ใจเราเองมองข้ามไป

    ใครๆที่คบๆไว้ คุยกันไปถูกคอ

    นานไปมันชักท้อๆ คอคนเราไม่เหมือนกัน

    ทุกครั้งที่คุยกับเธอ ยังต้องทำให้เธอสบายใจ

    ตัวเองจะต้องการอะไร ไม่เลย ไม่เคยคิดจะใส่ใจ

    * ต่อไปนี้จะคุยกับตัวเราเอง

    เลิกข่มเหงตัวเองเสียบ้าง

    เป็นคนดีบางครั้งเหงาๆ อยากเป็นตัวเราที่เคย

    พอใจจะนั่งเฉยๆ มองเลยๆไปบ้าง

    ใจใครๆก็ต้องรับรู้ มันคงดูไม่ดี

    ใจตัวเองจะคิดครั้งนี้ มันเป็นทีของฉันเอง

    ครั้งนี้ไม่คุยกับเธอ ฉันทำด้วยความสบายใจ

    คำคนก็ช่างมันปะไร ปล่อยไปสุขใจที่ได้ทำอย่างนี้

    * ต่อไปนี้จะคุยกับตัวเราเอง

    เลิกข่มเหงตัวเองเสียบ้าง

    จะไม่ขอทำตามผู้ใด

    ก็จะสนใจเพียงแต่ตัวเราเอง

    ถ้าจะฟังก็ตามlinkนี้ครับ

    http://www.esnips.com/doc/e44ee912-4dbe-44db-b61e-...

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    องค์การอนามัยโลกได้จำแนกประเภทของความผิดปกติทางจิตใจ(การทำงานของจิตใจเสียหน้าที่ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน จนทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติ) ออกเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ คือ

    1.บุคลิกภาพเดิมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป เช่นเคยเป็นคนสะอาด และสุภาพก็เปลี่ยนเป็นสกปรกและหยาบคาย เคยเป็นคนพูดน้อยก็กลายเป็นพูดไม่หยุดฯลฯ

    2. ไม่อยู่ในโลกของความจริง เช่น มีอาการประสาทหลอน ได้ยินเสียงคนด่าตลอด หลงผิด ว่ามีคนคิดทำร้ายและกำลังตามฆ่า .

    3. ไม่รู้สภาวะตนเอง เช่น ไม่รู้ว่าตนเองกำลังป่วย จึงขัดขืนไม่ยอมไปพบแพทย์ การขัดขืนบางครั้งรุนแรงจนถึงกับใช้กำลังกาย

    ประเภทของโรคจิตมี 2 พวก

    1.โรคจิตที่มีสาเหตุเนื่องจากพยาธิสภาพทางกาย

    2.โรคจิตอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับพยาธิสภาพทางกาย

    ส่วนอาการทางประสาท เป็นความผิดปกติ หรือความแปรปรวนทางจิตใจ อาการต่าง ๆ ที่ปรากฎคือกังวล ย้ำคิด ย้ำทำ เหนื่อยง่าย ฯลฯ อาการเหล่านี้ไม่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงาน หรือการเข้าสังคมอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนมากจะหยั่งเห็นสภาพของตนหรือรู้สภาวะของตน เอง รู้ว่าตนไม่สบายใจ หงุดหงิด และกลุ้มใจต้องการให้แพทย์หรือคนอื่นช่วยเหลือ

    อาการของคุณเข้าหลักการข้อไหนรึเปล่าคะ จริง ๆ ในคำถามก็มีคำตอบอยู่แล้วคือ ไม่ค่อยอยากพูดกับใคร มันเป็นความต้องการของคุณเอง แต่อาการทางจิตเขาไม่ได้อยากนะคะ แต่เป็นพฤติกรรมอัตโนมัติ ไม่ต้องตัดสินใจว่าอยากหรือไม่อยาก และโดยนิสัยส่วนตัวคุณก็เป็นคนมีความต้องการการเป็นส่วนตัวสูงอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้คุณมีออะไรมากระทบจิตใจที่ทำให้รู้สึกว่า ถ้าไม่พูดดีกว่ารึเปล่า เช่น เสนอความคิด หรือออกความเห็นอะไรไป ก็ไม่มีใครรับฟัง เลยทำให้คุณไม่อยากออกความเห็นอะไร หรือ อาจเคยมีการโต้ตอบกันรุนแรงและผลเป็นลบต่อตัวคุณ คุณเลยเลือกที่จะเงียบ ไม่แสดงความเห็น จริง ๆ มันก็เป็นวิธีการปกป้องตัวเองขั้นพื้นฐานเลยนะคะ ปกป้องจากบางอย่างที่คุณไม่พึงประสงค์ คุณเท่านั้นที่รู้ค่ะ ลองหาดูนะคะ

  • ?
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ..เค้าเรียกว่าคนมีโลกส่วนตัว..มากน้อยก็แตกต่างกันไป

    ถือว่าปกติค่ะ..การมีความสุขอยู่ในโลกส่วนตัวเป็นกันได้ทุกคน

    อาจจะเป็นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบางคนก็เป็นเช่นนี้ตลอดเพราะ

    มันเป็นนิสัยส่วนตัว ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนอะไรก็ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ

    ถือว่ามันเป็นบุคลิกของเราแบบนี้นี่คะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าอารมณ์ไม่อยากคุยแต่เราก็ยิ้มได้นี่คะ เพื่อนร่วมงานไม่อึดอัดหรอกค่ะ

    เราเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องพูด หรือ ตอบทุกคำถาม การยิ้มหรือสนใจฟังทำให้ทุกคนเข้าใจได้ว่า มีความรู้สึกดีๆอยู่นะคะ จิตแพทย์ยังไม่ถามหาค่ะ *.*

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ก็น่าจะปกติดีนะคะ พูดน้อยน่าจะดีกว่าพูดมากด้วยซ้ำนะ (พูดน้อยผิดน้อย ไม่พุดเลยไม่ผิดเลย) แต่ถ้ามีคนถามแล้วไม่ตอบคงต้องไปหาจิตแพทย์โดยด่วนจ๊ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    .......ไม่จำเป็นหรอกค่ะที่จะไปพบจิตแพทย์ เพราะนิสัย และพฤติกรรมคนเรานั้น ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แค่ขอให้คนในครอบครัวกับคนรอบข้างเข้าใจในความเป็นเราก็พอค่ะ........

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้