Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Pizzy ถามใน ครอบครัวและความสัมพันธ์ครอบครัว · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

คุณคิดว่ามีวิธีเลี้ยงลูกอย่างไร เพื่อให้เขาเป็นคนมั่นใจในตัวเอง เวลาคุยกับใครแล้วไม่หลบสายตาคน และมีบุคลิกดีคะ?

เมื่อเร็วๆ นี้ มีคนมาพูดให้เราฟังค่ะว่า ลูกของเขา มีพฤติกรรมประมาณว่า เวลามีใครสักคนมาคุยด้วย เขา (ลูก) ก็จะไม่ค่อยสบตากับคู่สนทนา ... แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่ว่า จะทำเป็นมองไม่เห็น / ไม่สนใจ / เพิกเฉยต่อคู่สนทนาหรอกนะคะ เพียงแต่ว่า อาจจะไม่กล้ามองสบตากับคู่สนทนาตรงๆ หรือ อาจจะมองหน้าคู่สนทนาในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็เสไปมองทางอื่น ทั้งๆ ที่ยังพูดคุยกันไม่จบประโยค / ยังไม่หมดเรื่องคุย เป็นต้น

อัปเดต:

เวลานั่งทานข้าวด้วยกันในครอบครัว ถ้าพ่อ แม่มองเขา ในเวลาที่เขากำลังทานข้าว เช่น ในขณะที่เขากำลังเคี้ยว กำลังตักอาหาร ฯลฯ เนี่ย เขาก็จะหงุดหงิดที่พ่อแม่มานั่งมองเขา (ซึ่งในเรื่องนี้ เราก็ไม่รู้หรอกนะคะว่า พ่อแม่ของครอบครัวนี้ เขามองลูกของตัวเองเวลาทานข้าวบ่อยแค่ไหน และมองเพราะอะไร) ... แล้วเขาก็จะถามว่า จะมานั่งมองเขาทำไมกันเนี่ย เพราะเขามีความรู้สึกว่า ถ้าจะพูดอะไรกับเขา ก็น่าจะพูดออกมาเลย จะมานั่งมองอยู่เฉยๆ ทำไม ... ทีนี้ฝ่ายคนที่นั่งมอง ก็จะเริ่มอารมณ์เสียค่ะ แล้วก็ดุลูกว่า จะกินข้าวก็กินไปสิ ทำไมถึงจะมองไม่ได้ อะไรทำนองเนี้ยค่ะ

คือว่า ครอบครัวนี้ เขามีลูกสาวคนเดียวค่ะ รูปร่างก็ค่อนข้างจะอ้วน (เราก็เลยไม่รู้ว่า การที่พ่อแม่มองเวลาลูกทานข้าวนั้น เป็นเพราะว่า พ่อแม่อยากจะ break ให้ลูกทานน้อยๆ ลงหน่อย หรือเพราะว่า เวลาเห็นลูกทานข้าวแล้ว ดูน่าเอร็ดอร่อยก็ไม่ทราบนะคะ ... เรื่องนี้เราก็แค่ พูดเล่นขำๆ ในเว็บนี้เท่านั้นนะคะ) ... และอ้วนมาตลอดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จนตอนนี้เรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้ 2 - 3 ปีแล้ว ก็ยังอ้วนอยู่

นอกจากนี้ ลูกของคนพูด ยังมีนิสัยที่ชอบเดินเร็วๆ ราวกับว่า

อัปเดต 2:

ไม่อยากให้มีใครมาแวะทักทาย มาเรี���กไปคุยในกลุ่มเพื่อน / กลุ่มญาติ ฯลฯ

สรุปแล้ว พ่อแม่ของครอบครัวนี้ ก็ค่อนข้างจะเป็นห่วงว่า พฤติกรรม และบุคลิกดังเช่นที่กล่าวมานี้ อาจจะทำให้ลูกของตัวเอง ดูเหมือนคนไม่น่าไว้วางใจ เหมือนคนทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้ และดูไม่น่าเชื่อถือ ในสายตาของคนภายนอกน่ะค่ะ ... แต่เขาก็ไม่รู้ว่า จะแก้ไขได้ยังไง ด้วยวิธีใด

อีกอย่างคือ พ่อแม่ของครอบครัวนี้ ก็ยังมีความสงสัยว่า ทำไมลูกของตัวเอง ถึงมักจะ "ไม่ค่อยสนิทสนม" กับคนที่อยู่ในแวดวงใกล้ชิดกัน แต่จะไปสนิทสนมกับคนที่อยู่ห่างกันออกไปอีกนิดหนึ่งเสมอ ... ยกตัวอย่างเช่น ถ้าในห้องเรียนของลูกเนี่ย มีเพื่อนร่วมห้องอยู่ 30 คน ลูกก็แทบจะ ไม่เคยมีเพื่อนร่วมห้องที่สนิทสนมกันเลย แต่จะไปสนิทสนมกับเพื่อนห้องข้างๆ (เป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยที่เรียนชั้นประถมแล้ว) ... และลูกก็ยินดีที่จะไปมาหาสู่ ทุ่มเท เสียสละ และมอบความเป็นเพื่อนที่ดี และซื่อสัตย์ ให้กับเพื่อนในห้องข้างๆ เหล่านั้น รวมทั้ง สามารถคบหากันได้อย่างแน่นแฟ้น และยาวนานเสียด้วยนะคะ

ดังนั้น เราก็เลยอยากจะขอถามเพื่อนๆ ค่ะว่า ในความเห็นของเพื่อนๆ แล้ว ...

อัปเดต 3:

1. นิสัยไม่ค่อยกล้าสบตาคู่สนทนา และนิสัยชอบเดินเร็วๆ แบบจ้ำอ้าวเนี่ย จะสามารถแก้ไขได้ ด้วยวิธีใดบ้างคะ

2. ทำไม "คนบางคน" ถึงแทบจะ ไม่เคยสนิทสนม (ในฐานะเพื่อน) กับคนที่เรียน / ทำงาน / ทำกิจกรรมอยู่ด้วยกัน (เช่น กรณีเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียน) ... ทั้งๆ ที่มีเวลาได้อยู่ด้วยกันมาก ได้เห็น ได้รับรู้ข้อมูลต่างๆ ของกันและกันมามาก แต่เขากลับไปสนิทสนมกับเพื่อนในห้องเรียนอื่นๆ มากกว่าคะ

เราขอขอบคุณสำหรับทุกๆ คำตอบนะคะ

อัปเดต 4:

ขอบคุณ คุณ Energizer และคุณ ตัว ต. นะคะ ที่เข้ามาตอบ และให้ข้อคิดเห็นที่ดีๆ

เวลาที่จะใช้ในการตอบคำถามนี้ ยังเหลืออีกหลายวัน เราจึงอยากจะขอให้เพื่อนๆ ท่านอื่นๆ ได้โปรดสละเวลาเข้ามาตอบกันอีกนะคะ

ขอบคุณค่ะ

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Kimmim
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เท่าที่อ่านเรื่องราวดู เขาเป็นเหมือนน้องที่รู้จักคนนึงเลยค่ะ เค้าก็อ้วนมาตั้งแต่เด็กเช่นกันและสาเหตุที่ทำให้น้องเค้าเป็นแบบนั้น(มีอาการอย่างที่ว่ามา)ก็สืบเนื่องมาจาก พฤติกรรมของคนในครอบครัวนั่นเอง

    ก็คือ เวลาใครไปมาหาสู่(พวกญาติ, เพื่อนพี่ชาย-พี่สาว, กลุ่มเพื่อนมาทำรายงาน) พ่อแม่ของเขาก็มักจะบ่นๆเรื่องความอ้วนของลูกสาวให้ฟัง คือพ่อแม่ก็แค่กังวลว่าลูกอ้วนก็เลยเล่าสู่ แต่ลูกกลับรู้สึกเหมือนถูกประจานมากกว่า ก็เลยไม่ชอบสุงสิงด้วย แต่กลับไปขลุกอยู่กับคนอื่นที่ทางบ้านไม่สนิทสนมด้วยมากกว่า เพราะไม่ค่อยมีใครมาพูดจี้จุดในสิ่งที่อยู่ในใจ

    เวลาทานอาหาร ไปหยิบอาหารจากในตู้เย็นมาเวฟทาน พ่อแม่ก็มักหันมาดู แม้ไม่พูดอะไรก็ตามแต่สายตามันบอกค่ะว่า"กินอีกแล้วเหรอ?" น้องเค้าไม่ชอบค่ะ เวลาทานร่วมกันบนโต๊ะ ก็คอยมองลูกสาวทาน(โดยไม่พูดอะไร)เหมือนสังเกตุการณ์การกินของลูก น้องเค้าก็เลยหงุดหงิดค่ะ...บังเอิญวันนั้นเราไปทานข้าวที่บ้านเค้า แล้วพ่อแม่เค้าก็เป็นแบบนั้น (ทีแรกเราไม่สังเกตุ) แต่พอน้องเค้าเอื้อมหยิบไก่ทอดในจาน แม่เค้าก็บอกเราว่า"เห็นมั๊ย นี่ชิ้นที่สี่แล้วนะ" ...น้องเค้าถึงมาบ่นกับเราว่า ถึงขนาดนั่งนับเลยเหรอว่ากินไปกี่ชิ้นแล้ว พอน้องเค้าฟ้องเราบ้าง แม่เค้าก็ออกตัวว่า "ไม่ได้นั่งนับ ก็แค่พูดกับพี่เค้าเฉยๆ" ยังงี้ใครจะสบายใจล่ะคะ?

    สุดท้ายแล้ว น้องเค้าเลยเป็นโรคเครียดค่ะ แต่พอได้เจอเราเค้ากลับพูดคุยได้อย่างสนิทสนมมากจนพ่อแม่เค้าประหลาดใจ เพราะไม่ได้เจอกันบ่อยแต่ทำยังกะว่าซี้ปึ้กกันเชียว...(จบมหาวิทยาลัยแล้วก็ไม่ได้ทำงานอะไร อยู่บ้านเฉยๆเพราะไปสัมภาษณ์งานไม่ผ่าน ก็เพราะมัวก้มหน้าพูดอุบอิบนี่ล่ะ)

    1.พ่อแม่เลิกสนใจเรื่องความอ้วนของลูกค่ะ ไม่ต้องสนใจอีกแล้ว ขอเพียงว่าลูกอ้วนแล้วมีสุขภาพดีก็น่าจะพอใจ ดูอย่างคุณแหม่มสุริวิภา แม้จะอ้วนก็ดูดีได้ มีความมั่นใจในตัวเอง... เลิกเลยค่ะ ห้ามต่อว่า ห้ามตำหนิใดๆอีก ไม่ต้องเอ่ยเรื่องกินมากหรืออ้วนอีกเลย...แล้วหันมาชักชวนลูกทานอาหารกันอย่างมีความสุขดีกว่า โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ ทานอย่างมีความสุขค่ะ....เจริญอาหารแล้วไปเดินย่อยหลังอาหาร พบเจอใครก็พูดคุยปกติเรื่องทั่วไป

    2.หัดพาลูกไปออกงานสังคมต่างๆ หัดลูกแต่งตัวสวยๆงามๆเพื่อเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง หาเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเหมาะกับเจ้าตัว หรือไม่ก็จัดงานเลี้ยงที่บ้านบ่อยๆ ให้เจอกับคนหลายหน้าหลายตา เป็นเจ้าของงานก็ต้องต้อนรับแขก เดี๋ยวน้องก็จะดีขึ้นเอง...ทีนี้เวลาเดินไปไหน คนทักว่า"แต่งตัวสวยจัง"ก็จะมีเรื่องคุยกันมากขึ้น...คุณแม่อาจหาซื้อครีมบำรุงผิว(กระชับสัดส่วนมาให้ใช้แต่ไม่ต้องเอ่ยเรื่องสัดส่วนนะ) บอกว่าอยากให้ลูกสวย ไม่ว่าจะเป็นยังไงก็เป็นสุดที่รักของแม่เสมอ..เพิ่มความเชื่อมั่นให้ลูก...อาจจนถึงที่เค้าคิดได้เองว่า"อ้วนสวยอ่ะ" หรือ "หมูแหนม(อ้วนแต่เปรี้ยว)" ก็ยิ่งดีค่ะ

    3.ชมเชยลูกบ่อยๆ ยินดีที่ได้เห็นรอยยิ้มของลูก...เพียงเท่านี้ก็สามารถเรียกความมั่นใจของน้องกลับคืนมาได้เยอะเลยค่ะ ...แม้จะเดินไปไหนแล้วมีเสียงแซว ทีนี้ไม่ต้องจ้ำอ้าวแล้ว..เดินทอดน่องได้สบายใจ..ถ้าผ่านแยกปากหมา ก็สวนกลับได้อย่างมั่นใจ อาจเรียกเสียงโห่ฮาและรอยยิ้มได้ด้วย อย่าไปคิดว่ามันเป็นเรื่องผิดปกติค่ะ หรือถ้าลูกเก็บมาคิด พ่อแม่ก็ต้องช่วยเปลี่ยนทัศนคติให้ลูกเห็นอีกทางให้ได้ค่ะ

    4.อาจพาน้องไปเข้าคอร์สฝึกอบรมบุคคลิกภาพ(ได้เจอคนหลากหลายที่ไม่รู้จัก และอาจมีปัญหาเหมือนตน ก็จะได้สังคมใหม่ที่เป็นเรื่องเป็นราว), คอร์สร้องเพลงเพื่อฝึกการใช้เสียง(ซึ่งต้องมีการแสดงของผู้เรียนด้วย จะได้ชินกับการแสดงออกต่อหน้าฝูงชน), เข้าร่วมสมาคมหรือชมรมอะไรก็ได้ เช่น ช่วยเหลือผู้อื่น ก็จะได้เข้าร่วมกลุ่มมากๆ หัดมีสัมพันธภาพอันดีกับสังคมและคนรอบข้าง...น้องจะได้รู้จักการที่จะคุยกับคนอื่นๆมากขึ้น

    5.ถ้าไม่ได้ทำงานบริษัท ก็อาจจะลองเปิดร้านเล็กๆให้น้องก็ได้นี่คะ เพื่อน้องจะได้หัดรับผิดชอบตัวเอง เวลาไปทำงาน/ซื้อของเข้าร้านก็ได้รู้จักคนมากขึ้น เปิดมุมมองและโลกทัศน์มากขึ้น ความเครียดและความกดดันก็จะลดลงด้วยค่ะ

    6.ถ้าทำได้ตามข้อแรก คิดว่าปัญหาในการไม่ยอมสนิทสนมกับคนใกล้ชิดจะลดลงค่

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เท่าที่อ่านดูนี้ น้องคนนี้ โตเป็นสาวแล้ว คือเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหาเรื่องบุคลิกภาพของน้องนั้น น้องต้องเป็นผู้แก้ไขเอง ไม่ใช่พ่อแม่ค่ะ การที่พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนี้ คือความปรารถนาของพ่อแม่ แต่มันไม่ช่วยให้น้องดีขึ้นนะคะ ยิ่งทำให้น้องหงุดหงิด และรู้สึกมีปมด้อย พ่อแม่ควรแก้ไขการกระทำของตัวเองในเรื่องนี้ หากจะช่วยลูกนะคะ นี่คือ คำแนะนำข้อที่ ๑

    วิเคราะห์ดูแล้ว การที่น้องเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อน และชอบเดินเร็วๆแบบกลัวคนทัก หลบตาคน อาจจะมาจากการที่น้องรู้สึกมีปมด้อย อาจจะเรื่องอ้วน หรือ มีเรื่องอื่นก็à��„ม่แน่ใจ เพราะการที่เด็กวัยรุ่นคบกัน ก็จะคบคนที่คล้ายๆกัน หรือพอๆกัน หากรู้สึกว่า คบแล้วตัวเองสู้ไม่ได้ ถูกเปรียบเทียบ เด็กหลายๆคนจะหลบค่ะ จะสังเกตเห็นว่า เด็กเกเรจะคบกับเด็กเกเร เด็กเรียนไม่เก่ง ก็คบเพื่อนเรียนไม่เก่ง เพราะคบคนที่พอๆกัน เราจะได้ไม่ด้อยกว่า

    การที่พ่อแม่นั่งกินข้าวแล้วมองลูก น้องรู้สึกอึดอัด เหมือนตัวเองทำอะไรผิด หรือ ผิดปกติ ดูประหลาด ทำให้น้องเขาหงุดหงิด สิ่งที่ต่างๆที่พ่อแม่ทำ ทำให้น้องเขารู้สึกว่าตัวเองไม่ปกติ ตัวเองมีปัญหา ซึ่งเป็นการทำลายความมั่นใจของเด็กวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ดังนั้น หากพ่อแม่ไม่แก้ไขพฤติกรรมของตัวเอง จะพูดให้ตายลูกก็ไม่มีทางเป็นคนมีความมั่นใจในตัวเองได้

    การที่จะทำให้น้องรู้สึกมั่นใจในตัวเอง คือ การชื่นชมน้องค่ะ ลองดูว่าน้องมีจุดดี อะไร เช่น เป็นเด็กอ่อนโยน มีน้ำใจ ยิ้มสวย เรียนดี หรืออะไร การชื่นชมอย่างมีพลัง และทำให้น้องเห็นจุดเด่นของตน และหัดให้น้องชื่นชมตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง จะช่วยสร้างพลังใจ และความมั่นใจของน้องได้

    หรือ อาจจะชวนให้น้องทำงานอาสาสมัคร งานช่วยคนที่ด้อยโอกาส หากน้องได้ฝึกทำอะไรเพื่อคนอื่น น้องจะภูมิใจในตัวเองและเห็นคุณค่าในตัวเอง จะเรียกความมั่นใจกลับมาได้ค่ะ

    เมื่อคนเรามีความมั่นใจ มีความภาคภูมิใจในตน บุคลิกภาพ การยิ้ม การสบตาคน ก็จะมาเอง เพราะเราไม่มีอะไรแพ้ใครเลย เรื่องอ้วนนี่ ลืมไปได้เลย เราดูดีทั้งที่อ้วนๆ นี่แหละ

    ให้กำลังใจนะคะ ฝากแนะนำครอบครัวด้วย อย่าทำแบบนี้กับน้องอีก เพราะมันทำให้น้องเป็นแบบนี้ค่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การไมค่อยกล้าสบตาคนอื่นก็คือการขาดความเชื่อมั่นในตัวเองค่ะ เราควรจะพาเขาเข้าสังคมค่ะ การฝึกแต่เด็กๆทำให้เด็กกล้าแสดงออกได้ค่ะ ส่วนการเดินจ้ำอ้าว นั้นตัวเองเป็นเหมือนกันค่ะ เป็นคนเดินเร็วค่ะ บุคลิกกระชับกระเฉงค่ะ ไม่ชอบเดินถอดน่องค่ะ มันแก้ไขไม่ได้นะไม่ชอบเดินถอดน่องค่ะ มันแก้ไขไม่ได้นะ ส่วนการไม่สนิทสนมกับเพื่อน อาจจะเป็นการไม่กล้าแสดงออกทำให้ไม่เข้าสังคม ไม่ร่วมกิจกรรม ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น การเรียนๆแล้วกลับทำให้เด็กมีโลกส่วนตัวสูงค่ะ อย่างน้อยคนเราต้องมีเพื่อนสนิท เพราะถ้าไม่มีเพื่อนสนิทแสดงว่าเด็กมีปัญหาค่ะ ต้องปรึกษากับแพทย์ค่ะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้