Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

สัทศาสตร์ คืออะไรใครมีข้อมูลชัดเจนบ้าง?

การเรียนสัทศาตร์มีที่มาอย่างไร มีจุดมุ่งหมายใดค่ะบอกหน่อย ในgoogle ข้อมูลไม่ชัดเจนค่ะ

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จัดเจน ผมจะขอแยกตอบเป็น 4 ข้อ คือ

    1. คำว่า "สัทศาสตร์" เรียกได้หลายชื่อ เช่น

    - สัททาวิเสสบ้าง

    - ศัพทศาสตร์บ้าง

    - สัททศาสตร์บ้าง

    - สัททสัตถะบ้าง

    - สัททลักขณะบ้าง

    - นิรุตติศาสตร์บ้าง

    2. สัทศาสตร์ คือ ตำราที่ว่าด้วยศัพท์ต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยไวยากรณ์ภาษาบาลี

    3. การเรียนสัทศาสตร์ของศาสนาพุทธนั้นมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ

    3.1 ศึกษาเพื่อรู้

    การศึกษาเพื่อรู้นั้นเป็นการศึกษาเพียงเพื่ออ่านออกเขียนได้ แปลได้ การศึกษาในระดับนี้ คงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนเท่านั้น

    3.2 ศึกษาเพื่อรักษา

    ส่วนการศึกษาเพื่อรักษาพระพุทธพจน์ให้บริสุทธิ์ผุดผ่องนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่ของภิกษุสามเณรโดยตรง พระพุทธพจน์บทใดมีความพิรุธบกพร่องต้องแก้ไขชำระให้ถูกต้อง เพื่อให้ไม่เกิดข้อโต้แย้งทางภาษา เพราะเมื่อภาษาถูกต้อง อรรถก็ถูกต้อง เมื่อภาษาผิด อรรถก็ผ���ด เมื่ออรรถผิด ก็ทำให้การวินิจฉัยพระพุทธพจน์เกิดผิดพลาดเกิดขึ้น ก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ

    4. แต่ในปัจจุบัน "สัทศาสตร์" กลายเป็นตำราที่ว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและการเปล่งเสียงพูดเป็นหลัก โดยสามารถแยกย่อยได้ 3 สาขา คือ

    4.1 สรีระสัทศาสตร์

    4.2 กลสัทศาสตร์

    4.3 โสตสัทศาสตร์

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เกี่ยวกับเรื่องการเปล่งเสียงพูด ซึ่งสอดคล้องกับกายภาพ หรือสรีระส่วนต่างๆของร่างกายตามธรรมชาติ

    จุดมุ่งหมายคงน่าจะเป็นพื้นฐาน ของการศึกษาด้านภาษาอย่างลึกซึ้ง

    สัทอักษรสากลเมื่อเริ่มแรกพัฒนาขึ้นโดยคณะของครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งนำโดย พอล แพสซี พร้อม ๆ กับการก่อตั้งสมาคมสัทศาสตร์สากลขึ้นในกรุงปารีสเมื่อ ค.ศ. 1886 (ทั้งสมาคมและสัทอักษรสากลใช้คำย่อในภาษาอังกฤษว่า IPA เหมือนกัน) สัทอักษรสากลรุ่นแรกอย่างเป็นทางการได้รับการตีพิมพ์ใน Passy (1888) โดยคณะผู้พัฒนาใช้อักษรโรมิก (Romic alphabet) ของ เฮนรี สวีต (Sweet 1880-1881, 1971) เป็นพื้นฐาน ซึ่งอักษรโรมิกนั้นก็นำรูปแบบมาจากอักษรฟอนอไทปิก (Phonotypic Alphabet) ของ ไอแซก พิตแมน และ แอลิกแซนเดอร์ จอห์น เอลลิà¸�� อีกทีหนึ่ง (Kelly 1981)

    หลังจากนั้น สัทอักษรสากลได้ผ่านการชำระปรับปรุงอีกหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งมีขึ้นในการประชุมของสมาคมฯ ที่คีลเมื่อ ค.ศ. 1989 การชำระครั้งล่าสุดมีขึ้นใน ค.ศ. 1993 และมีการปรับปรุงอีกครั้งใน ค.ศ. 1996

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้