Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

? ถามใน สังคมและวัฒนธรรมศาสนาและจิตวิญญาณ · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

มีสมาชิคท่านใดมีประสพการณ์การนั่งสมาธิและเดินจงกรมที่บ้านบ้างไหมครับ?

คือเมื่อราวสามสัปดาห์ก่อนผมไปฝึกการนั่งสมาธิและเดินจงกรมที่วัดแหลมทองที่แหลมฉบัง สอนโดยฆราวาสที่จบหลักสูตรครูสมาธิจากวัดธรรมมงคล ผมไปวันอาทิตย์เรียนจาก09.00-15.00น ไปสองครั้งก็สอนดีและเข้าใจในหลักปฏิบัติ โดยท่านให้บริกรรม พุทโธ ทั้งเดินและนั่งครั้งละ15-30นาทีหรือมากกว่านั้น ปัญหาของผมคือเวลาเดินก็บริกรรม พุทโธ แต่ก็คิดเรื่องอื่นไปเรื่อย เลยไม่ค่อยได้สมาธิเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ เวลานั่งก็บริกรรม พุทโธ แต่ก็เผลอหลับพอตั้งสติได้ก็ตั้งใจจริงจังพอกำลังจะดีก็ดันปวดขาเหน็บชาสุดจะทนไหวก็ต้องออกมาก่อน (ขำตัวเองเหมือนกัน) แต่ก็ตั้งใจมากๆๆๆเลยครับ ถ้าสมาชิคท่านใดมีประสพการณ์ก็ยินดีรับฟังคำแนะนำจากใจจริงครับ ขอบคุณครับ

12 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    การฝึกสมาธิ เป็นกุศโลบายเพื่อดูจิต

    การเริ่มควรเริ่มจากหยาบๆก่อนคือเดินจงกรม 3 จังหวะ เพิ่มความละเอียดให้ได้ 6จังหวะ เรียก กายบริกรรม วาจาบริกรรมไปด้วยนะ

    ต่อไป ขยับเป็นบริกรรมที่ใจ กำหนดคำ เช่น พุทโธ /ยุบหนอ พองหนอ / สัมมาอะระหัง/ อิติปิโสภะคะวา/โอม ร่วมกับดูลมหายใจ (อาจารย์สอนว่า ให้กำหนดดูการขยับของกระดูกซี่โครงตัวเองจะดี )ทดลองดูว่าคำไหนทำให้ใจสงบเร็ว ก็ ใช้คำนั้นตลอดไป แรกๆ นั่งสมาธิบริกรรม ต่อไปไม่นั่งก็ได้ ทำได้ทุอิริยาบถที่ว่างจากการงานพิจารณา

    ฝึกไปมากๆจะมีพลังจิตที่แข็งแกร่งขึ้น คือมีสติ ใน กาย เวทนา จิต ธรรม

    จากนั้น วิปัสนาค่ะ เมื่อมี สติ สมาธิ มั่นแล้วให้กำหนด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาพิจารณา ให้รู้ ไตรลักษณ์ของสิ่งนั้นๆ รู้แล้ววาง จะได้ปัญญาเพื่อละ ความเพลิดเพลิน ติดใจ ยึดมั่นถือมั่น ค่ะ

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เคยเข้าไปอ่านที่นักปฏิบัติท่านอื่นมาถามคำถามหรือรายงานการปฏิบัติ

    ก็พบว่าส่วนใหญ่ เริ่มต้นด้วยความยากลำบากเหมือนกันทุกคนค่ะ

    เพราะใจไม่เคยชินที่จะย้อนกลับเข้ามาในกายใจ ใจก็ออกไปข้างนอก

    หากคุณไม่พยายามเค้นใจให้นิ่ง หรือไม่โลภอยากให้ใจสงบ

    ทำไปสักพัก เมื่อใจเว้นจากนิวรณ์ สมาธิก็จะเกิดเองค่ะ

    การทำสมาธิให้ได้ผลดี คือ ความสบายใจ

    หากทำด้วยความเคร่งเครียด(แบบที่on-ces เคยทำมาก่อน)

    ใจก็จะซึมๆ เบลอๆ เมื่อสมาธิหมดกำลังก็กลับมาขี้โมโหเหมือนเดิมค่ะ

    ลองรู้ลมหายใจแบบคนวงนอก อย่าเพ่งจ้องที่จุดๆเดียว

    แต่รู้สบายๆ ลงมาที่กาย เห็นกายกำลังนั่งเป็นแท่งทึบๆ

    แล้วกายก็สูบลมเข้าออก จากนั้นก็บริกรรมพุทโธกำกับไปด้วย

    จะทำให้ใจมีหลักยึดมั่นคงมากขึ้น

    ดูลมนั้นทำแล้วจะเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ตัวเรา

    สักแต่เป็นถุงลมที่พองเข้าพองออกเท่านั้นค่ะ

    ส่วนการเดินจงกรมไม่ให้ใจลอยนี่ ไม่ทราบเหมือนกัน ^_^

    เพราะว่าก็ยังใจลอยอยู่เหมือนกัน เพียงแต่ใจลอยแล้วรู้ ใจแล้วรู้ก็พอค่ะ

    ธรรมชาติของใจก็เป็นแบบนั้น เมื่อก่อนเราไม่เห็น เลยไม่ทราบว่าใจลอยบ่อย

    เดี๋ยวนี้ทราบแล้ว ก็จะได้เห็นว่ามันบังคับไม่ได้ค่ะ

    ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เถอะค่ะ วันไหนถึงคราวที่ทุกข์เวียนมาหาแล้วจะได้มีที่พึ่ง

    อนุโมทนาที่ตั้งใจนะคะ _/ \_

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์ (หลวงพ่อลี ธัมมธโร)ท่านแนะนำให้ บริกรรม"พุท" เวลาหายใจเข้า บริกรรม"โธ"เวลาหายใจออก นับเป็น ๑ บริกรรม"พุท" เวลาหายใจเข้า "โธ" เวลาหายใจออก นับ ๒ ทำอย่างนี้เรื่อยไป ลำดับเลขให้ดูดั่งนี้

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕

    ๑ ๒ ๓ ๔

    ๑ ๒ ๓

    ๑ ๒

    ๑

    เมื่อนับถึง ๑๐ ก็นับลดลงมา ตามตัวเลข ที่ท่านให้นับเลข เพราะจะได้ผูกจิตได้มากขึ้น ถ้าจิตไม่สงบ จะนับเลขพลาด ก็ต้องเริ่มนับใหม่

    -แต่วิธีที่ชอบทำมากก็ตือ การตามดูลายหายใจ เข้า-ออก ยาวสั้นรู้ ที่ชอบเพราะทำได้ทุกที่ ทุกเวลา

    การฝึกสมาธิ เพื่อให้ใจสงบ เป็นเรื่องของการฝึกฝน ทำบ่อยๆ ยิ่งทำบ่อย ก็จะทำได้ดีขึ้น ทำใหม่ๆ ก็หลงลืมบ้าง เป็นเรื่องธรรมดาครับ ต้องอาศัยการฝึกบ่อยๆเท่านั้นครับ อย่าใจร้อน

    -ส่วนการเดินจงกรม เคยปฏิบัติธรรมกับคุà¸��เม่ ดร.สิริ กรินชัย เป็นแนวทางที่ดีมากวิธีหนึ่ง ลองศึกษาจาก ลิงค์ที่นะครับ คุณแม่เน้น การมีสติ ทุกขณะกับสิ่งที่ทำมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งคุณแม่เรียกว่า กำหนดอิริยาบถให้ทัน

    แหล่งข้อมูล: มูลกรรมฐาน พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์(ท่านพ่อลี ธัมมธโร) http://www.youtube.com/watch?v=eUq15XCLVzQ&feature...
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อนุโมทนาค่ะ

    ตั้งใจมาก ๆ ใจก็จะตั้งจนเกินธรรมชาติค่ะ

    พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการลงมือปฏิบัติ ให้รู้ ตื่น เบิกบาน

    สิ่งที่รู้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ตามธรรมชาติ

    คือ การดูกาย ดูใจ ไปตามความเป็นจริง

    เมื่อนั่งบริกรรม เผลอไป ก็รู้ว่าเผลอ คิดเรื่องอื่นไป ก็รู้ว่าหนีไปคิด

    เรามาดูความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตกับใจ กับร่างกายของเรา

    เราไม่ได้มาบังคับตัวเองให้สงบค่ะ เรามาเรียนรู้ตัวเราที่แท้จริง

    เมื่อรู้ก็จบลงตรงที่รู้ ไม่ต้องคิดต่อ ไม่ต้องตีà��„่า ไม่ต้องตัดสินว่าดี ไม่ดี แค่รู้ไปเฉย ๆ

    เป็นคำสอนของพระอาจารย์ปราโมทค่ะ

    เน้นตรงที่ว่า ทำเล่น ๆ รู้อย่างเป็นกลาง

    ทางสายกลาง ในที่นี้ คือ ไม่ไปเพ่ง(กายหรือใจ) และไม่ไหลไปตามความคิด

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สวัสดีค่ะ

    พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาวร้านตลาดเขาดูแลการค้าของเขาอย่างเอาใยใส่ทั้งเช้า กลางวัน เย็น การฝึกกรรมฐานก็เช่นกัน ควรฝึกทั้งเช้า กลางวัน เย็น ด้วย

    ดังนั้น บ้านจึงเป็นอีกที่ที่เหมาะจะฝึกค่ะ เพราะชีวิตเราส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน เราอาจไปวัดสักอาทิตย์ละคั้ง ถ้ารอไปฝึกที่วัดอย่างเดียว ไม่ทันการณ์หรอกค่ะ

    เนื่องจากดิฉันทำงานอยู่กับบ้าน พอลองหาเวลาทำตามพระพุทธองค์ตรัส รู้สึกได้ถึงความก้าวหน้าค่ะ

    การนั่งสมาธิ หากเพิ่งเริ่มฝึก จิตไม่เคยชินกับการถูกจับให้หยุดคิด เพราะหน้าที่ของจิตคือการคิด จึงเป็นเรื่องธรรมดาค่ะที่จะนั่งฟุ้งไปเรื่อย แต่หากเมื่อรู้ตัวว่าฟุ้ง ให้ดึงจิตกลับมาใส่ใจกับลมหายใจต่อ ก็นับว่าใช้ได้ค่ะ

    ส่วนพัฒนาการ ดูว่าเวลาที่อยู่กับคำบริกรรม กับลมหายใจได้นานขึ้น เวลาที่ฟุ้งลดน้อยลง ก็ควรดีใจที่ก้าวหน้าขึ้นแล้วค่ะ

    อนุโมทนาด้วยนะคะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เคยแรกๆจะเป็นปวดเมื่อยจะทนไม่ไหวแต่พยายามปฎิบัติอีกนิดความรู้สึกปวดเมื่อยต่างๆมันจะหายไปโดยไม่ทันรู้ตัว เหมือนกับความเป็นความตายมันอยู่ใกล้ๆกันแค่กระดาษแผ่นบางๆกั้นไว้

    ความรู้สึกที่ได้รับไม่รู้เหมือนกันแต่ก็ทำไปด้วยความเคยชิน เราเริ่มตั่งแต่เรียนอยู่ปี1เพราะเป็นคนใจร้อนเอาแต่ใจตัวเองมากแบบญาติระอา มองเห็นเองว่าไม่ดีพยายามลดความใจร้อนทุกวิธีแต่ไม่ได้ เลยลองนั่งสมาธิดูทำเองตามความเข้าใจเองและได้ผล แต่เคยทำแล้วหลุดตกหลุมเกิดกลัวเลยเลิกนั่งสมาธิ ต่อมาอ่านหนังสือธรรมมะและได้ไปปฏิบัติจริงที่วัดป่าและได้ทำตามแบบอย่างที่ครูบาสอน ใจมันก็ยังร้อนอยู่แต่เบาลงมากๆควมคุมความร้อนของตัวเองได้ดีความยับยั้งชั่ใจดีพอสมควร และศิลต่างๆตามมาจากการนั่งสมาธิ ตัวเราก็ตะแบงทุกอย่างไม่เชื่อต้องเจอเห็นกับตัวเองนั่นหล่ะถึงยอม

    ที่มา..

    ไม่ใช่อวดอ้างนะทำจริงไม่ได้ขั้นไหน..ยังมีกิเลสอีกมากนักสำหรับตัวเรา

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ มีความตั้งใจฝึกฝนก็เป็นกุศลแล้วครับ อันอัธยาคนเรานั้นต่างกัน ไม่อาจจะเลียนแบบกันได้ ต้องสังเกตตัวเองครับ ว่าต้องอัธยาสัยบทภาวนาแบบใด ที่ทำแล้วสงบ สบายตัว ไม่เบียดเบียน ไม่กดดันตัวเอง ไปเรื่อยๆครับ แรกๆ จิตยังไม่เคยชิน ย่อมกระสับกระส่ายมีปัญหาสารพัดเรื่อง ได้บ้างไม่ได้บ้างปล่อยเขาไป ไม่ต้องเครียด วันต่อไปเอาใหม่ ฝึกไปเรื่อย ๆอย่าย่อท้อ เป็นกำลังใจให้ครับ ตอนฝึกก็ให้ผ่อนคลายที่สุด ไม่ต้องตั้งใจ คาดหวังอะไรมากมาย มันจะเกร็ง บีบคั้นตัวเองครับ ไปเรื่อยๆ ไม่สงบฟู้งซ่าน ก็หยุดภาวนาให้ตั้งสติ ตามดà��¹à¸­à¸²à¸£à¸¡à¸“์ และความคิด ให้รู้ตัวพอว่า กำลังคิด กำลังฟุ้งซ่าน ตามดูการเคลื่อนไหวของจิต แต่ไม่เข้าไปเพิ่มเติมความคิดอีกนะ ดูเพียงเป็นสักแต่ว่าอาการ...สักว่า...คิด อันความคิดก็เป็นเพียงกลุ่มก้อนที่จิตปรุงแต่งขึ้นมา หาได้มีตัวตนไม่ แตะต้องได้ไหม ใช้มือจับผลักไส ได้มั๊ย คิดว่ามีก็มี คิดว่าไม่มีก็ไม่มี ตามดูอาการของจิตสักระยะเมื่อผ่อนคลาย จึงกลับมาที่คำภาวนาต่อ....หากเกิดอาการเกร็งไม่สบายตัว ก็หยุด ตามดูจิตอย่างเดียวเหมือนเดิม หากง่วงก็รู้ว่าง่วง ง่วงหนอ .....เมื่อไม่ไหวจริงๆก็เปลี่ยนอิริยาบถ เดินจงกรมบ้าง กลับไปกลับมา ตั้งสติไว้ที่การเคลื่อนไหวของเท้า ซ้ายก็รู้ ขวาก็รู้ ว่อกแว่กบ้างปล่อยเขา พอได้สติรีบดึงกลับมาที่เท้าต่อ..ได้บ้าง เผลอบ้าง ก็ช่างเถิด ไปเรื่อยๆไม่รีบร้อน ฝึกบ่อยๆ เดี๋ยวจิตก็จะชิน เกิดพัฒนาการขึ้นมาเอง ที่สำคัญอย่าตั้งใจมากจนเกร็ง อย่าคาดหวังสูง แต่ก็ไม่ย่อท้อ มุมานะพากเพียรต่อไป...สู้ๆๆครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ลองหาหนังสือเทศน์ของพระที่เกี่ยวกับ การอบรมอินทรีย์

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การทำสมาธิ ให้เริ่มจากนั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาวางทับมือซ้าย

    ตั้งกายให้ตรง คือ ไม่ให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง และอย่าก้มนัก อย่าเงยนัก พึงดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง

    ตั้งจิตให้ตรงคืออย่าส่งใจไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และอย่าส่งใจไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา พึงกำหนดรวมเข้าไว้ในจิตฯ

    สำรวมจิตให้ดี คือ ให้นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรม อยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ นึกอยู่อย่างนี้จนใจตกลงเห็นว่า อยู่ที่ใจจริงๆ แล้ว ทอดธุระเครื่องกังวลลงได้ว่า ไม่ต้องกังวลอะไรอื่นอีก จะกำหนดเฉพาะที่ใจแห่งเดียวเท่านั้น จึงตั้งสติกำหนดใจนั้นไว้ นึกคำบริกรรมรวมใจเข้าฯ

    ให้ตรวจดูจà��´à¸•à¹€à¸ªà¸µà¸¢à¸à¹ˆà¸­à¸™ ว่าจิตคิดอยู่ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็นอารมณ์ที่น่ารัก หรือน่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารัก พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความรัก เมื่อติดในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความชัง ไม่ตั้งเที่ยง พึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้นให้เป็นคู่กันเข้าไว้ที่ตรงหน้าซ้ายขวา แล้วตั้งสติกำหนดใจตั้งไว้ในระหว่างกลาง ทำความรู้เท่าส่วนทั้งสอง เปรียบอย่างถนนสามแยกออกจากจิตตรงหน้าอก ระวังไม่ให้จิตแวะไปตามทางเส้นซ้าย เส้นขวา ให้เดินตรงตามเส้นกลาง แต่ระวังไม่ให้ไปข้างหน้า ให้กำหนดเฉพาะจิตอยู่กับที่นั่นก่อน แล้วนึกคำบริกรรม ที่เลือกไว้จำเพาะพอเหมาะกับใจคำใดคำหนึ่งเป็นต้นว่า “ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๆๆๆ ” ๓ จบ แล้วรวมลงเอาคำเดียวว่า “ พุทโธ ๆ ๆ ” เป็นอารมณ์

  • Singha
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พุทเข้า โทออก ตามลมหายใจ เข้าแค่ไหนออกแค่ไหน สุดท้ายมาดัà¸��ลมหายใจที่ทางเข้ารูจมูกถ้าได้สมาธิจะไม่เมื่อยไม่ปวดเลย มันว่างจริง ๆ จะรู้สึกเป็นสุขแบบไม่เคยพบมาก่อนในชีวิตครับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้