Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Lv 31,839 points

AuntySally

คำตอบทีโปรดปราน24%
คำตอบ239
  • ในกรณีนี้ การวางเฉย เฉยได้เพราะอะไร?

    ขอตุ๊กตาเกี่ยวกับอุเบกขามาชวนพิจารณาค่ะ

    “คุณ A ถูกว่ากล่าวด้วยถ้อยคำกระทบกระเทียบ คุณ A เห็นว่าตนมีคุณสมบัติของจิต และมีปัญญาเหนือกว่าผู้ว่ากล่าว จึงวางเฉยต่อคำว่ากล่าวและตัวผู้ว่ากล่าว”

    เนื่องจาก การวางเฉย มีทั้งที่เฉยไม่รู้ (อัญญาณุเบกขา) และ เฉยรู้ (อุเบกขา) ซึ่งมีความต่างกันคือ

    อัญญาณุเบกขา

    ก็คือ อุเบกขาเวทนา นั่นเอง จะเรียกว่า "อทุกขมสุขเวทนา" หรือ "เคหสิตอุเบกขา" ก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ เพราะไม่รู้ว่ามีเรื่องอย่างนั้นเกิดขึ้นจึงเฉยอยู่ได้ กับ เพราะอารมณ์ที่มากระทบไม่มากพอที่จะให้เกิดความรู้สึกดีใจหรือเสียใจ จึงเฉยได้

    ดังที่สมเด็จพระสังฆราชได้บรรยายไว้ว่า

    " ได้ตรัสสอนให้อาศัยเนกขัมมสิตะอุเบกขา อุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ แก้ หรือดับละเคหสิตอุเบกขา อุเบกขาที่อาศัยเรือน อันอุเบกขาในที่นี้ก็หมายถึงอุเบกขาเวทนานี่แหละ คือ ความรู้สึกที่เป็นกลางๆ มิใช่สุขใจ มิใช่ทุกข์ใจ หรือเรียกว่า อุเบกขาเวทนา เวทนาที่ไม่ใช้ทุกข์ไม่ใช่สุข ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่บุคคลทั่วไปในเมื่อได้รับอารมณ์คือเรื่องรูป เรื่องเสียง เรื่องกลิ่น เรื่องรส เรื่องโผฏฐัพพะ และ เรื่องของเรื่องเหล่านี้ที่เป็นกลางๆไม่พอที่จะให้เกิดความสุขใจดีใจ ไม่พอที่จะให้เกิดความทุกข์ใจเสียใจ จึงรู้สึกเป็นกลางๆเฉยๆไม่ทุกข์ใจไม่สุขใจ

    สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมภาวนา (หน้า ๒๔)

    "ผู้ที่มิได้ปฏิบัติธรรมก็ได้อุเบกขาดั่งนี้อยู่เป็นอันมาก ผู้ที่ปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน แต่ว่าผู้มิได้ปฏิบัติธรรมคือมิได้จับอุเบกขาดั่งนี้ขึ้นมาพิจารณานั้นก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ได้ปัญญาจากอุเบกขาดังกล่าวนี้ จึงเป็นอุเบกขาที่บังเกิดขึ้นแก่คนทั่วไปตามปรกติธรรมดา มิได้บังเกิดขึ้นด้วยความรู้อะไร คือ ไม่ต้องรู้อะไรก็ได้อุเบกขาดั่งนี้ จึงเรียกว่า อัญญาณอุเบกขา อุเบกขาที่มิได้เกิดขึ้นด้วยความรู้ หรือ เรียกว่า เคหสิตะอุเบกขา และยังอาจอธิบายเพิ่มเติมต่อไปอีกได้ด้วยว่า นอกจากเรียกว่ามิใช่อุเบกขาที่บังเกิดด้วยความรู้แล้ว ยังอาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยความไม่รู้อีกด้วย คือ เพราะยังไม่รู้จึงอุเบกขาอยู่ได้ ดังเช่นสรรเสริญหรือนินทาซึ่งเป็นโลกธรรมแก่ทุกๆคน ผู้สรรเสริญผู้นินทามีให้ได้ยินก็มีอยู่เป็นอันมาก แต่เพราะมิได้ยินก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็อุเบกขาคือเฉยๆ"

    สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมภาวนา (หน้า ๒๕)

    อุเบกขา

    เป็นการวางใจเป็นกลางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆ แยกเป็น การวางเฉยเพราะคุณสมบัติของจิต และ การวางเฉยเพราะปัญญาเห็นแจ้ง

    ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้อธิบายความหมายของการเฉยทั้งสองอย่างไว้ดังนี้

    “อันความวางเฉยด้วยความรู้นี้เกี่ยวแก่การที่ต้องปฏิบัติทำจิตใจให้เกิดความวางเฉยขึ้น และความวางเฉยด้วยความรู้นี้ก็ เป็นอาการของจิตที่มีความทนทานรู้แล้วก็วางเฉยได้ กับ เป็นอาการของจิตที่ประกอบด้วยปัญญาพินิจรู้ จึงหมายถึง รู้เรื่องที่เป็นไป กับ รู้ที่เป็นปัญญา”

    สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมภาวนา (หน้า ๖)

    นั่นคือ การวางเฉยด้วยความรู้ ประกอบด้วย ๒ ลักษณะ คือ การเฉยด้วยความทนทานของจิต เป็นเพราะรู้ความเป็นไป แล้วจิตยอมรับได้ เช่น มีคนนินทาว่าร้ายด้วยความเข้าใจผิด แต่ตนรู้ว่าเรื่องราวที่แท้จริงเป็นอย่างไร รู้ว่าตนไม่ได้มีเจตนา หรือ กระทำตามที่ถูกนินทา จึงเฉยได้

    การวางเฉยด้วยปัญญาพินิจรู้ ส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกชอบชังมาก่อน จากนั้นมีการใช้โยนิโสมนสิการจนเห็นความจริงในทุกแง่มุม เมื่อเห็นความจริง จึงวางเฉยได้ หรือจะว่าเป็นการเฉ���เพราะการปรุงแต่งก็ได้ (ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ยอดของสังขตธรรม หรือ ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น คือมรรคมีองค์แปด)

    ดังนั้น เราจึงควรหมั่นพิจารณาอารมณ์เป็นปกติ แม้แต่อารมณ์ที่ทำให้เกิดการวางเฉย ว่าเป็นการวางฉยประเภทใด เพราะ

    “เมื่อพบกับเวทนาที่เป็นกลางๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็มิได้พิจารณาให้รู้จักความเกิดขึ้น ความดับไป ความน่าพอใจ ความไม่น่าพอใจ และการที่จะนำจิตแล่นออกไปได้ นี้ก็เป็นอวิชชา ก็นอนจมนอนเนื่องอยู่ในจิต เป็น อวิชชานุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิต คือ อวิชชาคือตัวที่ไม่รู้ แม้ว่าเวทนาที่เป็นกลางๆนั้นจะสงบไปแล้ว แต่อวิชชานุสัยนี้ก็ยังนอนเนื่องอยู่ในจิต เป็นตะกอนอยู่ในจิต”

    สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตร หน้า ๑๙๑

    ขอถามว่า

    กรณีของคุณ A วางเฉยกับสิ่งที่กระทบด้วยอุเบกขา หรือ อัญญาณุเบกขา และ ทำไมจึงจัดเข้าเป็นการวางเฉยประเภทนั้น

    3 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่านมา
  • สมาธิใดเป็นสมุทัย หรือ อุปาทาน?

    “ถ้าพียงสมาธิอย่างเดียวก็ไม่ทำให้ได้ปัญญา และถ้าไปติดในสมาธิ เช่น ติดในฌาน ติดในอัปปนาสมาธิ สมาธินี้ก็จะกลายเป็นสมุทัย คือเป็นตัณหา เป็นอุปาทาน ไม่เป็นมรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และแม้ว่าจะได้อัปปนาสมาธิ ได้ฌาน และเจริญอิทธิบาทเพื่อให้เกิดอำนาจจิตต่างๆดังที่เรียกว่า เป็นอิทธิ คือเป็นฤทธิ์ต่างๆ เป็นหูทิพย์เป็นตาทิพย์เป็นต้น แต่ว่าถ้ำไปติดในอิทธิหรือฤทธิ์ดังกล่าวนี้ ก็จะกลายเป็นสมุทัย เป็นตัณหา เป็นอุปาทานไปอีกเช่นเดียวกัน ไม่นำไปสู่ความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะสมาธิดังกล่าวนี้ก็จะไม่เป็นมรรคอันเป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    ฉะนั้น แม้ได้สมาธิอย่างสูงเป็นอัปปนา หรือเป็นฌานชั้นใดก็ตาม เมื่อจะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์ เป็นวิมุตติเป็นมรรคเป็นผลต่อไป ก็จำต้องน้อมจิตที่เป็นสมาธิ คือ ที่สงบตั้งมั่นนี้มาพิจารณาสภาวธรรมโดยสามัญลักษณะ........

    อีกอย่างหนึ่ง เพ่งลักษณะ ก็คือเพ่งไตรลักษณ์นั้นเอง การเพ่งลักษณะดั่งนี้เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน ความเข้าไปเพ่งลักษณะคือเพ่งไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้น แม้การหัดทำสมาธิจะได้สมาธิเป็นขณิก หรืออุปจารหรือถึงแม้อัปปนาก็ตาม เมื่อได้สมาธิแล้วก็เป็นการหัดจิตให้สามารถเพ่งพินิจได้เป็นอย่างดี มีพละคือพลัง กำลังในการเพ่งพินิจ ยิ่งได้อัปปนาสมาธิก็ยิ่งได้พลังในการเพ่งพินิจได้มาก เพราะฉะนั้นก็ใช้พลังของสมาธิ คือความเพ่งพินิจนี้มาเพ่งลักษณะคือไตรลักษณ์ และเมื่อเป็นดั่งนี้ ไตรลักษณ์ก็ปรากฏได้ง่าย และเห็นอนิจจา ความไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตา ความเป็นอนัตตาของสภาวธรรมทั้งหลายได้โดยง่าย

    เมื่อได้สมาธิชั้นใดชั้นหนึ่งก็ตาม อันจัดเข้าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน ก็ให้มาหัดเพ่งพินิจสภาวธรรมโดยสามัญลักษณะ คือ เพ่งไตรลักษณ์นี้แหละเป็นสภาวธรรมทั้งหลาย เมื่อเป็นดั่งนี้แล้ว ก็จะได้ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงที่เป็นตัววิปัสสนา”

    (สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน หน้า 47 – 48)

    6 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่าน���า
  • ก็ไม่รู้+กูไม่รับ=ปทปรมะ?

    คำว่า ปทปรมะ นี้ เชื่อว่าชาวพุทธส่วนใหญ่เรียนรู้มาว่าหมายถึงผู้ที่ “โง่” จนไม่สามารถสั่งสอนได้ แม้ว่า ปทปรมะ อาจถูกนำมาเรียกบุคคลดังกล่าว หากมองในยุคปัจจุบัน ผู้ที่มีปัญญา ที่ผู้อื่นสรรเสริญว่าเป็นคน “ฉลาด” ก็อาจถูกเรียกว่า ปทปรมะ ในทางพุทธศาสนาได้เหมือนกัน

    สมเด็จพระสังฆราช ได้อธิบายเรื่องเกี่ยวกับคำว่าปทปรมะไว้ ดังนี้

    “ปุริสทัมมสารถิ พระพุทธเจ้าทรงเป็นเหมือนอย่างสารถี ฝึกบุรุษบุคคลที่ควรฝึก ก็คือ บุรุษบุคคที่ฝึกได้

    ซึ่งคำนี้ ปุริสทัมมสรถิ บุรุษบุคคลที่ฝึกได้ หรือ เวไนยนิกร หมู่แห่งชนที่พึงแนะนำได้ อบรมได้ ก็หมายถึงบุคคล ๓ จำพวกดังกล่าวมาแล้ว คือ

    อุคฆติตัญญู บุคคลที่รู้ได้เร็ว

    วิปจิตัญญู บุคคลที่รู้ได้ช้าเข้าหน่อยหนึ่ง คือ เมื่อยกหัวข้อขึ้นแล้วก็ต้องอธิบาย

    เนยยะ บุคคลที่พึงแนะนำได้ อบรมได้ คือ ต้องพร่ำสอนกันอยู่บ่อยๆ หลายครั้งหลายหน

    สามจำพวกนี้เป็นปุริสทัมมะ บุรุษบุคคลที่พึงฝึกได้ เป็นเวเนยยะ หรือ เวไนยนิกร หมู่ชนที่พึงฝึกได้ แนะนำอบรมได้ พระพุทธเจ้าย่อมทรงสั่งสอนได้แก่บุคคลทั้ง ๓ จำพวกดังกล่าวนี้ และคำนี้เองก็บ่งว่าจะต้องมีอีกพวกหนึ่ง คือ พวกที่ฝึกไม่ได้ คือ ไม่ใช่ปุริสทัมมะ บุรุษบุคคลที่พึงฝึกได้ แต่ว่าเป็นบุคคลที่ฝึกไม่ได้ ดั่งนี้ก็มีอยู่ บุคคลที่ฝึกไม่ได้นี้เอง ก็เช่น บุคคลมี่มีทิฏฐิมานะมาก ไม่ยอมรับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกว่า ปทปรมะ มีบทอย่างยิ่ง ก็คือ หมายความว่าเป็นที่ผู้ที่โง่เง่ามาก ไม่สามารถจะรู้ธรรมที่ทรงสั่งสอนได้ และก็หมายรวมไปถึงผู้ที่มีทิฏฐิมานะมาก ดังกล่าวนั้นด้วย

    จำพวกที่มีทิฏฐิมานะมากนั้น ก็ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์สญชัยของท่านพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ที่เมื่อท่านพระอัครสาวกทั้ง ๒ ก่อนที่ท่านจะเข้าบวช ท่านได้พบพระอัสสชิเถระ แล้วท่านกลับไปชักชวนท่านอาจารย์ของท่านคืออาจารย์สญชัย ท่านอาจารย์สญชัยนั้น ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ มีผู้นับถือมาก ก็ไม่ยอมที่จะลดตัวไปเป็นลูกศิษย์ของใครอีก มีทิฏฐิมานะอยู่ จึงไม่ยอมไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้งที่ท่านก็รู้ว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นน่าจะต้องดี จึงได้จูงใจเอาศิษย์สำคัญของท่านไปนับถือได้

    ท่านจึงถามว่า ในโลกนี้คนฉลาดมาก หรือคนโง่มาก ท่านพระอัครสาวกทั้งสองเมื่อยังเป็นปริพาชก ท่านก็ตอบว่า คนโง่มาก ท่านอาจารย์สญชัยจึงได้บอกว่า คนโง่มาก ท่านอาจารย์สญชัยจึงได้บอกว่า ถ้าอย่างนั้น ให้คนฉลาดไปหาพระพุทธเจ้า ให้คนโง่มาหาท่านก็แล้วกัน ดั่งนี้ก็คือเป็นจำพวกที่เรียกว่า บุรุษบุคคลที่ฝึกไม่ได้ เพราะมีทิฏฐิมานะมาก และตลอดจนถึงผู้ที่โง่เง่าจนเกินไป ก็รวมอยู่ในคำว่า ปทปรมะ อันเป็นจำพวกที่ ๔”

    (สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถระ) สัมมาทิฏฐิ ตามเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ หน้า ๒๑-๒๒)

    จากการอธิบายนี้ คำว่า “น้ำเต็มแก้ว” น่าจะนำมาเปรียบกับคำ ปทปรมะ ได้

    คำ ปทปรมะ นี้ นอกจากจะหมายถึงผู้ที่โง่ หรือ ถือดี เกินไป จนไม่สามารถสอนสั่งได้แล้ว พบว่า ยังมีอีกความหมายตามที่พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ตามที่คัดมาจากเชิงอรรถในพระไตรปิฎกแปล ว่าหมายถึง

    “ผู้ที่ฟังไว้มาก แสดงไว้มาก ทรงจำไว้มาก และ พูดไว้มาก แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมในชาตินี้ คือไม่สามารถที่จะบำเพ็ญ���าณ วิปัสสนา มรรค หรือ ผล ให้บังเกิดได้

    (อง.จตุกฺก.อ.๒๒๓๓/๓๘๐, องฬจตุกฺก.ฎีกา ๒/๑๓๓-๑๓๔/๔๑๗-๔๑๘)

    จะเห็นว่าประเภทสุดท้ายนี้ ไม่ได้ถือตนจนไม่รับคำสั่งสอน หาก รับคำสั่งสอน แต่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตไม่ได้

    ปทปรมะ จึงมีความหมายครอบคลุมบุคคลดังกล่าวได้ตามที่ยกมานี้

    9 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่านมา
  • ความสุขระดับต่างๆของมนุษย์?

    ความสุขของมนุษย์พอจะแจงได้อย่างน้อย 5 ระดับ คือ

    -ระดับที่หนึ่ง ความสุขที่ต้องพึ่งพิงสิ่งอื่น เช่น ต้องมีเขา เราจึงสุข ต้องมีชื่อเสียง เราจึงสุข ต้องมีเงิน เราจึงสุข เป็นต้น ความสุขในระดับนี้ทำให้เกิดความอยากได้ ใคร่เอา ตามมา การที่เราอยากได้อะไรสักอย่าง เมื่อคนอื่นก็ต้องการเหมือนเรา ท่าทีของเราต่อเพื่อมนุษย์จะเป็นไปอย่างไม่เป็นมิตร อย่างอ่อนๆ ก็มองเขาด้วยความหวาดระแวง สูงขึ้นมา ก็มองเขาเป็นคู่แข่ง จนกระทั่ง มองเห็นผู้อื่นเป็นเหยื่อ (ดังเช่นภาพยนตร์โฆษณาที่พยายามกระตุ้นให้คนซื้อสินค้า บริการ ที่เกินจำเป็น หรือ การค้าขายยาเสพติด ) และเพราะธรรมชาติของตัณหานั้น เมื่อปรารถนา ต้องพยายามให้ได้มา เมื่อได้มาแล้ว ต้องให้ได้มากขึ้น ปรุงให้เลิศขึ้น เมื่อถึงระดับหนึ่ง ผู้ที่มีความสุขเพราะการพึ่งพิง จะมีความสุขได้ยากขึ้น จนถึงอาจไม่มีความสุขได้เลย เพราะความต้องการที่หาที่สิ้นสุดไม่ได้นั่นเอง ดังคำกล่าวที่เราเคยได้ยินว่า แม้โลกทั้งใบ ก็ยังไม่พอสำหรับความต้องการของคนเพียงคนเดียว นอกจากนี้ ความอยาก ยังนำผู้คนไปสู่การเบียดเบียน การรุกรานซึ่งกันและกันอีกด้วย

    -ระดับที่สอง ความสุขจากการให้ ความต้องการของมนุษย์ต้องได้รับการตอบสนอง เมื่อมีความต้องการจะให้ จึงสนองด้วยการให้ เมื่อความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว ความสุขย่อมตามมา และ เมื่อให้ ผู้ที่รับย่อมมีความสุข เมื่อผู้ให้เห็นผู้ได้รับมีความสุข ก็สุขตาม จึงยิ่งสุข ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถสุขได้ตลอดเวลาที่นึกถึง ความสุขจากการให้ จึงเกิดได้อยู่เสมอๆ

    -ระดับที่สาม ความสุขจากความเห็นสอดคล้องตามสภาวธรรม เช่น คนสวนปลูกต้นไม้ เพราะต้องการเห็นต้นไม้เจริญงอกงาม เมื่อต้นไม้เติบโต ก็มีความสุข ไม่ใช่เพราะได้ค่าจ้างจากการปลูกอันเป็นเรื่องสมมติตกลงกันระหว่างคนสวนกับเจ้าของสวน เพราะความสุขอยู่ที่ผลของการกระทำโดยตรง คนสวนจึงทำงานอย่างเต็มใจ ไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแล

    -ระดับที่สี่ ความสุขจากการปรุงแต่ง เช่น เมื่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ก็ปรุงแต่งว่าเป็นเพราะอะไรในทางที่ดี เพื่อสงบสุขในสถานการณ์นั้นๆได้ เช่น เห็นหมอหน้าตาไม่ดีขณะตรวจคนไข้ แทนที่จะคิดไปว่า หมอไม่อยากตรวจจึงมีสีหน้าอย่างนั้น ก็ปรุงแต่งไปในทางที่ดี เป็นต้นว่า หมอคงตรวจคนไข้มามาก จนเหนื่อยเกินไปสำหรับวันนี้แล้ว น่าสงสารหมอที่เหนื่อยขนาดนี้แล้วยังพักไม่ได้ ต้องตรวจต่อไปเพราะยังมีคนไข้อีกเยอะ เป็นต้น

    -ระดับที่ห้า ความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งอื่น สุขได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีสิ่งปรุงแต่งแต่อย่างใด เช่น สุขในฌาน สุขสงบด้วยปัญญาที่มีความเห็นเป็นกลางต่อทุกสิ่ง จึงไม่มีสิ่งใดทำให้หวั่นไหวได้

    ความสุขเหล่านี้ระดับที่ 1 จัดเป็นระดับล่างที่สุด ในสังคม���ริโภคนิยมอย่างปัจจุบัน หากเราไม่รู้เท่าทันความสุข ไม่เห็นตามธรรม (ธรรม หมายถึง ธรรมชาติ ,สัจจธรรม, ปฏิบัติธรรม และ วิปากธรรม) คงยากที่เราจะมีความสุขได้อย่างแท้จริง

    12 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่านมา
  • เพราะตีความศีล 5 แคบเข้า ....?

    สิกขาบท 5 ที่เรารู้จักกันในนาม ศีล 5 นั้น เป็นข้อฝึกหัดของคฤหัสถ์ เพื่อความสงบเรียบร้อยในกาย วาจา ใจ ของผู้ฝึก อันเอื้อต่อการฝึกธรรมที่สูงขึ้น และ เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

    แต่เพราะการตีความศีล 5 ในมุมที่แคบเข้า ศีล 5 จึงไม่สามารถครอบคลุมกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของมนุษย์ทั้งหมดได้

    การตีความที่แคบเข้ามานี้ ที่ปรากฏชัดคือการตีความข้อ กาเมสุมิจฺฉาจารา การประพฤติผิดในกาม ว่าเป็นเพียงการไม่ละเมิดบุตรธิดาผู้ใด หรือแม้แต่ยินดีแต่เพียงใน “ทาร” หรือคู่ของตน ซึ่งการตีความในลักษณะนี้ มีมากว่าพันปี เห็นได้จากการที่พระพุทธโฆษาจารย์ แต่งไว้ในคัมภีร์ ธมฺมปทฏฺฐกถาภาคหนึ่ง ใน มฏฺฐกุณฑลิวตฺถุ ตอนที่มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรกล่าวสอนบิดาให้ตั้งอยุ่ในสิกขาบท ๕ ในสิกขาบทข้อที่ ๕ ได้กล่าวสอนว่า

    สเกน ทาเรน จ โหหิ ตุฏโฐ (อ.ท่าน เป็นผู้ยินดีแล้ว ด้วยทาระ อันเป็นของตน จงเป็น ด้วย)

    ท่านพุทธทาสได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ คู่มือพ้นทุกข์ ว่า

    “กาเมสุมิจฉาจาร ซึ่งเป็นศีลข้อ ๓ ซึ่งตามตัวหนังสือแปลว่า ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ขอได้โปรดสนใจจดจำ หรือพิจารณาเป็นพิเศษสักหน่อยตรงข้อที่ว่า กามทั้งหลาย ท่านไม่ได้ใช้คำว่ากามเฉยๆ กาเมสุ แปลว่า ในกามทั้งหลาย มิจฉาอาจาระ แปลว่าประพฤติผิด กาเมสุมิจฉจาร ก็คือ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ดังนั้น ขอให้เข้าใจความหมายของคำนี้ให้กว้างที่สุดจนถึงกับว่า ประพฤติผิดไปด้วยอำนาจกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เรียกว่า ประพฤติผิดในกามทั้งนั้น อย่าได้มุ่งหมายแต่เพียงว่า ประพฤติผิดในฐานะชู้สาวอย่างเดียว นั้น มันแคบเกินไป” (หน้า ๑๑๔)

    “เพราะฉะนั้นจึงอธิบายว่า แม้แต่เด็กๆก็ต้องถือศีลข้อที่ ๓ นี้เช่นกัน เด็กคนหนึ่งเขารักของอะไรของเขาบางอย่าง จะเป็นตุ๊กตา หรือเป็นของเล่น หรือ เป็นดินสอปากกาอะไรก็ตาม เขารักในฐานะเป็นของรัก ถ้าเด็กอีกคนหนึ่งไปย่ำยีของรักของเขาให้สกปรกไป ให้เศร้าหมองไป หรือแม้แต่ไปแตะต้องในเมื่อเขาไม่อยากให้แตะต้อง ก็ต้องถือว่า เด็กคนที่ไปทำอย่างนั้นมันผิดศีลข้อ ๓ แล้ว คือ เกิดประพฤติผิดในของรักของใคร่ของบุคคลอื่นเข้าแล้ว”(หน้า ๑๑๕)

    “สรุปหลักปฏิบัติในข้อนี้ได้ว่า เราต้องทำลายความรู้สึกซึ่งเป็นความคิดฝันไปในรสอร่อยของกามนั้น เป็นส่วนสำคัญในการที่จะปฏิบัติเพื่อเอาชนะกาม ทีนี้ปัญหาของเราก็มีต่อไปว่า เราจะทำอย่างไรจึงจะทำลายตัวความคิดฝันนี้ได้? ในที่สุดก็มาถึงหลักธรรมะทั่วๆไป ที่จะต้องพิจารณาตามหลักที่วางไว้ทั่วไปหมดว่า พิจารณาให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งๆนี้ เรียกง่ายๆว่า พิจารณาให้เห็นธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งที่เรียกว่ากามนั่นเอง”(หน้า ๑๒๖)

    จากการที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)ได้อธิบายไว้ใน พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ ถึงศีล 5 ในหน้า ๑๔๒ ว่า“อริยสัจจ์ 4 บางคราวท่านก็เรียก อริยธรรม หรือ อารยธรรม อย่างไรก็ตาม คำว่า อริยธรรม หรือ อารยธรรมนี้ ท่านไม่ได้จำกัดหมายตายตัว แต่ยักเยื้องใช้ได้กับธรรมหลายหมวด บางทีผ่อนลงหมายถึงกุศลกรรมบถ 10 บ้าง ศีล 5 บ้างก็มี ซึ่งโดยหลักการก็ไม่ได้ขัดกันแต่ประการใด” นี้เป็นการแสดงถึงการที่ศีล 5 สามารถครอบคลุมการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อสภาวธรรมทั้งทางกาย วาจา ใจ อย่างแท้จริง

    การอธิบายของพระเถระทั้งสองนี้ ควรที่ชาวพุทธควรนำมาพิจารณา เพื่อความเข้าใจในศีล 5 อย่างแท้จริง

    9 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่านมา
  • สติปัฏฐาน 4 ในชีวิตประจำวัน 2 ระดับ?

    การฝึกสติปัฏฐาน 4 ในอิริยาบทต่างๆ มี 2 ระดับคือ ระดับโลกิยะ และ ระดับ โลกุตตระ

    ฝึกอย่างไร ก็ได้ผลตามนั้น มีรายละเอียดอยู่ที่นี่ อยากเชิญไปชมค่ะ

    ตอนที่ 1 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/475522

    ตอนที่ 2 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/475571

    9 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่านมา
  • ตัณหาอีกประการชื่อว่าอะไร?

    เราทั้งหลายคุ้นเคยกับสายปฏิจจสมุปบาทที่เริ่มจากอวิชชา จนไปจบที่ทุกข์ ซึ่งตัณหาในปฏิจจสมุปบาทสายนี้ เป็นตัณหาประการหนึ่ง ที่เป็นมูลในวัฏฏะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน

    ยังมีตัณหาอยู่อีกประการหนึ่ง

    ขอถามว่า ตัณหาอีกประการ ชื่อว่าอะไร และ สายการเกิดเป็นอย่างไร

    4 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่านมา
  • จิตหลุดพ้นแล้ว จิตหลุดพ้นดีแล้ว จิตหลุดพ้นได้(ด้วย)ดี?

    คำสุดท้าย บางที่เขียน "จิตหลุดพ้นได้ดี" บางที่เขียน "จิตหลุดพ้นด้วยดี"

    ขอถามว่า 3 คำนี้

    - มีความหมายอย่างไร

    -ปฏิบัติอย่างไรจึงจะเกิด

    -เมื่อเกิดแล้ว มีผลเป็นอย่างไร

    8 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ9 ปี ที่ผ่านมา
  • สืบเนื่องมาจากคำถามเกี่ยวกับอุเบกขา?

    จากที่ได้ตั้งคำถามว่า

    "อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 ต่างจากอุเบกขาในโพชฌงค์ 7 อย่างไร" นั้น

    มีความผิดพลาดเกิดขึ้นขณะบันทึกแก้ไข จึงทำให้เนื้อความบางส่วนบันทึกซ้ำ บางส่วนขาดหายไป จนอาจสร้างความสับสนได้ จึงขอบันทึกลิ้งค์เนื้อความเต็มไว้ตามมาค่ะ

    http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detai...

    ขออภัยมาในที่นี้ด้วยค่ะ

    3 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ10 ปี ที่ผ่านมา
  • อุเบกขาต่างจากอุเบกขาอย่างไร?

    ในหลักธรรม พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุท���ตา และอุเบกขา

    ส่วนในหลักธรรม โพชฌงค์ 7 ก็มีองค์ธรรมคืออุเบกขาประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา

    ขอถามว่า องค์ธรรมคือ "อุเบกขา" ในหลักธรรมทั้งสองนั้น ต่างกันอย่างไรค่ะ

    4 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ10 ปี ที่ผ่านมา
  • ผู้หลงคือผู้ที่เป็นอย่างไร?

    ชาวพุทธคุ้นเคยกับคำว่า "หลง" เป็นอย่างดี

    ขอถามว่า พระพุทธองค์ตรัสเรียกบุคคลอย่างไรว่า คือ "ผู้หลง" ค่ะ

    9 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ10 ปี ที่ผ่านมา
  • ปฏิบัติอย่างไรจึงจะ"ตื่น"ได้?

    ชาวพุทธเราคุ้นเคยกับคำว่า "รู้ตื่น รู้เบิกบาน" เป็นอย่างดี

    หากการที่จะตื่นได้นั้น เราต้องมีพร้อมในหลายๆด้าน เช่น ศรัทธา สติ สัมปชัญญะ ฉันทะ ปัญญา

    ขอถามว่า วิธีฝึก หรือ การปฏิบัติ เพื่อให้เป็นบุคคลที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า "ผู้ตื่นด้วยดี" มีอะไรบ้างค่ะ

    5 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ10 ปี ที่ผ่านมา
  • ขันธ์ 5 ชุดที่สองมีอะไรบ้าง?

    ขันธ์ 5 มีสองฝ่าย คือ ฝ่ายสภาวะ ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ )

    และฝ่ายธรรมที่เป็นทั้งการฝึก และผลของการฝึก

    ขันธ์ 5 ในฝ่ายธรรมนี้มีขึ้นก็เพื่อพัฒนาขันธ์ 5 ฝ่ายที่เป็นสภาวะ

    ขอถามว่า ขันธ์ 5 อีกฝ่าย หรืออีกชุดนี้ ประกอบด้วยอะไรบ้างค่ะ

    2 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ10 ปี ที่ผ่านมา
  • ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมีอะไรบ้าง?

    สัมมาทิฏฐินั้น เป็นหนึ่งในองค์มรรคทั้ง 8 จัดเป็นองค์มรรคที่สำคัญมาก เพราะหากไม่มีองค์มรรคนี้ องค์มรรคอื่นๆก็อาจไม่มีตามมา

    สัมมาทิฏฐิเป็นปัญญาในระดับกลาง (ปัญญาในระดับต้นแฝงอยู่ในศรัทธา อันเป็นศรัทธาที่ไม่ใช่ศรัทธาแบบสีลัพพตปรามาส) เมื่อพัฒนาขึ้น จะกลายเป็นญาณ เป็นวิชชา (อันตรงข้ามกับอวิชชา) และ วิมุตติต่อไป

    เมื่อองค์มรรคกลมเกลี่ยวกัน (โดยปกติ องค์สัมมาสมาธิมักมาเป็นองค์สุดท้าย) ก็จะหมุนวน แก่รอบขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ พัฒนาเป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตระ พัฒนาญาณ จากญาณที่เป็นโลกิยะ เป็นญาณที่เป็นโลกุตตระ มรรคมีองค์ 8 จึงเป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์จากปุถุชน ไปสู่กัลยาณปุถุชน จนสู่พระอริยะระดับต่างๆ

    ขอถามว่า ก่อนที่จะเกิดสัมมาทิฏฐิได้ มีเหตุปัจจัยอะไร เกื้อหนุนให้เกิดสัมมาทิฏฐิในมนุษย์ค่ะ

    7 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ10 ปี ที่ผ่านมา
  • สุขัลลิกานุโยค 4 ที่เป็นอริยะมีอะไรบ้าง?

    สุขัลลิกานุโยค มี 2 ลักษณะ คือ ที่ไม่เป็นอริยะ (ฆ่าสัตว์ บำรุงตนให้อิ่มเอิบอยู่, ลักทรัพย์แล้วบำรุงตนให้อิ่มเอิบอยุ่, พูดเท็จแล้วบำรุงตนให้อิ่มเอิบอยู่, ปรนเปรอตนด้วยกามคุณ 5 ให้อิ่มเอิบอยู่) และสุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะ

    ขอตั้งคำถามว่า สุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะ มีอะไรบ้าง และมีอานิสงส์อะไรค่ะ

    2 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • เราสามารถบังคับจิตได้ด้วยการปฏิบัติใด?

    เพราะจิตมีหน้าที่คิด เราจึงมักคิดเรื่องราวต่างๆไปตามอำนาจของ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ

    โดยปกติ มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถบังคับจิต ให้คิด หรือไม่คิดเรื่องอะไรได้

    แต่อย่างไรก็ดี มีวิธีฝึกตนที่ทำให้สามารถควบคุมจิตได้ดีขึ้น คือ ค่อยๆลด "วิตก วิจาร" ในเรื่องที่ไม่สมควรนั้นๆไป จนกระทั่งคิดเรื่องนั้นๆน้อยลงเรื่อยๆ และหยุดคิดไปได้ในที่สุดเพราะจิตได้ "เป็นกลาง" กับเรื่องนั้นๆไปแล้ว (เท่ากับไถ่ถอนกิเลสไปได้แล้ว หนึ่งอย่าง)

    ขอถามว่า การฝึกเพื่อควบคุมจิตให้ได้นั้น มีอะไรบ้างค่ะ

    8 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • การทำประทักษิณที่บริบูรณ์คือทำอย่างไร?

    ในวันสำคัญทางศาสนา หรือเมื่อเรามีโอกาสไปนมัสการพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เรามักกระทำ "ประทักษิณ" ด้วยการเดินเวียนขวา 3 รอบ รอบพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์นั้น

    แต่เดิมในพุทธกาล หากเราเคารพบูชาผู้ใด ก็สามารถทำประทักษิณรอบบุคคลนั้นได้ เช่น ทำประทักษิณรอบพระพุทธองค์เป็นต้น

    ปัจจุบัน เรามักไม่ได้ทำอาการต่อจากการเดินนั้นเพื่อให้การกระทำประทักษิณบริบูรณ์ (และคงทำได้ยากในปัจจุบัน)

    ขอถามว่า เมื่อเดินเวียนขวา 3 รอบ โดยมีบุคคล หรือผู้ที่จะแสดงความเคารพอยู่ทางขวามือแล้ว ต้องมีการกระทำใด ตามมาต่อจากการเดินนั้น การกระทำประทักษิณจึงจะสมบูรณ์ค่ะ

    4 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงเลือกไปปรินิพพานที่เมืองกุสินารา?

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ กรุงเวสาลี แคว้นวัชชีแล้วนั้น ต้องทรงดำเนินด้วยพระบาทนานถึง ๓ เดือน กว่าจะถึงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ

    ทั้งๆที่พระชนมายุก็มากแล้ว และเพิ่งหายจากพระอาการประชวร

    ขอถามว่า ทำไม.....จึงต้องเป็นเมืองกุสินารา ค่ะ

    11 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือหรือแยกถ��อ คืออะไร?

    การสำรวมจักขุนทรีย์ เป็นวิธีหนึ่งที่จะปิดกั้นไม่ให้อกุศลธรรมคือ อภิชฌา (มักพบคำแปลบ่อยๆว่า "โลภอยากได้ของเขา" แต่ดิฉันชอบคำแปลที่พระคุณเจ้า ป.อ.ปยุตฺโต แปลไว้ในที่หนึ่งว่า "ความร่านทะยานอยาก" มากกว่าค่ะ) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำได้

    เช่นเดียวกับการสำรวมอินทรีย์อื่นๆ

    อยากถามว่า การ "รวบถือ" และ "แยกถือ" คืออะไรค่ะ

    9 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายในหมายถึงอะไร?

    การพิจารณา เมื่อพิจารณาอยู่ จิตไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดของชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป

    อยากถามว่า การที่จิตถูกเรียกว่า "ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน" นั้น คืออะไรค่ะ

    12 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา