Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

อุเบกขาต่างจากอุเบกขาอย่างไร?

ในหลักธรรม พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

ส่วนในหลักธรรม โพชฌงค์ 7 ก็มีองค์ธรรมคืออุเบกขาประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา

ขอถามว่า องค์ธรรมคือ "อุเบกขา" ในหลักธรรมทั้งสองนั้น ต่างกันอย่างไรค่ะ

อัปเดต:

...........................

การวางใจเป็นกลางที่เรียกว่า "อุเบกขา" นี้ ต่างจาก "อัญญานุเบกขา" ตรงที่ว่า

อุเบกขาประกอบด้วยการกระทำเพื่อความถูกต้องมาจนถึงที่สุดแล้ว ครั้นเมื่อทำจนสุดกำลังแล้วยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ จึงวางใจเป็นกลาง ปล่อยทุกอย่างไปตามธรรม เพราะไม่อย่างนั้น จะทุกข์ในสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้

แต่อัญญานุเบกขานั้น ไม่มีการกระทำใดๆ เป็นการวางเฉยเพราะไม่เอาเรื่องเอาราว หรือเพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไร เมื่อไม่รู้ หรือไม่เอาเรื่อง จึงเฉยเสีย

อัปเดต 2:

ซึ่งอุเบกขาตามที่กล่าวมานั้น เป็นอุเบกขาในพรหมวิหาร 4 อันมีสัตว์ เป็นอารมณ์

อัปเดต 3:

สำหรับคำว่า “อารมณ์” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความเป็นไปของจิตอย่างที่เรามักใช้กันทั่วไป

แต่หมายถึง เครื่องยึดหน่วงของจิตต์, สิ่งที่จิตต์ยึดหน่วง,สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์

(พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์)

อัปเดต 4:

สำหรับคำว่า “อารมณ์” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความเป็นไปของจิตอย่างที่เรามักใช้กันทั่วไป

แต่หมายถึง เครื่องยึดหน่วงของจิตต์, สิ่งที่จิตต์ยึดหน่วง,สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์

(พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์)

อัปเดต 5:

สำหรับคำว่า “อารมณ์” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความเป็นไปของจิตอย่างที่เรามักใช้กันทั่วไป

แต่หมายถึง เครื่องยึดหน่วงของจิตต์, สิ่งที่จิตต์ยึดหน่วง,สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์

(พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์)

อัปเดต 6:

...........................................

ส่วนอารมณ์ขององค์ธรรมอุเบกขาในโพชฌงค์ 7 คือ "ธรรม" ซึ่งธรรมนี้ ความหมายที่แท้จริงคือ "ทุกสิ่ง" เพราะรวมไว้แล้วทั้งสภาวธรรม สัจจธรรม ปฏิปัติธรรม และวิปากธรรม

โดยที่องค์ธรรมทั้งหมดของโพชฌงค์ เริ่มต้นที่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และจบลงที่ อุเบกขา

นั่นคือเมื่อบุคคลมีสติอยู่ แล้วเกิดธัมมวิจยะ หรือ ธรรมวิจัย ตามมา (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์)

ซึ่งองค์ธรรมธัมมวิจยะนี้ เกิดได้ทั้งขณะเผชิญอารมณ์เฉพาะหน้า แล้วคว้าธรรมนั้นไว้ได้ เช่น เกิดเวทนาขึ้นเป็นต้น แล้วระลึกรู้ตัว จึงคว้าธรรมคือเวทนานั้นไว้ได้ก่อนที่เวทนานั้นจะดับ แล้วจึงนำธรรมที่คว้าได้มาพิจารณาต่อไป หรืออาจจะตั้งสติระลึกถึงเวทนาที่ผ่านมา เพื่อ ”คว้า” มาพิจารณาโดยตรง เพื่อให้จิตเห็นทั้งคุณและโทษของเวทนานั้น จนไม่ดึงเข้าหาเพราะคุณ ไม่ผลักออกเพราะโทษ กระทั่งวางใจเป็นกลางได้ในที่สุด

อัปเดต 7:

........................................

ยังมีความต่างอยู่อีกคือ กระบวนการเกิดขององค์ธรรมอุเบกขานี้

อัปเดต 8:

องค์ธรรมในพรหมวิหาร 4 นั้น มักมีสถานการณ์เป็นองค์ประกอบ การเกิดของแต่ละองค์ธรรมมักสัมพันธ์กับสถานการณ์ และองค์ธรรมก็ไม่จำเป็นต้องเกิดตามกัน เช่น เมื่อเราปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ มีความสุขเพิ่มขึ้น หากเขาและประสบความสำเร็จแล้วไม่มีการกระทำความผิดใดๆจนเราต้องช่วยแก้ไขจนสุดความสามารถ กระทั่งที่สุด ไม่สามารถช่วยอะไรได้อีกแล้ว องค์ธรรมอุเบกขาก็อาจไม่เกิดขึ้น

แต่องค์ธรรมอุเบกขาในโพชฌงค์ 7 (อันเป็นธรรมที่เป็นส่วนประกอบของโพธิปักขิยธรรม 37 ) กระบวนการมักเกิดตามมาเป็นชุด โดยมีรอยต่ออยู่ที่ วิริยะ ซึ่งหากมีวิริยะจนเห็นแจ้งในธรรมที่กำลังพิจารณา องค์ธรรมที่เหลือก็จะทยอยเกิดตามกันมาเป็นชุดในเวลาเพียงชั่วอึดใจ

ดังที่กล่าวแล้วว่า องค์ธรรมทั้งหมด ประกอบด้วย สติ – ธัมมวิจยะ – วิริยะ – ปีติ – ปัสสัทธิ – สมาธิ – อุเบกขา

กระบวนการเกิดองค์ธรรมจึงคือ เมื่อมีสติอยู่ (สติ) คว้าธรรมไว้ได้ (ธัมมวิจยะ) หากยังไม่เข้าใจในองค์ธรรมนั้น ก็จะเพียรหาเหตุผล อาจจะทั้งด้วยการใช้เหตุผลตามองค์ธรรมที่เคยรับรู้มาตามความรู้เดิม หรือเพียรหาความรู้เพิ่มเติม และเพียรทำงานทางปัญญาต่อ (วิริยะ)

ซึ่งในขั้นตอนของวิริยะนี้ อาจใช้เว

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 10 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    อุเบกขาต่างจากอุเบกขา ดังนี้

    คำว่า "อุเบกขา" ในพรหมวิหาร 4 จะมี 2 ลักษณะ คือ

    1. เป็นความรู้สึกแบบชาวบ้าน (เคหสิต) ซึ่งเป็นความวิบัติ เป็นความล้มเหลว เช่น

    - วางเฉยเพราะไม่รู้

    - วางเฉยเพราะโง่

    - วางเฉยเพราะจำยอม

    - วางเฉยเพราะเฉยเมย เมินเฉย ฯลฯ

    2. เป็นความรู้สึกแบบอิงสละสงบ (เนกขัมมสิต) ซึ่งเป็นความสมบูรณ์ เป็นความสำเร็จ เช่น

    - (ลักษณะ) เป็นไปโดยอาการเป็นกลางต่อสัตว์ทั้งหลาย

    - (หน้าที่) มองเห็นความเสมอภาคกันในสัตว์ทั้งหลาย

    - (ผลปรากฏ) ระงับความขัดเคืองเสียใจและความคล้อยตามดีใจ

    - (ปทัสถาน) มองเห็นภาวะที่ทุกคนเป็นเจ้าของกรรมของตน

    แต่คำว่า "อุเบกขา" ในโพชฌงค์ 7จะมีลักษณะเดียว คือ ความมีใจเป็นกลางเพราะมองเห็นตามความเป็นจริง (หรืออาจจะเป็นสภาวะอันถึงที่สุดแล้วของพรหมวิหาร 4 ก็ได้ ดู ข้ิอ 2)

  • ?
    Lv 4
    10 ปี ที่ผ่านมา

    อุเบกขา ถ้าตามความหมายชาวบ้านแบบง่ายๆก็น่าจะใช้คำว่า... "ทำใจได้"

    ทำใจ...ในที่นี้หมายถึงทำใจยอมรับความเป็นไปของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจได้จริงๆ

    เมื่อทำใจได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะน่ายินดีหรือไม่น่ายินดี ใจก็จะไม่กระเทือน ไม่หวั่นไหว

    ไม่ได้เฉยๆในแบบที่เรียกว่า เพิกเฉยละเลย ไม่สนใจ หรือ ช่างมันฉันไม่แคร์

    ทั้งสองส่วนที่ถามมานั้นไม่ต่างกันค่ะ เพียงแต่ตั้งอยู่ต่างกรณีกัน ยกตัวอย่างสั้นๆคือ

    แบบแรก หมายถึงการวางใจให้เป็นกลาง เพราะรู้ว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    ส่วนแบบหลัง หมายถึงความมีใจเป็นกลาง เพราะรู้เห็นเห็นตามจริงในธรรมที่รู้ว่า"ธรรมดา"

    ขอสรุปแบบอ้อมแอ้มตามภาษาชาวบ้านว่า...

    อุเบกขา หมายถึง "รู้เหตุ ยอมรับผล และวางใจได้นิ่งไม่หวั่นไหว"

    ขาดเกินประการใดสัตว์ผู้น้อยกราบขอขมาในพระรัตนตรัย

    ตลอดจนบรรดา พระโพธิสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง ด้วยเถิดเจ้าข้า...

    .......

    โย โทโส โมหะจิตเตนะ พุทธัสมิง ปาปะกโต ขะมะถะ เม ภันเต

    โย โทโส โมหะจิตเตนะ ธัมมัสมิง ปาปะกโต ขะมะถะ เม ภันเต

    โย โทโส โมหะจิตเตนะ สังฆัสมิง ปาปะกโต ขะมะถะ เม ภันเต...

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    อนุโมทนาค่ะ

    คำถามคุณอันตี้ซัลลี่ทำให้ผู้ตอบได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ (แม้จะเป็นเพียงแค่รู้จากการอ่าน)

    ส่วนตัว ไม่มีความรู้ แต่สนใจ ขออนุญาตค้นหาแหล่งข้อมูลอื่นเข้ามาตอบค่ะ

    พรหมวิหาร เป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจ ที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์

    ข้อสุดท้าย อุเบกขา เป็นการรู้จักวางเฉย คือการวางใจเป็นกลาง เพราะพิจารณาเห็นว่า ส่ิงต่าง ๆ ล้วนเป็นไปตามกฏแห่งกรรม เช่น เมื่อเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษ เราก็ไม่ดีใจหรือคิดซ้ำเติมในเรื่องที่เกิดขึ้น

    ส่วนโพชฌงค์เจ็ด

    วิกิพีเดีย อธิบายว่า

    โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

    สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง

    ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม

    วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร

    ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ

    ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ

    สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์

    อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

    โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)

    ส่วนของอุเบกขาในโพชฌงค์เจ็ด ขออนุญาตคัดลอกบทบรรยายเรื่อง โพธิปักขิยธรรมประยุกต์ ครั้งที่ ๙ ของท่านพุทธทาส จากหนังสือ โพธิปักขิยธรรมประยุกต์ (ประยุกต์ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ย่นความโดย "เช่นนั้นเอง") มาตอบค่ะ

    อุเบกขา เป็นโพชฌงค์ข้อสุดท้าย คือข้อที่เจ็ด

    "...ถ้าปิติแล้ว ก็ปัสสัทธิ, ถ้าปัสสัทธิแล้ว มันก็จะสมาธิแหละ เมื่อทุกอย่างเป็นมาอย่างถูกต้องอย่างนี้แล้ว อุเบกขามันก็มีได้ คือมันไม่ต้องทำอะไรอีก นอกจากรักษาความเป็นอย่างนั้นไว้ให้คงอยู่ มันก็เพ่งเฉยอยู่ แล้วมันก็งอกงามของมันไปเองตามลำดับ

    ...

    ถ้าเป็นเรื่องของวิปัสสนา มันก็คุมการดู การเห็น ให้เฉยอยู่ จนกว่าจะเห็น คุมการดู ดูเฉยอยู่ จนกว่ามันจะเห็น เห็นแล้ว คุมการเห็นให้เฉยอยู่กว่ามันจะทำลายกิเลส เช่น คุมให้มันดูความเป็นอนิจจัง ที่ตรงนั้น ตรงนี้ ภายในตัวเรานี้ มันก็เห็น เห็นแล้ว ก็คุมการเห็นอนิจจังให้เฉยอยู่ มันก็เกิดวิราคะ คือความเบื่อหน่ย คลายกำหนัดต่อสิ่งที่เคยรักเคยหลง นี้ อุเบกขามันจะใช้ทุกขั้นตอน ที่จะคุมให้มันไปของมันโดยธรรมชาติ หรือตามธรรมชาติ

    ถ้ายังต้องจัดนั่นจัดนี่ ปรับนั่นปรับนี่ มันยังไปไม่ถึงขั้นนี้ ยังไม่ใช่ขั้นปัสสัทธิ หรือสมาธิ หรืออุเบกขา อย่าเอาไปปนกัน ที่เข้าใจคำนี้ไม่ได้ ก็เพราะมันไม่เข้าà¹��จอย่างที่ว่านี้ จึงสอนกันเพียงว่า จำได้ว่า อุเบกขา เฉยอยู่บ้าง ไม่รู้สึกอะไรบ้าง

    ทีนี้เข้าใจเสียให้ถูก ว่าทุกอย่างมันเข้ารูปเข้ารอยหมดแล้ว มันจึงปล่อยให้อุเบกขาได้ มันคุมไว้ รักษาไว้ให้มีความเป็นอย่างนั้นตลอดเวลา ที่เราต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่มัวคิด มัวไตร่ตรอง หรือมีธัมมวิจยะอะไรกันอีก

    ....ถ้ามาถึงขั้นอุเบกขาแล้ว ไม่มีเรื่องที่จะพิจารณาด้วยเหตุผลไตร่ตรอง นั้นมันไม่มีอีก การดูมันเข้ารูป การเห็นมันเข้ารูป แล้วคุมการเห็นให้มันเป็นไปอยู่ตลอดเวลา มันมากขึ้น ๆ ได้ คือเห็นชัดขึ้น ๆ ๆ ได้

    ขอให้พยายามถือเอาความหมายของคำว่าปฏิสังเวที หรือคำว่าอนุปัสสีให้ถูกต้อง ในเรื่องของอานาปานสติ ๑๖ ขั้นนั้นน่ะ มันมีคำสำคัญอยู่ ๒ คำ ปีติปฏิสังเวที รู้สึกอยู่เฉพาะอยู่ต่อปีติ และคำว่า อนิจจานุปัสสี ตามเห็นอยู่ซึ่งอนิจจัง ไม่ได้คิดใคร่ครวญด้วยเหตุผล แต่มันอรู้สึกอยู่ หรือเห็นอยู่ มันจึงมีลักษณะของอุเบกขามาตั้งแต่ต้นเลย.

    ปีติปฏิสังเวที รู้พร้อมเฉพาะปีตินี้ มันก็มีความรู้สึกที่มันเข้ารูป แล้วรักษาอยู่ตลอดเวลา ด้วยลักษณะแห่งอุเบกขานี้ ฉะนั้น อุเบกขาในลักษณะนี้ มันก็ได้มีมาแล้วตั้งแต่อานาปานสติขั้นต้น ๆ โน้น ในที่สุดมันก็ไปของมันเอง การเห็นถึงที่สุด ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในทางที่ถูกต้อง มันก็ควบคุมไว้ให้เป็นไปถึงที่สุด มันก็เป็นไปถึงที่สุดได้ จนหมดเรื่อง จนจบเรื่อง."

    แหล่งข้อมูล: อธิบายพรหมวิหาร จากหน้า http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html
  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ครับ รู้แต่ว่าอุเบกขา คือ การวางเฉย สำหรับในพรหมวิหาร4 ก็ยึดหลักเมตตาการให้ กรุณาความสงสาร อุเบกขาในที่นี้ คือ วางเฉยหากเราไม่สามารถช่วยเหลือสงเคราะห์บุคคลนั้นได้ ไม่ทุกข์ไม่ร้อนไม่กังวลใจ แต่สำหรับอุเบกขาในโพชฌงค์นั้นผมคิดว่าคงเป็นการวางเฉยในอารมณ์ธรรม (กระมัง)

    แต่สรุปโดยรวมแล้ว ความหมายก็เป็นอย่างเดียวกัน คือ วางเฉยในความดี

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้