Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที�� 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ขันธ์ 5 ชุดที่สองมีอะไรบ้าง?

ขันธ์ 5 มีสองฝ่าย คือ ฝ่ายสภาวะ ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ )

และฝ่ายธรรมที่เป็นทั้งการฝึก และผลของการฝึก

ขันธ์ 5 ในฝ่ายธรรมนี้มีขึ้นก็เพื่อพัฒนาขันธ์ 5 ฝ่ายที่เป็นสภาวะ

ขอถามว่า ขันธ์ 5 อีกฝ่าย หรืออีกชุดนี้ ประกอบด้วยอะไรบ้างค่ะ

อัปเดต:

การฝึกตนของชาวพุทธก็เช่น การฝึกด้วยไตรสิกขา หากไตรสิกขานั้น แสดงแต่วิธีฝึก ไม่ได้แสดงผลของการฝึกไว้

เช่นเดียวกับมรรคมีองค์ 8 ที่แสดงแต่วิธีการปฏิบัติ แต่ไม่ได้แสดงผลไว้ ซึ่งหากต้องการความสมบูรณ์ของธรรม ทั้งกระบวนการ และผล ก็ต้องดูที่สัมมัตตะ 10 อัน 8 ข้อแรกคือมรรคมีองค์ 8 และ อีกสองข้อสุดท้าย คือ ส%

อัปเดต 2:

คือ สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ

เหตุที่ต้องมีการฝึกตน ก็เพื่อพัฒนาตนนั่นเอง

อัปเดต 3:

ขันธ์ 5 ในฝ่ายนี้ "ธรรมขันธ์" ก็เรียกค่ะ

อัปเดต 4:

.......................................

เรียนคุณ Supachai ค่ะ

ขออภัยที่ขอแสดงความเห็นต่างนะคะ เพราะดิฉันเห็นว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เน้นการพัฒนาค่ะ เช่น การพัฒนาคนจากปุถุชน ไปสู่กลัยาณปุถุชน ไปสู่อริยบุคคล

การรู้เท่าทัน เป็นการปิดกั้นกิเลสใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น แต่หากรู้ด้วยสัมปชัญญะแล้ว ไม่มีวิปัสสนาตามมา ก็เท่ากับยังไม่ได้ขูดลอกของเก่าออก จิตไม่ได้รับการพัฒนา เช่น แม้จะรู้ว่าโกรธ และดับความโกรธได้แล้ว แต่เมื่อมีเหตุการณ์เดิมเกิดขึ้นอีก เราก็โกรธได้อย่างเดิมอีก ซึ่งหากจิตได้รับการพัฒนาด้วยธรรมแล้ว เราจะโกรธในเรื่องเดิม ค่อยๆน้อยลง จนไม่โกรธได้ในที่สุด

อย่างไรเสีย ก็ขอบคุณนะคะที่มาร่วมแสดงความเห็นค่ะ

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • on-ces
    Lv 5
    10 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ...[๔๒๐] ธรรม ๕ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่

    สีลขันธ์ ๑ สมาธิขันธ์ ๑ ปัญญาขันธ์ ๑ วิมุตติขันธ์ ๑ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ๑

    ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ...

    อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

    ขันธ์ หมายถึง หมู่ หมวด กอง โดยความหมายแต่ละตัวของธรรมในข้อนี้คือ

    1.สีลขันธ์ คือกองศีล เป็นการรักษากายและวาจาให้สุจริต ด้วยการรักษาศีลและทำให้จิตสงบ

    เป็นบาทให้เกิดสมาธิได้ง่าย

    2.สมาธิขันธ์ คือกองสมาธิ เป็นการเพียรระวังไม่เกิดนิวรณ์ 5 อันเป็นเหตุให้ใจไม่ตั้งมั่น

    ไม่สามารถดำเนินการปฏิบัติขั้นต่อไปได้ ในกองสมาธิอาจทำได้หลายรูปแบบตามความถนัด

    และวาสนาของแต่ละคน ได้แก่ อานาปานสติ,กายคตาสติ,มรณานุสติ,พุทธานุสติ เป็นต้น

    โปรดสังเกตว่ามีคำว่าสติต่อท้าย หากขาดสติแล้วจะไม่เข้าข่ายสมาธิแบบที่หมายถึงในที่นี่

    3.ปัญญาขันธ์ คือกองปัญญา ,เมื่อใจมีสมาธิตั้งมั่นแล้ว จิตสามารถเดินปัญญาต่อได้

    โดยเห็นความเป็นไตรลักษณ์อยู่ในรูปนาม เกิดธรรมวิจยะ เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน

    4.วิมุตติขันธ์ คือกองวิมุตติ คือการหลุดพ้นจากกิเลส หรือการเกิดมรรคนั่นเอง

    5.วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คือกองวิมุตติญาณทัสสนะ,ความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

    แหล่งข้อมูล: http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=... และค้นคว้าเพิ่มเติมจากพพจนานุกรมพุทธศาสน์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    ผมศึกษาศาสนาพุทธมา44ปี เคยบวชเรียนเป็นพระมาแล้วว่า ขันธ์ทั้ง5 เป็นการศึกษาให้รู้ถึงความอนิจจังของขันธ์ทั้ง5 จึงไม่มีการพัฒนาใดๆอีกแล้ว การศึกษาขันธ์5 ทำให้รู้เท่าทันโลก เมื่อมีลาภก็ไม่ดีใจจนเกินไป เมื่อเสื่อมลาภก็ไม่เสียใจจนเกินไป เมื่อมียศก็ไม่ดีใจฯ เมื่อเสื่อมยศก็ไม่เสียใจฯ เมื่อมีเกียรติก็ไม่ดีใจฯ เมื่อเสื่อมเกียรติก็ไม่เสียใจฯ เมื่อได้การสรรเสริญก็ไม่ดีใจฯ เมื่อถูกนินทาก็ไม่เดือดและเสียใจฯ พระพุทธเจ้าเคยให้พระสงฆ์สาวกไปเด็ดใบไม้มาปูนั่งและนอนกัน แล้วถามว่ารู้สึกว่าใบไม้มีประโยชน์หรือไม่ คณะสงฆ์ตอบว่ามีประโยชน์ พระพุทธองค์ถามต่อไปว่า มีใครเคยสงสัยไหมว่าใบไม้เหล่านี้มาจากป่าไหนบ้าง? คณะสงฆ์ตอบว่าไม่สงสัยเพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องสงสัยเพียงเอามาใช้ประโยชน์ได้ก็เพียงพอแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่าธรรมะก็เหมือนกันเราจะไม่สอนเพื่อให้มีความรู้มากมายลึกซึ้งเกินความจำเป็น แต่��¸ªà¸­à¸™à¹€à¸žà¸·à¹ˆà¸­à¸ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ªà¸¸à¸‚และสลายทุกข์ ส่วนจะเป็นระดับปุถุชนหรือบรรพชิต(ไม่ใช่นุ่งเหลืองห่มเหลืองโกนหัวโกนคิ้วเท่านั้นแต่ต้องปฏิบัติศีลได้ครบ227ข้อด้วย) ก็แล้วแต่บุญบารมีที่ได้สร้างสมกันมา

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้