Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

สุขัลลิกานุโยค 4 ที่เป็นอริยะมีอะไรบ้าง?

สุขัลลิกานุโยค มี 2 ลักษณะ คือ ที่ไม่เป็นอริยะ (ฆ่าสัตว์ บำรุงตนให้อิ่มเอิบอยู่, ลักทรัพย์แล้วบำรุงตนให้อิ่มเอิบอยุ่, พูดเท็จแล้วบำรุงตนให้อิ่มเอิบอยู่, ปรนเปรอตนด้วยกามคุณ 5 ให้อิ่มเอิบอยู่) และสุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะ

ขอตั้งคำถามว่า สุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะ มีอะไรบ้าง และมีอานิสงส์อะไรค่ะ

อัปเดต:

มีพุทธพจน์ในปาสาทิกสูตรแสดงสุขัลลิกานุโยค 4 ที่สาวกพึงถืออยู่คือ "สุขัลลิกานุโยค ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน" (ขออภัยค่ะ ในพระสูตรนี้ไม่ได้ทรงใช้คำว่าอันเป็นอริยะ ไม่ทราบดิฉันไปจำคำนี้มาจากไหน)

คือ ความสุขที่เกิดจาก การบรรลุปฐมฌาน, บรรลุทุติยฌาน,บรรลุตติยฌาน และการบรรลุจตุตถฌาน

ซึ่งมีอานิสงส์คือ ทำให้เป็นอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

เนื่องจาก สัมมาสมาธิ นั้น หมายเอาฌาน 4 และเป็นสมาธิที่โน้มไปเพื่อการปล่อยวาง การสละ ละ คืน เป็นบาทฐานของปัญญา ดังนั้นจึงเป็นที่รู้กันว่า เมื่อเสพสุขที่ไม่มีเหยื่อล่อแล้ว ก็ไม่ติดใจในสุขนั้น แต่ใช้จิตขณะที่ควรแก่การใช้งานนั้น ไปทำงานทางปัญญาเพื่อให้เห็นธรรมต่อไป

งานวิปัสสนา (ปัญญา) คือบันไดขั้นต่อไปของงานทางจิต (สมาธิ) หลังจากที่มีวิถีชีวิตที่เป็นไปเพื่อความเป็นปรกติ (ศีล) เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว มีพุทธพจน์เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบันดังนี้

“หากภิกษุพึงหวังว่า “เราพึงเป็นโสดาบัน” เพราะสังโยชน์ ๓ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน ที่จะสำเร็จส

อัปเดต 2:

แน่นอน ที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า” ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง”

ม.มู. (แปล) ๑๒/๖๗/๕๘ – ๕๙

แสดงถึงความสัมพันธ์กันของศีล สมธิ ปัญญา และความเพียรได้เป็นอย่างดี

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    1. สุขัลลิกานุโยคที่เป็นอริยะมี 4 ระดับ คือ

    อริยะในระดับที่ 1 พระโสดาบัน

    อริยะในระดับที่ 2 พระสกิทาคามี

    อริยะในระดับที่ 3 พระอนาคามี

    อริยะในระดับที่ 4 พระอรหันต์

    2. มีอานิสงส์ 4 ประการ คือ

    อานิสงส์ระดับที่ 1 เป็นของพระโสดาบัน คือ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม ได้แก่ สักกายทิฏฐิ (ความสำคัญผิดคิดว่าร่างกายนี้เป็นของตน) วิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจว่าพระศาสดาจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง) และสีลัพพตปรามาส (ความหลงงมงายในศีลพรต)

    อานิสงส์ระดับที่ 2 เป็นของพระสกิทาคามี คือ นอกจากจะสามารถละกิเลสทั้ง 3 อย่าง (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้หมดสิ้นแล้ว และยังสามารถทำโลภะ โทสะและโมหะบางส่วนให้จางลงได้อีก แต่ก็ยังอาลัยต่อโลกนี้เหลืออยู่บ้างเล็กน้อย หรือถ้าจะกลับมาสู่อารมณ์แบบปุถุชนอีกก็เพียงครั้งเดียว

    อานิสงส์ระดับที่ 3 เป็นของพระอนาคามี คือ นอกจากจะละกิเลสอย่าง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส โลภะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว ยังละ กามราคะ (ของรักใคร่ที่พระโสดาบันและพระสกิทาคามีละไม่หมด) ปฏิฆะ (ความรู้สึกโกรธ ขัดเคืองใจ หงุดหงิด รำคาญ) ได้อีกด้วย

    อานิสงส์ระดับที่ 4 เป็นของพระอรหันต์ คือ นอกจากละกิเลสทั้ง 5 ขั้นต้นอย่าง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และปฏิฆะ ได้หมดแล้ว ยังละกิเลสขั้นปลายอีก 5 ประการ ลงได้อย่างหมดสิ้น คือ รูปราคะ (ความพอใจในความสงบสุขเยือกเย็นที่เกิดจากการกำหนดสิ่งที่มีรูป เช่น นิมิตต่าง ๆ มาเป็นอารมณ์สำหรับเพ่ง) อรูปราคะ (ความพอใจในความสงบเงียบสุขุมที่เกิดจากการกำหนดสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ความว่างเปล่ามาเป็นอารมณ์สำหรับเพ่ง) มานะ (ความรู้สึกสำคัญตนว่าดีกว่า เลวกว่า ซึ่งเป็นเหตุให้จิตใจหวั่นไหวอยู่บ้าง เพราะยังไม่ได้อยู่เหนือความดีและความชั่ว) อุทธัจจะ (ความไม่สงบนิ่งของจิตใจ เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบทำให้เกิดความทึ่งทั้งในแง่ดีและในแง่ร้าย) และ อวิชชา (ความรู้ที่ทำให้คนเราสำคัญผิด เห็นธรรมะที่ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ว่าเที่ยงและเป็นสุข)

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    มีอานิสงส์สี่คือ

    อานิสงส์ที่ 1 เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า

    อานิสงส์ที่ 2 .ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

    อานิสงส์ที่ 3 ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

    อานิสงส์ที่ 4 กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่

    แหล่งข้อมูล: ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ www.pobbudha.com
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้