Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
ในกรณีนี้ การวางเฉย เฉยได้เพราะอะไร?
ขอตุ๊กตาเกี่ยวกับอุเบกขามาชวนพิจารณาค่ะ
“คุณ A ถูกว่ากล่าวด้วยถ้อยคำกระทบกระเทียบ คุณ A เห็นว่าตนมีคุณสมบัติของจิต และมีปัญญาเหนือกว่าผู้ว่ากล่าว จึงวางเฉยต่อคำว่ากล่าวและตัวผู้ว่ากล่าว”
เนื่องจาก การวางเฉย มีทั���งที่เฉยไม่รู้ (อัญญาณุเบกขา) และ เฉยรู้ (อุเบกขา) ซึ่งมีความต่างกันคือ
อัญญาณุเบกขา
ก็คือ อุเบกขาเวทนา นั่นเอง จะเรียกว่า "อทุกขมสุขเวทนา" หรือ "เคหสิตอุเบกขา" ก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ เพราะไม่รู้ว่ามีเรื่องอย่างนั้นเกิดขึ้นจึงเฉยอยู่ได้ กับ เพราะอารมณ์ที่มากระทบไม่มากพอที่จะให้เกิดความรู้สึกดีใจหรือเสียใจ จึงเฉยได้
ดังที่สมเด็จพระสังฆราชได้บรรยายไว้ว่า
" ได้ตรัสสอนให้อาศัยเนกขัมมสิตะอุเบกขา อุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ แก้ หรือดับละเคหสิตอุเบกขา อุเบกขาที่อาศัยเรือน อันอุเบกขาในที่นี้ก็หมายถึงอุเบกขาเวทนานี่แหละ คือ ความรู้สึกที่เป็นกลางๆ มิใช่สุขใจ มิใช่ทุกข์ใจ หรือเรียกว่า อุเบกขาเวทนา เวทนาที่ไม่ใช้ทุกข์ไม่ใช่สุข ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่บุคคลทั่วไปในเมื่อได้รับอารมณ์คือเรื่องรูป เรื่องเสียง เรื่องกลิ่น เรื่องรส เรื่องโผฏฐัพพะ และ เรื่องของเรื่องเหล่านี้ที่เป็นกลางๆไม่พอที่จะให้เกิดความสุขใจดีใจ ไม่พอที่จะให้เกิดความทุกข์ใจเสียใจ จึงรู้สึกเป็นกลางๆเฉยๆไม่ทุกข์ใจไม่สุขใจ
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมภาวนา (หน้า ๒๔)
"ผู้ที่มิได้ปฏิบัติธรรมก็ได้อุเบกขาดั่งนี้อยู่เป็นอันมาก ผู้ที่ปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน แต่ว่าผู้มิได้ปฏิบัติธรรมคือมิได้จับอุเบกขาดั่งนี้ขึ้นมาพิจารณานั้นก็เรียกว่า เป็นผู้ไม่ได้ปัญญาจากอุเบกขาดังกล่าวนี้ จึงเป็นอุเบกขาที่บังเกิดขึ้นแก่คนทั่วไปตามปรกติธรรมดา มิได้บังเกิดขึ้นด้วยความรู้อะไร คือ ไม่ต้องรู้อะไรก็ได้อุเบกขาดั่งนี้ จึงเรียกว่า อัญญาณอุเบกขา อุเบกขาที่มิได้เกิดขึ้นด้วยความรู้ หรือ เรียกว่า เคหสิตะอุเบกขา และยังอาจอธิบายเพิ่มเติมต่อไปอีกได้ด้วยว่า นอกจากเรียกว่ามิใช่อุเบกขาที่บังเกิดด้วยความรู้แล้ว ยังอาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยความไม่รู้อีกด้วย คือ เพราะยังไม่รู้จึงอุเบกขาอยู่ได้ ดังเช่นสรรเสริญหรือนินทาซึ่งเป็นโลกธรรมแก่ทุกๆคน ผู้สรรเสริญผู้นินทามีให้ได้ยินก็มีอยู่เป็นอันมาก แต่เพราะมิได้ยินก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็อุเบกขาคือเฉยๆ"
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมภาวนา (หน้า ๒๕)
อุเบกขา
เป็นการวางใจเป็นกลางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆ แยกเป็น การวางเฉยเพราะคุณสมบัติของจิต และ การวางเฉยเพราะปัญญาเห็นแจ้ง
ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้อธิบายความหมายของการเฉยทั้งสองอย่างไว้ดังนี้
“อันความวางเฉยด้วยความรู้นี้เกี่ยวแก่การที่ต้องปฏิบัติทำจิตใจให้เกิดความวางเฉยขึ้น และความวางเฉยด้วยความรู้นี้ก็ เป็นอาการของจิตที่มีความทนทานรู้แล้วก็วางเฉยได้ กับ เป็นอาการของจิตที่ประกอบด้วยปัญญาพินิจรู้ จึงหมายถึง รู้เรื่องที่เป็นไป กับ รู้ที่เป็นปัญญา”
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ธรรมกถาในการอบรมภาวนา (หน้า ๖)
นั่นคือ การวางเฉยด้วยความรู้ ประกอบด้วย ๒ ลักษณะ คือ การเฉยด้วยความทนทานของจิต เป็นเพราะรู้ความเป็นไป แล้วจิตยอมรับได้ เช่น มีคนนินทาว่าร้ายด้วยความเข้าใจผิด แต่ตนรู้ว่าเรื่องราวที่แท้จริงเป็นอย่างไร รู้ว่าตนไม่ได้มีเจตนา หรือ กระทำตามที่ถูกนินทา จึงเฉยได้
การวางเฉยด้วยปัญญาพินิจรู้ ส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกชอบชังมาก่อน จากนั้นมีการใช้โยนิโสมนสิการจนเห็นความจริงในทุกแง่มุม เมื่อเห็นความจริง จึงวางเฉยได้ หรือจะว่าเป็นการเฉยเพราะการปรุงแต่งก็ได้ (ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ยอดของสังขตธรรม หรื�� ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น คือมรรคมีองค์แปด)
ดังนั้น เราจึงควรหมั่นพิจารณาอารมณ์เป็นปกติ แม้แต่อารมณ์ที่ทำให้เกิดการวางเฉย ว่าเป็นการวางฉยประเภทใด เพราะ
“เมื่อพบกับเวทนาที่เป็นกลางๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็มิได้พิจารณาให้รู้จักความเกิดขึ้น ความดับไป ความน่าพอใจ ความไม่น่าพอใจ และการที่จะนำจิตแล่นออกไปได้ นี้ก็เป็นอวิชชา ก็นอนจมนอนเนื่องอยู่ในจิต เป็น อวิชชานุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิต คือ อวิชชาคือตัวที่ไม่รู้ แม้ว่าเวทนาที่เป็นกลางๆนั้นจะสงบไปแล้ว แต่อวิชชานุสัยนี้ก็ยังนอนเนื่องอยู่ในจิต เป็นตะกอนอยู่ในจิต”
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตร หน้า ๑๙๑
ขอถามว่า
กรณีของคุณ A วางเฉยกับสิ่งที่กระทบด้วยอุเบกขา หรือ อัญญาณุเบกขา และ ทำไมจึงจัดเข้าเป็นการวางเฉยประเภทนั้น
ขอบคุณคุณ เอิร์ธ และคุณ นครชัย ค่ะ ที่มาพิจารณาคำถาม
ขออนุญาตใบ้สักเล็กน้อย ด้วยคำข้อความบางส่วนในคำถามนี้
"ดังนั้น เราจึงควรหมั่นพิจารณาอารมณ์เป็นปกติ แม้แต่อารมณ์ที่ทำให้เกิดการวางเฉย ..........."
และบางส่วนของคำบรรยายของสมเด็จพระสังฆราชนะคะ
".......แต่อวิชชานุสัยนี้ก็ยังนอนเนื่องอยู่ในจิต เป็นตะกอนอยู่ในจิต”
ในกรณีนี้ คุณ A เฉยด้วยอัญญาณุเบกขาค่ะ เพราะ นอกจากอัญญาณุเบกขา จะมิใช่อุเบกขาที่บังเกิดด้วยความรู้แล้ว ยังอาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยความไม่รู้อีกด้วย ซึ่งในที่นี้ก็คือ
1. ไม่รู้ว่า ตนมีมานะ (มานะ = ถือตนว่าเสมอเขา, ถือตนว่าสูงกว่าเขา, ถือตนว่าต่ำกว่าเขา)
2. ไม่รู้ว่าตนกำลังไม่ได้ใช้โยนิโสมนสิการ หรือก็คือ ตนมี “อโยนิโสมนสิการ” อันเป็นอาหารของอวิชชา (อวิชชา = ไม่รู้ในทุกข์, ไม่รู้ในสมุทัย, ไม่รู้ในนิโรธ, ไม่รู้ในมรรค) ดังนั้นเมื่อทราบคำว่ากล่าวก็พิจารณาอย่างไม่แยบคายไปตามความเห็นตน
3. ไม่รู้ว่า กำลังเห็นรูปเป็นอัตตา เห็นอัตตาในรูป
4. ไม่รู้ว่าตนกำลังยึดถือมั่นในอายตนะภายในคือตา หรือ หู ในอายตนะภายนอกคือรูปที่รู้ได้ด้วยตา หรือ รูปที่รู้ได้ด้วยหู (เสียง)
เหล่านี้เป็นต้น
การวางเฉยที่ไม่ประกอบด้วยปัญญานั้น จัดเป็นอาสวะที่มองเห็นยากที่สุด ไม่เหมือนอาสวะหยาบๆ (เช่นกิเลสประเภทโทสะ) หรืออย่างละเอียด (เช่นกิเลสประเภทการยึดมั่นในความดี) เพราะเห็นได้ยาก และไม่มากพอที่จะให้เกิดทุกข์ จึงไม่ถูกหยิบขึ้นมาพิจารณาเพื่อละคลายต่อไป จึงทำให้สะสมและเพิ่มพูนอยู่ตลอดเวลา
3 คำตอบ
- ?Lv 59 ปี ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
คุณA.วางเฉยเพราะ"อวิชชา" อวิชชาก็กล่าวได้ว่าเป็นอัญญานุเบกขาเช่นกัน
จากคำถามที่ว่าคุณ เอ.
เห็นว่าตนมีคุณสมบัติของสติ และปัญญาเหนือกว่า ชัดเจนจร้า
- ?Lv 49 ปี ที่ผ่านมา
à¸à¸¸à¸ A วาà¸à¹à¸à¸¢à¸à¸±à¸à¸ªà¸´à¹à¸à¸à¸µà¹à¸à¸£à¸°à¸à¸à¸à¹à¸§à¸¢à¸à¸¸à¹à¸à¸à¸à¸² à¸à¸·à¸ à¸à¸²à¸£à¹à¸à¸¢à¸à¹à¸§à¸¢à¸à¸§à¸²à¸¡à¸à¸à¸à¸²à¸à¸��à¸à¸à¸à¸´à¸
à¹à¸à¹à¸à¹à¸à¸£à¸²à¸°à¸£à¸¹à¹à¸à¸§à¸²à¸¡à¹à¸à¹à¸à¹à¸ à¹à¸¥à¹à¸§à¸à¸´à¸à¸¢à¸à¸¡à¸£à¸±à¸à¹à¸à¹ à¹à¸à¹à¸ มีà¸à¸à¸à¸´à¸à¸à¸²à¸§à¹à¸²à¸£à¹à¸²à¸¢à¸à¹à¸§à¸¢à¸à¸§à¸²à¸¡à¹à¸à¹à¸²à¹à¸à¸à¸´à¸
à¹à¸à¹à¸à¸à¸£à¸¹à¹à¸§à¹à¸²à¹à¸£à¸·à¹à¸à¸à¸£à¸²à¸§à¸à¸µà¹à¹à¸à¹à¸à¸£à¸´à¸à¹à¸à¹à¸à¸à¸¢à¹à¸²à¸à¹à¸£ รูà¹à¸§à¹à¸²à¸à¸à¹à¸¡à¹à¹à¸à¹à¸¡à¸µà¹à¸à¸à¸à¸² หรืภà¸à¸£à¸°à¸à¸³à¸à¸²à¸¡à¸à¸µà¹à¸à¸¹à¸à¸à¸´à¸à¸à¸²
à¸à¸¶à¸à¹à¸à¸¢à¹à¸à¹
- 9 ปี ที่ผ่านมา
à¸à¸±à¸à¸à¸µà¹à¸à¹à¹à¸¥à¹à¸§à¹à¸à¹à¸§à¹à¸²à¸à¸¸à¸ Aà¹à¸à¹à¸²à¸à¸´à¸à¸¢à¸±à¸à¹à¸à¸à¸à¸à¹à¸à¹à¸²à¸à¹à¸°à¸à¹à¸°
แหล่งข้อมูล: à¸à¸à¸à¹à¸²à¹à¸à¸à¸±à¸ !!!