Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

จิตหลุดพ้นแล้ว จิตหลุดพ้นดีแล้ว จิตหลุดพ้นได้(ด้วย)ดี?

คำสุดท้าย บางที่เขียน "จิตหลุดพ้นได้ดี" บางที่เขียน "จิตหลุดพ้นด้วยดี"

ขอถามว่า 3 คำนี้

- มีความหมายอย่างไร

-ปฏิบัติอย่างไรจึงจะเกิด

-เมื่อเกิดแล้ว มีผลเป็นอย่างไร

อัปเดต:

คำว่า “จิตหลุดพ้น” นี้ ผู้ที่ฝึกอานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นอยู่เสมอ คงคุ้นเคยดี เพราะมีอยู่ในขั้นต่างๆของการฝึกด้วย

จิตหลุดพ้นแล้ว

คือ จิตหลุดพ้นแล้วจากธรรมที่นำไปสู่ตัณหา นั่นคือ หลุดพ้นจากเวทนาที่นำไปสู่ตัณหา จากอารมณ์ที่นำไปสู่เวทนา เป็นต้น เกิดจากการปฏิบัติที่ต่อเนื่องมาจากฐานเวทนาคือ หลังจากที่นำเวทนาทั้งภายใน(ที่เคยเกิดขึ้นกับตน) และภายนอก (ที่เกิดกับผู้อื่น) ขึ้นมาดู และระงับเวทนานั้นแล้ว (ในขั้นที่ ๔ ของฐาน��วทนา หรือ ขั้นที่ ๘ ของทั้งหมด) จึงตามดูธรรมต่างๆที่ประกอบอยู่กับจิตจนทำให้เกิดเวทนาอันนำไปสู่ตัณหานั้น แล้วปลดเปลื้องธรรมนั้นๆออกจากจิต (๑)

เมื่อนำเวทนาคือปีติ เพราะการได้รับคำสรรเสริญขึ้นมาพิจารณา จึงรู้ว่า เวทนานั้น เกิดจากการได้ยินเสียงสรรเสริญ หรือ ได้เห็นบทความสรรเสริญการทำความดีของตน เมื่อรับรู้การสรรเสริญแล้ว ตนก็เกิดปีติขึ้น หากตนหลงใหลไปกับปีตินั้น ก็จะนำไปสู่การยึดมั่นในความดี คือ ยึดมั่นว่าความดีที่ตนทำเป็นของตน ตนทำ ต้องได้รับการตอบแทน อย่างน้อยก็ในรูปของการสรรเสริญ หากต่อไปไม่มีใครสรรเสริญ ก็จะทุกข์เพราะการทำความดี และท้อ ไม่อยากทำความดีต่อไป อันเป็นการสันโดษในกุ

อัปเดต 2:

กุศลธรรมได้ แต่หากไม่หลง ก็จะนำไปสู่การปล่อยวาง การอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบัน

จึงเปลื้องธรรมนั้นออกจากจิต เมื่อจิตหลุดพ้นจากธรรมนั้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ทำให้ต่อไป เมื่อมีอารมณ์ในลักษณะเดิมมากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตาม ไม่นำไปสู่ทุกข์ และไม่มีความจำเป็นที่ต้องนำอารมณ์นั้นขึ้นมาพิจารณาอีกต่อไป เพราะจิตได้หลุดพ้นจากธรรมนั้นไปแล้ว

เป็นการดับทุกข์ที่ตัณหา อันเป็%

อัปเดต 3:

เป็นการดับทุกข์ที่ตัณหา อันเป็นการดับที่กลางสายของปฏิจจสมุปบาท

จึงเย็นอยู่ได้ในปัจจุบัน(๒)

อัปเดต 4:

จิตหลุดพ้นดีแล้ว

คือการที่จิตสิ้นความเพลินในสฬายตนะ (๓) หลุดพ้นจากความยึดถือมั่นในอายตนะทั้งภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ) และอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต้องกาย และ ธรรมารมณ์) เกิดจากการฝึกอานาปานสติจนถึงฐานธรรม ในขั้นที่ 14 ของการฝึกทั้งหมดขึ้นไป

ในฐานธรรม มีการตามเห็นความไม่เที่ยง เพราะเห็นความไม่เที่ยง จึงไม่ยึดถือ เช่น เห็นความไม่เที่ยงของเสียงสรรเสริญ (อายตนะภายนอก ) ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ หากต่อไป เราทำอะไรที่ทำให้ผู้ที่เคยสรรเสริญเราไม่ชอบใจ เห็นความไม่เที่ยงของหู ( อายตนะภายใน) ที่อาจได้ยินทั้งสิ่งที่นำไปสู่ความชอบใจ ไม่ชอบใจ เห็นความไม่เที่ยงแม้ในสัญญา เป็นต้น

อัปเดต 5:

จึงเบื่อหน่ายในธรรมต่างๆเหล่านั้น เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด หมดความเพลิดเพลิน จึงหลุดพ้นจากความยึดถือมั่น หรือ อุปาทาน ธรรมต่างๆเช่น กิเลส อาหาร อายตนะ เป็นต้น จึงดับ

และเพราะอายตนะดับ จึงเท่ากับนำไปสู่การดับของ นามรูป วิญญาณ สังขาร และ อวิชชา ตามลำดับ

จึงเป็นการดับปฏิจจสมุปบาทจากปลายสายไปหาต้นสาย (๔)

อัปเดต 6:

จิตหลุดพ้นได้ดี

คือ การที่จิตหลุดพ้นจากกิเลส คือ ราคะ โทสะ และ โมหะ ทั้งมวล (๕) เกิดจากการฝึกอานาปานสติจนเห็นการดับอยู่เสมอ จนในที่สุด ก็เห็นการดับของธรรมทั้งมวล

จึงปรินิพพานในปัจจุบัน รอเวลาอยู่

อัปเดต 7:

************************

อ้างอิง

(๑)

[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากร���คะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ ****"จิตหลุดพ้น"**** ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ...."

ที.มหา.(แปล) ๑๐/๓๘๑/๓๑๔-๓๑๕

อัปเดต 8:

(๒)

[๖๔] เทวดาทูลถามว่า

โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้

อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของโลกนั้น

เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่านิพพาน

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้

วิตกเป็นเหตุเที่ยวไปของโลกนั้น

เพราะละตัณหาได้ เราจึงกล่าวว่า นิพพาน

สํ.ส.(แปล) ๑๕/๖๔/๗๔

อัปเดต 9:

(๓)

[๑๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นความสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว

ฯลฯ

ภิกษุเห็นมโนอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นความสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว

สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๑๕๖/๑๙๓

อัปเดต 10:

(๔)

“ เพราะฉะนั้น “ดับแห่งความหมาย” นี้ เรียกว่าดับแห่งสมรรถภาพในหน้าที่ของมัน มันไม่มีสมรรถภาพ ที่จะทำหน้าที่อีกต่อไป ขันธ์จะไม่ทำหน้าที่ของขันธ์ อายตนะจะไม่ทำหน้าที่ของอายตนะ หน้าที่นี้ หมายถึงหน้าที่ที่ทำให้เกิดกิเลส มันจะหมดสมรรถภาพในการทำหน้าที่ที่ให้เกิดกิเลส ปฏิจจสมุปบาทก็ก่อขึ้นไม่ได้ มันไม่มีสมรรถภาพที่จะก่อขึ้นเป็นรูปของปฏิจจสมุปบาท มันเป็นความดับแห่งอาการของปฏิจจสมุปบาท”

พุทธทาสภิกขุ อานาปานสติสมบูรณ์แบบ หน้า ๑๘๙

อัปเดต 11:

(๕)

“ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจากโทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ ราคะ เราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มีเกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ’ รู้ชัดว่า ‘ โทสะ เราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มีเกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ’ รู้ชัดว่า ‘ โมหะ เราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูก���อนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มีเกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล ”

ที.ปา.(แปล) ๑๑/๓๔๘/๓๖๕

อัปเดต 12:

(๖)

“รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยุ่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ

......

ท่านจอมเทพ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน”

สํ. สฬา. (แปล) ๑๘/๑๑๘/๑๓๙-๑๔๐

8 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 9 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ภิกษุ ท.! ภิกษุเห็น รูปทั้งหลาย ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง,

    ทิฏฐิของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ. เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ;

    เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความ

    สิ้นนันทิ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวไว้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

    ดังนี้.(๑)

    ....................................................................................................

    สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ

    เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

    นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย

    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

    ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย

    เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

    นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ

    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

    กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.(๒)

    ......................................................

    นันทิ แปลว่า ความเพลิน หรือความพอใจ

    นันทิใดในเวทนาทั้���หลาย นั่นคืออุปาทาน เราพอใจสิ่งใด หมายความว่า เรายึดถือสิ่งนั้นเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น นันทินั้นเองคืออุปาทาน (โอสาเรตัพพธรรม หน้า ๓๗๒)

    .........................................................................

    ผู้รู้ท่านว่าไว้เช่นนั้น

    ส่วนดิฉันเอง ขอตอบตามความไม่รู้

    ความหมาย

    หลุดพ้น คือสภาวะที่ไม่ติด ไม่ข้อง เป็นอิสระจากสิ่งใด ๆ

    จิต ปุถุชนทั้งหลาย มักติดข้อง ยึดมั่นอยู่กับความมีตัวมีตน อันเป็นเหตุของการติดข้องของทุก ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาในชีวิต พูดง่าย ๆ เริ่มต้นไม่ถูก ที่ตามมาที่เหลือ พลอยล้มระเนระนาด

    ที่ว่าเร่ิมต้นไม่ถูก คือ ขาดความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) จึงมิได้มองสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะชีวิต ตามความเป็นจริง แต่มองจากการปรุงแต่ง ที่สะสมเรียนรู้มาทีละเล็กละน้อยตั้งแต่แรกเกิด เห็นว่านี่คือตัวฉัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นของฉัน ตาของฉัน ห���ของฉัน จมูกของฉัน ลิ้นของฉัน กายของฉัน ใจของฉัน เห็นอะไร ก็ปรุงแต่งไปตามความรู้ความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงกลาง ๆ

    จึงติด ติด และติด อยู่กับความเห็นผิดพลาดเหล่านั้น ทุกเมื่อเชื่อวัน

    ดังนั้น ความหมายของสภาวะที่จิตหลุดพ้น ก็คือสภาวะที่ตรงกันข้ามกับความติดข้องดังกล่าว

    จิตเป็นอิสระ มีสัมมาทิฏฐิ เข้าใจถ่องแท้ใน ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ และแนวทางปฏิบัติให้ล่วงถึงความดับทุกข์ ความเห็นถูกต้องดังกล่าว คือปัจจัยแห่งการหลุดพ้น

    ปฏิบัติอย่างไร ตามหลักการ คือ การมองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง

    สั้น ๆ ง่าย ๆ แต่จากพื้นฐานของคนโลก ๆ ทำยากเอาการ

    ต้องพากเพียร ฝึกฝน ด้วยวิธีที่เหมาะกับจริตตนเอง เพื่อสร้างสติ

    เพราะสติก็คือแสงนำทาง

    การดำเนินชีวิตในโลก เปรียบกับการเดินฝ่าความมืด ในกรณีที่เรายังเป็นคนของโลก คลุกเคล้าด้วยมิจฉาทิฏฐิ ชีวิตขับเคลื่อนด้วยกิเลสตัณหาเป็นปรกติ

    การกลับเข้ามาศึกษาตัวเอง จะด้วยวิธีการใดก็ตาม จะเป็นเหตุให้ชีวิตมีทิศทาง ไม่สะเปะสะปะ

    การภาวนาสร้างสติให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ย่อมนำเรามุ่งสู่ทางหลุดพ้น

    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ผลคือ จิตย่อมเป็นกลาง

    ดังที่อ.สุภีร์ ทุมทอง ได้บรรยายไว้ว่า

    "ผู้ที่มีจิตเป็นกลางอย่างสมบูรณ์ที่สุดก็คือพระอรหันต์ ท่านเรียกว่า ฉฆังคุเบกขา มีอุเบกขาในอารมณ์ที่รับรู้ทางทวารทั้ง ๖ อารมณ์มาปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ท่านก็ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่เกิดความยินดียินร้าย ท่านมีปัญญา ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ ในโลกแล้ว"

    เช่นนี้ คือผลจากสภาวะหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว หลุดพ้นได้ด้วยดีแล้ว

  • ?
    Lv 6
    9 ปี ที่ผ่านมา

    ตอบว่า จริงหรือ??

    หาต่อนะ

    เมื่อคุณกดส่งคำตอบ

    คุณใช้นิ้วไหนกดครับ ???

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    3 วลีที่ว่านี้ขอเปรียบเทียบว่าเป็นอันเดียวกัน

    - เปรียบเสมือนไข่ที่แม่ไก่ตกไข่ออกมาแล้ว

    - ปฏิบัติอย่างไร คิดว่าผู้ถามมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากกว่าผู้ตอบด้วยซ้ำ

    - ไม่มีผล เพราะที่สุดของการหลุดพ้น ไม่มีอะไรจะเกิดจะดับอีกแล้ว

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ครึ ครึ ครึ

    ในพุทธศาสตร์เถรวาท สอนให้เรารู้ว่า กระบวนการรับรู้โลกภายนอก หรือประสบการณ์ทางโลกที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา มักถูกปรุงแต่งด้วย"สัญญาซ้อนเสริม"(ฮา) ทั้งที่ถูกต้องตามความจริงที่เรียกว่า"ปปัญจสัญญา" ซึ่งปปัญจสัญญาดังกล่าวนี้(ทึกทักว่า..หลุดพ้นแล้ว ได้ดี ด้วยดี ฯลฯ) เป็นสัญญาวิปลาส(ความคิดที่ผิดเพี้ยน) และทิฏฐิวิปลาส(ความเห็นหรือความเชื่อที่ผิดเพี้ยน) (องฺ.จตุกฺก.21/49/79)

    การรับรู้ที่ถูกต้องที่เป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนาจึงเป็นการรับรู้สิ่งต่างๆตามที่สิ่งเหล่านั้นเป็นจริง(หลุดพ้นแล้ว ได้ดี ด้วยดี ฯลฯ) คือ การมองเห็นความเป็นจริงตามที่มันเป็นจริงๆ ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า"ยถาภูตญาณทัศนะ"ซึ่งบุคคลที่จะเห็นอย่างมียถาภูตญาณทัศนะได้อย่างสมบูรณ์แบบ(หลุดพ้นแล้ว ได้ดี ด้วยดี ฯลฯ) ก็คือพระอรหันต์นั่นเอง(ฮา)

    จากที่กล่าวมา ความจริง(หลุดพ้นแล้ว ได้ดี ด้วยดี ฯลฯ)ที่มนุษย์เข้าใจเป็นความจริงที่อยู่ภายใต้การปรุงแต่งของความคิด หรือจิตของมนุษย์ทั้งนั้น(ฮา) ดังนั้น ความจริงแท้หรือความจริงของธรรมชาติตามที่มันเป็นจริงๆ(หลุดพ้นแล้ว ได้ดี ด้วยดี ฯลฯ) จึงอยู่เหนือภาษา หรือบัญญัติที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในการสื่อสาร(ฮา)

    ยิ่งไปกว่านั้น ความจริงแท้(หลุดพ้นแล้ว ได้ดี ด้วยดี ฯลฯ) ยังอยู่เกินวิสัยของตรรกวิทยา(การคิดตามหลักเหตุผ��¸¥) เพราะตรรกวิทยายังต้องอาศัยภาษา(ฮา) และความคิดของมนุษย์ ทำให้ไม่สามารถไปเกินเลยประสบการณ์(หลุดพ้นแล้ว ได้ดี ด้วยดี ฯลฯ) ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของความคิด และภาษา(แง่ม แง่ม แง่ม..นี่ก็ภาษา ฮา..)

    ครึ ครึ ครึ สรุป ก็คือ มันเป็นสภาวะวิสัย ต้องทำเอง และรู้เองได้เท่านั้น ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถอรรถาธิบายถึงความหมายได้(ฮา)

    จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะเกิด ก็ยึดตามแนวทางที่มีผู้กรุยทางให้แล้วหลายทางด้วยกันตามสติ และวิสัยที่มีอยู่(อานาปาณสติ สติปัฏฐาน 4 เป็นต้น) เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

    เมื่อเกิดแล้ว ผลเป็นอย่างไร ก็ฮา..ซิครับ เพราะยังไม่ได้เป็นอรหันต์นิ จาไปรู้ฤา(ฮา)

    แหล่งข้อมูล: รศ.ดร.วัชระ งามวิจิตรเจริญ ; สมการความว่าง
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    9 ปี ที่ผ่านมา

    งงเด้อค่ะ คริสตอบตามความเข้าใจนะคะ จิตหลุดพ้นคือไม่มีพันธะทางกิเลสตัณหาอุปาทาน จะพ้นได้ด้วยดีหรือดีแล้วมันก็คือการสำเร็จเช่นกันค่ะ

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    คนเขียน เข้าใจ หรือว่า เขียนเพราะคิดว่าเข้าใจ น๊อ

    ไม่รุ้สึกถึง กิเลสแล้วหรือยังน๊อ รู้สึกถึงกิเลสหรือยังน๊อ กายหลีกออกจากกาม หรือยังน๊อ เข้าๆ ออก จากสิ่งที่เข้าใจได้ยังน๊อ

    ทำสมาธิ นิ่งสงบ ไม่ห่วงไม่วิตกไม่วิจารณ์ เอาแค่นี้ก่อนน๊อ

    ทำได้ก็ อิ่มปิติใจ ตลอดมั้งน๊อ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    9 ปี ที่ผ่านมา

    ขอให้คุณเจริญในธรรม.....สาธุ....

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ขอบคุณค่ะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้