Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
ตัณหาอีกประการชื่อว่าอะไร?
เราทั้งหลายคุ้นเคยกับสายปฏิจจสมุปบาทที่เริ่มจากอวิชชา จนไปจบที่ทุกข์ ซึ่งตัณหาในปฏิจจสมุปบาทสายนี้ เป็นตัณหาประการหนึ่ง ที่เป็นมูลในวัฏฏะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน
ยังมีตัณหาอยู่อีกประการหนึ่ง
ขอถามว่า ตัณหาอีกประการ ชื่อว่าอะไร และ สายการเกิดเป็นอย่างไร
เราทั้งหลายคุ้นเคยกับสายปฏิจจสมุปบาทที่เริ่มจากอวิชชา ไปจบที่ทุกข์ ซึ่งตัณหาในปฏิจจสมุปบาทสายนี้ เป็นตัณหาประกา��หนึ่ง ที่เป็นมูลในวัฏฏะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เรียกว่า วัฏฏมูลตัณหา ยังมีตัณหาอีกประการหนึ่ง เรียกว่า สมุทจารตัณหา ตัณหาที่ฟุ้งขึ้น
ตัณหา ๒ ประการนี้ พระพุทธองค์ตรัสเมื่อพระอานนท์กราบทูลว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง (a) แต่กลับปรากฏกับท่านราวกับเป็นธรรมง่ายๆ
%
ได้ตรัสห้ามพระอานนท์ และตรัสต่อว่า เพราะไม่รู้แจ้งปฏิจจสมุปบาท หมู่สัตว์จึงเหมือนปมด้ายยุ่ง เมื่อตรัสปฏิจจสมุปบาทสายที่เราคุ้นเคยกันแล้ว จ
จึงได้ตรัสต่ออีกว่า
[๑๐๓] อานนท์ ด้วยเหตุนี้แล
เพราะอาศัยเวทนา ตัณหา จึงมี
เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา(การแสวงหา)จึงมี
เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะ(การได้) จึงมี
เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงมี
เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) จึงมี
เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงมี
เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง)จึงมี
เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ(ความตระหนี่) จึงมี
เพราะอาศัยมัจฉริยะ อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงมี
เพราะอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศาสตรา
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า "มึง มึง" การพูด
ส่อเสียด และ%
และการพูดเท็จจึงมี
ที.มหา.(แปล) ๑๐/๑๐๓/๖๑
เมื่อตรัสอธิบายแล้ว ได้ตรัสต่อว่า
"อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิดและปัจจัยแห่งปริเยสนาก็คื%
ก็คือตัณหานั่นเอง
อานนท์ ธรรม ๒ อย่างนี้ ทั้ง ๒ ส่วน (b) รวมลงเป็นอย่างเดียวกับเวทนาด้วยประการฉะนี้"
ที.มหา.๑๐/๑๑๒/๖๔
(a) ลึกซึ้ง หมายถึงลึกซึ้งโดยอาการ ๔ คือ (๑) อรรถ (ผล) (๒) ธรรม (เหตุ) (๓) เทศนา (วิธีการแสดง) (๔) ปฏิเวธ (การบรรลุ) (ที.ม.อ.๙๕/๙๐)
(b) ธรรม ๒ อย่างนี้ ทั้ง ๒ส่วน ในที่นี้หมายถึงตัณหา ๒ ประการได้แก่ (๑) วัฏฏมูลตัณหา ตัณหาที่เป็นมูลในวัฏฏะ หมายถึงตัณหาที่เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน (๒) สมุทจารตัณหา ตัณหาที่ฟุ้งขึ้น หมายถึงตัณหาที่ท่านกล่าวว่า เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนาจึงมี เป็นต้น
ที.ม.อ.๑๑๒/๑๒๒
ยังมีปฏิจจสมุปบาทอยู่อีกหลายแบบ ท่านพุทธทาสได้รวบรวมไว้ในหนังสือชุดจากพระโอษฐ์ เล่ม "ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์"
4 คำตอบ
- ไม่ประสงค์ออกนาม9 ปี ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
"ความอยาก"
หากโกอินเตอร์แล้ว จะเรียกกันว่า Passion ซึ่งจะเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา พอมันโกอินเตอร์แล้ว มันก็คือ passion วึ่งล้วนตั้งต้นจากอวิชชา ไปจบลงที่ทุกข์ ด้วยกันทั้งสิ้น ดับอวิชาลงได้ จะมีpassionกี่ตัวกี่กองในโลกก็ไม่สำคัญ อวิชาดับ passion ย่อมไม่เกิด "อวิชาดับตัณหาย่อมไม่เกิด ตัณหาไม่เกิดทุกข์ย่อมไม่มี"
แหล่งข้อมูล: ปีใหม่นี้ ขอให้เจริญในธรรม ครับ - The KingdomLv 69 ปี ที่ผ่านมา
ครึ ครึ ครึ เจ้าแห่งหลักการ ปฏิจสมุปบาท บาทไหนอีกนี่(ฮา)
หากถามถึงสายการเกิด ควรมุ่งตามหลักอิทัปปัจยตาดีกว่า เพราะสามารถอธิบายถึงเหตุผลในการเกิดได้
อีกหน่อยก็มีตัณหาอีกสายนึงจนได้(ฮา) แบ่บเล่าต่อๆกันมา คนที่หนึ่งบอกตกกะไดเขาไม่เป็นไรแค่เคล็ดขัดยอกเท่านั้น คนที่สองบอกว่ามีคนตกกะไดขาอาจจะหัก คนที่สามขาหักเลย คนที่สี่ขาหักอยู่โรงพยาบาล ฯลฯ จนถึงคนสุดท้ายว่ามีคนตกกะไดคอหักตาย(ฮา)
ตัณหามี 3 ประการเท่านั้น คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภาวตัณหา
ครึ ครึ ครึ ตัณหามันเกิดขึ้นมาจากไหน ต้องค้นหาเหตุมัน
เหตุมันเกิดจากอายตนะภายในและอายตนะภายนอกมาสัมผัสกัน
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส ใจรู้ธรรมารมณ์
(หาใช่ปฏิจจสมุปบาทที่ตั���งกันเองภายหลัง เป็นคนละเรื่องเดียวกัน ฮา)
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้สำรวมอินทรีย์ทั้งหก
คือสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ให้เพียรสำรวม เพียรละ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย
ทำจิตให้เป็นกลางวางเฉยต่ออารมณ์ นี่เรียกว่าการดับตัณหา
การทำความเพียร การสำรวมและการทำความดีทุกอย่างเพื่อละตัณหา นี้แหละเป็นทางมรรค
เมื่อมีปัญญา เห็นความเกิดขึ้น ความดับไปของสังขารทั้งหลายทั้งปวง
เห็นแน่ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เป็นเพียงธาตุ 4 มาประชุมกันเข้า แล้วก็แตกสลายไปอย่างนี้แต่ไหนแต่ไรมา
ฐิติธรรมมีการตั้งขึ้น มีอยู่ แล้วดับไป พิจารณารู้เท่าทันในสิ่งเหล่านี้ไม่หวั่นไหว
เรียกว่า นิโรธ คือผู้วางเฉยต่ออารมณ์ ดังนี้แหละ(คล้ายๆแต่ไม่ยักกะเหมือน ฮา)
- ไม่ประสงค์ออกนาม9 ปี ที่ผ่านมา
ฉันเรียนรู้ภาษาไทยไม่ควรตอบ
- ไม่ประสงค์ออกนาม9 ปี ที่ผ่านมา
ขอให้คุณเจริญในธรรม..สาธุ..