Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาว��์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมีอะไรบ้าง?

สัมมาทิฏฐินั้น เป็นหนึ่งในองค์มรรคทั้ง 8 จัดเป็นองค์มรรคที่สำคัญมาก เพราะหากไม่มีองค์มรรคนี้ องค์มรรคอื่นๆก็อาจไม่มีตามมา

สัมมาทิฏฐิเป็นปัญญาในระดับกลาง (ปัญญาในระดับต้นแฝงอยู่ในศรัทธา อันเป็นศรัทธาที่ไม่ใช่ศรัทธาแบบสีลัพพตปรามาส) เมื่อพัฒนาขึ้น จะกลายเป็นญาณ เป็นวิชชา (อันตรงข้ามกับอวิชชา) และ วิมุตติต่อไป

เมื่อองค์มรรคกลมเกลี่ยวกัน (โดยปกติ องค์สัมมาสมาธิมักมาเป็นองค์สุดท้าย) ก็จะหมุนวน แก่รอบขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ พัฒนาเป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตระ พัฒนาญาณ จากญาณที่เป็นโลกิยะ เป็นญาณที่เป็นโลกุตตระ มรรคมีองค์ 8 จึงเป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์จากปุถุชน ไปสู่กัลยาณปุถุชน จนสู่พระอริยะระดับต่างๆ

ขอถามว่า ก่อนที่จะเกิดสัมมาทิฏฐิได้ มีเหตุปัจจัยอะไร เกื้อหนุนให้เกิดสัมมาทิฏฐิในมนุษย์ค่ะ

อัปเดต:

เรียนคุณ นิ่งหลับคะ......

การรักษาศีล หากเป็นการรักษาแบบสีลัพพตปรามาส คือ รักษาตามๆกันไป เคร่งในศีลและวัตร โดยไม่รู้วัตถุประสงค์ของศีล หรือเพื่อหวังลาภยศ (เช่น เชื่อว่ารักษาศีลแล้วรวย) ก็จัดว่าไม่นำไปสู่ปัญญา และอาจนำไปสู่ความงมงายได้

แต่หากการรักษาศีลนั้น เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิ และเพื่อให้สมาธิเป็นบาทฐานของปัญญาอีกต่อหนึ่ง หรือเพื่อปิดกั้นกิเลสใหม่ไม่ให้เกิด เช่น (อินทริยสังวรศีล) จึงจะจัดว่าศีลที่รักษาประกอบด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญาค่ะ

อัปเดต 2:

.......................................

เรียนคุณ นิ่งหลับคะ......

การรักษาศีล หากเป็นการรักษาแบบสีลัพพตปรามาส คือ รักษาตามๆกันไป เคร่งในศีลและวัตร โดยไม่รู้วัตถุประสงค์ของศีล หรือเพื่อหวังลาภยศ (เช่น เชื่อว่ารักษาศีลแล้วรวย) ก็จัดว่าไม่นำไปสู่ปัญญา และอาจนำไปสู่ความงมงายได้

แต่หากการรักษาศีลนั้น เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิ และเพื่อให้สมาธิเป็นบาทฐานของปัญญาอีกต่อหนึ่ง หรือเพื่อปิดกั้นกิเลสใหม่ไม่ให้เกิด เช่น (อินทริยสังวรศีล) จึงจะจัดว่าศีลที่รักษาประกอบด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญาค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่มาร่วมแสดงความเห็นกัน

อัปเดต 3:

.............................

เรียน คุณ Somkuan

ขอบคุณสำหรับลิ้งค์ที่แนบนะคะ เป็นลิ้งค์ที่มีประดยชน์มากค่ะ

อัปเดต 4:

.......................

เรียน คุณ On-Ces คะ

ตัวอย่างสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะคือ เชื่อว่าทานที่ให้แล้วมีผล อย่างที่คุณบอกค่ะ เพราะเมื่อเรารู้ว่าทานมีผล หากเราทำทานเพื่อหวังผลบุญ ก็ย่อมได้บุญนั้นแต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้มี "ตัวตน" วนรับผลของบุญนั้นด้วย จึงไม่อาจพ้นไปจากวัฏฏสงสารได้

ส่วนสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตระที่เกี่ยวกับการทำบุญ คือ ทำบุญเพื่อฝึกการละ ให้คลายตระหนี่ เป็นเครื่องประดับจิต (คือให้จิตเกิดสมาธิได้ง่าย) หวังเพียงประโยชน์ต่อผู้อื่น ไม่ได้หวังให้มีผลตอบแทนแก่ตน เมื่อไม่ได้หวังผลตอบแทนต่อตน จึงไม่มีตัวตนวนเกิดไปรับผลแห่งบุญนั้น

มีพุทธพจน์เกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตระอย่างกว้างๆว่า

"ภิกษุ ท. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ไม่มี%

อัปเดต 5:

ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้น เป็นอย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโชฌงค์ และสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ภิกษุ ท. นี้ คือสัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค"

อุปริ.ม. ๑๔/๑๘๑/๒๕๖-๒๕๗

อัปเดต 6:

ขอบคุณสำหรับคำตอบของคุณ Sincere เช่นกันนะคะ

อัปเดต 7:

ขอบคุณคุณ ? และ คุณกุหลาบแดงด้วยนะคะที่ร่วมมาแสดงความเห็นกัน

............................................

ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐินั้น มี 2 คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ ตามที่พระสารีบุตรตอบพระมหาโกฏฐิกะในมหาเวทัลลสูตร

ส่วนสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะ มีวิมุตติเป็นอานิสงส์ นั้น มีองค์ธรรมที่สนับสนุนตามที่ปรากฏ ใน ม.มู (แปล) ๑๒/๔๕๒/๔๙๑-๔๙๒ คือ

ศีล (ในที่นี้หมายถึง ปาริสุทธิศีล อันเป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค)

สุตะ (ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ มีความหมายเท่ากับปรโตโฆษะ

สากัจฉา

สมถะ และ

วิปัส%E

อัปเดต 8:

ขอบคุณคุณ ? และ คุณกุหลาบแดงด้วยนะคะที่ร่วมมาแสดงความเห็นกัน

............................................

ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐินั้น มี 2 คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ ตามที่พระสารีบุตรตอบพระมหาโกฏฐิกะในมหาเวทัลลสูตร

ส่วนสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะ มีวิมุตติเป็นอานิสงส์ นั้น มีองค์ธรรมที่สนับสนุนตามที่ปรากฏ ใน ม.มู (แปล) ๑๒/๔๕๒/๔๙๑-๔๙๒ คือ

ศีล (ในที่นี้หมายถึง ปาริสุทธิศีล อันเป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค)

สุตะ (ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ มีความหมายเท่ากับปรโตโฆษะ

สากัจฉา

สมถะ และ

วิปัสสนา

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 10 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ขอยกข้อความจากพุทธธรรม (ฉบับเดิม) ของพระพรหมคุณาภรณ์ มาตอบค่ะ

    สัมมาทิฏฐิ เป็นองค���ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรม หรือพูดตามแนวไตรสิกขาว่า เป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาแบบพุทธ และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ แจ้งชัด เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

    มีพุทธพจน์แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ดังนี้

    ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ

    ๑. ปรโตโฆสะ "เสียงจากผู้อื่น" คำบอกเล่า ข่าวสาร คำชี้แจง อธิบาย การแนะนำชักจูง การสั่งสอน การถ่ายทอด การได้เรียนรู้จากผู้อื่น

    ๒. โยนิโสมนสิการ "การทำในใจโดยแยบคาย" การพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า การใช้ความคิดสืบสาวตลอดสาย การคิดอย่างมีระเบียบ การรู้จักคิดพิจารณาด้วยอุบาย การคิดแยกแยะออกดูตามสภาวะของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ

    ปัจจัยสองอย่างนี้ ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

    สำหรับคนสามัญ ซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น และคล้อยไปตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้

    ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่กระนั้น ก็อาจต้องอาศัยคำแนะนำที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม

    การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ ด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือวิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสำคัญ เมื่อนำมาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนำชักจูงสั่งสอนอบรมที่ได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความสามารถ และใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล

    ดังนั้น ในระบบการศึกษาอบรม จึงจำกัดให้ได้ปรโตโฆสะที่มุ่งหมายด้วยหลักที่เรียกว่า กัลยาณมิตตตา คือความมีกัลยาณมิตร

    ส่วนปัจจัยที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นแกนหรือองค์ประกอบหลักของการพัฒนาปัญญา ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร

    เมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่า

    กัลยาณมิตตตา (ปรโฆโตสะที่ดี) เป็นองค์ประกอบภายนอก และ

    โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน

    ...

    ๑.ความมีกัลยาณมิตร

    กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพียงแค่เพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญ แต่หมายถึง บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยเหลือ บอกช่องทาง ให้ดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึก ศึกษาอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ยกตัวอย่างไว้ เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนำเป็นที่ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า (วิสุทฺธิ. ๑/๑๒๓ ถึง ๑๒๕)

    ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมีกัลยาณมิตรนี้ จัดว่าเป็นระดับความเจริญปัญญาในขนั้นศรัทธา

    ...

    ๒.โยนิโสมนสิการ

    ...

    เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาปัญญา โยนิโสมนสิการ อยู่ในระดับที่เหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เิร่ิมใช้ความคิดของตนเเองเป็นอิสระ

    ส่วนในการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการเป็นการฝึกการใช้ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขึ้นสำคัญในก��รสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์เป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนำไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่างแท้จริง

    ...

    กล่าวโดยสรุป สำหรับคนทั่วไป ผู้มีปัญญายังไม่แก่กล้า ยังต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น การพัฒนาปัญญา นับว่าเริ่มต้นจาก องค์ประกอบภายนอก คือความมีกัลยาณมิตร สำหรับให้เกิดศรัทธา (ความมั่นใจด้วยเหตุผลที่ได้พิจารณาเห็นจริงแล้ว) ก่อน

    จากนั้น จึงก้าวมาถึงขัั้น องค์ประกอบภายใน เริ่มแต่นำความเข้าใจตามแนวศรัทธาไปเป็นพื้นฐาน ในการใช้ความคิดอย่างอิสระ ด้วยโยนิโสมนสิการ ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และทำให้ปัญญาเจริญยิ่งขึ้น จนกลายเป็นญาณทัสสนะ คือ การรู้การเห็นประจักษ์ ในที่สุด*

    ลำดับอาหารของวิชชาและวิมุตติ การเสวนาสัตบุรุษ --> การสดับเล่าเรียนสัทธรรม--> ศรัทธา--> โยนิโสมนสิการ ฯลฯ

    ...

    โดยสรุป สัมมาทิฏฐิ ก็คือความเห็นที่ตรงตามสภาวะ คือเห็นตามที่สิ่งทั้งหลายเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น

    การที่สัมมาทิฏฐิจะเจริญขึ้น ย่อมต้องอาศัยโยนิโสมนสิการเรื่อยไป เพราะโยนิโสมนสิการช่วยให้ไม่มองสิ่งต่าง ๆ อย่างผิวเผิน หรือมองเห็ฯเฉพาะผลรวมที่ปรากฏ แต่ช่วยให้มองแบบสืบค้นแยกแยะ ทั้งในแง่การวิเคราะห์ ส่วนประกอบที่มาประชุมกันเข้า และในแง่การสืบทอดแห่งเหตุปัจจัย ตลอดจนมองให้ครบทุกแง่ด้าน ที่จะให้เห็นความจริิง และถือเอาประโยชน์ได้ จากทุกสิ่งทุกอย่างที่ประสบหรือเกี่ยวข้อง

    การมองและคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ ทำให้ไม่ถูกลวง ไม่กลายเป็นหุ่นที่ถูกยั่วยุ ปลุกปั่น และเชิด ด้วยปรากฏการณ์ทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และคตินิยมต่าง ๆ จนเกิดเป็นปัญหาทั้งแก่ตนและผู้อื่น แต่ทำให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง คิดตัดสินและกระทำการต่าง ๆ ด้วยปัญญา ซึ่งเป็นขึ้นที่สัมมาทิฏฐิส่ผลแก่องค์มรรคข้อต่อ ๆ ไป เร่ิมทำลายสังโยชน์ อันมีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เป็นต้น

    แหล่งข้อมูล: มี ผังความคิด ของ ภก.ประชาสรรณ์ ที่สรุป โยสิโสมนสิการ จากหนังสือคุยกันเรื่องความิคด นพ.ประเวศน์ วะสี ที่น่าสนใจตามลิ๊งค์ค่ะ http://www.prachasan.com/100maps/yonisomanasikarn.... * การรู้การเห็นประจักษ์นั้นมี ๒ ขั้น และพระพุทธศาสนายอมรับว่าทั้ง ๒ ขั้นนั้น เป็นสัจจะ คือเป็นความจริงด้วยกันทั้งนั้น แต่มีความหมายและคุณค่าทางปัญญาต่างกัน ๑.การรู้การเห็นประจักษ์ เท่าที่เป็นไปทางประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นสมมติสัจจะ สำหรับการหมายรู้ร่วมกันและใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน (conventional or relative truth) ๒.การรู้การเห็นประจักษ์ ด้วยปัญญาหยั่งรู้สภาวะของสิ่งเหล่านั้นว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น เป็นปรมัตถสัจจะ สำหรับรู้เท่าทันภาวะของสิ่งทั้งหลาย มีชีวิตที่เป็นอิสระ ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องตามความหมายของมันมากที่สุด (ultimate or absolute truth) แต่ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม พุทธศาสนายอมรับความจริง เฉพาะด้วยการรู้การเห็นประจักษ์เท่านั้น
  • on-ces
    Lv 5
    10 ปี ที่ผ่านมา

    ขออธิบายเผื่อผู้ไม่ทราบนะคะ

    เมื่อพูดถึงสัมมาทิฎฐิมีหลายมุมมอง ในมุมของมโนสุจริต อันเป็นความเห็นถูก 10 ข้อ

    เช่น เห็นว่าการให้ทานมีผลจริง การบวงสรวงมีผลจริง ... ข้อสุดท้ายคือ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง

    หรือหมายถึง ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 ที่กำลังถามกันอยู่นี้ค่ะ

    ตัวอย่างพระสูตรที่พระสารีบุตรแสดงแก่เหล่าภิกษุต่อหน้าพระพักตร์

    ซึ่งพระสารีบุตรกล่าวว่าด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอถึงจะเรียกว่ามีสัมมาทิฏฐิ

    (คือทำอย่างไรจะชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ)

    ...ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเหง้าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม…

    ตัวที่รู้นี้นอกจากุศลและอกุศลก็ยังมีข้ออื่นอีก(อ่านเต็มในลิงค์ 1) ซึ่งรวมอยู่ในหมวดสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

    หรือในพระสูตรกัจจานโคตรสูตร

    ...พระผู้มีพระภาคได้ตร��¸±à¸ªà¸§à¹ˆà¸² ดูกรกัจจานะ โลกนี้โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือความมี ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี

    โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบาย อุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบาย และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้น มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลกัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ … ดูฉบับเต็มในลิงค์ 2

    สัมมาทิฎฐิแบบพระอรหันต์จึงไม่กลับกลอกอีก

    เพราะเต็มบริบูรณ์ด้วยปัญญาและสติสมาธิขณะเกิดอริยมรรค

    สัมมาทิฎฐินั้นอาจกล่าวถึงในหลายพระสูตร หลายบทหลายตอน

    เพราะสมัยก่อนนั้นมีความเชื่อกันอย่างมากมายแม้พรามหมณ์ด้วยกันเอง

    เช่น โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง กรรมมีจริงหรือไม่ ฯลฯ

    จึงพากันสงสัยและข้องติดด้วยความเห็นต่างๆ

    พระพุทธฯจึงนำมาตรัสในรูปของพระสูตรที่พลิกแพลง

    บางตอนกล่าวกับผู้เริ่มทำทานถือศีลก็ยกสัมมาทิฎฐิ 10 ให้เขาเริ่มด้วยกุศลก่อน

    บางตอนตรัสกับผู้แสวงหานิพพานก็ตรัสในแนวที่ปฏิบัติตรงและถูกกับจริตผู้ฟัง

    บางตอนตรัสเป็นหนทางเบื้องต้นเพื่อมุ่งสู่พระนิพพาน

    หรือบางตอนก็เป็นผลแห่งการปฏิบัติ

    ธรรมะนั้นดิ้นได้หลายทาง คำศัพท์สักแต่ว่าเป็นบัญญัตที่พาให้คนเข้าถึงธรรม

    โดยรวมความคือรู้รูปนามอย่างมีสติสัมปชัญญะ

    แล้วถึงพร้อมด้วยมรรคมีองค์แปด ก็เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิค่ะ

    ผิดพลาดขออภัยค่ะ

    -----------------------------------------------------------------

    ขอบคุณป้าแซลลี่ที่แก้เรื่องโลกุตรธรรมให้นะคะ

    พระสูตรที่แปะไว้ยังไม่มีเวลาทำความเข้าใจเลย

    ไว้ตอนเย็นๆ กลับมาจากไปช่วยคนน้ำท่วมแล้วจะมาเปิดพจนานุกรมนะคะ

    ------------------------

    ตอนนี้มานั่งรออ่านเฉลยแล้วค่ะ ^_^

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    คิดว่า ปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะทำให้มนุษย์เกิด "สัมมาทิฏฐิ" หรือ การคิดดี การคิดชอบ" ก็คือ "ความตั้งใจ" และ"ความตั้งมั่น" นะคะ

    คืออย่างเช่น วันหนึ่ง คนเรามีความตั้งใจว่า วันนี้จะไม่คิดอยากมี อยากได้ในสิ่งที่ไม่เป็นของเรา หรือไม่มีความจำเป็น วันนั้นๆ แม้เพื่อนๆ จะชวนเราไปเดินห้างใหญ่โต มีสิ่งของล่อตา ล่อใจมากมาย แถมยังมีการลดราคาเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงโปรโมชั่น เพื่อนๆ ก็ซื้อกันใหญ่ และหันà��¡à¸²à¸Šà¸§à¸™à¹€à¸£à¸²à¸‹à¸·à¹‰à¸­à¸­à¸µà¸à¸”้วย แต่เนื่องจากเราได้มีการตั้งใจเอาไว้แล้วว่า ช่วงนี้เราจะประหยัด ไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นเป็นอันขาด เราก็อาจจะตอบเพื่อนๆ ไปว่า บังเอิญที่บ้านมีใช้อยู่แล้ว วันนี้ไม่อยากซื้อเพิ่ม เพราะอันเก่าก็ยังใช้ได้ดีมากอยู่

    ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุจากการที่เรามีการตั้งมั่น หรือยึดมั่น ถือมั่นในการปฏิบัติในสิ่งที่เป็นสัมมาทิฏฐิ นะคะ

  • ?
    Lv 5
    10 ปี ที่ผ่านมา

    สัมมาทิฏฐิเนี่ยมันเปรียบได้เท่ากับความเอาใจใส่ของมนุษย์เรา หากเราปฏิบัติอย่างรับผิดชอบและต่อเนื่องเราก็จะพัฒนาความสามารขึ้นได้ ใรมรรคค์มีองค์ 8 มิได้ประกอบขึ้นเฉพาะสัมมาทิฏฐิเท่านั้น แต่แต่ละส่วนย่อมสัมพันธ์กัน แต่ที่สำคัญคือจะต้องมีปัญญาเป็นตัวกำกับ ดังนั้นพื้นฐานของปัญญาคืออไร? ดิฉันขอตอบตามความเข้าใจของตนเองว่า ที่มีคนพูดว่าปัญญานั้นไม่ได้เกิดจากศิล ดิฉันเห็นว่าไม่เป็นความจริง เพราะศิล และสมาธิ เป็นทางทำให้เกิดสติและปัญญา ศาสนาพุทธเน้นการปฏิบัติมิได้เน้นความเชื่อเพราะฉนั้น จะต้องปฏิบัติก่อนจึงจะเห็นดังเช่นกงล้อที่หมุน เหมือนเช่นพลังงาน ===>พลังงานจล===>พลังงานกล==>พลังงานศักดิ์

    สรุปคือ เชื่อ ===>ศรัทธา ===> ศิล===> สมาธิ ===> สติ ===>ปัญญา

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    มีความเชื่อ อย่างมั่นคง จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทำทุกสิ่งสำเร้จค่ะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    10 ปี ที่ผ่านมา

    ไม่ทราบ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    10 ปี ที่ผ่านมา
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้