Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ปฏิบัติอย่างไรจึงจะ"ตื่น"ได้?

ชาวพุทธเราคุ้นเคยกับคำว่า "รู้ตื่น รู้เบิกบาน" เป็นอย่างดี

หากการที่จะตื่นได้นั้น เราต้องมีพร้อมในหลายๆด้าน เช่น ศรัทธา สติ สัมปชัญญะ ฉันทะ ปัญญา

ขอถามว่า วิธีฝึก หรือ การปฏิบัติ เพื่อให้เป็นบุคคลที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า "ผู้ตื่นด้วยดี" มีอะไรบ้างค่ะ

อัปเดต:

และการปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ตรัสเช่นนั้นเพื่อประโยชน์อะไรค่ะ

อัปเดต 2:

.........................................

เนื่องจากพระพุทธองค์ตรัสกับมาร ใน สุปติสูตร ว่า

" ผู้ไม่มีตัณหาดุจข่ายซึ่งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

ที่จะนำไปสู่ภพไหนๆ ถึงหลับอยู่ ก็ชื่อว่าตื่น

เพราะอุปธิทั้งปวงสิ้นไป"

จึงพอจะอนุมานได้ว่า อาการที่เรียกว่า "ตื่น" คืออาการดังกล่าว

ส่วนวิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ทรงตรัสเรียกผู้ปฏิบัติว่า "ผู้ตื่นด้วยดี" นั้น ได้ตรัสกับพระราชา และนายทารุสากฎิกะพร้อมครอบครัวไว้ใน ทารุสากฏิกวัตถุ

และ ผลของการปฏิบัติ ตรัสไว้ในหลายๆสูตร ดังที่ปรากฏในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค เป็นต้น

อัปเดต 3:

.....................................................

ส่วนการมีสติ และมีสัมปชัญญะ ยังไม่เรียกว่า"ผู้ตื่น" ได้ เนื่องจากยังไม่หมดเวร ดังพุทธพจน์ที่ตรัสกับมณิภัททยักษ์ ใน มณิภัททสูตร ว่า

"ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ

คนมีสติย่อมได้รับความสุข

ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์

แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้นจากเวร

ส่วนผู้ใดมีใจยิน%

อัปเดต 4:

.....................................................

ส่วนการมีสติ และมีสัมปชัญญะ ยังไม่เรียกว่า"ผู้ตื่น" ได้ เนื่องจากยังไม่หมดเวร ดังพุทธพจน์ที่ตรัสกับมณิภัททยักษ์ ใน มณิภัททสูตร ว่า

"ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ

คนมีสติย่อมได้รับความสุข

ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์

แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้นจากเวร

ส่วนผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบีนตลอดทั้งวันและคืน

และเป็นส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์

ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใครๆ"

อัปเดต 5:

................................................

ขอเฉลยคำถามส่วนแรกที่ว่า ปฏิบัติอย่างไร จึงเรียกว่า "ผู้ตื่นด้วยดี" นะคะ

นั่นคือ

1 ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน

2 ระลึกถึงพระธรรมเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน

3 ระลึกถึงพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน

4 มีใจยินดีในการไม่เบียดเบียนเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน

5 มีใจยินดีในภาวนา (สมถะและวิปัสสนา) เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ยังเหลือคำถามอีกส่วนค่ะ ว่าเมื่อระลึกอย่างนั้นเป็นนิตย์แล้ว จะ "ตื่น" ได้อย่างไร

อัปเดต 6:

(จากทารุสากฏิกวัตถุ)

อัปเดต 7:

เรียนคุณ On-Cess ค่ะ

ผู้ "ตื่น" คือผู้ที่ตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทได้แล้ว (ปฏิจจสสมุปบาทไม่ได้เริ่มต้นที่อวิชชาอย่างที่เราได้ยินกันบ่อยๆเพียงอย่างเดียว บางทีก็เริ่มจากจุดอื่น เช่น การตริตรึกได้) แต่การมีสติ มีสัมปชัญญะ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีปฏิบัติเท่านั้นค่ะ เช่น มีสติรู้ชัดว่าเกิดความโกรธขึ้นแล้ว จึงดับความโกรธลงได้ จิตก็ไม่ขุ่นมัว กลับมาเป็นปกติ แต่ เหตุที่ทำให้โกรธ ให้เกิดความยึดถือมั่นจนเกิดเป็นภพ ชาติ ยังไม่ได้ดับค่ะ จึงสามารถโกรธในเรื่องเดิมได้อยู่ตลอด เพียงแต่ โกรธแล้วดับได้ ไม่ก่อให้เกิดเรื่องราวตามมา หรือเกิดกิเลสใหม่ตามมา แต่กิเลสเก่ายังไม่ได้ถูกรื้อถอน

(ท่านพุทธทาสเคยยกตัวอย่าง ถ้าเราไม้ไปแหย่หมา หมาจะปัดปลายไม้ออก แต่ถ้าเราเอาไม้ไปแหย่เสือ เสือจะกระโจนเข้าหาคนแหย่ ซึ่งก็คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กับที่ต้นเหตุค่ะ)

ในโพชฌงค์ 7 สติเป็นเพียงจุดเริ่มของกระบวนการที่จะเกิดตามมาเป็นชุด (สติ - ธัมมวิจย - วิริยะ - ปิติ - ปัสสัทธิ - สมาธิ - อุเบกขา) เพื่อจะปล่อยวางธรรมต่างๆเท่านั้นค่ะ

อัปเดต 8:

เหตุที่ผู้ที่การปฏิบัติดังกล่าว จึงเรียก���ด้ว่าเป็นผู้ตื่น เนื่องจาก

- การระลึกถึงพระพุทธองค์อยู่เป็นนิตย์ ทำให้เชื่อมั่นในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ว่าพระองค์เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา แต่ก็สามารถทำพ้นวัฎฎะไปได้ ด้วยความพยายามของมนุษย์ จึงพ้นจากการอ้อนวอนขอพรจากสิ่งต่างๆ และพยายามให้พ้นวัฏฏะด้วยตนเอง

- การระลึกถึงพระธรรมเป็นนิตย์ ทำให้เลื่อมใส น้อมธรรมเข้ามาในตน เมื่อปฏิบัติตามธรรม แล้ว ยิ่งเห็นผล จึงตั้งตนไว้ในธรรม อันยิ่งทำให้กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น

- การระลึกถึงพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทำให้มั่นใจในอริยบุคคลทั้ง 8 เป็นกำลังใจให้ปฏิบัติตาม และบำรุงพระสงฆ์ อันนอกจากจะเพื่อตนแล้ว ยังเพื่อบำรุงผู้สืบพระศาสนา

- การระลึกถึงกายเป็นนิตย์ คือกายอันเป็นกองร่างกาย ในกายคตาสติ ทำให้คลายความยึดถือมั่นในรูปขันธ์ เห็นอนัตตาในตัวตน และกายคือกองลมหายใจในอานาปานสติ นอกจากจะเป็นการทำจิตให้สงบ ยังช่วยให้มีสัมปชัญญะ อันเปิดโอกาสแก่โพชฌงค์ 7 และฝึกอินทริยสังวร

- การมีใจยินดีในการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น จึงปฏิบัติในแนวทางที่ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เช่น มีศีลอันเป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ (ไม่ใช่ศีลแบบสีล

อัปเดต 9:

(ไม่ใช่ศีลแบบสีลพัตตปรามาส) มีการปฏิบัติตาม อปัณณกปฏิปทา (อินทรียสังวร - การสำรวมอินทรีย์, โภชเนมัตตัญญุตา - ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค, ชาคริยานุโยค - การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน) เป็นต้นซึ่งนอกจากจะเป็นการทำอกุศลธรรมให้ลดลง หรือป้องกันการเกิดอกุศลธรรมใหม่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนกุศลธรรมอีกด้วย เพราะทำให้โน้มไปสู่องค์ธรรมฝ่ายที่เป็นกุศลอื่นได้ เช่น การมีเมตตา(ในพรหมวิหาร 4) การมีใจยินดีช่วยเหลือกิจของผู้อื่น (สังคหวัตถุ 4) อันนอกจากจะฝึกตนแล้ว ยังช่วยให้สังคมเป็นสังคมที่มีการเกื้อกูลกัน เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน

- การมีใจยินดีในสมถะและวิปัสสนา ทำหมีการพัฒนาทั้งใจแง่ความตั้งมั่นของจิต และความก้าวหน้าของปัญญา มีความเพียรที่ไม่ท้อถอย เช่น ฝึกสติปัฏฐาน 4 อย่างสม่ำเสมอทั้งในอิริยาบถนั่งและทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

การปฏิบัติดังกล่าว หนุนส่งซึ่งกันและกัน มรรคที่ปฏิบัติ จึงหมุนวนจนสัมมาทิฏฐิค่อยๆเต็มรอบขึ้นเรื่อยๆ จนคลายความยึดถือมั่นในอายตนะ จึงไม่หลงใหลไปกับสิ่งเร้า

จึง “ตื่น” เพราะไม่ต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะอีกต่อไป

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    10 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    จิตที่ไม่ติดต่อกับสิ่งใด มีความสะอาดปราศจากอารมณ์ภายนอก มีสติสัมปชัญญะ รู้รอบคอบปลดปล่อยอารมณ์เสียได้

    แหล่งข้อมูล: คำสอนท่านพ่อลีวัดอโศการาม ความหมายของวิปัสสนา (อย่าเอาอารมณืมาเจือปนกับจิตใจ) จะถึงซึ่งโสดาบันและรวมไปจนถึงซึ่งนิพพาน
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    10 ปี ที่ผ่านมา

    มาอ่านค่ะ

    รออ่านคำตอบค่ะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    10 ปี ที่ผ่านมา

    ปฏิบัติตามศีล 5 อย่างเคร่งครัดก็น่าได้แล้วครับ

  • on-ces
    Lv 5
    10 ปี ที่ผ่านมา

    เดาว่าคำตอบของคำถามนี้ ตอบเองด้วยประสบการณ์ไม่ได้

    ต้องค้นพระสูตรมาตอบ ^_^

    ---------------------------------------

    สงสัยสอบถามค่ะ

    "ส่วนการมีสติ และมีสัมปชัญญะ ยังไม่เรียกว่า"ผู้ตื่น" ได้ เนื่องจากยังไม่หมดเวร ดังพุทธพจน์ที่ตรัสกับมณิภัททยักษ์ ใน มณิภัททสูตร"

    ในตอนที่ยกมานี้นี้พูดถึงเฉพาะสติ ทำไมการยังมีเวรจึงถือว่ายังไม่ตื่นค่ะ

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    คำถามของคุณ Aunty เป็นคำถามที่ดีมากค่ะ

    แต่จริง ๆ อิฉันแนะนำให้ถามครูอาจารย์ที่ท่านรู้จริง จะดีกว่าการถามจากผู้ที่รู้งู ๆ ปลา ๆ แล้วก็สอดแทรกความคิดเห็นของตนแทนคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ท่าน ซึ่งนั่นอาจทำให้เราไขว้เขวเข้าใจผิดบิดทางได้ค่ะ

    ที่อิฉันจะตอบนี่ ก็ตอบตามสิ่งที่เคยฟังมาปฏิบัติมา ซึ่งคงไม่สามารถอธิบายทั้งหมดได้ อิฉันขออธิบายคร่าว ๆ ย่อ ๆ นะคะ และขอให้คุณไปกราบเรียนถามครูอาจารย์ที่ท่านรู้จริงด้วยนะคะ ถ้ายังไม่ทราบว่าจะไปกราบเรียนถามครูอาจารย์รูปไหน อิฉันแนะนำให้ไปกราบพระอาจารย์สุชาติ ที่วัดญาณสังวราราม จังหวัด ชลบุรีค่ะ

    ถ้าถามว่าการรู้ตื่น รู้เบิกบานนั้น หมายถึงเราต้องมีสติ สติในทางธรรม คือ การรู้เท่าทัน จิตที่มักไหลหลงไปกับกิเลสทั้งหลาย และรู้อย่างทันทีทันใด เช่น เมื่อจิตคุณเกิดโทสะ สติของคุณจะเห็นทันที ว่าโทสะเกิดที่จิตคุณแล้ว (โทสะ จะเป็นภาวะจิตที่เห็นง่ายที่สุด เพราะมันสะเทือนรุนแรง ส่วนโมหะ หรือความหลง จะเป็นภาวะที่เห็นยากที่สุด)

    ถ้าคุณเห็นจริง ๆ ...ขอย้ำว่า..ต้องเห็นอย่างจริง ๆ นะคะ...จิตจะเกิดความสว่างขึ้นมา เรียกว่าจิตตื่น

    ภาวะความตื่นนี้ จะเกิดอยู่ ชั่วระยะเวลาสั้น ๆ แล้วดับไป ภาวะจิตตื่นนี้ ถ้าเป็นจิตของพระอรหันต์ท่านจะเกิดตลอดเวลา

    เมื่อจิตเคลื่อนไหวอีกครั้ง สติเราก็จะรู้ทันอีก ว่าจิตเราเกิดภาวะใด ๆ ขึ้น จิตของเรานั้นเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ในชั่วเวลาแค่ไม่กี่นาที จิตของเราเคลื่อนไหว ไม่รู้กี่สิบครั้ง ...

    ขออธิบายแค่ย่อ ๆ ละกันนะคะ ที่สำคัญส่วนที่จะสนับสนุนให้เราฝึกสติได้อย่างดีที่สุด คือ เราต้องมีศีลที่สมบูรณ์ และสมาธิที่ดี เพื่อความตั้งมั่นของจิตค่ะ เมื่อจิตคุ��¸“รู้ตื่นได้แล้ว คุณจะเกิดปัญญาทางธรรม และความเบิกบานตามมาในที่สุดค่ะ

    ขออนุโมทนากับข้อธรรมในสิ่งที่คุณตั้งใจเรียนรู้ด้วยนะคะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้