Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายในหมายถึงอะไร?

การพิจารณา เมื่อพิจารณาอยู่ จิตไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดของชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป

อยากถามว่า การที่จิตถูกเรียกว่า "ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน" นั้น คืออะไรค่ะ

อัปเดต:

จิตที่เรียกว่า “ตั้งมั่นอยู่ในภายใน” หมายถึงจิตที่ยินดีในเวทนาในรูปฌานค่ะ

ดังที่ทราบแล้วว่าฌานหนึ่งประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา, ฌานสอง – ปีติ สุข เอกัคคตา, ฌานสาม - สุข เอกัคคตา และฌาน 4 – อุเบกขา เอกัคคตา

เวทนาที่น่าหลงใหลที่สุด คือปีติ สุข นี้ เมื่อยินดีในเวทนา ก็สงบนิ่ง อยู่ในฌาน จึงปล่อยโอกาสที่จะได้ใช้จิตอันควรแก่การใช้งานทางปัญญาเพื่อการพิจารณาธรรม อันเป็นเหตุให้บรรลุธรรมที่สูงขึ้นไป จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ��ม้จะบรรลุวัตถุประสงค์ของสมถะกรรมฐาน แต่กลับเป็นอุปสรรคต่อการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างมาก

แต่หากเมื่อบรรลุฌานใดฌานหนึ่งแล้ว ไม่ยินดีในเวทนาในฌานเหล่านั้น ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ จึงน้อมจิตไปเพื่อพิจารณาธรรม

ดังที่ทราบดีอยู่แล้วว่า จิตที่เป็นสมาธิจะรู้เห็นได้ตามที่เป็นจริง จึงเป็นเหตุให้บรรลุธรรมที่สูงขึ้นไป จนไม่มีเหตุให้เกิดชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ได้ในที่สุด

ในอุทเทสวิภังคสูตร มีพุทธพจน์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน หากสนใจ เชิญแวะไปที่นี่นะคะ

http://portal.in.th/portals/nadrda2/pages/12798/

อัปเดต 2:

ขอเลือกคำตอบของคุณเจ็ดวันห้ากิโลเป็นคำตอบที่ดีที่สุดนะคะ เนื่องจากคำตอบใกล้เคียงความหมายมากที่สุดค่ะ

และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจต่อคำถามนี้ด้วยค่ะ

12 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ไม่ไปแช่อยู่ นิ่ง ๆ ข้างใน

    พอดีเมื่อเช้าอ่านข้อความที่ส่วนตัวเห็นว่า น่าจะสอดคล้องกับข้อความในคำถาม ขออนุญาตยกมาแบ่งปันนะคะ

    "ฌานสี่ตามวิถีทางธรรมชาติซึ่งก็ให้ผลสูงทางด้านพละกำลังทางใจ ทั้งรู้แจ้งเห็นจริง เป็นการเจริญสติตามธรรมชาติ ใหม่ ๆ คงยุ่งยากและท้อถอยบ่อย การละวิตก วิจาร คือ "รู้ตัว" และไม่คิดทั้งไม่กดข่ม อาจจะอุปมาดังนี้

    ชายคนหนึ่งเป็นนักว่ายน้ำที่ฉลาด ครั้นมาถึงริมฝั่งน้ำที่ไหลเชี่ยวและกว้าง เขาต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น เขาจะไม่ว่ายทวนน้ำซึ่งเป็นความโง่และเสียแรงเปล่าทั้งอันตรายโดยใช่เหตุ เขาจะไม่ว่ายตามน้ำเพราะอาจถูกน้ำกลบและจมได้ ทั้งไม่อาจข้ามฝั่งได้ด้วย ชายผู้นี้ย่อมว่ายเฉียง ๆ ไม่ตาม ไม่ต้าน อาศัยกระแสน้ำนั่นเองเป็นแรงส่ง เขาเพียงพยุงกายไม่ให้จม ว่ายข้ามไป ตามน้ำโดยเฉียง ๆ ไปเหนือน้ำแต่ก็ว่าย หาใช่เหาะไป ถึงฝั่งโดยปลอดภัย ใช้แรงน้อยแต่ใช้ศิลปะสูง และความตั้งใจแน่วแน่ อาศัยความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง ก็ถึงความไม่เปลี่ยนแปลง (ดังข้ามน้ำเชี่ยวลุถึงฝั่งได้) หากไม่มีความเปลี่ยนแปลงจะรู้แจ้งเห็นจริงไปได้อย่างไร แต่หากหมุนเคว้งคว้างไปในกระแสของความเปลี่ยนแปลงก็ไม่อาจถึงได้เช่นกัน

    ควรจะรู้ว่าในโลกแห่งปรากฏการณ์หามีอะไรจริงแท้ไม่ และพร้อมกันนั้นก็อย่ามัวไปหาความจริงนอกปรากฏการณ์ กล่าวคือ การมัวคิดผิด ๆ ว่าปรากฏการณ์เป็นสิ่งเลวหรือไม่ถูกต้อง ก็จะหลงสร้างสิ่งดี ถูกต้องขึ้น และหวังจะเข้าถึงให้ได้ นี้นับว่าสร้างกรงขังตัวเองแล้วค้นหาอิสระ เมื่อปรากฏการณ์อันผิดแผกมากมายหลากหลายลดแสงล่อลวงลง ลดความทึ่งตื่น ใส่ใจลงเท่าใด ก็จะเข้าสู่สภาพที่ไม่ต่าง ไม่เป็นสองยิ่งขึ้น การรู้ถึงปรากฏการณ์จากภายนอกจะสร้างรูปของความคิดแปลก ๆ นานา ครั้นรู้ทั่ว ความสงสัย ความทุกข์ใจ ความพึ่งตนเองไม่ได้ ความซ่องเสพกับทิฐิอุปาทานต่าง ๆ ก็สิ้นไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไรกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น ทุกสิ่งถูกปัญญาทำให้สะเทินหมดรูปเรื่องเฉพาะ หมดความสำคัญเฉพาะ(อัตตา) หมดความเด่นเป็นอัตตาไปเอง จิตสงบไปเอง เพราะรู้อันนี้ไม่ต้องทำอะไร "รู้ตัว" เท่านั้น ความเกียจคร้านทางสติปัญญา ความชอบยึดทิฐิ ชอบคลุก เสพอารมณ์เพื่อค้นหาอันติมะซึ่งล้วนเป็นภาระหนักของชีวิต ทำให้จิตใจหนักทึบสูญเสียปัญญา สูญเสียความว่องไวแคล่วคล่อง"

    ตัดตอนมาจาก วันเวลาใน ๔ ทวีป ของท่านเขมานันทะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขาดสติ และความเชื่อมั่น การมีสมาธิ ทำให้เกิดความคิดสับสน เกิดความขัดแย้งภายในจิตใจค่ะ

  • komet
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    แบบว่า"วอกแว่ก"ไม่มีสมาธิ+ไม่ตั้งใจในสิ่งที่ตัวเองกระทำอยู่.

  • Mor r
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ส่งความคิดออกไป คาดคะเน กับสิ่งที่ได้สัมผัส ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พิจารณาจากคำถาม เป็นเรื่องของการพิจารณา จะไม่รู้ด้วยการอ่าน

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    - จิตที่ตั้งมั่น คือจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูผู้ตื่นเป็นสมาธิที่เกื้อกูลกับการเจริญวิปัสสนา มีสภาวะคล้ายๆเรายืนอยู่บนบก แล้วเห็นของไหลมาในน้ำ ดอกไม้ลอยมาเรารู้ กิ่งไม้ลอยมาเรารู้ ลอยมาลอยไป เราอยู่บนบก เราดูอยู่ห่างๆ ใจดูอยู่ห่างๆ ไม่inเข้าไปในปรากฏการณ์นั้น

    -สภาวะที่จิตตั้งมั่น จิตจะตั้งตัวเป็นผู้รู้อยู่ห่างๆ มันจะไม่ in เข้าไปในปรากฏการณ์ เมื่อไม่ in เข้าไปในปรากฏการณ์มันจะเห็นได้ชัด

    จิตไม่ตั้งมั่น

    - คือจิตมันหาย ผู้รู้ผู้ดูหายไป กลายเป็นผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่งไป ก็เรียกว่าจิตมันขาดสมาธิ จิตไหลไปตามอารมณ์ เวลาดูลมหายใจจิตจะอยู่ที่ลมหายใจ เวลาดูที่ท้องจิตจะไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาคิดถึงเรื่องโน้นเรื่องนี้จิตจะไหลไปอยู่ในโลกของความคิด เรียกว่าจิตเราinเข้าไปในปรากฏการณ์

    -ถ้าเมื่อไหร่เรา in เข้าไปในปรากฏการณ์ เราจะเห็นปรากฏการณ์ไม่ชัด มองไม่ตรงความจริง ...ตัวอย่างที่ปรึกษาหรือหมอดูเขามองง่ายกว่าเราทั้งๆที่ไม่น่าเก่งกว่าเรา ไม่ได้รู้อะไรมากกว่าเรา ข้อมูลเราก็รู้เยอะกว่าเขาแต่เยอะจนถูกข้อมูลถมทับเอา จนมองอะไรไม่ออกเลย นี่แหละเราถึงต้องไปจ่ายค่าจ้างให้เขาดูเราเพราะจิตเราไม่ตั้งมั่น

    -ถ้าเราถอนตัวขึ้นมา เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์จิตก็จะตั้งมั่นมีสมาธิ คือจิตที่ถอนตัวออกมาเป็นผู้สังเกตการณ์เราจะเห็นโลกเป็นไปตามความเป็นจริง เห็นรูปเห็นนามเห็นกายตามความเป็นจริง ทุกอย่างผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เกิดแล้วดับทั้งสิ้นคือไตรลักษณ์ เห็นอย่างนี้ เห็นแล้วเห็นอีก ในที่สุดจิตจะวาง มีแต่ทุกข์ล้วนๆไม่รู้จะเอาไปทำไม มีแต่ของไม่เที่ยงไม่รู้จะเอาไปทำไม มีแต่ของที่ไม่ใช่เรา พึ่งพาอาศัยไม่ได้ น่าเบื่อหน่ายเพราะฉะนั้นจิตจะวางได้ด้วยการเดินปัญญา.... เดินปัญญาได้ก็ต้องมีการฝึกให้มีสติ ฝึกให้มีสมาธิขึ้นมา

    -หากจะสรุปโดยใช้คำง่ายๆก็คือเวลาเรานั่งสมาธิ “ขาขวาทับขาซ้ายมือขวาทับมือซ้าย กายตั้งตรง เป็นลักษณะกายหยาบภ��¸²à¸¢à¸™à¸­à¸ ส่วนกายภายในคือลมหายใจเรียกว่ากายละเอียด เมื่อนั่งไปเกิดเวทนาที่ขาเราก็แค่รู้ว่ามันเป็นเวทนาไม่ต้องเอาจิตเข้าไปอยู่กับมันเพราะมันคือไตรลักษณ์เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปไม่ใช่ตัวเขาตัวเรากำหนดรู้ด้วยปัญญาคือธรรม เมื่อเราฝึกจิตดีแล้วเราจะละวิตกละวิจารณ์ได้ไวคือเข้าสู่ฌานที่2”

    ......นี่แหละศีล....สมาธิ....ปัญญา......จิตตั้งมั่นมีสมาธิ...... กายในกาย.. เวทนา.. จิต.. ธรรม..........เดินปัญญา.......ห ยุ ด นิ่ ง................

    -จิตตั้งมั่นเป็นสภาวะธรรมจากปฐมฌานไปสู่ฌานที่2…3….4

    -หวังว่าคงได้คำตอบนะครับ

    แหล่งข้อมูล: ปฏิบัติบูชา
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยังไม่มีสมาธิเพียงพอ ที่จะไม่ไปคิดถึงสิ่งใด ยังติดอยู่กับอารมณ์ ความคิด ในขณะนั้น จึงไม่ตั้งมั่น

  • MI1
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    "ไม่ตั้งมั่นอยู่ภายใน" คือสภาวะขณะนั้น หากรู้เท่าทันก็จะควบคุมได้ หากไม่รุ้เท่าทันก็จะไหลไปตามกระแสนั้นๆ ได้ อาศัยการฝึกพิจารณา สำรวจ สติ เป็นสำคัญ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    นิพพานัง ปรมัต สูญญะ

    การเดินทางสู่ทางสายกลาง

    ไม่มุ่งไปปรุงแต่งอยู่ภายนอก

    ไม่ยึดติดอยู่ภายใน

    เมื่อไม่มีทั้งสองอย่าง

    ย่อมไม่มีหนทางหรือแดนเกิดของ ชาติ ชรา มรณะ และทุกข์

    น่าจะพอเข้าใจนะครับทุกสิ่งทุกอย่างเขาให้เราเข้าไปทำความรู้จักแล้วปล่อยวางซะอย่าไปยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    อย่างเช่นศีล สมาธิ ให้รับรู้ ให้ปฏิบัติแล้วสุดท้ายก็ให้ใช้ปัญญาพิจารณาแล้วจงปล่อยทิ้งชะ

    คุณก็จะพบกับ

    นิพพานัง ปรมัต สูญญะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    มันน่าจะเป็นกรรมฐานหลักสำคัญข้อนึงเลยนะ มันอยู่ที่ว่าคุณพิจารณาเรื่องอะไรล่ะ ถึงทำให้คุณวางอารมณ์ใจแบบนี้ เช่น หากคุณพิจารณาเรื่องของร่างกายว่ามันเป็นของไม่ดี มันไม่ใช่เราและเราก็ไม่ใช่มัน เราก็แค่มาอาศัยอยู่กับมันประเดี๋ยวประด๋าว ร่างกายมันไม่เคยเชื่อฟังเรา เราไม่อยากให้มันแก่มันก็แก่ ไม่อยากให้มันป่วยมันก็ป่วย ไม่อยากให้มันตายมันก็ตาย คนที่เรารักเราก็ต้องจากเค้าไป และเค้าก็ต้องจากเราไป เพราะไอ้ร่างกายเลว ๆ นี้แหละ คือ ตัวจอมบงการของความทุกข์ ความเศร้าโศก เสียใจ หากเราไปยินดีในการมีร่างกาย อันโสมม แบบนี้อีก ก็ขึ้นชื่อ ว่าเรายังยึดติดอยู่กับ ตัณหาความอยากมีอยู่ ความโลภ และความหลง มันมอมเมาให้เราต้องมีชาติ มีภพ และยังต้องเวียนว่ายตายเกิดแบบนี้อีก เราตัดสินใจแลà��‰à¸§à¸§à¹ˆà¸² ชาตินี้จะเป็นชาติสุดเท้ายของเรา เทวโลก พรหมโลก ดีจริง สุขจริง แต่ก็ยังต้องมาเกิดอีก เราไม่ปรารถนาแล้ว เราต้องการอย่างเดียว คือ พระนิพพาน

    อารมณ์ตั้งอยู่ในเขตของสังขารุเปกขาญาณ หรือนิพพิทาญาณ หรือเปล่าครับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้