Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

เราสามารถบังคับจิตได้ด้วยการปฏิบัติใด?

เพราะจิตมีหน้าที่คิด เราจึงมักคิดเรื่องราวต่างๆไปตามอำนาจของ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ

โดยปกติ มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถบังคับจิต ให้คิด หรือไม่คิดเรื่องอะไรได้

แต่อย่างไรก็ดี มีวิธีฝึกตนที่ทำให้สามารถควบคุมจิตได้ดีขึ้น คือ ค่อยๆลด "วิตก วิจาร" ในเรื่องที่ไม่สมควรนั้นๆไป จนกระทั่งคิดเรื่องนั้นๆน้อยลงเรื่อยๆ และหยุดคิดไปได้ในที่สุดเพราะจิตได้ "เป็นกลาง" กับเรื่องนั้นๆไปแล้ว (เท่ากับไถ่ถอนกิเลสไปได้แล้ว หนึ่งอย่าง)

ขอถามว่า การฝึกเพื่อควบคุมจิตให้ได้นั้น มีอะไรบ้างค่ะ

อัปเดต:

ถูกของคุณ on-cess ค่ะ (ตั้งใจจะมาเพิ่มรายละเอียด แต่มาเห็นความเห็นนี้เสียก่อน)

รายละเอียดที่อยากเพิ่มคือ

.............

จิตนี้ประภัสสร แต่เพราะอุปกิเลสจรมาจึงหมองไป

เพราะ"ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" จิตจึงไม่สามารถบังคับได้

คำว่า "ไม่สามารถบังคับได้" นี้ หมายถึงบังคับให้เป็นไปตามความปรารถนา โดยไม่ได้ทำตามเหตุปัจจัยค่ะ

ดังนั้น เมื่อเราสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ในสภาวะเดิมแก่จิต จึงดูคล้ายกับเราบังคับให้จิตคิด หรือไม่คิดอะไรได้ แต่อันที่จริง เป็นเพราะจิตมีท่าทีเป็นกลางต่อธรรมนั้นนั่นเอง

เมื่อเป็นกลาง จึงไม่นำมาพร่ำสรรเสริญ มาเมาหมก จึงไม่มีวิตก วิจาร ค่ะ

อัปเดต 2:

" คัมภีร์รุ่นอรรถกถาจึงนิยมแสดงความหมายของอนัตตาว่า "ชื่อว่าอนัตตาโดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ (อวสวตฺตนฏเฐน หรือ อวสวตฺตนโต = เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ) และอธิบายในทำนองว่า ไม่มีใครมีอำนาจบังคับ (ตามใจปรารถนาโดยไม่ทำตามเหตุปัจจัย)"

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ หน้า 70/18

อัปเดต 3:

**********

การสร้างปัจจัยให้จิตไม่คิดเรื่องใด ต้องอยู่ในวิถีชีวิตค่ะ

เนื่องจากเรื่องราวยาวมาก จึงอยากเชิญทุกท่านไปที่

http://gotoknow.org/blog/nadrda9/412358

8 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เริ่มจากการรู้จักจิตของตนเอง คือรู้ว่าจิตนั้นคิดอยู่เสมอ

    แต่อำนาจสติยังน้อยอยู่ มีความรู้สึกว่า เป็นทุกข์มากเพราะจิตคิดไม่ยอมหยุด ผู้ปฏิบัติที่ตกอยู่ในอารมณ์ฟุ้ง ประเภทนี้มักจะชอบคิด แต่เรื่องในอดีตที่ผ่านมาแล้ว เพราะว่าเมื่อหันมาดูจิตก็จะเลิกสนใจเรื่องภายนอก ทำให้เห็นแต่อารมณ์ภายใน แล้วรู้ว่าจิตชอบคิด เมื่อไม่มีอารมณ์ใหม่เข้ามาจิตจึงปรุงแต่งนึกคิดแต่อารมณ์เก่าที่ผ่านมา บางคนเคยโกรธกับผู้อื่น มาถึง 10 ปี และลืมไปแล้ว เมื่อมาทำความเพียรดูจิต ก็จะกลับเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาอีกได้ บางคราวรู้สึกเสียใจ บางคราวรู้สึกดีใจ บางคนระลึกถึง ความหลังได้มากถึง ขนาดระลึกชาติได้ก็มี ทำให้เข้าใจผิดว่าได้สำเร็จธรรม ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ แต่เกิดจากการหันมาดูจิตและรู้จักจิตของตนมากขึ้น คือทำให้ระลึกความหลังได้ อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้บางท่านไม่รู้เท่าทัน อารมณ์คิดว่าธรรมเสื่อม สมาธิเสื่อม เลิกปฏิบัติก็มี ดังนั้น ถ้าผู้ป���ิบัติเห็นจิตตนเองคิดมาก คิดแต่เรื่องอดีต และไม่ยอมหยุด ก็ควรรู้ว่าเป็นการเริ่มรู้จักจิตแล้วว่าจิตนั้นมีลักษณะชอบคิด อุปมาเหมือนกับน้ำที่นิ่ง ย่อมมองเห็นเงาในน้ำ

    วิธีแก้ไข

    ให้เลิกดูจิต หันมาดูกายแทน ถ้าจิตคิดมากให้อัดลมหายใจ เหมือนฟุ้งเพราะขาดสติ หันมาปฏิบัติด้วยการทำความรู้สึกไว้ให้เต็มหน้าอยู่เสมอ อารมณ์ฟุ้งแบบนี้เมื่อเลิกดูจิตหันมาดูกาย ไม่นานก็จะหายเอง

    แหล่งข้อมูล: http://www.geocities.com/samadhinet/thoughtful.htm
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จิตวิทยา ศีลธรรม การบังคับจิต ปรฎิบัตได้ทุกตัวคนนั่นแหละครับ ความหมายคือ ทางธรรม ก็คือการฝึกวจีกรรม และการนั่งวิปัสนา กรรมฐาน ตัดกิเลส ความรัก โลภ โกรธ หลง ตันหาความทะยานอยาก ราคะ การปฎิบัติเยื้องสามัญชนคนธรรมดาทั่วไป เอาชนะใจตนเอ็งนั่นแหละครับ ให้ อยู่ในในศีล และธรรม แต่ก็ มีหลายระดับการฝึกจิต ทางพุทธศาสนา พระถือศีล (ข้อห้าม) 227 ข้อ เณร ศีล 10 ข้อ แม่ชี ศีล 8 ฆราวาสชน คนธรรมดา ถือศีล 8 หรือ 5 ข้อ ธรรม (ข้อปฏิบัติ) ของพระพุทธเจ้า 8 หมื่น 4 พันพระธรรมขันต์ ที่พระสงค์ในสมณ เพศ ต้องพึงศึกษาปฏิบัติ ก็แล้วแต่การเอาใจใส่ขà¸��งผู้นั้น ที่สามารถที่จะทำได้

    สรุปก็คือ การบังคับจิตก็คือ การเอาชนะใจตนเองนั่นแล พูดดูเหมือนง่าย แต่ทำยากน่ะครับ มุมานะทำเถิดจะเกิดผล แม้แต่ะพระสงฆ์ สมัยใหม่ยังเข้าไม่ถึง ธรรม อย่างถ่องแท้เลย แค่รับปัจจัยนี้ก็ปาราชิกแล้ว

    แหล่งข้อมูล: จาการ ศึกษา เล่าเรียน จากสถานศึกษา และวัด พื้นๆ เดิม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การทำอะไรให้สำเร็จ มันก็ต้องอยู่ที่ความอดทนอดกลั้น และเริ่มจากการฝึก

    และการที่จะบังคับจิตได้นั้น..ควรฝึกการสร้างสมาธิ ฝึกการบังคับลมหายใจ

    เพราะ จิต นั้นเป็นนามธรรม มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

    เราจะรู้ว่ามีจิตอยู่ก็โดยตามจับกระแสความคิดหรือวาระจิต บ่อยครั้งที่เราคิดว่าเรารู้

    เรารู้สึกอยู่เราติดตามมันอยู่ แท้ที่จริงเราตามมันไม่ทันเพราะว่ามันคิดได้ครอบคลุมจักวาลด้วยความเร็ว

    ปานจักรพลัน เร็วยิ่งกว่าแสง เร็วยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ในโลก

    บางครั้งคนเราเจอะเจอปัญหาหลายอบ่างที่แก้ไม่ตกค้างอยู่ในใจ ทำให้กังวล วุ่นวาย ครุ่นคิด

    แต่ก็ไม่สามารถจัดระเบียบให้คิดได้ว่าจะจัดการเรื่องอะไรก่อน มันขัดแย้งกันไปหมด จนไม่สามารถทำอะไรได้ถูก

    เหมือนการจราจรใน กทม. ช่วงเช้าตรงสี่แยกที่ไม่มีไฟจราจร ทุกคนรีบไปทำงาน ทุกคนต่างต้องการเป็นผู้ไปก่อน

    ไม่มีใครยอมใคร ต่างก็เอรารถมาจ่อไปขัดขวางของกันและกันเอาไว้ ผลสุดท้ายกลายป็นเครื่องขีดขวางตนเองในที่สุด

    ความคิดของเราเช่นกัน เวลารีบร้อนสับสน ก็เอาความคิดหลายๆ เรื่องเข้ามาประสานงากัน แล้วเราเองก็สับสน

    จนทำให้ไใม่ได้รับคำตอบทั้งนั้น

    หากเราเอาสติเข้ามากำหนดรู้ ก็เปรียบได้ว่าเอาจราจรมาจัดการปล่อยรถ ให้พลัดกันเคลื่อนที่ทีละคัน

    อย่างมีระเบียบ สติก็จะกำหนดพิจารณาปัญหาทีละปัญหาจนได้คำตอบ

    และผมขออันเชิญ พระราชดำรัส ของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งผมเห็นว่า เป็นประโยชน์ และตรงกับคำถามนี้อย่างมากเลย

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบใจความว่า "ขอขอบพระทัย และขอบใจ ท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิตพรั่งพร้อมกันมา ให้พรวันเกิด รวมทั้งให้คำมั่นสัญญา โดยประการต่างๆ ข้าพเจ้าขอสนองพร และไมตรีทั้งนั้น ด้วยใจจริงเช่นกัน บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นมั่นคงและร่มเย็น เป็นปกติสุขสืบมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติ และต่างร่วมแรงร่วมใจกัน บำเพ็ญกรณียกิจต่างๆ ตามหน้าที่ โดยถือประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสูงสุด ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรจะได้ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ รู้ตัวอยู่เสมอ

    ทำโดยขาดสตินำมาซึ่งความเสื่อม

    เพราะ การกระทำโดยประมาท ขาดความรอบคอบ เป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาดเสียหายในหน้าที่ และการกระทำโดยขาดสติยั้งคิด ขาดเหตุผล ความรู้จักถูกผิดนั้น เป็นเหตุให้เกิดความหลง ความลืมตัว นำพาให้กระทำสิ่งที่มิใช่หน้าที่โดยชอบได้ ซึ่งเป็นอันตรายมาก อาจนำความเสื่อมสลายมาสู่ตนเอง ตลอดถึงประเทศชาติได้ จึงขอให้ทุกคนได้สังวรระวังให้มาก และประคับประคองกายใจ ให้เที่ยงตรงหนักแน่น ในอันที่จะปฏิบัติภารกิจของตน ให้ถูกตรงตามหน้าที่ เพื่อความมั่นคง และเพื่อประโยชน์สุข อันยั่งยืนของชาติไทยเรา ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่าน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยสุขสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคล ให้สัมฤทธิ์แก่ท่านทั่วหน้ากัน"

    ที่มา ไทยรัฐ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จริงๆแล้วจิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส สัมผัสทางกายและใจ ฟังดูแล้วอาจขัดต่อสามัญสำนึกเพราะคนเราทั่วไปต่างก็รู้ๆกันอยู่ว่า ที่เห็นได้คือตา รู้กลิ่นคือจมูก รู้รสคือลิ้นเป็นต้น ในพระอภิธรรมท่านอธิบายไว้ว่า สถานที่เกิดของจิตมีหกแห่งคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตนั้นเกิดดับรวดเร็วมากในชั่วลัดนิ้วมือเดียวจิตเกิดดับได้ถึงแสนโกฏิขณะ (หนึ่งโกฏิเท่ากับสิบล้าน) สมมุติเราดูทีวีจิตที่เห็นภาพและจิตที่ได้ยินเสียงนั้นไม่ใช่ดวงเดียวกัน เสียงและภาพนั้นเราชอบหรือไม่ชอบ(เวทนา)ก็เป็นคนละดวงอีก แต่เพราะความเกิดดับนั้นรวดเร็วมากเราจึงแยกไม่ได้ และการเกิดขึ้นแต่ละครั้งของจิตก็จะมีเจตสิก(ลักษณะของจิต)เกิดควบคู่กันไปด้วย ถ้าเราหลับก็จะเกิดเป็นภวังค์จิตเมื่อตื่นก็เข่าสู่วิถีจิตเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆไม่มีขาดตอน ส่วนผู้ที่สามารถบังคับควบคุมจิตได้นั้น ต้องผ่านการฝึกให้มีสติจนเกิดความชำนาญถึงขั้นสามารถใช้สติให้รู้เท่าทันถึงการเกิดดับของจิตที่รวดเร็วมากๆนั้นได้ อย่างพระอรหันต์นั้นเป็นระดับมหาสติแล้ว การฝึกสติให้รู้เท่าทันจิตนั้นส่วนมากหลายๆสำนักมักใช้คำว่า ผู้รู้หรือตัวรู้ ส่วนวิธีการฝึกนั้นมีมากมายตามจริตที่เราชอบ พระพุทธเจ้าได้สอนไว้มี40กอง คือกสิณ10 อสุภ10 อนุสติ10 อาหาเรปฏิกูล1 จตุธาตววัฏฐาน1 พรมวิหาร4 อรูปฌาน4 ส่วนผมฝึกโดยการบริกรรมพุทโธตามแนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตซึ่งสอนโดยพระธรรมมงคลณญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินทโรเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล สุขิมวิท101 ซึ่งพอสรุปแนวทางได้ดังนี้ การบริกรรมทำให้จิตเป็นหนึ่ง

    จิตเป็นหนึ่งทำให้เกิดความสงบ

    ความสงบทำให้จิตมีพลัง

    จิตมีพลังทำให้เกิดสติระลึกรู้

    มีสติระลึกรู้ทำให้เกิดปัญญา

    มีปัญญาทำให้รู้เท่าทันอารมณ์

    รู้เท่าทันอารมณ์ทำให้วางอุเบกขาได้

    ถ้าสนใจจริงๆก็ดูตามนี้ได้ครับ http://www.samathi.com/

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ความจริงแล้วไม่มีใครบังคับอะไรให้เป็นไปตามความต้องการได้หรอกค่ะ

    เพราะจิตเป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน

    แม้แต่พระอรหันต์ท่านก็เลือกไม่ได้ ว่าจะให้จิตเป็นอย่างไร

    เพียงแต่ว่าจิตท่านพิสุทธิ์แล้วไม่มีกิเลสแล้ว หยุดการปรุงแต่งแล้ว

    จึงเที่ยงที่จิตจะไม่เกิดอกุศลอีก อาการโกรธที่แสดงออกให้เห็น

    คือกิริยาแค่ภายนอก แต่ภายในไม่ได้จับยึดความโกรธมาเป็นอารมณ์

    ถ้าถามใหม่ว่า "เราสามารถฝึกจิตได้อย่างไร" ค่อยคิดคำตอบออกหน่อยค่ะ

    1.สมรรถกรรมฐานมี 40 กอง ทำจิตให้มีกำลัง มองอะไรก็ชัดแจ้งไปหมด

    2.มหาสติปัฎฐานสูตร เอากำลังมาทำลายล้างความไม่รู้ว่ากายใจนี่ไม่ใช่ตัวเรา

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    Islamists พาฉัน MOHAMIE เป็นสีชมพู !

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องคิดไกล ไม่ต้องคิดลึก ความรู้สึกตัวหรือการมีสติกับปัจจุบัน เพียงเท่านีà¹��เราก็สามารถจะบังคับจิตใจของเราเองได้ เพราะคนเราชอบคิดย้อนไปในอดีต คิดเลยไปอนาคต ทำให้จิตใจไม่อยู่กับปัจจุบัน

    ไม่อยู่กับความจริงที่ปรากฎอยู่ตรงหน้า แล้วจะไปรับรู้ได้อย่างไร การรู้หรือรับรู้คือการมีสติอยู่กับปัจจุบัน คนเราหลงไปกับอำนาจต่างๆ เพียงเพราะอวิชาคือความไม่รู้ คนเรามีความตั้งใจ ใส่ใจ สนใจ ทำอะไรก็ได้ดี ทำอะไรก็สำเร็จ เพียงแค่นี้ คือการมีสติตั้งอยู่กับปัจจุบัน พิจารณาส่งที่เกิดขึ้นในเข้าใจอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตัวเอง จากการพิจารณาของตัวเราเอง ทำให้เกิดประสบการณ์นำมาใช้กับชีวิตได้ดีขึ้นเรื่อยๆ หากจิตใจเรามีความตั้งมั่นที่จะทำจิตให้รู้แจ้งเห็นจริง มีสัมมาทิฎฐิ จากการหมั่นพิจารณา โดยมีความตั้งใจ สนใจ ใส่ใจ มีสมาธิ ในสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ที่อยู่ตรงหน้าเรา ที่มากระทบเราตลอดเวลา เราก็จะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของจิตใจเราเอง รวมไปถึงการสัมผัสได้ถึงจิตใจของผู้อื่นที่พูดคุยกับเราว่า มีความรู้สึกอย่างไร และจิตใจเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร บางครั้��¸‡à¸¡à¸±à¸™à¸à¹‡à¸ˆà¸°à¸£à¸¹à¹‰à¸ªà¸¶à¸à¸”ี บางครั้งมันก็จะรู้สึกแย่ บางครั้งมันก็รู้สึกโกรธ หรือ โมโห แต่ละครั้งเราจะเริ่มคิดได้ทันจากประสบการณ์ที่เราได้พิจารณามาระยะหนึ่งแล้ว ไม่มีอะไรที่จะสำเร็จเพียงก้าวแรก หากไม่รู้จุดมุ่งหมายก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะต้องเดินไปสักกี่ก้าว ของเพียงจิตใจ เริ่มก้าวเดินจากการอยู่กับปัจจุบัน ไม่มีตัวกู ของกู สิ่งที่กูได้มาแล้วในอดีตไม่ใช่ของกู สิ่งกูอยากได้ในอนาคต ไม่ใช่ตัวกู มีเพียงลมหายใจเข้าและออก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป จิตเราก็เช่นกัน เกิดดับๆ ไปเรื่อยๆ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พระท่านสอนให้ดูจิต มิได้สอนให้บังคับมิให้จิตคิดอะไรเลย แต่ให้รู้เท่าทันจิตแล้วจะพ้นบ่วงมาร

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้