Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ขนมจีนมาจากจีนจริงหรือไม่?

ทำไมถึงชื่อขนมจีน และต้นกำเนิดมาจากจีนจริงหรือไม่ เพื่อนๆท่านใดมีความรู้เรื่องนี้ ช่วยตอบเป็นวิทยาทานหน่อยครับ

10 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    "ขนมจีน" แต่อาหารจานนี้ไม่ได้เป็นทั้งขนม และไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับประเทศจีนอีกต่างหาก โดยบำรุง คำเอก จากคณะโบราณคดี ม.ศิลปากรเป็นผู้สันนิษฐานว่าขนมจีนนั้นเดิมเป็นอาหารของชาวมอญ โดยขนมจีนในภาษามอญนั้นเรียกว่า "คนอม" ส่วนคำว่า "จีน" นั้นไม่มีใช้ในภาษามอญ มีแต่คำว่า "จิน" ซึ่งแปลว่าสุก ว่ากันว่า ขณะที่คนมอญกำลังทำคนอมอยู่ ก็มีคนไทยเดินมาและร้องถามว่ากำลังทำอะไรอยู่ คนมอญก็ตอบเป็นภาษามอญว่า "คนอมจินโก๊กเซมเจี๊ยะกัม" แปลว่าขนมจีนสุกแล้ว เรียกคนไทยมากินด้วยกัน และจากนั้นเป็นต้นมา คนไทยก็เรียกอาหารชนิดนี้ว่า "คนอมจิน" และเพี้ยนมาเป็น "ขนมจีน"

    ขนมจีนนั้นเป็นอาหารที่พบเห็นกันได้ในแถบดินแดนสุวรรณภูมิ คนไทย คนมอญ คนพม่า คนลาว คนกัมพูชา และคนเวียดนามต่างก็มีขนมจีนเป็นอาหารที่กินกันในชีวิตประจำวัน จะต่างกันไปก็ตรงน้ำยาที่นำมาราดบนขนมจีนนั่นเอง ในประเทศไทยเองก็มีการกินขนมจีนกันทั่วไปในทุกพื้นที่ภาคเหนือเรียกขนมจีนว่ าขนมเส้น ภาคอีสานเรียกข้าวปุ้น แต่ก็คือเส้นขนมจีนเหมือนกัน โดยเส้นขนมจีนนั้นจะมีสองแบบคือขนมจีนแป้งหมักและขนมจีนเส้นสด โดยขนมจีนแป้งหมักจะมีความเหนียวนุ่มมาก มีกลิ่นแป้งหมัก และมีสีเหลืองคล้ำ ส่วนขนมจีนเส้นสดนั้นใช้เวลาแช่ข้าวสั้นลง เส้นขนมจีนจึงนุ่มเหนียวไม่เท่าขนมจีนแป้งหมัก ส่วนความอร่อยนั้นก็แล้วแต่คนชอบ

    สำหรับคุณค่าจากขนมจีนนั้น หลักๆเลยก็คือจะได้คาร์โบไฮเดรตจากเส้นขนมจีน ส่วนคุณค่าอื่นๆนั้นก็มาจากน้ำยาที่เราเลือกกิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาป่า น้ำยากะทิ น้ำยาแกงเขียวหวาน น้ำ ฯลฯ แต่ต้องไม่ลืมกินผักที่เป็นเครื่องเคียงให้เยอะๆด้วย รับรองว่าได้สารอาหารครบ 5 หมู่แน่นอน

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สันนิษฐานว่ามาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า"คนอมจิน"คนอมแปลว่าจับกันเป็นกลุ่มก้อนจินแปลว่าสุกครับ

  • ?
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เท่าที่จำได้เคยดูจากสาระคดีเมื่อก่อนของด๊อกเตอร์สมเกียรติ สมัยแกโด่งดัง

    ยังจำได้ติดตาเขาเอากระบอกกลมๆเจาะรุข้างล่างหลายๆรูไปที่แม่น้ำแล้วร่อนแป้ง

    ที่ร้อนหรือโดยไงจำไม่ได้ผ่านเจ้ากระบอกนี้ลงมาในน้ำพอโดนน้ำแป้งก็จะจับเป็นเส้น

    เขาก็รวบๆมาเป็นขยุ้มๆอีกทีà��«à¸™à¸¶à¹ˆà¸‡à¹à¸•à¹ˆà¸ˆà¸±à¸šà¹€à¸›à¹‡à¸™à¸§à¸‡à¹€à¸«à¸¡à¸·à¸­à¸™à¹€à¸£à¸²à¸«à¸£à¸·à¸­à¹„งไม่แน่ใจแต่น่าจะใช

    แหมก็ เด็กๆอยู่เลยครับตอนนั้นเป็นที่จึนครับแต่จีนยูนานสิบสองปันนา

    หรือไรจำได้ไม่แน่นอนรู้แต่ว่าอู้คำเมืองประมาณบ้านเฮาจาวไต

    และมีสงกรานต์แบบบ้านเราด้วย

    เฮ้อ อยู่เมืองไทยมานานเห็นเขาทำขนมจีนก็ที่เมืองจีนนี่ละ

    แต่คนทำก็ไม่พูดจีนเสียอีก จะเรียกขนมไทก็ดูไรอยู่นะมันขัดๆพิกล

    แหล่งข้อมูล: อันนี้แบบไม่เชื่อเรื่องมอญเลยครับ หวังว่าคงไม่มาโคโปโล บะหมี่ สปาเก็ตตี้ นา http://thai.cri.cn/1/2006/08/16/21@76009.htm
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    มาจากภาคอิสานจ้า

    แหล่งข้อมูล: ที่บ้านทำขาย
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จากคำถามที่ว่า “ขนมจีนมาจากจีนจริงหรือไม่ และทำไมถึงชื่อขนมจีน” นั้น เราต้องมาดูกันที่สมมุติฐานที่มีอยู่จริงๆมิใช่แค่ฟังจากเรื่องที่เล่าขานกันมาเท่านั้น ผมไม่ปฏิเสธทุกสมมุติฐานแม้กระทั่งจะบอกว่าเราเลียนแบบมาจากมอญ “คนอมจิน” ก็ตาม แต่ความเป็นจริงแล้ววัฒนธรรมที่ใหญ่กว่ามักจะเป็นแบบอย่างให้วัฒนธรรมรองๆอื่นๆมากกว่ามิใช่หรือ แล้วใครควรตามใครกันระหว่างมอญกับไทย และเราคงไม่ปฏิเสธว่าวัฒนธรรมไทยก็มีความต่อเนื่องมาจากจีนด้วยเช่นกัน ดังนั้น คำว่า “ขนมจีน” จึงต้องมาดูที่คำว่า “กล้วยแขก” หรือ “ลอดช่องสิงคโปร์” มาประกอบด้วย เพราะ อะไรที่คนไทยได้เอาแบบเค้ามาก็มักจะเรียกแหล่งที่มานั้นๆมาประกอบไปด้วยเสมอถ้าไม่มีการเรียกตามชื่อเดิมของเค้า อย่าง “กล้วยแขก” ก็ไม่ใช่มาจากอินเดียอย่างที่เราเข้าใจกัน ความจริงแล้วมาจากเกาะชวาที่คนไทยมักจะเรียกคนที่นับถืออิสลามว่า “แขก” ในอินโดนีเซียก็จะมีกล้วยชุบแป้งทอดชนิดนี้เป็นอาหารประจำยอดนิยมสำหรับมื้อเช้าในทุกถิ่นฐานมาจนถึงทุกวันนี้ “ขนมจีน” ก็มีแบบอย่างมาจากจีน 100% ด้วยเช่นกัน เพราะความจริงก็คือ นับตั้งแต่มนุษย์��¸£à¸¹à¹‰à¸ˆà¸±à¸à¸‚้าวมาราว 10,000 ปีก่อน ชนชาติจีนก็เป็นชาติแรกที่รู้จักแปรรูปแป้งจากข้าวให้มาเป็นบะหมี่หรืออาหารเส้นในหลายรูปแบบกันมากว่า 5,000 ปีก่อนมาแล้ว และคำว่า “ขนม” ในภาษาไทยก็จะหมายถึงอาหารชนิดหนึ่งที่มีการแปรรูปมาจากวัสดุจำพวกแป้งที่ทำมาจากข้าวทั้งนั้น อะไรๆที่ทำมาจากแป้งเราจึงมักจะเรียกกันว่า “ขนม” เสมอ

    เมื่อคนยุโรปยังกล้ายอมรับกันเลยว่าอะไรๆหลายๆอย่างเค้าก็ได้เอาแบบอย่างมาจากจีนกันทั้งนั้น เช่น จานชามกระเบื้องทั้งหลายเค้าก็จะเรียกกันว่า “ไชน่า” (China) กันอยู่ทุกวันนี้ เช่น China wear หรือ China bone เป็นต้น

    http://www.wonderhowto.com/how-to-repair-chipped-c...

    อีกทั้งยังยอมรับอีกด้วยว่าเส้นสปาเก็ตตี้ของเค้าก็เอาแบบมาจากจีนตั้งแต่สมัยมาร์โคโปโลนู้นแหนะ แล้วขนมจีนล่ะทำไมจะไม่ได้แบบอย่างมาจีนกันเล่า ในเมื่อที่จีนเค้าก็ยังมีขนมจีนไหหลำที่เกาะไหหนำในจีนฝั่งตะวันออก และขนมจีนข้ามสะพานที่คุนหมิง เชียงรุ้ง และสิบสองปันนาในจีนฝั่งตะวันตกตอนใต้ให้เราได้เห็นกันอยู่ ซึ่งเส้นก็มีรูปร่างไม่ผิดเพี้ยนไปจากบะหมี่กันเลย อีกทั้งยังได้ถูกดัดแปลงไปเป็นก๋วยจับญวนที่ยังคล้ายกับของเดิมอยู่มาก

    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=36178

    จนไทยเราเองก็เอามาทำเป็นก๋วยจั๊บแต่เปลี่ยนเส้นไปเป็นก๋วยเตี๋ยวแผ่นเท่านั้น แต่ก็ยังได้เอาเส้นขนมจีนนั้น แยกไปราดด้วยแกงเผ็ด น้ำพริก น้ำยากันแทน มาใส่ผักต่างๆถูกปากจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยไปในที่สุด ที่คนมอญเองก็ชอบมากด้วยจนเรียกตามแบบไทยแต่เพี้ยนเสียงไปเป็น “คนอมจิน” เหมือนกับคนชาติต่างที่พูดภาษาไทยกันนั่นแหละ...สำเนียงก็อย่างชาวเขา หรือพม่านี่ไง...ลองนึกภาพกันดู

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เคยไปหาทานที่ เสิ่นเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง แม้แต่ที่ย่านวันชัย(วานไจ๋) ที่ฮ่องกง

    ยังไม่มีขายเลยครับ เป็นของชาวโบราณมอญ แท้ๆครับ

    ดูรายละเอียดจากเว็บที่แนบมาได้เลยครับ

    แหล่งข้อมูล: http://student.nu.ac.th/khnomjeen/page1.html tlcthai.com/club/view_topic.php?...&cate_id=1372&post_id=10066
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คงไม่มาจากเมืองจีนหรอก เพราะถ้างั้นกล้วยแขกคงมาจากแถวอินเดียเป็นแน่แท้

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    รู้แต่ว่าขนมจีนเป็นก๋วยเตี๋ยวหลักของชาวไทยใหญ่ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากชุมชนในเมืองจีน ที่พูดและวัฯนธรรมเดียวกับชาวไทยใหญ่ทางภาคเหนือของไทย

  • komet
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ทราบได้

    เพราะบ้านข้าเจ้าเรียก"ขนมเส้น"คงเป็นเส้นๆแหละเขาเลยเรียกอย่างนี้ ขนาด"ข้าวซอย"ยังเป็นเส้นเลย แปลกไหม?

    แล้วทางอิสานเรียก"ข้าวปุ้น"ก็คงเป็นปุ้นๆเหมือนกันแหละ.

  • Toy C
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขนมจีนไม่น่าจะมาจากเมืองจีนนะคะ เพราะเราไม่สามารถไปหากินขนมจีนที่ประเทศจีนได้เลย

    คำว่า "ขนมจีน" ไม่ใช่อาหารจีน แต่คำว่า "จีน" ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" หมายถึà��‡ "สุก 2 ครั้ง" พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า " จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก" นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม" แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม" จริง ๆ แล้ว ขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง ดังนั้นขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล จนเป็นอาหารที่ทำงานและมีความนิยมสูง สามารถหาทานได้ทั่วไป

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้