Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

คุณคิดว่าภาษีมรดกลดความเหลื่อมล้ำทางฐานะได้จริงหรือยิ่งสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้น?

กระแสความคิดปัจจุบันมาแรงว่าการเสนอให้เก็บภาษีมรดกในประเทศไทย

จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นลงได้ แนวคิดนี้มาจากทางตะวันตก

ซึ่งความสัมพันธ์ทางครอบครัวต่างกันสุดขั้วกับสังคมไทยๆๆ ที่พ่อแม่จะผูกพันธ์

กับลูกหลานจนสิ้นอายุขัย พ่อแม่สะสมทรัพย์สมบัติและมอบเป็นมรดกให้กับลูกๆ

เพราะความรักความผูกพันธ์แต่เมื่อสิ่งนี้กลายมาเป็นสิ่งที่มีมูลค่าจนถูกนำไปคิดเป็นภาษี

เพราะเหตุผลที่ว่าภาษีมรดกลดความเหลื่อมล้ำทางฐานะของชนชั้นได้ แล้วในความเป็นจริง

เป็นไปได้หรือที่สังคมจะไม่มีชนชั้น ภาษีมรดกเป็นยาวิเศษขนาดนั้นเลยหรือ ต้นเหตุของ

ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นจริงๆ อยู่ที่อะไร ??????

แชร์ไอเดียกันนิดหนึ่งน่ะครับ

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Kimmim
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    -คนที่รวยจริงๆเค้าคงไม่กระเทือน+ยอมเสียภาษีเพื่อจะเก็บเอาไว้ให้ลูกหลานเก็งกำไรต่อไปในภายภาคหน้า

    -คนชั้นกลางคงต้องเริ่มคิด หาทางขายซะเพื่อจะได้เสียภาษีน้อยลงในอนาคตแล้วเอาเงินที่ขายได้ไปลงทุนในรูปแบบอื่นแทน ในขณะที่ที่ดินก็จะถูกกระจายออกไปมากขึ้นแก่ผู้ที่ต้องการเอามาทำประโยชน์ ณ real time

    -คนชั้นแรงงานก็ได้มีที่ดินไว้ทำกินเพิ่มขึ้นบ้าง

    -รัฐได้ภาษีเพิ่มมากขึ้น เอามาลงทุนในโครงการต่างๆเช่น สร้างถนน, สร้างอาคาร/ตึก ก็ช่วยให้เกิดการสร้างงาน กระจายรายได้ในระบบ

    ดังนั้นถามว่าลดได้จริงมั๊ย..คงไม่เชิง...แต่ก็คงดีกว่าไม่ทำอะไรเลยน๊ะ ^^o

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมยังไม่รู้รายละเอียดมาก แต่ก็คิดว่า มันไม่ถึงกับลดความเหลื่อมล้ำทางฐานะของชนชั้นได้หรอก ภาษีเป็นเพียงเปอร์เซ็นต์ส่วนน้อยของมรดก ไม่ได้ทำให้ตระกูลที่มีมรดก ลดฐานะลง

    แต่ก็เป็นการได้เงินภาษีีเข้ารัฐ

    มรดกน้อย ก็คิดภาษีน้อย มรดกมากก็คิดภาษีมาก คงไม่ถึงกับเดือดร้อน ขึ้นอยู่กับอัตราภาษีที่จะกำหนด ( ลักษณะเดียวกับภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เอาเข้าจริง ๆ เสียภาษีจิ๊บเดียว นอกจากคนที่เงินฝากธนาคารเป็นร้อยล้านจึงจะเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากเป็นกอบเป็นกำ )

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ภาษีมรดกช่างตะวันต๊กตะวันตก อย่างที่ผู้ถามให้รายละเอียดไว้

    เป็นแนวคิดที่ฟังดูดี๊ดี มีหลักการ ในอันที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

    แต่ว่าก็ว่าเถอะค่ะ ในขั้นตอนการปฏิบัติก็ อย่าลืมค่ะว่า คนไทยก็คือคนไทย

    เรื่องหยวนหยวนยังคงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่

    แบบว่า จะมีหรือ ที่พี่ไทยเราว่ากันตามกฏตามหลักการ

    ธรรมเนียมช่วยเหลือเกื้อกูลนี่ไม่หายไปไหนค่ะ คนไทย...ใจดี

    ต้นเหตุความเหลื่อมล้ำ อยู่ที่สองตาสองหูค่ะ

    ตา มองเห็นสีผิว เสื้อผ้า กิริยาอาการ ที่แตกต่างไปจากความคุ้นชินส่วนตัว

    หู ได้ยินสำเนียงอื่น ๆ ที่แปร่งแปรออกไปจากภาษากลาง และอาจลามไปถึงความคิดเห็นและคำพูดที่ไม่เข้าร่องเข้ารอยของกลุ่มผู้มีอำนาจ(ประเภทใดก็แล้วแต่)

    ความเหลื่อมล้ำจึงกระจุกตัวอยู่เฉพาะบริเวณ บริเวณที่มีอันจะกินมีทรัพย์สินเหลือใช้ และอะไรอื่นอีกมากมายอันเป็นปัจจัยให้บางคนมีสิทธิมีเสียงดังกังวาลกว่าคนอื่นที่เหลือทั้งประเทศ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขนาดในหลวงท่านทรงพระราชขุมทรัพย์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

    ในแบบทางสายกลางไว้ให้ ทรงช่วยชี้ทางขนาดนี้

    คนไทยส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นประโยชน์เลย

    ดีแต่เรียกร้อง คดโกง คิดถึงแต่เงิน และสิ่งที่ตัวเองจะได้รับไปวันๆ

    โดยไม่คิดจะทำเพื่อส่วนรวมหรือแบ่งปันให้กับสังคมและประเทศชาติบ้าง

    น่าขำจริงๆ สำหรับคนไทยไม่น่าจะมีอะไรดีขึ้น ถ้ายังไม่มีการศึกษาและไม่รู้จักเหตุผล

  • Singha
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    มนุษย์ผู้มีปัญญาและโอกาสทำงานหาเงินเพื่อมาใช้สอยจับจ่ายต่อภาระที่มองเห็นอยู้ข้างหน้า กรณีนี้หาเงินมาเสียภาษีได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด เอารัดเอาเปรียบสังคมหรือไม่ก็ตามที จึงเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ในด้านลดความเหลื่อมล้ำ แต่เกิดโทษแล้ว หากได้เงินมาโดยเอารัดเอาเปรียบสังคม (นี่คือข้อเสีย คน ๆ เดียวมีผลต่อสังคมไม่น้อย)

    มนุษย์ผู้โชคดีรับมรดกพ่อแม่มา หากมีปัญญาก็ต้องปฏิบัติเช่นพ่อแม่เพื่อคงไว้ในทรัพย์สิน(เสียเช่นกัน)

    ส่วนลูกหลานไร้ปัญญา อันนี้ดูเข้าทีพัฒนาเงินไม่เป็น ก็ขายมันอย่างเดียว ขายแล้วเอาเงินเสียภาษี อาจทำให้จนลงได้ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ อันนี้มีความเป็นไปได้ เห็นด้วย

    แต่ที่แน่ ๆ เป็นช่องทางเพิ่มรายได้รัฐ เป็นประโยชน์ อันนี้ชัวร์

    แต่ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างการโต้แย้งของคนสองฝ่าย

    คือ ฝ่ายหมั่นไส้คนรวยที่ไม่ใช่พวกและอยากมีัผลงานหรือรักชาติโดยสายเลือด พยายามดึงมวลชนคนส่วนใหญ่ที่ยากจนเป็นพวกโดยเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา

    อีกฝ่าย คือพวกคนรวยผู้ทรงอำนาจ อิทธิพล ไม่อยากให้ออกกฎหมายเพราะกระทบกระเทือนต่อตนเองพวกพ้องและวงศาคณาญาติ

    โชคดีเกิดมามีทรัพย์สินแค่ "พอเพียง" กับความสุข จึงไม่ต้องกลัวภาษีมรดกบั่นทอนความมั่งมี ออกกฎหมายมาก็ดี เพราะถึงอย่างไร กฎหมายไทยก็ก๊อปปี้ต่างชาติยุโรป ชาวตาน้ำข้าวมาตั้งแต่รัชสมัยที่ 5 แล้ว ก้ลองใช้ของต่างชาติมาโดยตลอด ปัจจุบันก็ใช้อยู่ เวิร์คดีด้วย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฯลฯ

    ต้นเหตุแห่งความเหลื่อมล้ำในสังคมมีผลมาจากการเมื่องโดยตรง ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึง ณ ที่นี้

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้