Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ถ้าคุณมีอำนาจ..คุณจะแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยอย่างไร?

-โดยส่วนตัวขอใช้วิธีแบบนักเรียนทหาร..ถ้าทะเลาะกันจะใช้เชือกผูกมือทั้งคู่อันดับแรก

เพราะถือว่าผิดทั้งคู่ไม่ว่าจะทำอะไรห้ามแกะออกเด็จขาดไม่ว่าจะนอน กิน ขับถ่ายฯลฯ

สุดท้ายทั้งคู่ก็จะรักกันและไม่มีใครอยากเอาอย่างอีก

-ปัญหาการเมืองแก้ด้วยการเมือง ก่อนที่จะสมานฉันท์อย่างน้อยจะต้องมี2คำนี้..

ความรับผิดชอบ ความเสียสละ

-ทางแก้

1.ส.ส.และสมาชิกพรรคการเมืองทุกคน(ทุกพรรค)จะต้องรับผิดชอบร่วมกันโดยห้ามลงสมัครเป็นเวลา 10 ปี

(ทั้งนี้ให้ตัดสิทธิ์ 7 ชั่วโคตรด้วย)

2.ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทุกคนต้องพิจารณาตัวเองโดยให้พ้นจากตำแหน่งที่ตนเป็นอยู่

-ทำให้เราได้นักการเมืองรุ่นใหม่

- “ เชื่อว่าประเทศไทยไม่สิ้นคนดี มีฝีมือ” และคงไม่มีใครกล้าสร้างความร้าวฉานให้สังคมไทยได้อย่างถาวร

- พลังอำนาจควรเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน “สามารถเอานักการเมืองขึ้นได้และลงได้”

คำถามเปิด....ลองแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างอิสระนะครับด้วยความเคารพและขอขอบคุณทุกท่าน

อัปเดต:

I wish I were…………คือสิ่งที่ปรารถนาแต่อาจเป็นจริงไม่ได้ เหมือนกับ “รัฐบาลในอุดมคติ”ซึ่งเราต่างก็ปรารถนาแต่จะมีเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบครับ...ส่วนวิธีการหรือรายละเอียดคงไม่เหมาะที่จะเขียนในรู้รอบแน่ หลายสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงในปัจจุบันล้วนเกิดจากความฝัน/ความปรารถนา เช่น เอดิสัน “อยากให้กลางคืนสว่างเหมือนกลางวัน” พี่น้องตระกูลไรท์ “อยากบินได้เหมือนนก” เป็นต้น

อัปเดต 2:

"อำนาจ"อาจหมายถึงการมีส่วนเข้าร่วมในการแก้กฏหมายบ้านเมือง

10 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ไม่ยากครับผู้มีหน้าที่ตัดสินคดีความจะต้องตัดสิน

    ตรงไปตรงมา อย่าให้มีใบสั่ง อย่าทำสองมาตรฐาน

    ใครอยากเล่นการเมืองเข้ามาอยู่ในระบบ ใช้การเมือง

    แก้ปัญหาด้วยการเมือง อย่าเอาเผด็จการมากดขี่บังคับ

    ประชาชน มันแก้ไม่ได้

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยากครับ ความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากนักการเมืองเพียงอย่างเดียว คนที่พ้นจากตำแหน่งทางการเมืองไปแล้วก็สร้างความขัดแย้งได้ และก็ไม่มีใครยอมรับว่าสิ่งที่ตนคิดและทำนั้นทำให้เกิดความขัดแย้ง พิสูจน์กันยาก ต่างก็ว่าทำเพื่อชาติ ขนาดมีกฎหมายให้ยุบพรรค ก็ยังมีความพยายาทแก้กฎหมายไม่ให้ยุบพรรค เพราะสมาชิกพรรคคนอื่นไม่เกี่ยว

    ต่่างมั่นใจกับความคิดคนละขั้วของตน คนที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะเปลี่ยนความคิดยาก

    แต่... แค่เพียงเราต่างก็ดำรงชีวิตไปตามปกติ เลิกพูดถึงสิ่งที่ขัดแย้งกัน ปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามหลักศีลธรรมและกฎหมาย ใครมีบทบาทหน้าที่ใดก็ทำไปตามนั้น ก็จะเริ่มสงบสุขทันที และเมื่อเวลาผ่านไปประมาณปีเดียว ถ้าในช่วงนี้ไม่มีเหตุขัดแย้งหรือเหตุรุนแรงอีก ผมว่าสังคมไทยก็จะกลับไปเป็นเหมือนที่เราเคยอยู่กันได้ครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมอยากให้แยกคนเลวออกจากดนดี หรือให้คนดีเท่านั้นที่เป็นหัวเรือเป็นผู้นำ คนเลวจะได้หมดอำนาจอยู่แค่ใต้ปกครองก็จะทำอะไรไม่ได้อีก

    แหล่งข้อมูล: พระราชดำรัส ร.9 ครับ
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คุณอะละดินครับ ครั้งนึงคุณเองเคยลุกขึ้นมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลชุดนี้

    แต่ความแตกแยกของคนไทย สังคมไทย ล้วนแล้วแต่มาจากนักการเมือà¸��เลวๆไม่กี่

    สิบตัวที่ทำให้คนไทยลุกขึ้นมาทะเลาะกัน วันนี้อยากจะเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา

    ไงก็เอาเถอะครับ ผมคนนึงที่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณคิด แต่การบอกแนวทางหรือ

    การเสนอแนะแนวทาง แต่ไม่มีรายละเอียดของขั้นตอนหรือวิธีการ ไงก็ยากยิ่งที่

    จะประสบความสำเร็จลองดูแนวทางของ พวกคนแก่ที่ออกมาทำโครงการสมานฉันท์

    (อดีตนายกอานันท์ศจ.นพ.ประเวศ ฯลฯ) ตอนนี้เรื่องเดินไปถึงไหนแล้ว ทำได้หรือไม่

    ก็ประจักษ์ต่อสายตาอยู่แล้วหละครับ ว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้

    สิ่งที่ทำให้ประเทศเสียหาย มาจากคนไทยหรือระบบกันแน่ หากลองมองย้อนไปหลายๆ

    ปีหลังจากพวกเราได้รัฐธรรมนูญมา (2475) เราผ่านรัฐประหารมาทั้งหมด 19ครั้งเข้าไปแล้ว

    ทำไมคนชั่วถึงไม่หมดจากสังคมไทยเสียที เพราะทุกครั้งที่มีการทำรัฐประหาร ก็จะอ้าง

    เรื่องของ การทุจริตคอรัปชั่น และทุกๆครั้งการเขียนรัฐธรรมก็พยายามที่จะสร้างกรอบ

    ให้แคบลงในการกำจัดคนชั่วออกจากระบบ แต่ยิ่งทำการโกง การอรัปชั่นมันยิ่งซ้ำซ้อน

    ขึ้นไปเรื่อยๆ มีการพัฒนาการจาก การเข้ามาเป็นเจ้าคนนายคน (เป็นสส.ผู้ทรงเกียรติ) มา

    เป็นการเข้ามาหาเศษหาเลย แล้วก็แปรสภาพมาเป็น เข้ามาสร้างผลประโยชน์จากโครง

    การของรัฐ หลังๆ เข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองให้พ้นจากผลประโยชน์ของรัฐที่

    จะได้รับ

    รธน.ปี40 ได้กำหนดให้มีการเอาผิดนักการเมือง โดยการกำหนดให้มีการตรงจสอบโดย

    องค์กรภาคประชาชน องค์กรอิสระภาครัฐ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน

    รัฐสภา คณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการพิจารณา

    ความอาญาทางการเมืองของนักการเมืองเลวๆ แต่ในที่สุดด้วยชั้นเชิงของนักการเมืองเลวๆ

    เหล่านั้น ทำให้องค์กรอิสระต่างๆมีกลไà¸��ที่เป็นง่อย ทำงานในการตรวจสอบได้ไม่เต็มที่

    โดยที่ผ่านมาส่วนตัวเชื่อว่า การพิพากษาของศาลที่มีอำนาจสูงสุด หากไม่ถูกใจผู้มีอำนาจ

    หรือทรงอิทธิพล ก็จะออกมาโวยวาย โดยหากลองมองย้อนกลับไปว่า บทความหนือเนื้อ

    หาของสำนวนในการให้การรวมถึงหลักฐานต่างๆและการสรุปประเด็น น้อยคนนักที่จะอ่าน

    หรือสัมผัสโดยตรง ว่านักการเมืองชั่วๆเหล่านั้นจะได้รับความตามคำพิพากษาหรือไม่

    นี่แหละครับคนไทย ผมเองพยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงเรื่องของเนื้อหาสาระของการตัดสิน

    แต่ในหลายๆครั้งกลับโดนตำหนิติเตียนจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย ทั้งๆที่ผมเองไม่ได้มีความ

    ขัดแย้งกับใคร เพราะในการพิพากษาของศาลนั้น ถือเป็นอันสิ้นสุด ถามว่ามีอันไหนที่

    เห็นด้วยอันไหนไม่เห็นด้วย ก็บอกว่ามีเยอะแยะไป แต่ด้วยการที่เราเป็นสังคมประชาธิปไตย

    เราจึงควรให้คำพิพากษาเป็นอันสิ้นสุดเพราะหากไม่ยึดปฎิบัติแล้ว ต่อไปโจรผู้ร้าย คนที่

    ไม่ยอมรับความจริงจะลุกออกมา แล้วบ้านเมืองจะวุ่นวายอีกมา

    ดังนั้นการสมานฉันท์ที่ดีที่สุดคือ ช่วยกันประคับประคองเสาหลักของประเทศไทยใน

    ระบอบประชาธิปไตยให้ได้ซะก่อน คือ อำนาจในการนิติบัญญัติ (ออกกฎหมายแล้วคนไทย

    ต้องปฎิบัติให้ได้) อำนาจบริหาร (ให้เป็นหน้าที่ของนายกและคณะรัฐมนตรี และมีการตรวจ

    สอบที่เข้มแข็งโดยองค์กรอิสระ และภาคประชาชน) และที่สำคัญหากเกิดความขัดแย้ง

    ต้องให้องค์คณะผู้พิพากษาเป็นผู้พิจารณาตัดสินคดีความครับ

    แหล่งข้อมูล: ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อำนาจไม่ใช่เครื่องมือที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด บุญ บารมี ความศรัทธา ของประชาชน ตัองมีพร้อมด้วย คน ๆ เดียว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หรอกครับ ก่อนอื่นต้อง ไปแก้ที่นิสัย จริยธรรม คุณธรรมของนักการเมืองให้เห็นแก่ชาติบ้านเมืองก่อน (คงแก้ยากเพราะเป็นสันดานพฤติกรรมของนักการเมืองที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนไปแล้ว) บ้านเมืองจะฉิบหายเป็นเช่นไรไม่สน นักการเมืองเห็นบ้านเมืองเป็นของเล่นขาถึงเข้ามาเล่นการเมืองหาประโยชน์แก่ตนเองและพวกพร้อง ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาทำงานการเมืองและยังส่งต่อไปยังทายาทหรือญาติพี่น้องสืบทอดอีก

    ออกกฎหมายห้ามเป็น สส.เกินกว่า 2 สมัย หรือ 8 ปี จะได้เป็นการตอนนักการเมือง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เหตุปัยจัยของปัญหาความขัดแย้งในแต่ละเรื่องแต่ละกรณีอาจจะ

    ซับซ้อน เป็นเรื่องปลีกย่อย แต่เมื่อพูดอย่างกว้างๆ ครอบคลุม ก็หนีไม่

    พ้นตัวการใหญ่ ๓ อย่าง ที่จะต้องรู้ไว้ คือจะแก้เหตุปัจจัยปลีกย่อยจำ

    เพราะข้อไหนเท่าใดก็ตาม จะต้องแก้ให้ถึง ๓ ข้อนี้ด้วย คือปมก่อปัญหา

    ๓ อย่าง คือ

    ๑. ความใฝ่แสวงหาผลประโยชน์ เห็นแก่การเสพบริโภคบำรุง

    บำ เรอ เรียกว่า ตัณหา

    ๒. ความทะยานแสวงอำ นาจ ต้องการความยิ่งใหญ่ ปรารถนาจะ

    ครอบงำ ผู้อื่น เรียกว่า มานะ

    ๓. การยึดติดในความเชื่อ ถือรั้นในลัทธินิยมอุดมการณ์ ที่ไม่เปิด

    กว้างรับฟังใคร และก่อทัศนคติแบบแบ่งแยก เรียกว่า ทิฏฐิ

    ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่มชน ตลอดจนสงคราม

    ระหว่างประเทศ ระหว่างค่าย ระหว่างเผ่าชน ชาติพันธุ์ ระหว่างศาสนา

    ที่มีมาตลอดประวัติศาสตร์ มีจุดก่อปมอยู่ที่ ๓ อย่างนี้ ไม่ว่าจะแก้ไขเหตุ

    ปัจจัยปลีกย่อยอะไรก็ตาม ต้องคอยมองคอยตรวจสอบและแก้ไขตัวการ

    สำคัญ ๓ อย่างนี้ ไม่ให้เข้ามาครอบงำ ถ้าไม่มีตัวการใหญ่ ๓ อย่างนี้

    การแก้ไขกำจัดเหตุปัจจัยปลีกย่อยอื่นๆ ก็ใช้วิธีการที่พูดมาแล้ว กำ จัด

    ปัญหาได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าปม ๓ อย่างนี้ยังอยู่ ความขัดแย้งจะยืดเยื่อไม่จบ

    ได้จริง

    -ในการเข้าถึงกันนั้น ถ้าให้ดี ก็ให้มีโอกาสปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุ

    ๔ ให้ครบ คือ มีการให้แก่กันเผื่อแผ่แบ่งปัน พูดกันด้วยปิยวาจา ทำ

    ประโยชน์แก่กัน และมีความเสมอสมานเป็นกันเอง

    เท่าที่พูดมา น่าจะสรุปจุดสำคัญในการแก้ไขความขัดแย้งได้ว่า

    ๑. ไม่ติดอยู่กับความขัดแย้ง หรือตกเป็นทาสของความขัดแย้ง

    แต่เอาประโยชน์จากความขัดแย้งให้ได้ โดยเฉพาะประโยชน์

    ทางปัญญา

    ๒. แกนของปฏิบัติการในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือ การมี

    เจตนาดี ��¸›à¸£à¸²à¸£à¸–นาดีต่อกัน ด้วยเมตตาธรรม มุ่งสู่จุดหมายที่

    เป็นการสร้างสรรค์ และมีปัญญาที่จะดำ เนินการให้เป็นไปตาม

    เจตนาที่ดีนั้น

    ๓. ปฏิบัติการในการขัดแย้งและหาทางยุติความขัดแย้ง ต้องดำเนิน

    ไปอย่างเป็นมิตร สุภาพ จริงใจ และเปิดใจต่อกัน มองทุกคน

    เป็นเพื่อนมนุษย์ ไม่มองแบบแบ่งแยก มุ่งสู่การอยู่ร่วมกัน

    ๔. สร้างบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ ด้วยการให้คนทุกฝ่าย

    เข้าถึงกัน สังสรรค์กันในชีวิตประจำวัน หรือในวิถีชีวิตที่เป็น

    จริง ตามหลักการเอาตัวเข้าสมาน

    ๕. จุดที่เป็นการแก้ปัญหาให้เข้าสู่ความประสานสามัคคี คือให้

    มองเห็นตระหนักในจุดหมายที่กว้างใหญ่เหนือขึ้นไป ซึ่งเป็น

    ประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย

    ส่วนการแก้ปัญหาที่ซ้อนลึกลงไป เช่น การขาดความเคารพกฎ

    กติกา-ถือธรรมเป็นใหญ่-ยึดหลักการเป็นมาตรฐานนั้น เป็นคุณสมบัติ

    ของคน ซึ่งจะต้องสร้างขึ้นมาด้วยการพัฒนาคนระยะยาว คือด้วยการ

    ศึกษาอย่างลึก

    ปมก่อปัญหาความขัดแย้งแบ่งแยกอีกระดับหนึ่ง ซึ่งต้องแก้ไขและ

    ระวังไม่ให้ครอบงำ คน ได้แก่ความใจแคบ หรือความหวงแหนกีดกันกัน ที่

    เรียกว่า มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ

    ๑. ความหวงแหนกีดกัน เกี่ยวกับเรื่องที่อยูอาศัย ประเทศ ท้องถิ่น

    ดินแดน

    ๒. การหวงแหนกีดกัน เกี่ยวกับเรื่องพรรคพวก พงศ์เผ่า เหล่ากอ

    หรือชาติพันธุ์ เช่น ethnic groups และ religious groups

    ต่างๆ

    ๓. ความหวงแหนกีดกัน เกี่ยวกับเรื่องลาภ ทรัพย์สมบัติ และผล

    ประโยชน์ต่างๆ

    ๔. ความหวงแหนกีดกัน เกี่ยวกับเรื่องชั้นวรรณะ ผิวพรรณ

    จำ พวก class, caste ตลอดจน colour

    ๕. ความหวงแหนกีดกัน ในเรื่องของวิทยาการ ความรู้ คุณพิเศษ

    วุฒิ ความดีงาม ความก้าวหน้าในทางภูมิธรรม ภูมิปัญญา

    และความสำ เร็จต่างๆ

    ต้องใจกว้างยอมรับความจริงว่า ความขัดแย้งต่างๆ จะแก้ไขได้

    จริง คนต้องสลัดความใจแคบหวงแหนกีดกั้น ๕ อย่างนี้ออกไปให้ได้ ถ้า

    ยังแก้ ๕ อย่างนี้ไม่ได้ ความขัดแย้งในสังคมมนุษย์หรือในโลกมนุษย์ ไม่

    จบแน่นอน การแก้ปัญหาขั้นเด็ดขาดได้ผลจริง หรือรับรองผลได้แบบนี้

    ต้องถามว่า คนจะสู้ไหม ถ้าไม่เอาก็ต้องอยู่ในโลกแห่งความขัดแย้งต่อไป

    ไม่จบ

    แหล่งข้อมูล: สลายความขัดแย้ง พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)
  • stan
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ยึดตัวตนพวกตนเป็นหลัก ยึดหลักยุติธรรม เสมอภาค ไม่เข้าข้างฝ่ายตนจนเสียหลักการ ส่งเสริมเกื้อหนุนระบบยุติธรรมให้เป็นตัวถ่วงอำนาจทางการเมือง กฎหมายและความยุติธรรมเท่านั้นที่จะช่วยบรรเทาปัญหาได้ การใช้กำลังทหารเพื่อสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย การข่มขู่บังคับคงกดทับปัญหาไว้ได้ชั่วคราวเท่านั้น นโยบายสันติสุขน่าจะทางออกที่ดี แตละฝ่ายจะปรองดองกันหรือไม่ ไม่เป็นไร แต่ฝ่ายเราà¸��้องยึดนโยบายสันติสุขไว้ให้มั่น อาจต้องทนรับแรงจากฝ่ายตรงข้าม ต้องพยายามไม่โต้ตอบ ้ถ้าโต้ตอบก็จะโต้ตอบกันไปมาไม่จบ แล้วความสันติสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยากยิ่งนะ...ต้องสร้างค่านิยม กันใหม่เลยทีเดียว เชียวล่ะ

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้ามีอำนาจแล้วใช้อำนาจคงแก้ไม่ได้ ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ คงมีแต่ต้องใช้คำว่า .....อภัย.... ให้อภัย กับทุกฝ่าย โดยอยู่ในหลักของความจริงและความà��¢à¸¸à¸•à¸´à¸˜à¸£à¸£à¸¡à¹ƒà¸™à¸¡à¸²à¸•à¸£à¸²à¸à¸²à¸™à¹€à¸”ียวกัน ทั้งหมดนี้เป็นความฝันที่รอให้เป็นจริง ด้วยความหวังอันบริสุทธิ์ รักชาติด้วยใจจริง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้ามีอำนาจจริง จะยุบสภาคืนอำนาจที่แท้จริงให้ประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้เลือกเอง ว่าต้องการใครมาบริหารประเทศ และยอมรับผลแห่งการเลือกนั้นโดยไม่ดูถูกว่าเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกมาโดนซื้อ เพราะคนต่างจังหวัดไม่ได้โง่เหมือนที่คนมีการศึกษาสูงคิด เพราะการศึกษาที่สูงไม่ได้บอกว่า ค่าความเป็นคนอยู่สูงกว่าผู้อื่น...

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้