Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

วิธีลดต้นทุนมีมากมาย แต่ทำไมนายจ้างส่วนใหญ่ชอบที่จะลดกำลังคน และไม่อยากปรับค่าแรงให้พนักงาน?

6 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ?
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    วิธี " ลดต้นทุน "

    ที่ " นายจ้าง " ทำ

    มีตั้งแต่........

    ค่าไฟ , ค่าน้ำ , ค่าโทรศัพท์ , ปากกา , สมุด , ดินสอ , กระดาษ A 4 , วัตถุดิบในการผลิต , วัตถุดิบจากการนำเข้า ฯลฯ

    อีกมากมายค่ะ

    ซึ่งการ " ลดจำนวนพนักงาน "

    ก็เป็นอีก " ปัจจัย " หนึ่ง

    การที่มี " พนักงาน "

    ที่ทำงาน " ไม่คุ้มกับค่าจ้าง "

    ขาด , สาย , ป่วย , ลา

    อยู่เป็นประจำ

    ไม่ค่อย " ใส่ใจ " ในการทำงาน

    " เอาเปรียบ "

    ไม่เคย " พัฒนาฝีมือในการทำงาน "

    และคอย " กินแรง " เพื่อนร่วมงาน

    วัน ๆ นั่ง " นินทาชาวบ้าน "

    อยากทำงานแบบ " สบาย ๆ "

    ไม่ " อยากเหนื่อย "

    ยังไม่ถึงเวลา " เลิกงาน "

    ก็ " เตรียมตัวกลับบ้าน " ก่อนใครเพื่อน

    ........................................

    คุณคิดว่า..................

    การที่มี " พนักงาน " แบบนี้

    " สมควร "

    ที่จะ " ว่าจ้าง " อีกต่อไป

    หรือ..........

    " สมควร "

    ที่จะ " ขึ้นค่าแรง " หรือไม่ค่ะ

    ....................................

    การที่ " นายจ้าง "

    หลายรายที่อยู่ไม่ได้

    เพราะ..............

    ประสบปัญหาการ " ขาดทุน "

    รายได้ที่ " ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย "

    " เศรษฐกิจ " ที่ไม่ดี

    รวมทั้งการ " ขึ้นค่าแรง " ค่ะ

    ( เพราะจะรวมกับต้นทุนของบริษัท )

    ..............................

    การที่ " ลดต้นทุน " ต่าง ๆ

    รวมทั้ง............

    " ลดจำนวนพนักงาน " ลง

    ก็เพื่อให้...........

    " บริษัทอยู่รอด "

    เพราะอย่างน้อย

    ก็ยังเหลือ " พนักงาน "

    ที่ยัง " ทำงาน " อยู่จำนวนหนึ่ง

    ...........................

    แต่ถ้าต้อง " ปิด "

    ก็จะ " ไม่มีพนักงาน "

    เหลืออยู่ " แม้แต่เพียงคนเดียว "

    ..............................

    หรือ..............

    " ปิด " เพื่อ " ย้ายฐานการลงทุน "

    ไปอยู่ที่ " ประเทศจีน "

    และ " ประเทศเวียดนาม "

    เหมือนกับ " หลาย ๆ ประเทศทั่วโลก "

    เค้าทำกัน

    เพราะ " ค่าแรง "

    " ถูกกว่า "

    " บ้านเรา " หลายเท่านัก

    ....................................

    สำหรับนายจ้างที่ " เอารัดเอาเปรียบ " ก็มีค่ะ

    ไม่ใช่ว่าจะ " ไม่มี "

    และก็มีอยู่เป็น " จำนวนเยอะ " ซะด้วย

    ..................................

    แต่อยากให้ดูเป็น " กรณี ๆ " ไปค่ะ

    ...................................

    ถ้าวันนึงคุณมี " มีโอกาส "

    และมี " กิจการที่เป็นของตัวเอง "

    **************************************

    คุณอาจจะ " ไม่ถามคำถาม " แบบนี้ก็ได้ค่ะ

    " เอาใจเขามาใส่ใจเรา " ค่ะ

    ***************************************

    แหล่งข้อมูล: จากความคิดเห็นของนายจ้างคนนึงค่ะ ***************************************
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เพราะกำลังคนมักจะมีคำถามหรือปัญหาบ่อยไม่เหมือนกับมีเครื่องจักรไม่มีคำถามหรือปัญหาบ่อยทำงานไม่ต้องมีวันหยุดแถมไม่มีค่าแรงอีก

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    นายจ้าง บางคน อาจใจดี บางคน อาจไม่ใจดี

    ลูกจ้าง บางคนทำงาน เต็มกำลัง บางคนหักหลัง คนจ้าง

    เมื่อความไว้วางใจ มีไม่มาก การปลดคน เพื่อลดภาระ จะเป็นสิ่งแรก เพราะ คนเรา มักเห็นแก่ตัว

    และ เป็น ได้ทั้ง นายจ้างและ ลูกจ้าง

    จะมี สักกี่แห่ง ที่นายจ้าง พยายามประคับประคอง กิจการ โดยบอกให้ ลูกจ้าง รู้ว่า ตอนนี้ เราเกิดวิกฤติ

    ต้องการใช้ ช่วยกันประหยัด อาจต้อง ลดเงินเดือน และ เวลาทำงานลง

    หาก เป็นแบบที่ว่า (ลดเงินเดือน ลดเวลาทำงาน) ลูกจ้างหลายคน ก็จะโวยวาย หาเรื่อง โน่น นี่ มาอ้าง

    แต่หาก นายจ้าง เห็นแก่ตัวหน่อย ก็ลดจำนวนคนทำงาน นั่นแหละ เพราะอย่างอื่นก็พยายามลดจน หมดความคิดแล้วกระมัง

    ลองดู โจ๊ก ขำๆ ไหม

    ถ้าลองคิด ชั่วโมงทำงานของ ลูกจ้าง

    ลูกจ้าง ทำงานวันละ 8 - 12 ชม. ต่อวัน ทำงาน 5 วัน ต่อสัปดาห์ 1 ปีมี 53 สัปดาห์

    เท่ากับ ทำงาน 89 - 133 วัน

    หัก วันพักร้อน 7 วัน, วันหยุดราชการ 13 วัน วันลากิจ 7 วัน จะเหลือวันทำงานจริง 62 - 106 วัน

    เท่ากับ ทำงานแค่ 2 - 3.5 เดือนเอง นะ

    จะเอาอะไรนักหนา

    อิ อิ ขำ ขำ นะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ที่บอกว่ามากมายต้องลองมาประกอบกิจการส่วนตัวดูค่ะ

    ทำกิจการแบบเดียวที่คุณเป็นลูกจ้างปัจจุบันอยู่ แล้วศึกษาดูปัญหาของกิจการนั้นว่าเจออะไรบ้าง?

    ถ้าลูกค้าลดลง ยอดกำไรน้อยลง รายจ่ายปัจจุบันในแต่ละด้าน

    ด้านวัตถุดิบ ของใช้สิ้นเปลือง ค่าแรงคนงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมเครื่องจักร ค่ายานพาหนะ(ซ่อมบำรุงหรือค่าน้ำมัน) ค่าภาษี เซ็นรับรองงบบัญชี ค่าจดทะเบียนการค่า ค่าเช่าสถานที่ ค่าเอกสารเครื่องเขียน ฯลฯ

    สิ่งต่างๆคิดแล้วจะลดต้นทุนการผลิตให้คนงานอยู่เท่าเดิมแถมปรับค่าแรงให้พนักงาน จะทำได้อย่างไร?

    หลักการง่ายๆ เมื่อยอดขายตลาดลดลง แล้วนายจ้าง/เจ้าของกิจการจำเป็นต้องประคับประคองให้แกนสำคัญขององค์กรอยู่ได้ คือลดคนงานลงให้เหลือพอเหมาะกับปริมาณงานที่มียอดขายเข้ามา แล้วค่อยรอช่วงงานเข้ามาเยอะมากก็ค่อยรับคนงานไร้ฝีมือเข้ามาใหม่

    แต่คงไว้ซึ่งช่างมีฝีมือและแกนหลักที่จำเป็น เผลอๆ เพิ่มหน้าที่รับผิดชอบ และปรับลดกระบวนการผลิต การสั่งซื้อ/บัญชีก็ใช้คนๆเดียวทำ สโตร์/จัดส่ง/คลังสินค้าก็ใช้คนๆเดียวทำได้ หรือจ้างผู้รับเหมา(มีบิลมาหักค่าใช้จ่าย)มาเหมาทำงานในแต่ละขั้นตอนการผลิตได้

    จึงอยากจะแนะนำให้ลองสังเกตศึกษาดูว่า ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการแห่งนั้น ทางอยู่รอดของกิจการจะลดต้นทุนใดที่จะทำให้คนงานยังคงสามารถมีงานทำต่อไปกับพวกเขาได้บ้าง

    และหากสุดท้าย ไม่มีงานเข้า กิจการก็ต้องปิดตัวลงค่ะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ลดต้นทุนได้แต่กำไลจะน้อยลดคนงานงานเท่าเดิมเพราะคนงานต้องทำเพิ่มเป็น2เท่าไงครับมีแต่ได้กับได้

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    มันง่ายกว่าการลดอย่างอื่นมั้งค่ะ

    เพราะถ้าลด พนักงานลงคนหนึ่ง ก็ไม่ต้องดีดลูกคิดให้วุ่นวาย (รู้อยู่แล้วว่าเขาเงินเดือนเท่าไหร่)

    แต่ถ้าคิดจะลดด้านต้นทุนต้อง ปรับปรุงวางแผนงานกันใหม่อีกมากมาย

    และการปรับค่าแรงขึ้น ก็หมายถึงการเพิ่มรายจ่ายดี ๆ นี่เองค่ะ

    เขาก็เลยปรับขึ้นอบากกันสักหน่อย ถ้าไม่โดนบังคับก็ไม่มีทางใด้ขึ้นกันง่ายๆหรอก หุ หุ

    แหล่งข้อมูล: อกเขา อกเรา มีขึ้น มีลง
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้