Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

โรงเรียนกวดวิชา คือ สถานศึกษาหรือว่าธุรกิจการศึกษา?

เร็วๆมานี้ได้ข่าวว่ารัฐบาลจะเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา

(จากเดิมเก็บเพียงภาษีส่วนบุคคลที่ประมาณ 30% กลายเป็นบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% )

หลายๆ คนตั้งประเด็นกันว่า ข้อเสีย คือ

ถ้าเก็บภาษีเพิ่มจะเป็นการปิดกั้นโอกาสในการหาวิชาความรู้ของเด็ก ๆๆ

ทำให้ค่าเล่าเรียนแพงขึ้น และเด็กอีกหลายคน จะไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนในโรงเรียนกวดวิชา

ส่วนข้อดี อาจจะมีบ้าง คือ

ถ้าเก็บภาษีจริง โรงเรียนจะมีคุณภาพในการบริการที่สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกัน

ทำให้เด็กๆ ได้รับการบริการที่ดีขึ้น

และอีกหลายๆ คนมองว่า " โรงเรียนกวดวิชา" เป็นสิ่งจำเป็นมากต่อวงการการศึกษา (ขาดไม่ได้)

เพราะเด็กๆ หลายคนเรียนไม่เข้าใจในห้องเรียน ก็สามารถมาเพิ่มความรู้ตนเองในโรงเรียนกวดวิชาได้

เพราะครูสอนเข้าใจง่ายกว่าในห้องเรียน และสามารถทำคะแนนสอบได้ดีในระยะเวลาอันสั้น

และดูเหมือนว่ารัฐบาลและคนส่วนใหญ่ ก็กำลังมองและคิดว่า " โรงเรียนกวดวิชา"

จำเป็นต้องมี เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆๆๆ

(สงสัยจะสับสนว่าการศึกษาของไทย คืออะไร ระหว่างโรงเรียนในระบบ กับโรงเรียนกวดวิชา )

แต่ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ " เหตุใดเด็กๆ จึงต้องพึ่งโรงเรียนกวดวิชา " โรงเรียน

ที่สอนในระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนั้นพึ่งพาไม่ได้หรืออย่างไร ????????

(ยังไม่คิดถึงครูผู้สอนบางคนที่ให้เด็กไปเรียนกวดวิชากับตัวเองเพื่อเพิ่มเกรดเฉลี่ย )

12 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ขอสารภาพเลยค่ะ....ว่าตั้งแต่เรียนหนังสือมาแทบไม่เคยเรียนกวดวิชา และโดยส่วนตัวเห็นว่าโรงเรียนกวดวิชาไม่มีความจำเป็นด้วยซ้ำ

    ตอนจบชั้นประถม...อิฉันเลือกไปสอบเข้ามัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา 1 ทั้ง ๆ ที่บ้านอยู่ใกล้โรงเรียนบดินทร์เดชา เหตุเพราะมีญาติพูดกับคุณแม่ว่าลูกเขาเรียนพิเศษขนาดนี้ยังเข้าไม่ได้ แล้วเราไม่เห็นเรียนพิเศษอะไรเลย คงสอบเข้าสตรีวิทยาไม่ได้หรอก อิฉันก็เลยเลือกสอบที่นั่นให้ดูทั้งที่ไม่รู้หรอกว่ายากหรือง่ายแค่ไหน ... แล้วก็สอบเข้าไปได้

    โดยที่คุณแม่บังคับให้ไปเรียนพิเศษก่อนสอบอยู่ 7 วัน ซึ่งสิ่งที่คุณแม่ไม่ทราบทันทีที่คุณพ่อคุณแม่ขับรถออกไป ลูกสาวตัวแสบก็วิ่งตื๊อข้ามไปตลาดไปนั่งละเลงขนมเบื้องเล่นช่วยป้าคนขายแกขายเกือบทั้งวัน...

    และตลอดการเรียนอยู่ที่สตรีวิทย์ อิฉันก็ไม่สนใจการเรียนพิเศษแม้แต่น้อย วัน ๆ ก็วิ่งเล่นตามประสา ทั้งที่เพื่อน ๆ หลายคนพากันไปเรียนพิเศษกันตัวเป็นเกลียว

    หากเราเข้าใจวิชาที่เรียนในห้องแล้ว ก็ไม่เห็นความจำเป็นต้องไปเรียนกวดวิชาอะไรสักนิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นครูผู้สอนในโรงเรียนก็ต้องมีศักยภาพเพียงพอด้วย ครูอาจารย์ในสมัยอิฉันท่านมีความสามารถและมีวิญญาณของครูเต็มเปี่ยม ท่านจะทุ่มเทและห่วงใยศิษย์อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ขนาดห้องของอิฉันจัดว่าเกเรและนักเลงที่สุดในโรงเรียน สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้อาจารย์ไม่เว้นแต่ละวัน ท่านยังช่วยผลักดันศิษย์เกเรสุดเฮี้ยวอย่างพวกอิฉันจนจบออกมาได้ และสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันได้เกือบทุกคน

    ถ้าหากรัฐบาลและคนไทยมองว่าโรงเรียนกวดวิชาเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับระบบการศึกษาของคนไทย นั่นหมายความว่าคุณกำลังยอมรับว่าระบบการศึกษาในโรงเรียนของเรามันล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า มันไม่สามารถสร้างเด็กให้มีความรู้ความสามารถได้เพียงพอ เด็กจึงต้องไปกระเสือกกระสนเรียนพิเศษข้างนอกอีก ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงรัฐบาลและพวกเราต้องรีบกลับไปดูแล้วล่ะ ว่ามันล้มเหลวเพราะอะไร .... เพราะครูผู้สอน หรือ เพราะระบบ !!!

    และถ้าจะต้องจุนเจือโรงเรียนกวดวิชาจริง ๆ อิฉันว่าเงินส่วนนั้นเอามาเพิ่มเป็นเงินเดือนให้ครูผู้สอนดีกว่า ให้วิชาชีพครูเป็นอาชีพที่ได้เงินเดือนสูงมาก ๆ ไปเลย คนที่มีความรู้ความสามารถเก่ง ๆ จะได้เข้ามาเป็นครู แทนที่จะหันไปหาเรียนสาขาอาชีพอื่น แล้วทิ้งให้อาชีพครูเป็นเพียงแค่สาขาอาชีพสำหรับคนที่อยากสอบเข้าอะไรได้ง่าย ๆ แค่นั้นเอง

    ....ป.ล. ดีใจอย่างมาก ที่เห็นหนุ่มทางไกลกลับมาแล้ว คิดถึงนะค๊า :D

  • Kimmim
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เด็กไทยยุคสมัยนี้ตั้งใจเรียนเฉพาะที่ร.ร.ไม่พอแล้วค่ะ

    สมัยก่อนที่ลูกดิฉันเรียนชั้นประถมก็เคยคิดว่า ไม่อยากให้ลูกเป็นหุ่นยนต์เรียนหนังสือเป็นบ้าเป็นหลัง ขอแค่ตั้งใจเรียนในชั้นก็น่าจะพอ...โชคดีว่าไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ การเรียนอยู่ในระดับดี

    แต่พอขึ้นมัธยมเท่านั้นแหละคุณเอ๋ย....โลกพลิกกลับตาลปัตรเลยเชียว เพราะ

    1.โทษระบบการศึกษาสมัยนี้เลย กระทรวงก็อยากให้เด็กไทยสมัยนี้หัดช่วยเหลือตัวเอง รู้จักค้นคว้าหาข้อมูลเองมากขึ้น ในขณะที่เด็กไทยยังไม่คุ้นชินกับระบบนี้...ครูไม่เน้นการสอนแต่สั่งการบ้านมาให้ทำรายงานส่ง ก็ไปค้นในเน็ต แล้วก๊อป-printส่งครู ถึงเวลาครูออกสอบ เด็กงงเพราะบางอย่างก็ไม่ได้มีในรายงานที่ทำส่งครู แถมแบ่งกลุ่มทำรายงานแต่ไม่ได้มีการแชร์ข้อมูล เด็กก็ทำได้เฉพาะข้อที่ตนเองไปค้นหาข้อมูลมาทำรายงานส่งเท่านั้น

    แล้วกระทรวงยังมีการตรวจสอบคุณภาพโดยการสุ่มสอบทั่วประเทศ หากร.ร.ไหนน.ร.สอบตกเยอะก็จะเจอบทลงโทษจากกระทรวงอีก โดนทั้งครูทั้งน.ร. โดยที่กระทรวงไม่มาถามเด็กๆเลยว่า ทุกวันนี้เรียนอย่างมีความสุขไหม? เด็กกดดันค่ะ

    2.ครูบางคนก็เขี้ยว คือสอนในร.ร.พอเป็นพิธี สมมติสอนคณิตศาสตร์ ก็เขียนโจทย์บนกระดานแล้วเขียนวิธีทำให้น.ร.ลอกตามบนกระดาน เสร็จแล้วก็มานั่งอธิบายเป็นข้อๆ ปรื๊ดเดียวจบ..หมดเวลาสอน คาบต่อไปก็ทำอย่างนี้อีก

    เด็กไม่เคยมีโอกาสได้ถามในสิ่งที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ...ครูเองก็คิดว่าเด็กต้องไปเรียนพิเศษมาแล้วล่ะ ไม่จำเป็นต้องอธิบายมากหรอก(เป็นงั้นไป)

    แล้วพอสอบออกมา เด็กคนไหนผลการเรียนแย่ๆ ครูก็จะมากระซิบบอกผู้ปกครองว่า ตนเองรับสอนพิเศษอยู่นะ(นอกเวลาเสาร์-อาทิตย์)สนใจให้ลูกไปเรียนด้วยไหม? ครั้นพอส่งลูกไปเรียนด้วยจึงถึงบางอ้อ... เพราะครูเอาตัวอย่างข้อสอบมาให้ทำล่วงหน้า วิชาไหนที่เป็นท่องจำก็เอามาบอกกันตอนเรียนพิเศษนั่นแหละ แบบบอกข้อสอบก่อนล่วงหน้า... แบบนี้แล้วเด็กที่ไหนจะสอบตก? ก็ได้คะแนนดีกันเป็นแถวๆ แต่ถามว่า..ถ้าต้องไปสอบแข่งกับน.ร.โรงเรียนอื่นจะไหมมั๊ย? ตอบว่าคงยาก เพราะเด็กไม่ได้เรียนรู้อย่างเข้าใจเนื้อหาลึกซึ้งอะไรเลย เอาแค่ที่จะออกสอบแล้วทำให้ได้คะแนนดีมาก็แค่นั้นพอ

    3.ตัวเด็กเอง เด็กบางคนก็ไม่อยากเรียน แต่โดนภาคบังคับจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องให้ได้อย่างนั้นอย่างนี้...เด็กเลยต่อต้าน ไม่สนใจเรียนในห้องมันซะเลย พอครูเข้ามาสอนก็จับกลุ่มคุยกัน ครูสมัยนี้ไม่กล้าตีเด็กเพราะกลัวผู้ปกครองโวยวาย รวมไปถึงกลัวผู้ปกครองเอาเด็กออกจากร.ร.(โรงเรียนขาดรายได้ก็โดนครูใหญ่ตำหนิเอาอีก) ก็เลยไปรบกวนสมาธิการเรียนในห้องของเพื่อนคนอื่นๆเขา...

    เด็กจับกลุ่มคุยกันหลังห้อง....ครูก็แหกปากสอนไปหน้าห้อง เพื่อนร่วมห้องที่พยายามตั้งใจฟังครูก็ต้องเลื่อนๆมาอยู่หน้าห้อง ใครที่อยู่ช่วงกลางห้องก็ซวยไป จนเดี๋ยวนี้จึงมีระบบผลัดเปลี่ยนที่นั่งเรียนกันไปเรื่อยๆทุกอาทิตย์(ส่วนกลุ่มขาเม้าท์)ก็ยังอยู่หลังห้องเหมือนเดิมน่ะแหละ)

    ได้ข่าวสรุปมาตอนนี้ว่า...นโยบายนี้ของรัฐบาลได้ยกเลิก-ไม่ทำแล้วนะคะ

    เข้าใจค่ะว่า กระทรวงศึกษาฯต้องการยกระดับมาตรฐานของเด็กไทย

    แต่กระทรวงน่าจะค่อยๆเปลี่ยน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ไม่ใช่หักเอาแบบนี้เด็กปรับตัวไม่ทันค่ะ

    จนสุดท้ายก็มีปัญหามาอย่างที่เป็นอยู่นี่แหละ

    ----------------------------------------------------------------------------------------

    ดีจังที่เห็นคุณKidD กลับมารู้รอบอีกค่ะ Welcome back ^^o

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เออ..ใช่..ไม่เคยเรียนกวดวิชาเหมือนกัน ไม่ใช่เรียนเก่ง แต่ไม่มีเงินเรียน

    แล้วตะเองล่ะ ผ่านเมืองนอกหลายประเทศ บ้านเขาสึ่งตึงมีโรงเรียนกวดวิชาแยะไหม?

    ระบบสังคมบ้านเรามันวิปริตแบบนี้แหละ คนที่ไม่รู้เท่าทันเกมส์ ก็ตกเป็นเหยื่อในทุกเรื่อง

    มองแล้วอาจจะมาจากกินอาหา���เป็นพิษกันมากไป โดนมอมเมา สื่อก็หาเรื่้องโง่ๆมาให้เสพ

    ดูจากเรื่องการเมืองในรู้รอบ ในพันทิพย์ จะเห็นเอง ว่าคนมันพิการแยะจริงๆ

    ก็คงต้องตัวใครตัวมัน ช่วยแก้ ช่วยอธิบายไม่ได้เพราะควายแดงมันแยะ

    ด่ามัน มันก็หันมาถามว่า ทำไมมาด่าคนที่มีความเห็นแตกต่าง

    เออ ไม่ด่าแล้ว

    ว่าแต่ว่า..ทำไมหายไปนานล่ะ

    กลับมาแล้ว อยู่นานๆหน่อยนะ บ้านเมืองมันตกต่ำลงไปทุกวัน

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ฝากจากผู้ปกครองคนหนึ่งคะ ลูกสาวเรียนหนังสือ แล้วครูเปิดสอนพิเศษ ครูเอาเนื้อหาในสอนพิเศษมาถามนักเรียน ซึ่งลูกสาวไม่ได้ไปเรียนเพราะคิดว่าแค่เรียนทุกวันก็หนักแล้ว ทำไมต้องเรียนเล่า แทบไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์มีแต่งาน รายงาน ทำแทบไม่ทันค่ะ มีบางครั้งที่เราต้องช่วยทำค่ะ ( สุดวิสัยคะ) ห้าทุ่มยังไม่ได้นอนคิดดูสิ กลับมาถึงบ้านทานข้าวเสร็จ แล้วทำการบ้านค่ะ หลายๆวิชา ในหนึ่งวัน ยอมรับว่า เด็กยุคใหม่เรียนหนักจริงๆค่ะ

    แต่ทำไมเนื้อหาเสริมกับเนื้อหาสอนอันเดียวกัน เด็กที่เรียนแล้วก็ป่นว่าเรียนแล้วคะ ส่วนเด็กที่ไม่ได้เรียนก็บ่นว่าไม่เคยเรียน ทำให้รู้สึกเห็นใจนักเรียนมากกว่าค่ะ ฝากไว้คิดด้วยค่ะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่เห็นด้วยกับโรงเรียนกวดวิชาตั้งแต่ยังเรียนอยู่

    คิดเสมอว่าที่โรงเรียน เรียนไม่พอ เหรอทำไมต้องไปหาเรียนที่อื่น

    ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องเรียนที่โรงเรียน แต่ไปเรียนกวดวิชาแทน จากนั้นก็สอบเทียบเอาไม่ดีกว่าเหรอ

    วิชาที่เรียนเสริมก็น่าจะเป็นภาษาอังกฤษเป็นคอร์สต่อเนื่องเพื่อให้ฝึกพูด เช่น AUA หรือเรียนดนตรี

    เรียนเทนนิส ว่ายน้ำ จะดีกว่า...

    และคิดว่าที่รัฐเก็บภาษี ตามหลักแล้วคงอยากใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมไม่ให้กวดมีมากขึ้น

    แต่ก็คิดอีกว่าจะได้ผลจิงรึป่าว หรือจะยิ่งทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองจ่ายค่ากวดวิชาแพงขึ้น

    เพราะสถาบันกวดวิชาอาจผลักภาระภาษีให้แก่นักเรียน

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เราโทษการออกข้อสอบเพื่อคัดเลือกเด็กเข้าเรียนค่ะ

    ข้อสอบมักจะออกเกินเนื้อหาที่โรงเรียนสอน

    ... ถูกผิดไม่รู้แต่ครูสมองน้อยๆ อย่างเราคิดได้แค่นี้

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    น่าคิดว่าประกาศผลการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการทีไรประเทศไทยได้เหรียญตลอด

    แต่โรงเรียนชื่อดังๆ กันทั้งนั้น จะว่าไม่มีมาตรฐานก็คงไม่ใช่

    น่าจะมีแต่อยู่เป็นกระจุก และสังคมไทยเป็นแบบฟาสฟู้ดชอบอะไรแบบง่ายๆ

    เรียนหลายปีไม่เอา ต้องแบบสองเดือนแล้วได้ผลสอบได้หล่ะมั่ง

    โรงเรียนกวดวิชาก็เลยไม่ง่ายไปสักที

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตอบตามความรู้สึกที่ได้สัมผัสมาคิดว่า ถ้าระบบการสอนของโรงเรียนและครู อาจารย์ ถ่ายทอดและสอนนักเรียนอย่างจริงจังและจัดนักเรียนในชั้นให้เหมาะสมกับการที่นักเรียนทุกคนจะได้มีการฝึกฝนและทดสอบทั้งกับเพื่อนร่วมชั้นและกับครูเองก็ดี ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปกวดวิชาตามสถาบันต่างๆ อันที่จริงแล้วนักเรียนควรมีประสบการณ์ในชีวิตประจำวันนอกเหนือจากชั้นเรียนด้วยเพราะจะทำให้เด็กๆ ได้เพิ่มทักษะรู้หน้าที่ความรับผิดชอบซึ่งจะโยงไปสู่ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองได้โดยอัตโนมัติและยังสามารถทำให้รู้จักการให้การรับหรือตลอดจนผิด ถูก ความขยัน อดทน ทุกอย่างเป็นความรู้จากการปฏิบัติทั้งสิ้น ซึ่งเป็นวิชาแรกที่ส่วนใหญ่แล้วเด็กๆปัจจุบันนี้เรียนเก่งแต่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นว่าเด็กๆสมัยนี้อ่อนแอในเรื่องของสภาวะจิตใจ เพราะเด็กๆสมัยนี้ถูกเลี้ยงมาเพื่อเรียนอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ต้องทำ จะเห็นว่าเด็กๆมากมายต้องเรียนพิเศษทุกเย็น ทุกวันเสาร์ หรืออาทิตย์ บ้างก็หมกอยู่ในสถาบันการสอนซึ่งมีอยู่มากมายตามห้างสรรพสินค้า ระหว่างช่วงว่างของการเรียนวิชาหนึ่งส่วนใหญ่ก็จะต้องเตร่อยู่ในห้างเช่นนั้น ทำให้เด็กๆ เหล่านี้ฟุ้งเฟ้อ เห่อตามแฟชั่นทุกรูปแบบ ดิฉันคิดว่าภาวะสังคมเช่นนี้จะทำให้เด็กขาดความแกร่ง เพราะส่วนใหญ่ผู้ปกครองคาดหวังว่าลูกจะต้องเรียนได้ดี และ เห็นว่าเด็กเรียนหนัก เพราะฉนั้นเด็กๆเหล่านี้จึงต้องเกิดมาเพื่อเรียนอย่างเดียว คือส่วนใหญ่จะได้ทฤษดี แต่ จะยากในการปฏิบัติยิ่งถ้าหากรอจนพวกเขาเรียนจบ สรุปแล้วสำหรับความเห็นส่วนตัวคือ ไม่เห็นด้วยกับการที่จะต้องให้เด็กไปเรียนพิเศษและไม่เห็นด้วยที่โรงเรียนต่างๆ ดันให้เด็กเรียนพิเศษ และ ไม่เห็นด้วยกับการเรียนกวดวิชา

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ระบบการศึกษาไทยห่วยเอง การแก้กฎหมายผมมองว่าไม่ได้ช่วยอะไร นอกจากเก็บเงินเข้ารัฐ ถามว่าทำแล้วระบบการศึกษาดีขึ้นมั้ย ผมมองว่าไม่ได้ช่วยอะไร นอกจากคำว่าผลประโยชน์ เด็กเรียนดีก็ดีไป ส่วนเด็กเรียนแย่ก็เหมือนเดิมแล้วไปเสียเงินเพิ่ม

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมรู้แค่ว่า...นั่นเป็นธุรกิจการศึกษา น่ะนะ...

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้