Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

จิตว่างคืออะไร? ทำกันอย่างไร? ใครเป็นเจ้าตำรับ?

อัปเ��ต:

ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้กรุณาตอบและออกความเห็นมานี้ครับ จากคำตอบทั้งแปดท่านที่ผมได้อ่านมา พอสรุปได้ใจความของแต่ละคำถามว่า

๑. จิตว่างคืออะไร? สรุปได้สองประเด็นคือ

๑.๑ คือจิต ที่ว่างจาก “ความรู้สึกตัวเอง” ซึ่งเรียกว่า “อุปปาทาน” หรือ ต้องว่างจาก อารมย์ (เพราะอะไรที่ต้อง “ว่าง” จากความรู้สึกตัวเอง และว่างจาก อารมย์ เหตูผลก็ฟังชอบกลอยู่ ใครช่วยอธิบายให้ชัดเจนยื่งขึ้นได้ไหมครับ?)

๑.๒ คือจิต ที่ว่างจากความรู้สึกนึกคิดทุกอย่าง บางท่านก็บอกว่าเพียงบางอย่างเช่น กิเลสเท่านั้น (ถ้าว่างจากบางอย่างเท่านั้นจะเรียกว่า “จิตว่าง” ได้อย่างไรครับ? จะเรียกว่า “ไม่ค่อยว่าง” จะไม่ชัดเจนกว่าหรือ? อยากถามเพิ่มอีกว่า “จิตว่าง” กับ “จิตดับ” ต่างกันไหม?)

๒. ต้องทำอย่างไร? ผมเห็นมีคำตอบหลากหลายและก็ไม่สอดคล้องกันนัก ผมขอได้เห็นหรือพบตัวอย่างเป็นๆ ของผู้ที่ดำเนินชิวิตอย่างผู้มี “จิตว่าง” จะมีใครแนะนำให้ผมหรือให้ชาวบ้านได้รู้จักกันบ้างมีไหมครับ? ภาคทฤษฎีหรือข้อคิดเห็นก็มีขึ้นได้ง่าย แต่ภาคปฎิบัติก็เป็นเรื่องอีกอย่างหนึ่งมิใช่หรือ?

๓. ใครเป็นเจ้าตำรับ? พระพุทธเจ้าหรือ? มีหลายท่านตอบเป็นนัยว่า ท่านพุ

อัปเดต 2:

ขอขอบคุณ คุณมาโนช ที่พึ่งตอบคำถามนี้เมื่อไม่กี่ชั่วโมงนานี้ เป็นคำตอบที่ชัดเจน และมีหลีกการณ์ดี ขอบคุณมากครับ

9 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เพื่อความเข้าใจอันดี ผมจะขออธิบายโดยเปรียบเทียบทั้งความหมายเดิมและความหมายใหม่

    1. จิตว่างคืออะไร?

    1.1 "จิตว่าง" แบบเดิม คือ การเป็นอิสระจากความเป็นขอ��คู่ทุกอย่าง ซึ่งเป็นการอธิบายการดำรงอยู่ได้เองของ "เต๋า " ว่าเป็นอย่างไร และแตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ ตรงไหน เช่น

    - เต๋าดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากความดี-ความชั่ว

    - เต๋าดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากหยิน-หยาง

    - เต๋าดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากยาก-ง่าย

    - เต๋าดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากมี-ไม่มี

    - เต๋าดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากยาว-สั้น

    - เต๋าดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากสูง-ต่ำ

    - เต๋าดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากหน้า-หลัง

    สรุป : "จิตว่าง" แบบเดิมเป็นการอธิบายถึง "ความมีแก่นสารของเต๋า" ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากสิ่งอื่น ๆ

    1.2 "จิตว่าง" แบบใหม่ คือ การเป็นอิสระจากความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ซึ่งเป็นการอธิบายถึงสภาวะที่จิตว่างจากความคิดปรุงแต่ง จิตรับรู้ทุกสิ่ง แต่ไม่ปรุงแต่งใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น

    - ว่างจากอัตตาและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากอัตตา

    - ว่างจากการยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งว่าเป็นตัวกูและของกู

    - ว่างจากความอยาก (ตัณหา) และจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน)

    สรุป : "จิตว่าง" แบบใหม่เป็นการอธิบายถึง "ความไม่มีแก่นสารของสรรพสิ่งทั้ปวง" ซึ่งต้องอาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น อาศัยสิ่งอื่นตั้งอยู่ และก็อาศัยสิ่งอื่นดับไป เป็นธรรมดา

    2. ทำกันอย่างไร?

    2.1 วิธีการเดิม คือ การดำเนินชีวิตให้คล้อยตามเต๋า เช่น

    - ปล่อยสรรพสิ่งเจริญพัฒนาตามสัญชาตญาณธรรมชาติ โดยไม่ก้าวก่าย

    - ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง โดยไม่ครอบครองเป็นส่วนตน

    - ช่วยเหลือเอื้อสรรพสิ่งเต็มกำลัง โดยไม่คิดหวังผลตอบแทน

    - เมื่อภารกิจสัมฤทธิ์ผล โดยไม่แสดงตนเป็นเจ้าของ

    2.2 วิธีการใหม่ คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความยึดมั่นถือมั่นในบุญและบาป รวมทั้งกุศลและมหากุศลด้วย (ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในอะไรทั้งสิ้น รวมทั้งความดีด้วย)

    3. ใครเป็นเจ้าตำรับ?

    3.1 ท่านเหลาจื้อ ศาสดาของลัทธิเต๋า เป็นเจ้าตำรับ

    "จิตว่าง" แบบเต๋าเป็นการอธิบายถึง "ความมีแก่นสารของเต๋า" ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้เองและเป็นอิสระจากสิ่งอื่น ๆ เพื่อให้มนุษย์ยึดมั่นในความเป็น "อัตตตา" ของเต๋า และเพื่อให้มนุษย์หยั่งรู้ถึง "ความไม่มีแก่นสารของสิ่งอื่น ๆ" ไปพร้อม ๆ กัน

    3.2 คำว่า "จิตว่าง" นั้น ท่านพุทธทาสภิกขุนำมาใช้ก่อนคนอื่นในเมืองไทย

    ความหมายของท่าน คือ ว่างจากความอยาก (ตัณหา) และจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ซึ่งท่านพุทธทาสได้แนวคิดนี้มาจากฝ่ายมหายาน แต่หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเรื่อง "จิตว่าง" ที่ท่านพุทธทาสสอนและเน้นนั้นก็คือเรื่อง "ศูนยตา" ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่โมฆราชมาณพนั่นเอง

    แต่ "จิตว่าง" แบบพุทธเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึง "สิ่งที่ไม่มีอยู่" มากกว่า "สิ่งที่มีอยู่" พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นเพียงคำที่ใช้เรียกความไร้แก่นสารของสรรพสิ่งทั้งปวง เพื่อช่วยให้มนุษย์คลายความยึดมั่นถือมั่นในทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งความดีด้วย

    หมายเหตุ

    1. "จิตว่าง" ในทัศนะของชาวพุทธนั้นไม่ได้หมายถึง จิตที่เป็นอิสระจากอารมณ์

    แต่ "จิตว่าง" หมายถึง สภาวะที่จิตว่างจากความคิดปรุงแต่ง คือ จิตรับรู้ทุกสิ่ง แต่ไม่ปรุงแต่งใด ๆ และเป็นเพียงคำที่ใช้เรียกความไร้แก่นสารของสรรพสิ่งทั้งปวง เพื่อช่วยให้มนุษย์คลายความยึดมั่นถือมั่นในทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งความดีด้วย

    2. "จิตดับ" ในทัศนะของชาวพุทธนั้นไม่ได้หมายถึง คนตายแล้วสูญ จิตจึงดับสูญไปด้วย

    แต่ "จิตดับ" หมายถึง จิตมันสูญมาตั้งแต่ยังไม่ตาย คือ มันก็ไม่ได้มีตัวเราอยู่จริง ซึ่งก็เท่ากับว่ามันสูญจากความมีตัวเรามาตั้งแต่เรายังไม่ตายแล้ว สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะชาวพุทธไม่เชื่อว่า "จิตเป็นอัตตา" (ตัวตนอมตะ) แต่เชื่อว่า "จิตเป็นอนัตตา" (ตัวตนชั่วคราว)

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตาแก่ : เป็นอยู่อย่างไรเรียกว่าเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง ?

    หลวงตา : เป็นอยู่ด้วยจิตว่างนั้น มิใช่เป็นอยู่ด้วยการนั่งหรือนอนตัวแข็งทื่อเป็นท่อนไม่ดังที่เข้าใจกันเอาเอง ตามความเขลาเพราะไม่เข้าใจคำว่าสุญญตาของพระพุทธเจ้า. คำว่า "ว่าง" หมายถึงว่างจากความรู้สึกว่ามีตัวกู หรือของกู ดังที่กล่าวมาแล้ว ตัวเรามีขึ้นมาก็เพราะเรามีความรู้สึกว่าตัวเรามี ความรู้สึกว่าตัวเรามีอยู่นั้น จะมีแต่ชั่วขณะที่เรารู้สึกอย่างนั้น ความรู้สึกอย่างนั้นเรียกว่าอุปาทาน เมื่อจิตกำลังมีอุปาทานอย่างนี้ เรียกว่าเป็นจิตโง่หรือการเป็นอยู่ด้วยความโง่ เมื่อใดไม่มีอุปาทาน ก็เรียกได้ว่าไม่มีความโง่ แต่เป็นการอยู่ด้วยสติปัญญา หรืออย่างน้อยก็มีผลเท่านั้นกับการเป็นอยู่ด้วยสติปัญญา มีผลเป็นความไม่มีทุกข์เลย มีแต่สติปัญญา และการเคลื่อนไหวไปตามอำนาจของสติปัญญานั้น นี่แหละควรจะเรียกว่ามหากุศลแปลว่าดี ว่าฉลาด ว่าตัดเสียซึ่งอกุศล มหาแปลว่าใหญ่หลวง กุศลใหญ่หลวงคือการเป็นอยู่ด้วยจิตที่ไม่ยึดอะไรไว้ว่าเป็นตัวตนหรือของตน ไม่มีความทะเยอทะยานด้วยตัณหาในสิ่งใด à¸��ำงานเพื่องาน ทำงานเพื่อธรรม บริโภคผลงานเพียงเพื่อมีชีวิตอยู่สำหรับบรมธรรม คือนิพพาน ซึ่งเป็น "ความว่าง" อย่างสุดยอด นี่แหละคือใจความของการมีชีวิตอยู่ด้วยจิตว่าง ซึ่งขอสรุปเป็นคำกลอนสำหรับจะจำไว้ได้ง่าย ๆ แก่การนึกว่า :-

    จงทำงาน ทุกชนิด ด้วยจิตว่าง

    ยกผลงาน ให้ความว่าง ทุกอย่างสิ้น

    กินอาหาร ของความว่าง อย่างพระกิน

    ตายเสร็จสิ้น แล้วในตัว แต่หัวที

    ตาแก่ : ดู ๆ ยิ่งพูดไปจะยิ่งฟังยากสำหรับคนทั่วไปเข้าทุกที ?

    หลวงตา : อีก 5-10 ปี จะง่ายเหมือนเรื่อง "มหากุศล" ในเวลานี้.

    ตาแก่ : ช่วยเทศน์ให้เข้าใจกันเดี๋ยวนี้ไม่ได้หรือ ?

    หลวงตา : ได้เหมือนกัน แต่ต้องขอเครื่องกัณฑ์ที่มากสมกัน คือนั่งฟังนิ่ง ๆ ไม่เอ่ยปากพูดอะไรหมด ติดต่อกันไม่ลุกเป็นเวลา 3 เดือน.

    ตาแก่ : ถ้าอย่างนั้นวันนี้ต้องขอลาก่อน ขอเอาไปตรึกตรองในส่วนที่พอจะตรึกตรองได้ด้วยตนเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ให้เหลือส่วนที่จะต้องถามให้น้อยที่สุดแล้วจึงค่อยมาถาม.

    หลวงตา : นั่นแหละคือวิธีที่สุดสำหรับศึกษาธรรมะขั้นนี้ในพระพุทธศาสนา.

    ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ

    แหล่งข้อมูล: พุทธทาสภิกขุ โมกขพลาราม ไชยา 8 เมษายน 08 http://www.songpak16.com/Budhatas/bdd-06.htm
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จิตที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยสิ่งแปลกปลอมใด ๆ

    เป็นจิตในสภาพเดิมแท้ของมัน

    ทำไม่ได้ เพราะถ้า"ทำ" ก็คือการบิดเบือนสภาพจิตให้ผิดไปจากปรกติ

    สิ่งที่พึงกระทำก็คือการมีสติรู้เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ เมื่อเห็นสิ่งแปลกปลอม(เช่นความคิด ความอยาก ฯลฯ) สิ่งแปลกปลอมก็ดับไปเอง เป็นธรรมชาติ

    ไม่มีเจ้าตำรับค่ะ เป็นสภาวะธรรมชาติที่เข้าถึงกันได้ทุกคน เพราะทุกคนเกิดมาพร้อมจิตว่างอยู่แล้ว เพียงแต่ถูกปรุงแต่งจนจำสภาพเดิมแท้กันไม่ได้เป็นส่วนใหญ่

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จิตว่าง เป็นจิตที่เต็มไปด้วยสติปัญญา

    มรดกที่ ๑๕๐. จิตว่างแท้ ทางธรรมะ

    ต่างจากจิตว่างอันธพาล ซึ่งไม่รู้จักจิตว่างที่แท้จริง

    แล้วกล่าวหาว่า จิตว่างไม่ทำอะไร ไม่รับผิดชอบอะไร

    ทั้งที่จิตว่างแท้จริงนั้น ทำหน้าที่ทุกอย่าง

    ได้อย่างเฉลียวฉลาด ถูกต้อง และไม่เห็นแก่ตัว

    จงรู้จักจิตว่าง กันเสียใหม่เถิด

    ...คัดจากหนังสือ อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์

    .....จาก ท่านพุทธทาสภิกขุ

    แหล่งข้อมูล: http://gotoknow.org/blog/pobbuddha/376369
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สำหรับผมนะ จิตว่าง คือ เป็นอารมณ์ที่ปราศจากนิวรณ์ วิธีทำคือ ตั้งใจที่จะระงับ ในระยะแรกหากมันระงับไม่ได้ก็ค่อย ๆ ระงับ ใครเป็นเจ้าของตำรับ สำหรับผมคือ พระพุทธเจ้า แต่สำหรับคุณอาจจะเป็นคนอื่น หรือท่านอื่นก็ได้ ตามใจศรัทธานะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จิตที่ปราศจากความคิด มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ได้คิดนึกถึงความวุ่นวายในความฟุ้งซ่าน รู้ว่าคิด รู้ว่านึก รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ คือว่างจากสภาวะความคิดนึกต่อการกระทำ เห็นทุกอย่างล้วนมีความว่าง ไม่มีผิด ไม่มีถูก สำนึกได้ในงานที่ทำ แล้วฟันดาบ(กำหนดในความว่าง)ลงไป

    บอกตรงๆในความว่างของท่านพุทธทาส คล้ายๆเราต้องกวาดต้องควานหาอะไรที่มีอยู่ในความว่างนั้นอยู่น่ะ คงต้องใช้จิตที่สูงกว่าปัจจุบันมากมายถึงจะค้นหาพบ ต้องยอมรับว่าไม่ค่อยจะเข้าใจเหมือนกัน 555

    แหล่งข้อมูล: วิถึแห่งดาบยามาโมโต้ มุซาชิ
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จิตว่างคือจิตไม่มี หากมีจิตนั่นย่อมไม่ว่า ง ไม่มีอะไรว่างเปล่า ความหมายของผู้ใช้คำนี้อาจหมายถึงว่างจากความยาก ว่างจากกิเลศ แต่คุณต้องมีความอยากที่จะให้มีจิตว่าง จิตว่างจึงจะเกิด มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ขอให้มีจิตใจที่ว่างจากความชั่วร้ายก็น่าจะพอ หากจิตว่างจากความดีด้วย โลกเราคงไม่มีมนุษย์เหลืออยู่ เพราะความยากทั้งหลายไม่มี เมื่อไม่มี อะไรที่จะเกิดตามมาจึงไม่มี พูดหยาบๆกิเลศตัณหา ทำให้มนุษย์ดำรงเผ่าพันธ์อยู่ได้ เพียงแต่กำหนดกรอบของมันให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม ความอยากทำให้มนุษย์ค้นคว้าหาความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เอง แต่ต้องมีกรอบที่เหมาะสม

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เราคิดว่าตอนที่ใจเรานิ่งๆไม่ฟุ้งซ่านจิตรจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดนะค่ะ

  • Singha
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จิตกับสมองเป็นเหมือนสูญญากาศไม่คิดอะไรเลย

    การทำเริ่มจากวิปัสนากัมฐาน

    พระพุทธเจ้าเป็นต้นตำหรับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้