Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

"ปฏิบัติธรรมคืออย่างไร ปฏิบัติธรรมสำเร็จ วัดด้วยอะไร"?

อัปเดต:

พบคำถามว่า "เขาก็ปฏิบัติธรรมอยู่ แต่ทุกข์ก็ยังไม่คลาย " จึงสงสัยว่า เราเข้าใจคำว่า "ปฏิบัติธรรมกันอย่างไร" ถือว่าพวกเราช่วยกันทบทวน ความเข้าใจในเรื่องนี้ ให้ถูกต้องตามหลักธรรม ขอบคุณทุกๆ คำตอบครับ

อัปเดต 2:

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)บอกว่าการปฏิบัติธรรมก็คือการเอาธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทุกคนมีหน้าที่ต้องดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้อง

การวัดผลการปฏิบัติธรรม-ให้ดูใจของตนเองว่ามีโลภ โกรธ หลงไหม แล้วละคลายไปได้แค่ไหน มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้แค่ไหนเพียงไร มีความคิดประทุษร้ายต่อผู้อื่นหรือไม่ มีความเกลียดชังผู้อื่นหรือไม่ มีความต้องการในทางที่เห็นแก่ตนมากมายแค่ไหนเพียงไร มีความลุมหลงเพลินเพลินมัวเมาแค่ไหนเพี่ยงไร ใจตัวเองรู้ ถึงจะปฏิบัติมีศิลเคร่งครัดแค่ไหนเพียงไร หรือได้ฌาณสมาบัติ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อะไร ฯ ไม่ใช่เครื่องวินิจฉัย

10 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    สวัสดีค่ะ

    การปฏิบัติธรรมนี้ มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการปลีกตัวไปทำสมาธิ หากพระพรหม คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ การนำธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต (ทั้งประโยชน์ปัจจุบัน และ เลยตาเห็น)

    สำหรับการวัดผลการปฏิบัติธรรม สามารถวัดได้ด้วย 3 หลักใหญ่ มีรายละเอียดอยู่ที่นี่ค่ะ

    http://gotoknow.org/blog/nadrda/291099

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สำหรับฉัน ฉันเข้าใจตามที่พระ(ศาลาลอยน้ำ)สอนว่าการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ 1.กระบวนการเรียน 2.เพื่อให้รู้ความจริงของชีวิต 3.ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ขยายความดังนี้...

    1. กระบวนการเรียน

    กระบวนการเรียนทางพระพุทธศาสนา มีบทเรียนอยู่ 3 บทคือ (1) ศีลสิกขา (2) จิตสิกขา และ (3) ปัญญาสิกขา ศีลสิกขาเป็นการศึกษาเรื่องการรักษาจิตใจให้เป็นปกติ โดยการตัดเครื่องรบกวนอันเกิดจากการกระทำผิดทางกายและวาจาออก จิตสิกขาเป็นการศึกษาว่า ทำอย่างไรจิตจะตั้งมั่นและเป็นกลางต่ออารมณ์ สามารถรู้อารมณ์รูปนามที่กำลังปรากฏได้โดยไม่คลาดเคลื่อนไปหลงรู้อารมณ์บัญญัติแทน และไม่หลงส่งนอกส่งในไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า เพราะจิตของคนและสัตว์ทั่วไปมักหลง/ไหลหรือส่งออก ไปจมแช่อยู่กับอารมณ์อันเป็นกองทุกข์มาแต่ไหนแต่ไร ทำให้เคยชินหรือด้านชากับทุกข์จนมองทุกข์ไม่ออก เมื่อมีจิตสิกขาก็จะช่วยให้จิตถอดถอนตนเองออกจากทุกข์ได้เป็นการชั่วคราว เมื่อจิตหลง/ไหลหรือส่งออกไปจมแช่คลุกเคล้ากับอารมณ์อีก คราวนี้จะเห็นทุกข์ได้ชัดเจนซาบซึ้งถึงใจยิ่งกว่าที่เคยเห็นมากà��ˆà¸­à¸™ สำหรับปัญญาสิกขาเป็นการเรียนรู้เรื่องทุกข์(รูปนาม)ด้วยจิตที่ตั้งมั่นแล้ว จนเห็นแจ้งรูปนามตามความเป็นจริงว่าไม่ควรยึดถือเอามาเป็นตัวเราของเรา และทราบชัดว่าเมื่อใดจิตหลง/ไหลหรือส่งออกไปยึดอารมณ์ เมื่อนั้นความทุกข์จะเกิดขึ้น เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้ จิตก็จะไม่หลง/ไหลหรือส่งออกไปเกาะเกี่ยวยึดถืออารมณ์อีก โดยไม่ต้องพยายามควบคุมบังคับจิตแต่อย่างใด

    2.เพื่อให้รู้ความจริงของชีวิต

    วัตถุประสงค์ของการเรียนคือการทำให้เกิดความรู้ถูกเข้าใจถูก หรือมีสัมมาทิฏฐิ จนเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต และสามารถมีชีวิตอยู่ได้แบบมีทุกข์น้อยๆ หรือไม่มีความทุกข์เลย นี่คือประโยชน์ที่สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เราไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อสิ่งอื่น เช่นเพื่อแสวงหาโชคลาภ เพื่อแก้กรรม หรือเพื่อให้เกิดตาทิพย์หูทิพย์และอำนาจวิเศษใดๆ ทั้งสิ้น สิ่งที่เราเรียกว่าพระพุทธศาสนานั้น เอาเข้าจริงก็คือสัมมาทิฏฐินี่เอง

    3. ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

    การเรียนรู้ดังกล่าวต้องเป็นไปตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ไม่ใช่ตามอุบายการปฏิบัติที่ท่านผู้อื่นสอน เพราะพวกเราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จะเชื่ออาจารย์มากกว่าเชื่อพระพุทธเจ้าไม่ได้ และแนวทางปฏิบัติที่จะเชื่อได้ว่าเป็นของพระพุทธเจ้าจริงนั้น จะต้องอยู่ในกรอบของหลักธรรมเรื่องกิจในอริยสัจจ์ ที่ว่า “ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ” จะออกนอกกรอบนี้ไม่ได้เด็ดขาด เช่น (1) จะปฏิบัติโดยมุ่งรู้นิพพานโดยตรงไม่ได้ (2) จะปฏิบัติโดยไม่รู้ทุกข์ (รูปนาม) ไม่ได้ (3) จะปฏิบัติโดยมุ่งละทุกข์ไม่ได้ และ (4) จะปฏิบัติตามคำบงการของตัณหาก็ไม่ได้ เป็นต้น

    จากความหมายของการปฏิบัติธรรมดังกล่าว การปฏิบัติธรรมสำเร็จควรวัดด้วยการปฏิบัติตนสำเร็จตามเป้าหมายของกระบวนการเรียน คือ การรู้ความจริงของชีวิตตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแล้วปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดทุกข์น้อยที่สุดหรือไม่มีทุกข์เลย ตัวอย่างเช่น

    1. ทันทีที่รู้สึกตัว อกุศลจะไม่มี ทำให้ไม่มีความทุกข์ใจในขณะนั้น เพราะโทมนัสเวทนาหรือความทุกข์ใจเกิดร่วมได้กับอกุศลจิตเท่านั้น จิตที่รู้สึกตัวจะรู้ ตื่น และเบิกบาน มีความสุขอยู่ในปัจจุบัน และเป็นความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยสิ่งภายนอกหรือคนอื่น

    2. เมื่อเกิดความรู้ถูกเข้าใจถูกเกี่ยวกับตนเอง ว่าตนเองไม่มีมีแต่รูปนาม หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเราหรือตัวเราเป็นรูปนามได้แล้ว จิตใจจะเกิดความสงบสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น มีความอบอุ่นใจอย่างประหลาดเพราะมีธรรมเป็นที่พึ่งได้แล้ว

    แหล่งข้อมูล: ศาลาลอยน้ำ www.bloggang.com ขออภัยในข้อบกพร่อง ฉันมีเจตนาให้ข้อมูลเพื่อสืบทอดแนวทางพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ ขอกุศลผลดีในครั้งนี้ส่งผลให้บิดามารดาบริวารญาติมิตรและสรรพสิ่งทั่วสากลพบสันติสุข
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การปฎิบัติธรรมคือการประพฤติปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าพิจารณาการเกิดแก่เจ็บตาย หายใจเข้าออกหรือเพื่อฝึกตนให้รู้ธรรมชาติของชีวิตทำให้จิตใจผ่องใสไม่เศร้าหมองจะให้เข้าใจก็คือให้เรารู้การเกิดและการดับไปของสิ่งของต่างๆหรืออารมณ์ของเราในขณะนั้นถ้าเรารู้เท่าทันของจิตใจของธรรมชาติเราจะพบกับความสุขความสงบที่แท้จริง และเขาวัดด้วยการเข้าถึงว่าเรารู้จักมากน้อยเพียงใดถ้าเรารู้มากเราก็จะพ้นจากทุกข์ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก(นิพพาน)คือจุดสูงสุดของชีวิต

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คิดว่าคำถามนี้หนูไม่สมควรตอบ แต่หนูขออนุญาตตอบในมุมของหนูนะคะ

    สำหรับหนู ปฏิบัติธรรมคืออย่างไร /คือปฏิบัติใจปฏิบัติตัวอย่าเดือดร้อนเบียดเบียนตัวเองและคนอื่นมั่นคงที่จะทำดี

    วัดความสำเร็จของการปฏิบัติธรรมไม่ได้เพราะหนูไม่รู้จะใช้อะไรวัดค่ะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ปฏิบัติธรรมคือการไม่ทำชั่วต่างๆ เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ปฏิบัติธรรมสำเร็จไม่ต้องวัดด้วยอะไร

    แต่แค่เพียงจิตใจไม่รัก โลภ โกรธ หลง คือปฏิธรรมสำเร็จแล้ว

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมสงสัยเหมือนกันว่า ขณะที่ผมกำลังตอบคำถามนี้

    ผมกำลังปฏิบัติธรรมหรือเปล่า และ ผมเป็นสุขหรือทุกข์กันแน่

    คิดไปถึงขนาดว่า ผมบรรลุอรหันต์ หรือยัง เพราะระดับพระอรหันต์

    ท่านเป็นผู้บรรุลธรรม เป็นผู้ "ไร้ทุกข์"

    ท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านหัวเราะในใจได้นะครับ

    "รู้สึกเป็นสุขขึ้นตั้งเยอะ" ว่ามั๊ย

    พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ "ความจริง" ตามธรรมชาติ คือ ความจริงมีอยู่ธรรมดา

    ตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าค้นพบแล้วนำมาแสดงให้ บัวลอย..เอ๊ย..บัวใต้น้ำ

    อย่างกองกอย ให้เข้าใจ ความจริงตามนั้น เข้าใจได้มากน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับ

    "ธุลีในดวงตา" โดยอาศัย "ปัญญา" มากกว่า "ศรัทธา" เป็นธงนำ

    "ความจริง" เป็นไปตาม "เหตุ-ปัจจัย" ไม่ขึ้นต่อ เทพ เทวดา ที่ไหนดลบันดาน

    ถ้าผมตอบคำถามนี้แล้ว "ผล(ปัจจัย)" ที่ผมต้องการ คือ ได้คะแนนสิบคะแนน

    ท่านคงเห็นแล้วว่าเหตุปัจจัยนี้ อาจนำความทุกข์มาสู่ผมได้ง่ายมาก เช่นนี้แล้ว

    การตอบคำถามของผมครั้งนี้ไม่อาจเป็นการปฏิบัตธรรมได้เลย วัดผลง่ายๆด้วย

    ปัญญาของผมว่า "แกทุกข์แน่นอน ไอ้หน้านกเทศ" หากปรุงแต่งทุกข์ต่อไป

    ผมอาจเลยเถิด ไปตั้งคำถามระรานเอากับเพื่อนรู้รอบท่านอื่น เช่น

    "รู้รอบนี้ มีมาตรฐานอะไร เพื่อนๆ ว่าแย่มากเลยใช่มั๊ย?" เป็นต้น ครับ

    และขณะนี้ การถามตอบในรู้รอบไม่เพียงต้องการสิบคะแนน แต่..

    ถามตอบกันแล้ว มีผลต้องการได้ "เพื่อนสนิทรู้ใจ" อีกด้วย

    มีเพื่อนเตือนผมว่าไม่ควรมาเล่นที่นี่นาน ระวังจะติด "เสือสาว"

    ครับ..และผมก็เล่นมาพักใหญ่ๆ แล้ว อยากบอกเพื่อนคนนั้นว่า..

    "ผมชอบเสือ" ที่นี่

    เอะ..เราคุยเรื่องทุกข์กันอยู่ใช่มั๊ย

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เราไ่ม่เก่งทางด้านปริยัติ หรืือ ในเชิงวิชาการ...ขอตอบในแบบปุถุชน คนธรรมดาที่พอจะทำได้

    การปฏิบัติธรรมสำหรับเราคือ การรู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริงของชีวิต คืือ รู้อริยสัจ 4 แล้วก็พยายามมฝึกฝนอบรมใจ ให้ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต คลายความยึดมั่นถืือมั่น พิจารณาให้เห็นแจ้งชัด ในความเป็นอนิจจัง ทุกขัง แล้วก็อนัตตา...

    ปฏิบัติธรรมสำเร็จวัดด้วยอะไร...ต้องสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ แก้ความทุกข์ให้กับตัวเองได้ ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข สงบร่มเย็น รากเหง้าของความทุกข์ทั้งปวง ก็มาจาก ความโลภ ความโกรธ และความหลง การปฏิบัติธรรมได้สำเร็จ ต้องขจัด 3 ตัวนี้ให้ได้ แล้วก็จะพ้นทุกข์ได้อย่างถาวร....

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สำหรับผมคิดว่า "ธรรม" คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติ คือ การเข้าให้ถึง ทั้งแก่น ทั้งเปลือก ทั้งกระพี้

    ส่วนสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ บารมี 10 เต็ม และตัดสังโยชน์ได้ทั้งหมด 10 ข้อ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ปฏิบัติธรรม คือ หนทางไปสู่ทางพ้นทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แนะแผ้วทางให้แล้วถึงหนทางที่จะไป ส่วนจะไปแบบไหน อย่างไร มีทางให้เลือกมากมายตามจริตของตน เช่น อาณาปานสติ สติปัฏฐาน กรรมฐาน 8 กสิณ 10 ก็ว่ากันไป

    การวัดความสำเร็จ วัดกันที่ระดับอริยบุคคล คือ โสดาปติมรรค โสดาปติผล ฯลฯ เรื่อยไปจนถึงอรหันตมรรค อรหันตผล คือนิพพานไปเลยไม่กลับมาเกิดในวัฏฏสังสารนี้อีก ผู้ที่ได้ระดับผลจะรู้ถึงผู้รู้ระดับมรรค ในขณะที่ผู้รู้ระดับมรรคจะมุ่งไปหาผู้รู้ระดับผล เพราะดีกว่าที่จะค้นหาเอง ซึ่งอาจจะช้าไปกับชีวิตในกัปกัลป์นี้

    แหล่งข้อมูล: หนทางสู่พรหม
  • Mor r
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ว่า กำลังปฏิบัติธรรม

    ส่วนใหญ่ จะเป็นการ ฝึกปฏิบัตà¸��ธรรม ครับ

    ผลของการ ฝึก ก็คือ รู้วิธีการใช้ธรรม รู้แนวทางในการนำไปใช้ให้เห็นผลลัพธ์

    เมื่อ ฝึก จนชำนาญระดับหนึ่งแล้ว

    ก็ถึงเวลาปฏิบัติธรรมจริงในชีวิตประจำวัน ก็จะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น ครับ

    ได้แก่ การรู้เท่าทันอารมของตัวเองที่เกิดขึ้น ในเวลาที่เจอสถานการณ์ต่างๆ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้