Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ไตรลักษณ์ ท่านเข้าใจอย่างไร?

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณ์ เชื่อไหม จริงไหม

อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด คืออะไร

11 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 9 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    พุทธิจริต หนักไปทางใช้ปัญญาเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี ถือหลักการ อนุรักษ์นิยม ชอบสั่งสอนคนอื่น

    ในทางปฏิบัติทาง พุทธ ทุกนิกาย พิจารณา

    พุทธิจริต พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาธาตุ4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ

    อานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริต

    ทุกข์ หรือ ทุกขัง (บาลี: ทุกฺขํ) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก หมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ 5 คือสังขารทั้งปวงล้วนเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ เป็นกิจ หนึ่งที่ชาวพุทธ ควรกำหนดรู้ เป็น กองหนึ่งใน อริยสัจสี่ อันได้แก่การรู้ ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุ ทุกข์ (สมุทัย) และตั้งเป้าหมายไปสู่การดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินเส้น เข้าสู่การดับ (มรรค)

    รู้แล้วใช่มั้ย เมื่อแจ้งแล้ว มรรคเกิด แต่ ไม่ยอมตายเสียที่ ในเมื่อยังไม่ตาย นิโรธ ต้องทำให้แจ้งตลอดเวลา พระในสมัยพุทธกาล ทำนิโรธจนแจ้ง มองเห็นมรรค อยู่ข้างหน้า สละ ปล่อยวาง ไม่ยืดติด กิเลส ราคะ ความกำหนัด ทั้งหลายทั้งปวง ครองตัวเป็นมนุษย์อยู่ก็น่ารำคาญเบื่อหน่าย สกปรก เหม็น เป็นที่ประชุมแห่งโรค ท่านก็จ้างให้โจรมาฆ่า พระพุทธ รู้เข้า ก็จึงห้าม ไม่ให้ ฆ่าตัวตาย

    ทุกข์ในพระไตร คำสอน มันมาคู่กัน เป็นไวพจน์ อนิจจัง อนัตตา คุณถามว่าเชื่อมั้ย ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

    อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ทนอยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะขันธ ทั้ง5

    อนัตตา ไม่มีตัวตน มันเป็นการประชุมกันของธาตุทั้งสี่ ถึงเวลามันแตกดับไป หาเจ้าของไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ ถึงจะเอา ฟอร์มาลีน แช้ใว้ ศพคุณ ศพผม มันก็แปรสภาพไปในที่สุด

    ถามสั้น แต่ตอบยาว ถึงแล้วยัง นิพพาน เริ่มไกล้ปลายจมูกเข้ามาแล้ว นอนดีกว่า

  • ?
    Lv 5
    9 ปี ที่ผ่านมา

    เหอ เหอ เหอ ผมมีแต่อย่างหนา"ตราหน้าไว้ อิอิอิอิ

    อนิจจัง อย่างหนา มันมาแล้ว

    ทุกขัง ไม่ได้ขังในความเสื่อม

    อนัตตา เป็นไงหนาได้เท่าไหร่เชียว ขออีกเหดี๋ยวก็จบลงตัวเอง

    อิอิอิ กดนิ้วได้ เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    แหล่งข้อมูล: คนคิดเหมือนคน ย่อมเป้น"คน"
  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    เราว่า อะไรที่มันจริง มันก็จริงวันยังค่ำ ไม่ต้องเชื่อ ก็ยังคงจริงอยู่เช่นนั้น

    ที่ถามอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อันนี้ ไม่ทราบเลย

    แล้วก็ คงไม่สามารถตอบจากความเข้าใจของตัวเองได้

    ยังไม่เก่งขนาดนั้น

    แต่ที่พอมีใกล้มือ หยิบมาอ้างอิงได้ มีสองเล่ม

    เล่มแรกคือ พจนานุกรมธรรมฉบับพุทธทาส อธิบายว่า ไตรลักษณ์ คือลักษณะ ๓ ประการ เป็นลักษณะที่มีประจำอยู่ในทุก ๆ สิ่งที่เป็นสังขาร* คือ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง ทุกขลักษณะ ลักษณะเป็นทุกข์ และอนัตตลักษณะ ลักษณะไม่มีความหมายแห่งตัวตน ลักษณะทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า "สามัญญลักษณะ" ก็มี "ธรรมนิยาม" ก็มี

    *สังขาร มีหลายความหมายมาก แต่ความหมายที่หมายถึงในคำอธิบายนี้ น่าจะเป็นความหมายที่หมายถึง

    "สิ่งที่มีขึ้นมาด้วยการปรุงแต่ง จะเป็นวัตถุสิ่งของก็ได้ จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตก็ได้ สิ่งใดมีการปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้น เกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่ง สิ่งนั้นเรียกว่า สังขาร คนก็ได้ สัตว์ก็ได้ วัตถุสิ่งของก็ได้ ** นี้ จำคำว่าสังขารไว้ให้ดี เพราะว่าเรารู้จักคำว่าสังขารนี้ก็น้อยเกินไป ให้ความหมายแคบเกินไป* (อ้างจากเล่มเดียวกัน)

    เล่มสอง คือพุทธธรรม ฉบับเดิม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายไว้อย่างละเอียด ขอยกมาพอสังเขปว่า

    "ความจริง ที่กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันของส่วนประกอบต่าง ๆ นั้น เป็นเพียงคำกล่าวเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ในเบื้องต้นเท่านั้น

    แท้จริงแล้ว สิ่งทั้งหลาย มีอยู่ในรูปของกระแส ส่วนประกอบแต่ละอย่าง ๆ ล้วนประกอบขึ้นจากส่วนประกอบอื่น ๆ ย่อยลงไป แต่ละอย่างไม่มีตัวตนของตัวเองเป็นอิสระ และเกิดดับต่อกันไปเสมอ ไม่เที่ยง ไม่คงที่ กระแสนี้ ไหลเวียนหรือดำเนินต่อไป อย่างที่ดูคล้ายกับรักษารูปแนวและลักษณะทั่วไปไว้ได้อย่างค่อยเป็นไป ก็เพราะส่วนประกอบทั้งหลายมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันอย่างหนึ่ง และเพราะส่วนประกอบเหล่านั้นแต่ละอย่างล้วนไม่มีตัวตนของมันเอง และไม่เที่ยงแท้คงที่อย่างหนึ่ง...

    ...

    ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลายซึ่งปรากฏให้เห็นว่า เป็นอย่างนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท

    ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนปรากฏลักษณะให้เห็นว่าเป็นไตรลัก��ณ์

    กฏธรรมชาติ(ไตรลักษณ์) เป็น ธรรมธาตุ คือภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา เป็นธรรมฐิติ คือภาวะที่ตั้งอยู่ หรือยืนตัวเป็ฯหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา เป็นธรรมนิยาม คือกฏธรรมชาติ หรือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่เกี่ยวกับผู้สร้างผู้บันดาล หรือการเกิดขึ้นของศาสดาหรือศาสนาใด ๆ "

    ถึงตรงนี้แล้ว ความเข้าใจส่วนตัว จากการอ่าน แล้วเห็นตามคำอธิบาย(ส่วนอื่นที่ไม่ได้ยกมาตอบ) ด��ฉันนึกถึงภาพคนที่อยู่บนเตียงผ่าตัด ถูกวางยาสลบ ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัด เปิดตั้งแต่ชั้นเนื้อ ลงไปยังอวัยวะภายใน จะส่วนไหนก็แล้วแต่ ถ้าเราพิจารณาถึงร่างกายของเรา ที่ประกอบขึ้นจากหน่วยเล็กย่อยคือเซลล์หลายล้านเซลล์ ทำหน้าที่ เม็ดเลือด หัวใจ ปอด กระเพาะ ลำไส้ ฯลฯ ส่วนย่อยพวกนี้ ประกอบขึ้นมาเป็นคนหนึ่งคน แล้วจริงจริงหน่ะ ที่เราคิด เราเข้าใจว่า นี่เรานะ นี่คือของเรานะ มันเป็นเพียงความคิดเท่านั้น ไม่ได้คิดแบบเป็นกลางด้วย แต่คิดแบบปรุงแต่ง โน่นนั่นนี่ขึ้นมาเอง จากการถ่ายทอด การสั่งสอน ตั้งแต่แรกเกิดด้วยซ้ำ

    ถ้ายังไม่เห็นภาพ เคยถอดชิ้นส่วนวิทยุ เครื่องจักร หรือรถยนต์มั้ย เวลาที่มันถูกถอดส่วนย่อยออกมาจนหมด เรามองไม่ออกเลยว่า มันคืออะไร หรือถ้าเคยดูเค้าประกอบรถยนต์ ตอนที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ น่าจะได้เค้าลางของความไม่มีตัวตนของเรา เราคือการประชุมรวมของธาตุต่าง ๆ เราคือขันธ์ ๕ เหมือนที่องค์พระศาสดาท่านตรัส

  • on-ces
    Lv 5
    9 ปี ที่ผ่านมา

    ไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ เป็นลักษณะอันสามัญ ของทุกสิ่ง

    เป็นสัจจะความจริง ไม่จำกาล ตอนนี้ใจยังไม่เชื่อค่ะ

    ขอสะสมความรู้โดยการเห็นยิ่งๆขึ้นไป

    อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด น่าจะเป็นกิเลส

    กิเลสอย่างหยาบคือกิเลสแรงๆ มีแล้วรู้ไม่ทัน คือโลภโกรธหลง

    กิเลสอย่างกลาง คือนิวรณ์ 5 อย่างทำให้ใจไม่มีสมาธิ ไม่ตั้งมั่น ไม่มีคุณภาพในการรู้อารมณ์

    กิเลสอย่างละเอียด คือ อวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ไม่ใช่คนเก่งนะครับ

    แต่ขอแจมด้วยละกัน

    ถ้ามองอย่างผิวเผิน ธรรมดาทั่วไป ก็มองไม่ออก

    เพราะ อนิจจัง แปลว่า ความเปลี่ยนแปลง

    ในขณะใดขณะหนึ่ง อาจไม่เปลี่ยนแปลง

    เพราะเราเห็นมันโท่นโท่ ว่า ยังเหมือนเดิม

    หากมองให้ลึกลงไป มันเปลี่ยนแปลงครับ

    มองลึกให้ถึง อนู หรือ อะตอม

    มันจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาครับ

    ทุกขัง และอนัตตา ก็ทำนองเดียวกันครับ

  • ?
    Lv 5
    9 ปี ที่ผ่านมา

    ทุกอย่างในโลก ล้วนแต่เป็นปรากฎการณ์

    ซึ่งมีลำดับสามลักษณะ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป

    เหมือนพายุ ไฟ ฟ้าร้อง และ คุณกับผม

    ตริตรองเอาเอง ไม่จำเป็นต้องเชื่อ

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    เว้ากันซื่อๆแล้วกันนะครับ

    ทุกข์ คือการเกิด ไม่ว่าจะสรรพสิ่งหรืออารมณ์ต่างๆล้วนเป็นทุกข์

    อนิจจัง คือเมื่อเกิดมาแล้ว ตั้งอยู่ถึงเวลาก็ต้องเสื่อมสภาพ แม้แต่อารมณ์ต่างๆเวลานานเข้าย่อมคลายลงในอารมณ์นั้นๆ

    อนัตตา คือ การดับหรือสิ้นสูญไม่ว่าจะสรรพสิ่งหรืออารมณ์ใดๆ

    สรุปคือ เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่เสื่อมลง แล้วดับไป ครับ

    แหล่งข้อมูล: ตามความเข้าใจครับ
  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ขอตอบโดยยึดรากศัพท์ของภาษาบาลีเป็นหลัก ดังนี้

    “ไตรลักษณ์" เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็น "สังขตธรรม" (โลก ดวงดาว วัตถุ ฯลฯ) เท่านั้น ไม่ใช่คุณลักษณะของสิ่งที่เป็น "อสังขตธรรม" (นิพพาน พระเจ้า) โดย “ไตรลักษณ์" นั้นจะประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ

    (1) อนิจจตา แปลว่า ความเป็นสภาวะที่ไม่คงที่ ไม่นิ่ง มีทั้งเจริญขึ้นและเสื่อมลง ที่หมายถึง การทรงตัวอยู่ (ชั่วคราว) นั้น “เป็นผล” แห่งการเกิด-การตาย สภาวะนี้คนโบราณเรียกว่า “วัฏฏะ”

    (2) ทุกขตา แปลว่า ความเป็นสภาวะที่คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องผันแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ที่หมายถึง การทรงตัวอยู่ (ชั่วคราว) นั้น “เป็นคู่” แห่งการเวียนเกิด-เวียนตาย สภาวะนี้คนโบราณเรียกว่า “ทุกข์”

    (3) อนัตตตา แปลว่า ความเป็นสภาวะที่ไม่ใช่ทั้ง 2 สิ่ง ที่หมายถึง การทรงตัวอยู่ (ชั่วคราว) นั้น “ไม่ใช่ทั้งอนิจจตาและทุกขตา” คือ ปฏิเสธทั้งหมด สภาวะนี้คนโบราณเรียกว่า “นิรโรธ”

    หมายเหตุ :

    อนัตตตา ไม่มีความหมายในตัวเอง เพราะฉะนั้น เวลาแปลความหมายของ "อนัตตตา" ต้องพิจารณาที่ "บริบท" ด้วยว่าประโยคนั้น "อนัตตตา" ไปเกี่ยวข้องกับอะไร เพราะจะมีความหมายในทำนอง "ปฏิเสธทั้งหมด" เช่น

    ถ้าปฏิเสธ "คู่" ของสภาวะเกิด-สภาวะตาย สภาวะนี้เรียกว่า "นิรวาร"

    ถ้าปฏิเสธ "คู่" ของสภาวะสุข-สภาวะทุกข์ สภาวะนี้เรียกว่า "นิรทุกข์"

    ถ้าปฏิเสธ "คู่" ของสภาวะอนิจจตา-สภาวะทุกขตา สภาวะนี้เรียกว่า "นิรโรธ"

    แต่ถ้าคำว่า “อนัตตตา”อยู่โดด ๆ จะแปลว่า “ไม่ใช่ทั้งสิ่งนี้และสิ่งนั้น” สภาวะนี้เรียกว่า “สูญญตา”

    ส่วนคำว่า "อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด" ส่วนใหญ่ หมายถึง "กิเลส"

    คำว่า "กิเลส" นั้นมีหลายระดับชั้น ซึ่งจะมีการเกิด-การดับที่แตกต่างกันไป

    เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่าย ๆ ผมจะขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ดังนี้

    1. กิเลสอย่างหยาบ เช่น พูดเท็จ กล่าวคำหยาบ ฯลฯ แก้ไขได้โดยใช้ "ศีล" เป็นปัจจัยสำคัญ

    2. กิเลสอย่างกลาง เช่น คิดฟุ้งซ่าน คิดปองร้าย ฯลฯ แก้ไขได้โดยใช้ "สมาธิ" เป็นปัจจัยสำคัญ

    3. กิเลสอย่างละเอียด เช่น อวิชชา การถือตัว ฯลฯ แก้ไขได้โดยใช้ "ปัญญา" เป็นปัจจัยสำคัญ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    9 ปี ที่ผ่านมา

    ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะสามอย่าง ซึ่งเป็นลักษณะความจริงแท้ของสรรพสิ่งที่ตกอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติ อันได้แก่

    ๑. อนิจจัง

    คือความเปลี่ยนแปลง ความไม่จีรังยั่งยืนของสิ่งทั้งปวง เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช และวัตถุทั้งปวงไม่อาจจะหลีกเลี่ยงอนิจจังได้ ความเปลี่ยนแปลงและความไม่จีรังเกิดขึ้นเสมอกับทุกสิ่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

    ๒. ทุกขัง

    คือ สภาพที่ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเดิมได้ มีความเสื่อมและสลายไปเป็นธรรมดา จากการที่สรรพสิ่งไม่ทานทนอยู่นาน สิ่งมีชีวิตที่มีวิญญาณ มีความรู้สึกจึงเป็นทุกข์ เพราะไม่อาจต้านทานความเสื่อมที่เกิดจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ความแก่ และความตายได้

    ๓. อนัตตา

    คือความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของสิ่งทั้งปวง เพราะเกิดจากองค์ประกอบหลายๆ อย่างมารวมกันเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่นร่างกายของมนุษย์และสัตว์ แท้จริงแล้วไม่มีตัวตน เพราะเกิดจากองค์ประกอบ คือมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มารวมกันตามธรรมชาติ แล้วมีจิตวิญญาณ มีความรู้สึก สักวันหนึ่งเมื่อกายนี้แตกดับ ทุกอย่างก็จะกลับไปสู่สภาพเดิม คือธาตุดินไปสู่ดิน ธาตุน้ำไปสู่น้ำ ธาตุลมไปสู่ลม และธาตุไฟไปสู่ไฟ ซึ่งเป็นกฎของอนิจจัง

    แหล่งข้อมูล: SB
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    9 ปี ที่ผ่านมา

    รออ่านคำตอบของทุกคนดีกว่าค้าาาา

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้