Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
คำว่า "ปฎิรูปก่อนการเลือกตั้ง" คืออะไร?
ส่วนตัวไม่ว่าจะปฎิรูปก่อนหรือเลือกตั้งก่อนก็ไม่ได้แปลก แต่สงสัยอยู่อย่างว่า คำว่า"ปฎิรูป"ที่หลายๆท่านพูดถึง มันหมายถึงอะไร แล้วใครควรเป็นทำ ใครจะเป็นผู้กำหนดแนวทางในการปฎิรูป บอกตรงๆว่ามองภาพกว้างยังมองไม่ออกเลย รายละเอียดหรือแนวทางยิ่่งนึกไม่ออกเลย ช่วยแนะนำเบื้องตันด้วยครับ เพื่อเป็นวิทยาทาน
5 คำตอบ
- ชายชาติLv 67 ปี ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
(ขออภัยที่ต้องแก้ไขหลายครั้ง เพราะเรื่องนี้สำคัญต่อประเทศชาติในระยะหัวแล้วหัวต่อ ในขณะนี้ และผมต้องการเขียนข้อคิดให้รัดกุมและชัดเจนที่สุด ครับผม)
การ ปฏิรูป คือแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีอยู่นี้ เพื่อระงับและป้องกันมิให้มีการทุ่มเงินซื้อเสียงเหมือนในอดีตได้อีก จึงจำเป็นต้องมีมาตราการและเปลี่ยนกติกาใหม่ สิ่งนี้ต้องทำก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งและกำหนดวันออกเสียง มิฉะนั้น พรรคเพื่อไทยของทักษิณ ชินวัตร ก็จะยกโขยงกันเข้ามาสูบเลือดสูบเนื้อของประเทศชาติได้เหมือนในอดีตอีกอย่างแน่นอนครับ เพราะกลไกของเขายังมีอยู่เพรียบพร้อมทุกอย่าง ทั้งบุคลากร ปัจจัยเงินทอง และประชาชนผู้พร้อมที่จะขายตัวขายเสียงให้พวกเขาเข้ามานั่งเป็นฝักถั่วในสภาอีกมากมายทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก การต่อต้านและการต่อสู้ที่ได้ทำมาแล้วจะไร้ประโยชน์อย่างสิ้นซาก จะต้องมีการประท้วงกันใหม่ เมื่อความฉิบหายเกิดขึ้นทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่ง
ความเห็นส่วนตัวของผม จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากคะแนนเสียงประชากรทั่วประเทศ เหมือนประเทศอื่นๆที่เจริญแล้วทั่วโลก มิใช่มาจากเสียงของคนในจังหวัดเดียว แต่ละพรรคจะส่งผู้สมัครลงแข่งขันในตำแหน่งนายกกี่คนก็ได้ แต่ว่า พรรคหนึ่งจะได้รับเลือกติดอันดับเพียงคนเดียว ผู้สมัครคนใดได้คะแนนสูงสุดก็จะเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ได้คะแนนรองลงมาอีก 2 คนจากพรรคอื่นๆจะเป็นรองนายก 2 คน ทั้ง 3 คนนี้จาก 3 พรรคการเมือง จะจัดโควต้าให้สมดุลย์กันโดยนายกเป็นผู้ริเริ่มจัดทำ ให้ร่วมกันตั้งคณะรัฐบาลขึ้นมา ให้เลือกผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีกันเอง เป็นการกระจายอำนาจและเป็นศูนย์ถ่วงให้กันและกัน และค้านกันไปในตัวด้วย
จำเป็นที่ต้องขีดเส้นอำนาจการปกครองประเทศให้ชัดเจน ทั้งสามเสาหลักประชาธิปไตยคือ รัฐบาล(ฝ่ายบริหารประเทศ) รัฐสภา(ฝ่ายนิติบัญญุติ) และศาลยุติธรรม(ฝ่ายตุลาการ) ต้องแยกกันและเป็นอิสระต่อกัน ผู้ลงสมัครและได้รับเลือกเป็น สส หรือ สว จะรับตำแหน่งรัฐมนตรีไม่ได้ และเป็นได้คนละเพียง 2 สมัยเต็มๆ จะเป็นเสือสิงห์กระทิงแรดมีเขี้ยวลากดินอีกก็ไม่ได้
ในสภาผู้แทนราษฎร จะไม่มีฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านกันอีกต่อไป สส ทุกคนมีหน้าที่สำคัญที่สุดคือ ร่างกฏหมายและออกกฏหมายใหม่ๆปกครองประเทศและเพื่อให้ฝ่ายบริหารทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น และเป็นผู้แทน เป็นปากเสียงของประชาชนในจังหวัดของตน
สว ในวุฒิสภามีหน้าที่กลั่นกลองและรับรองกฏหมายที่ออกใหม่นั้นว่าเหมาะสมหรือไม่ ด้วยการออกเสียงลงมติให้ผ่านหรือไม่ผ่าน ก่อนที่จะนำขึ้นถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ และวุฒิสภาจะมีหน้าที่ดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ บุคคลใดมีการส่งกลิ่นตุๆที่ไหน วุฒิสภาก็เชิญผู้เกี่ยวนั้นมาชี้แจงว่าทำอะไรอยู่อย่างนั้นได้ ตามอำนาจซึ่งได้ระบุไว้อย่างช้ดเจนในรัฐธรรมนูญแล้ว
การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ จะต้องเลือกซ่อม สส ซึ่งต้องพ้นตำแหน่งไปด้วยเหตุผลใดก็ตาม และเลือกนายก 1 คน รองนายก 2 คน จาก 3 พรรคการเมืองที่ผู้สมัครในพรรคนั้นได้คะแนนสูงสุด 3 คนแรก นอกนั้นสอบตกหมด แต่มีโอกาสได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีก็ได้ ถ้าได้รับเชิญจากนายกและรองนายกให้เข้าร่วมงานในคณะรัฐบาลด้วย คณะรัฐบาลสมัยแรกนี้จะอยู่ในตำแหน่งครั้งนี้เพียง 2 ปี แล้วจะมีการเลือกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้มีการเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติสลับกันไปทุกๆ 2 ปี แต่การเลือกนายกครั้งต่อไป จะเข้ารับตำแหน่งครั้งละ 4 ปี เช่นเดียวกับ สส และ สว และอยู่ในตำแหน่งนั้นได้เพียงคนละสองสมัยเต็มๆเท่านั้น ผู้ใดที่หมดสิทธิในเสาหลักใดแล้ว ก็ยังไปเล่นการเมือง รับตำแหน่งใดๆในเสาหลักอื่น เพื่อรับใช้ประเทศต่อไป รัฐธรรมนูญก็ย่อมอนุญาตให้ทำได้
ผู้ที่จะนำการปฏิรูปได้อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญคือประธานวุฒิสภา หรือนักการเมืองผู้ใดก็ได้ ที่ยื่นกฏษฎีกาต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้โดยเหตุผลอันชอบธรรมที่ได้ระบุมาแล้วนี้ หรือจะให้เปิดสมัยการประชุมรัฐสภาผู้แทนอีกก็คงทำได้ แต่เพราะพรรคเพื่อไทย ก็ยังคุมเสียงข้างมากอยู่ จะแก้ไขปฏิรูปรัฐธรรมนูญอย่างไม่เข้าข้างพรรคตนเอง ก็คงยากที่จะหวัง และถ้าให้สภาผู้แทนฯ ร่างการแก้ไขนี้ เขาก็คงจะไม่จำกัดให้ สส อยู่ได้เพียง 2 สมัยเท่านั้น (จริงป่ะ?) ด้วยเหตุผล 2 ประการนี้ จึงสมควรที่จะต้องเสนอจัดตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสายต่างๆ ให้เป็นผู้ร่างการแก้ไขปฏิรูปรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญ หรือโดยวุฒิสภานำโดยประธานวุฒิสภาก็ได้ ถ้าประธานวุฒิสภาจะทำอย่างนั้น
ขั้นตอนสุดท้าย วุฒิสภาก็ยังต้องลงมติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข(ปฏิรูป เปลี่ยนกติกาใหม่) นี้อยู่นั่นเอง ก่อนที่จะกำหนดให้มีการเลือกตั้ง และถ้าทำอย่างนี้ได้ เราจะได้ประชาธิปไตยที่มีฐานมั่นคงและเป็นธรรมกว่านี้ เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเป็นที่พอใจผู้อยากใช้มาตรา 7 แก้ไขปัญหานี้ด้วย ครับผม
- ARWUTTLv 57 ปี ที่ผ่านมา
เท่าที่ผมเข้าใจ คือให้พวกเราประชาชน ได้เป็นเจ้านาย โดยมีท่านผูแทนฯ เป็นผู้ควบคุม การทำงานและวางกรอบทางเดิน ในทุกขั้นตอน สำหรับหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ เกิดผลประสิทธิผล แก่ประเทศชาติ มากที่สุด เพื่อให้พวกเราประชาชน (เจ้านายใหญ่) ได้มีชีวิตที่ผาสุก มีอนาคตให้แก่ลูก หลาน เหลน หากประเทศของเรา มีความสามารถที่จะเจริญก้าวหน้าสูงสุด และรวดเร็วที่สุด อย่างที่ สิงคโปร์และเวียตนาม ที่เขาสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งได้แล้ว
- BrunelloLv 67 ปี ที่ผ่านมา
คำว่าปฏิรูป จากคำถามไม่ได้แปลว่าผู้ถามไม่รู้ เอาเป็นว่า ณ ขณะนี้ไทยนาวากำลังขูดเพรียงออกจากท้องเรือ และกำลังคิดจะปะผุในส่วนที่คิดว่าไม่เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายในการตัดสินใจของกัปตันที่แบ่งหน้าที่ให้ลูกเรือช่วยกันทำ แน่นอนย่อมมีผู้ที่เคยได้ประโยชน์จากสถานการณ์ในอดีตไม่พอใจ หรืออาจจะพอใจเพราะจะได้หลุดพ้นจากสภาวะที่ไม่เต็มใจ
การปฏิรูปน่าจะเป็นการปรับปรุงโดยคงโครงสร้างหลักเดิมไว้มากหรือน้อยสุดแล้วแต่
- ไม่ประสงค์ออกนาม7 ปี ที่ผ่านมา
วางแบบใหม่ก่อนเข้าสู่ระบบครับ