Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

? ถามใน สังคมศาสตร์จิตวิทยา · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

ทำไมประเทศไทยมีคนบ้าอยู่ข้างถนน ไม่พาเค้าไปส่งโรงพยาบาลเพื่อบำบัด?

บ้านเราเวลาเจอคนบ้า ผู้พิทักษสันติราชก็จะจับไปปล่อยให้ไกลๆ จากเขตที่รับผิดชอบ พออีกคนเห็นก็จับไปปล่อยอีกที อีกที เรื่อยๆ ไป น้อยครั้งที่จะพาเขาเหล่านั้นไปเข้าสถานบำบัด หรือโรงพยาบาลบ้า อย่่างน้อยก็ให้พวกเขามีโอกาสกลับมาเป็นคนปกติอีกครั้ง ....

14 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เอ... เขาคงไม่ได้จับไปปล่อยไกล ๆ มั้ง ไม่ใช่งูหลาม ! ( อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก )

    ส่วนใหญ่จะไม่จับ ไม่ทำอะไร ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น

    - สถานบำบัดหรือโรงพยาบาลบ้า มีน้อย มีแต่ในส่วนกลาง ห่างไกลจากต่างจังหวัดต่างอำเภอ ยากลำบากในการพาไปส่ง

    - เจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ( นอกเหนือจากตำรวจ ) มีน้อย มีอยู่แต่ในจังหวัดไม่กี่คน

    - คนบ้า ไม่ค่อยก่อความเดือดร้อนมากนัก

    - ฯลฯ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่าน���า

    ประเทศเราไม่มีงบประมาณในส่วนนี้มั๊งค่ะ เพราะเอาไปลงกับโครงการที่จะได้ผลประโยชน์ร่วมของพวกนักการเมือง คนบ้า ถ้าบ้าไม่แสดงออกมากเท่าไหร่ คือไม่ไปทำร้ายคน เดินไปเดินมา หาของกินตามกองขยะ รัฐก็คงเห็นแล้วว่าส่วนนี้ไม่ต้องไปทำอะไรมาก ก็เลยปล่อยให้อยู่ไปตามสภาพและคนบ้าก็ไม่เดือดร้อนที่จะอยู่ไปวันๆแบบนั้น ก็เขาบ้านี่ค่ะ (ความจริงแล้วน่าเห็นใจมาก ถึงเขาจะบ้าแต่ก็น่าจะได้สิทธิในการเป็นพลเมืองไทยได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน ) แต่ถ้าถึงขนาดชอบถือมีดไล่ฟันคน หรือ ทำร้ายคน แบบนี้ก็คงถูกจับเข้าโรงพยาบาลบ้า เพื่อรักษาหรือให้กักให้อยู่บริเวณเพื่อความปลอดภัยของคนอื่น

    เคยมีคนรู้จักห่างๆ เครียดจนเสียสติ ต้องเข้าไปอยู่โรงพยาบาลบ้า พอออกมาก็ไม่เหมือนเดิมนะค่ะ ยังมีอาการแบบหลงๆ ลืมๆ หรือ นิ่งๆไปนานๆออกอาการเหม่นลอย เห็นแล้วน่าสงสารมาก คนบ้าข้างถนนบางครั้งก็มองว่าเขาเป็นคนที่ถูกลืม ถูกทอดทิ้ง จากสังคม ทั้งๆที่ครั้งนึงเขาก็อาจจะเป็นคนดีๆเหมือนดิฉัน เหมือนคุณๆนี่แหละ ขอบคุณที่ตั้งคำถามให้ตอบนะค่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เพราะคนบ้าที่คุณเห็น คือคนดี ที่ยอมรับความโหดร้ายของโลกใบนี้ไม่ได้น่ะสิ

    พวกเขามาจากคนดี ที่ได้รับผลตอบแทนที่เลวร้าย ทั้งๆที่ทำความดี

    แต่ไม่ได้รับสิ่งที่ดีตอบแทน

    ถ้าเขาหายเป็นปกติ แล้วต้องกลับมาเจอโลกที่โหดร้ายอีก พวกเขาจะมีความสุขไหม

    แม้จะเป็นเพียงมโนภาพ แต่ให้เขาอยู่ในโลกที่มีความสุข ของเขาน่ะดีแล้ว

    บางทีผมคนที่ตอบคำถามคุณอยู่นี่ อาจจะเป็นคนบ้าก็ได้นะ อิอิอิ

    แหล่งข้อมูล: จากประสบการณ์ที่สัมผัสกับคนบ้าที่คุณเห็น ด้วยใจของตัวผมเอง
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตำรวจขาดจิตสำนึก แต่ทำคลอดได้หน้าไง หารู้ไม่ทำคลอดกลางถนนมีปัญหาตามมาเยอะแยะแต่

    ได้หน้ามากจังหดหู่ ถ้าจะให้ได้คุณภาพ พยาบาลโรงพยาบาลตำรวจฯแบ่งมาทำภาระงานส่วนนี้จะสวยมาก

  • CC..
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อาจเป็นเพราะหลายๆสาเหตุด้วยกันเช่น การไม่ได้มีมาตรการหรือนโยบายของรัฐที่ทำขึ้นมารองรับตรงจุดนี้ ไม่มีใครรับดูแล ทั้งเรายังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การทำการรักษา การเกิดค่าใช้จ่าย ต่างๆ คงยังไม่พร้อม ครอบครัวเขาเองก็ไม่เข้าใจ ไม่รักษาให้หายขาด คนไข้เองก็ไม่ยอมรับการรักษา ไม่ทราบว่าตัวเองป่วยทางจิต สภาวะความเครียด และการแก้ปัญหายังไม่ถูกทาง มีทั้ง ในคนไข้ที่ไม่ได้เป็นแต่กำเหนิด คนไข้ที่เป็นตั้งแต่เกิดก็ปล่อยกันทิ้งๆ ขว้างๆ เลยบ้าเรื้อรัง แบบนี้ละคะ ที่หมู่บ้านเราเองก็มีหลายราย น่าเห็นใจมากๆ เพราะเขามาเป็นตอนโตแล้ว อายุสัก 20 กว่าแล้ว

    สงสารพวกเขาจริงๆ..ใครช่วยเหลือสังคมตรงนี้ได้ โปรดช่วยที

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนบ้าเหล่านั้นเขามีความสุขและพอใจกับสิ่งที่เขารู้และเป็นค่ะ

    สาเคยไปทำงานที่โรงพยาบาลรักษาคนที่ใครๆเรียกว่าบ้า

    เขาไม่วิตกกังวลเขายิ้มทั้งวันพูดในสิ่งที่เขาอยากพูด

    และจะทำสิ่งที่เขาอยากทำ

    จะมีพยาบาลและเจ้าหน้าทีที่คิดแทนเขาเกรงเขาจะเจ็บปวดเสียใจ

    หิว ง่วงและกำหนดกิจกรรมให้เขา

    เราคิดว่าเขาทุกข์แต่บางครั้งเขาสุขกว่าเราร้อยเท่า

    ในขณะที่เราเข้าใกล้เขาเขาไม่กลัวเราแม้แต่นิดเราต่างหากที่กลัวเขาจับใจ

    แต่ก็สงสารนะคะที่เขาถูกรังเกียจและถูกกลัวเพราะเขาไม่รู้สติในการกระทำของเขานั่นเอง

    เราจึงต้องคอยดูแลเขาให้ดี..

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เพราะ หน่วยงาน สวัสดิการ สังคมสงเคราะห์ ต่างๆ ที่มีอยู่ ไม่สามารถรองรับ ผู้คนเหล่านี้ได้

    รวมถึง การไม่ใส่ใจ ของผู้คนรอบข้าง ที่พบเห็น

    บางคน ที่คุณเห็น เหมือนคนบ้า เดินอยู่ข้างถนน ตอนเย็น ตกกลางคืน เขาที ที่อยูหลับนอน เป็นหลักแหล่งก็มี

    และ ก็ มิใช่แต่ เมื่องไทย ที่มีแบบนี้ คนไร้ที่อยู่ มีอยู่ ทุกแห่ง ในโลก ไม่ว่า จะเป็น ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศที่ พัฒนาแล้ว อย่าง ญี่ปุ่น หรือ สหรัฐ หรือ ในยุโรป

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จิตเภท

    โดย. พญ.สุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา /คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160

    ประชาชนจำนวนไม่น้อยมีความเข้าใจผิดและเชื่ออย่างผิดๆ ว่าโรคจิตเป็นโรคที่เกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ และเป็นโรคที่รักษาไม่หาย จึงไม่พาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลจิตเวชแต่กลับพาไปรดน้ำมนต์ เข้าทรง หรือปล่อยให้อยู่กับบ้านไปตามบุญตามกรรม บางรายในชนบทถึงกับล่ามโซ่ผู้ป่วยไว้กับเสาเรือน

    จึงขอให้ท่านผู้อ่านโปรดเข้าใจ และเมื่อมีโอกาสก็ขอได้โปรดบอกกล่าวต่อๆ กันไปด้วยว่า โรคจิตนั้นส่วนมากรักษาให้หายได้เช่นเดียวกับโรคทางกาย ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม โรคจิตก็เช่นเดียวกับโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ บางรายอาจหายขาด บางรายเพียงแต่ทุเลา และบางรายก็อาจเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยปลายประการ เช่น ประเภทหรือลักษณะของโรคนั้น ความรุนแรง และระยะเวลาที่เป็นมา

    จิตเภท

    ในบรรดาผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่งทั่วประเทศไทย จิตเภทเป็นโรคที่พบได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับโรคจิตประเภทอื่นๆ ผู้ป่วยจิตเภทแสดงอาการของโรคจิตให้ผู้ใกล้ชิดสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่า จึงสมควรที่ประชาชนจะได้ทราบลักษณะอาการและวิธีการช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว

    ไม่ว่าโรคจิตหรือโรคประสาทชนิดใดๆ ระยะเวลาและผลของการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อาการของโรคดà¸��เนินมา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งมาหาแพทย์เร็วเท่าใดอาการก็ทุเลาได้เร็วและทุเลาได้มากเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอาการมานานโรคย่อมเรื้อรังรักษาหายได้ยาก หรือในบางรายไม่อาจรักษาให้หายเป็นปกติได้เลยญาติหรือผู้ใกล้ชิดจึงควรรีบพาผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด

    จิตเภทเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง แปลจากชื่อโรคในภาษาอังกฤษว่า “schizophrenia” ผู้ป่วยอาจเกิดอาการไม่ชัดเจนมาก่อนเป็นเวลานานหลายๆ เดือนก็ได้

    อาการ

    ผู้ป่วยจะแสดงความผิดปกติหลายๆ ด้านร่วมกัน คือมีความผิดปกติของความนึกคิด พฤติกรรม และอารมณ์มักจะเสียความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง เช่น เฉยเมย ไม่ยินดียินร้าย ไม่สนใจและไม่แสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์หรือท่าที ไม่ว่าญาติหรือเพื่อนฝูงจะเป็นอย่างไรหรือแสดงต่อเขาอย่างไร ขาดความสนใจและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจโลกภายนอก เช่น ใครจะรักกัน ไฟจะไหม้ที่ใดก็ไม่รู้ มักแยกตัวอยู่คนเดียวไม่เข้ากลุ่ม เช่น เคยรับประทานอาหารที่โต๊ะพร้อมหน้าบิดามารดา ก็แยกไปรับประทานคนเดียวในห้องนอน ชอบอยู่แต่ในห้องไม่ออกมาสังสรรค์กับครอบครัว เคยไปงานสังคมต่างๆ เช่น งานเลี้ยง งานศพ ก็ไม่ไปโดยไม่มีเหตุผล ความประพฤติมักเสื่อมถอยกลับไปคล้ายผู้ที่อยู่ในวัยอ่อนกว่า หรือบางรายอาจคล้ายทารกไปเลย เช่น ผู้ป่วยอายุ 30 ปี อาจแสดงกิริยาวาจาหรือแต่งกายคล้ายเด็กอายุ 10 ขวบ บางรายไม่ชอบสวมเสื้อผ้า มิใช่เพื่อโอ้อวดร่างกายส่วนที่ควรปกปิด หรือเพราะเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด แต่เป็นเพราะสภาพของจิตใจที่เสื่อมถอยกลับไปสู่วัยเด็กหรือวัยทารกดังกล่าวนั่นเอง ท่านคงสังเกตว่า ทารกหรือเด็กเล็กไม่ใคร่ชอบสวมเสื้อผ้าโดยไม่รู้สึกกระดากอาย ผู้ป่วยจิตเภทบางรà¸��ยหัวเราะคิดคักอย่างไม่มีเหตุผล พูดคนเดียว หรือพูดกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน

    ผู้ป่วยจิตเภทอาจมีพฤติกรรมแปลกประหลาด เช่น ลุกขึ้นอาบน้ำเวลาตีสามขณะอากาศหนาว ลงไปแช่ในตุ่มน้ำที่ขังไว้สำหรับริโภค แต่งกายพิกลผิดผู้อื่นและผิดไปจากบุคลิกภาพเดิมของตนอย่างมาก หัวเราะสลับกับร้องไห้ จุดธูปสวดมนต์ทั้งวัน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น บางรายเอะอะ อาละวาด หยาบคาย ก้าวร้าว หรือพูดจาเลอะเทอะไม่ได้ใจความหรือบางรายอาจไม่พูดเลยคล้ายเป็นใบ้ ไม่ยอมรับประทานอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหวเหมือนรูปปั้น

    นอกจากนี้ผู้ป่วยจิตเภทบางรายอาจมีความผิดปกติซึ่งไม่เป็นความจริงในชีวิตของเขา เช่น หลงผิดว่าภรรยาเป็นชู้กับชายเพื่อนบ้าน หลงผิดว่าคู่สมรสหรือเพื่อนของตนมีความมุ่งร้ายจะเอาชีวิต หลงผิดว่าตนเป็นมหาเศรษฐีมีเงินหลายล้านบาท บางรายมีประสาทหลอน เช่น หูแว่วได้ยินเสียงเพื่อนด่าหยาบคาย ได้ยินเสียงบิดาสั่งให้ตัดนิ้วตนเองทิ้งเสีย หรือมีประสาทหลอนทางตา เห็นเป็นภาพหลอนว่าภรรยากำลังถือมีดตรงเข้ามาจะทำร้ายตน ผู้ป่วยหวาดกลัวมากจนอาจหาทางป้องกันตัว โดยรีบคว้าปืนยิงภรรยาเสียก่อน ทำให้เกิดคดีฆาตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องชวนสลดใจที่ไม่น่าเกิดขึ้นเพราะเป็นสิ่งที่ป้องกันได้

    จากการศึกษาผู้ป่วยคดีในโรงพยาบาลจิตเวชพบว่า มีหลายรายที่การฆาตกรรมนั้นเกิดจากอาการทางจิต คือเกิดจากอาการหลงผิดหวาดระแวง หรือประสาทหลอน และอาการผิดปกติเหล่านี้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดก็สังเกตเห็นมาก่อน แต่ไม่รีบพาไปรักษาด้วยความนิ่งนอนใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงปรากฏข่าวสะเทือนขวัญในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ในทำนองพ่อใช้ขวานฟันคอลูกในเปล สามีแทงภรรยาที่กำลังนั่งหันหลังทำกับข้าว เป็นต้น

    ผู้ป่วยจิตเภทไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าวหลายอย่างร่วมกัน บางคนอาจแสดงอาการผิดปกติให้เห็นเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างก็ได้ เช่น อาจมีเพียงอาการหลงผิดชนิดระแวงร่วมกับหูแว่ว โดยยังคงประกอบกิจวัตรประจำวันได้เช่นปกติ และพูดคุยได้เรื่องราวดี บางคนอาจเพียงแต่แยกตัวเอง เฉื่อยเฉยไม่ทำการงาน ไม่ยินดียินร้ายแต่ก็ไม่เอะอะอาละวาด วุ่นวาย และไม่มีประสาทหลอนหลงผิดแต่อย่างใด

    ตำราแพทย์แขนงจิตเวชศาสตร์จึงแบ่งการวินิจฉัยโรคจิตเภทออกเป็นย่อยๆ อีกหลายประเภท ซึ่งจิตแพทย์ใช้ประกอบการพิจารณาทางวิชาการเพื่อให้การรักษาและพยากรณ์โรค

    อาการต่างๆ ที่บรรยายมาข้างต้นล้วนเป็นอาการซึ่งผู้ใกล้ชิดจะสังเกตเห็นได้อย่างค่อนข้างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีพื้นเพความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ก็พอทราบได้ว่าบุคคลนั้นเริ่มป่วยเป็นโรคจิตแล้ว จึงไม่ควรรีรอหรือลังเลที่จะพาไปหาจิตแพทย์เลย

    ดูเพิ่มทีลิงก์นะครับ

    แหล่งข้อมูล: http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1000
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    บางครั้งเคยคิดนะว่า เป็นแบบนี้ก็ดีเหมือนกันนะไม่ต้องรับรู้

    อะไรทั้งนั้น ไม่เจ็บ ไม่ปวด แค่หาของกินประทังชีวิตไปวันๆ

    ผมคิดว่านะ..นี้และความสุขที่แท้จริงไง ก็โลกเป็นของเรา

    แล้วนี่ จะทำอะไรก็ได้ ไปไหนก็ได้ แค่นี้ก็คงพอแล้วละมั้ง

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ใช้คนบ้า เค้าเป็น ร.ต.อ. มาจับคนร้าย

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้