Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ใครประมาทกันแน่กรณีเกิดการชนกัน?

การที่รถไฟชนรถยนต์ในกรณีที่ถนนตัดผ่านทางรถไฟหรืหทางรถไฟตัดถนนก็สุดแล้วแต่ ไม่ว่าทางนั้นจะมีเครื่องกั้นหรือไม่ก็ตาม รถยนต์จะผิดในฐานะประมาณทุกทีเท่าที่เห็นเป็นข่าว ถ้ามีเครื่องกันก็พอที่จะฟังขึ้นว่ารถยนต์ประมาณ แต่กรณีที่ไม่มีเครื่องกัน และไม่มีป้ายบอกเวลาที่รถไฟผ่านไปมาเลยสักที่เพื่อเป็นข้อสังเกตุให้ผู้ขับขี่รถยนต์ได้พึงระวัง กรณีนี้การรถไฟน่าจะประมาทนะถูกหรือไม่ประการใดช่วยแจงแถลงไขให้เข้���ใจด้วยนะขอรับเจ้านาย

6 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 10 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    คำถาม ลักษณะแบบนี้ ที่เกี่ยวข้องกับ การจราจร และ เครื่องหมายจราจร ทำให้เห็นว่า บ้านเรา ผู้ขับขี่ ไม่เคารพ กฎจราจร และ บางกรณ๊ เป็นกฎสากล ที่ใช้กันทั่วโลก

    ตัวอย่างเช่น การเข้าสู่ ทางร่วมทางแยกใดๆ บางประเทศ หากผู้ขับขี่ไม่หยุดรถ ให้สนิท(ย้ำว่า หยุดสนิท) อาจส่งผลให้ โดนใบสั่ง หรือ ปรับได้ เมื่อเจ้าพนักงานเห็น

    ทางร่วม ทางแยก หมายถึง ถนนหรือทางซึ่ง ตัดกัน (สี่แยก) หรือ เข้าร่วมบรรจบกัน(สามแยก) รวมถึง ทางที่มี ทางรถไฟ ซึ่งหากไม่มี สัญญาณไฟจราจร ผู้ขับขี่ ต้อง หยุดรถ เพื่อดูความปลอดภัยก่อนข้ามไป

    โดยต้องพิจารณาเรื่อง ทางเอก และ ทางโท หากเกิดอุบัติเหตุ ในทางปฎิบัติ ทางเอก จะได้รับสิทธิมากกว่า คือไม่ต้องหยุด เพราะเป็นทางสัญจรหลัก ทางโท หรือ รถที่ออกจาก ซอย ต้องหยุดดูก่อน

    สำหรับ ทางรถไฟ ก็เช่นกัน ผู้ขับขี่ต้องหยุด เพื่อดูความปลอดภัยเช่นกัน ส่วนที่อ้างเรื่อง ไม่มี ไฟสัญญาณ หรือ เครื่องกั้นทางนั้น ตามกฎหมาย ฟังไม่ขึ้น เนื่องจาก ระเบียบการสร้างทาง ตอนแรก เขาทำไว้แล้ว แต่ การบำรุงรักษา หรือ การขโมย เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    ปกติ ในเวลากลางวัน ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ จะสังเกตุได้อยู่แล้ว ว่ามีทางรถไฟข้างหน้า รวมถึงป้ายเตือนก่อนถึง (ป้ายเหลือง) ซึ่งผู้ขับขี่ ควรชลอความเร็วรถ และสังเกตุความปลอดภัย รวมถึงการหยุดดู ก่อนข้ามทาง หากไม่มีเครื่องกั้น

    สำหรับ ในเวลากลางคืน หากมองไม่เห็น รางรถไฟ แต่ ป้ายเหลือง ย่อมสามารถมองเห็นได้ก่อน และ แสงไฟจาก หน้าหัวรถจักร พร้อม หวูด ย่อมสามารถมองเห็น หรือ ได้ยินเช่นกัน

    สำหรับ กรณีอุบัติเหตุ รถไฟ ชนรถที่สัญจร ข้ามทางรถไฟ ส่วนใหญ่ มักเกิดจากความประมาท ของผู้ขับขี่ ยานยนต์เอง ซึ่งหากรวบรวมคำบอกเล่า จากผู้รอดชีวิต จะพบว่า

    1. เห็นแล้วว่า รถไฟมา แต่คิดว่า ผ่านได้ เลยไม่หยุด

    2. ผู้ขับขี่ ลืมไปว่า ตอนข้ามทางรถไฟ ส่วนใหญ่ ความเร็วมักจะลดลง บางครั้งแทบคลาน เพราะมีการ****** หรือ กระเทือนจาก ระดับของราง และ พื้นถนน

    3. บางกรณี ผู้ขับขี่ ไม่อยู่ใน สภาพของความสามารถในการสังเกตุ เห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า หรือ แสงไฟของ หัวรถจักร ที่อยู่ด้านข้าง พร้อมๆกับ การไม่ปฏิบัติตาม กฎจราจร

    ดังนั้น โปรดกรุณาไตร่ตรอง ให้ดี

    ลองพิจารณา อีกสักเรื่องดู เอาแค่ ไฟกระพริบ สีเหลือง และ สีแดง ของไฟจราจร ในบางเวลาที่มีการสัญจรน้อย

    เจ้าหน้าที่ บางแห่ง อาจเปิด ไฟกระพริบ สีแดง หมายความว่า รถที่มาจากด้านนั้น เมื่อมาถึง สัญญาณไฟ ควรหยุดรถ หรือ ชลอความเร็ว หากเห็นว่า ปลอดภัย จึงค่อยเคลื่อนรถเข้าสู่ทาง ส่วนด้านที่เป็น เหลืองกระพริบ เพียงแต่ ชลอความเร็ว ไม่ถึงกับต้องหยุด ส่วนรถที่อาศัย ไฟเหลืองกระพริบ เพื่อการกลับรถ ต้องหยุดก่อน ไม่ใช่ แค่ชลอรถ

    สรุป คือ ศึกษา กฎหมายจราจร ให้ดีครับ บางกรณี เป็นเพราะเรา ไม่ปฏิบัติตาม กฎจราจร ก็เลยพาลไม่โทษโน่น โทษนี่ ทั้งที่ กฎระเบียบของสังคม คนหมู่มาก เขามีกันอยู่

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    ตามหลักแล้วบริเวณข้างทางรถไฟจะเป็นทรัพย์สินของการทางรถไฟ ซึ่งก็จะมีกฎหมายเกียวกับการ

    เข้าใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวว่าหากเกิดอะไรขึ้นเนี่ยถือเป็นความผิดของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ของ

    การรถไฟดังนั้นกรณีเกิดอุบัติเหตุคู่à��à¸£à¸“ีของการรถไฟจึงเ้ป็นฝ่ายเสียเปรียบครับ ส่วนเรื่อง

    ความประมาทเนี่ย ผมว่าผู้ใช้เส้นทางสัญจรเนี่ยก็มีความผิดอยู่ส่วนหนึ่งเนื่องจากขาดความ

    ระมัดระวังเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามทางด้านของการรถไฟเองก็ขาดความรัดกุมในมาตรการ

    ความปลอดภัยด้วยเช่นกัน เพราะจากที่มีข่าวมาจะพบว่าบริเวณที่เกิดเหตุจะไม่ค่อยมีสัญ

    ญาณหรือรั้วกั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นทางรถไฟจึงเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุซ้ำ ๆ

    ผมว่าเรื่องนี้เนี่ยองค์กรส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น อบต หรือเทศบาล ควรมีบทบาทให้มาก

    ครับไม่ว่าจะเป็นการร้องเรียนหรือร้องขอให้มีสัญญาณต่าง ๆ หากว่าไม่สามารถร้องขอ

    ได้ก็น่าจะขอดำเนินการติดตั้งด้วยงบขององค์กรเอง เพื่อเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่ง

    ครับ

  • Singha
    Lv 6
    10 ปี ที่ผ่านมา

    กรณีมีรางรถไฟอย่างเดียว โดยไม่มีป้ายใด ๆ บอกกล่าวว่าถนนที่รถยนต์แล่นผ่านนั้น

    มีรางรถไฟวิ่งตัดหน้าด้วย เช่นนี้ ถือได้ว่า ประมาทตั้งแต่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว

    มิใช่คนขับรถไฟประมาท โดยรถไฟถือเป็นการบริการสาธารณะที่มีประชาชนส่วนใหญ่

    ใช้บริการ ประชาชนส่วนน้อยที่ใช้รถยนต์จำเป็นต้องเคารพกฎจราจร เมื่อมีป้ายสัญญาณ

    ว่ามีรถไฟตัดผ่านต้องหยุดชะลอรถยนต์ เมื่อปลอดภัยแล้วจึงขับไปต่อได้

    ..........เหตุผล รถไฟ หยุดห้ามล้อยาก จะให้รถไฟหยุดทุกครั้งที่ถึงทางร่วมทางแยกที่มีรถยนต์

    วิ่งผ่านนั้นคงเป็นไปได้ยาก การออกตัวของรถไฟแต่ละครั้งต้องเสียพลังงานเชื้อเพลิงจำนวนมาก

    การเบรคห้ามล้อแต่ละครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องอาศัยเวลาและระยะทางในการเบรคหยุดรถ

    และถ้าจะให้รถไฟเบรคหยุดรถเหมือนกับรถยนต์การเดินทางของประชาชนส่วนใหญ่ก็จะล่วงเวลา

    มากขึ้นไปกว่าเดิมอีก

    ..........ป้ายบอกทางจราจรจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ล่วงรู้ว่ามีรางรถไฟอยู่ตรงหน้า

    เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์จึงเป็นฝ่ายผิดเสมอเพราะไม่ปฎิบัติตามกฎจราจร แต่หากไม่มีป้ายบ่งบอก

    ว่ามีรางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยประมาทครับ

  • 10 ปี ที่ผ���านมา

    เห็นด้วยกับคำตอบของคุณสืบศักดิ์ ครับ

  • ?
    Lv 4
    10 ปี ที่ผ่านมา

    คำถามนี้คงเป็นคนขับรถ ถาม แล้วลองเปลี่ยนไปขับรถไฟ ดูบ้าง แล้วมาตั้งคำถามใหม่ รับรอง คำถามเปลี่ยนมุมทันที********รถไฟ มันแล่นไปตามเวลา มีทางให้วิ่งทางเดียวคือไปข้างหน้า เบรคแต่ละครั้งใช้ทั้งระยะทางและเวลา ส่วนรถยนต์คงรู้ประสิทธิภาพอยู่แล้ว คุณคิดว่าใครควรผิด แล้วอย่าลืมผู้โดยสารบนขบวนด้วย หรือจะเปลี่ยนวิธีการให้รถไฟหยุดรอให้รถยนต์วิ่งผ่านให้หมดก่อน แล้วรถไฟค่อยขับผ่านที่หลังดีล่ะ

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    คนขับ คับที่ประมาท...

    แต่หากให้คิด ก็ต้องเป็นความผิดของรถยนต์คับ

    เพราะ ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร...

    ส่วนรถไฟ มันมีแต่อยู่ในรางนะคับ...

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้