Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

เหตุผลที่แท้จริงในการห้ามพระเสพเมถุนคืออะไร?

เสพเมถุนมีความผิดเทียบเท่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต

ขนาดว่าขาดจากความเป็นพระ

ในขณะที่การดื่มสุรายังผิดแค่โลกติเตียน

พุทธองค์ให้เหตุผลอย่างไร

หรือจะเป็นทัศนคติของผู้ตอบเองก็ได้

13 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 10 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ครึ ครึ ครึ การเสพทำให้เกิดความพอใจ ไม่พอใจ คือมีสัมผัสแล้วก็ย่อมเกิดเวทนาตามมาเป็นธรรมดา(ฮา) นอกจากจะตัดเวทนาได้ (เยี่ยงภิกษุณีอรหันต์สมัยพุทธกาล เวรกรรมต้องให้ถูกข่มขืน แต่เป็นอรหันต์แล้ว สุดท้ายผู้ประกอบกรรมถูกธรณีสูบในทันใดเหมือนกัน) และเมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น(พอใจ ไม่พอใจ)ก็จะเกิดสัญญาผูกพันต่อไปอีก ชาติ(เกิด) ชรา มรณะ วนเวียนอยู่อย่างนี้ แล้วจะบวชไปทำมั๊ย

    ดื่มสุรา หนาวนี้ไม่คิดเอาสุราเป็นเภสัชมั่งรึไง(ฮา เรื่องของปุถุชน) แต่ในพระย่อมถือว่าขาดสติ ขาดจากศีลไปแล้ว(แค่ศีล 5 ยังรักษาไม่ได้ ยังบังอาจจะถืออีกสองร้อยกว่าข้อ ทางโลกติเตียน แต่ทางธรรมถือว่าขาดจากความเป็นพระไปแล้ว ต้องชดใช้อึกภพภูมิ คือ ภพที่เปี่ยมด้วยความหลง เปรตภูมิไงล่ะ)

    ครึ ครึ ครึ แล้วจะหาเหตุผลไปทำไม ผู้ใดมีความผิด ความผิดนั้นก็เป็นเรื่องที่เขาเป็นคนทำ กล่าวตามหลักกรรมทางพระพุทธศาสนา กรรมของเขาก็เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องมีใครกล่าวโทษกำหนดว่าผิดหรอก คนไปกล่าวโทษนั่นแหละที่ไปก่อกรรมล่วงเกินเขา กลายเป็นกรรมของตนขึ้นมาอย่างโง่งม(ฮา)

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    ข้อมูล ให้ไว้่ว่า

    ปฐมปาราชิกกัณฑ์ (ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ ๑)

    สมัยนั้นมีหมู่บ้านนามว่ากลันทะ ตั้งอยู่ไม่ไกลเมืองเวสาลี มีบุตรเศรษฐีผู้เป็นบุตรชาวกลันทะ นามว่าสุทินนะ, สุทินนะ (ผู้มีคำต่อท้ายชื่อว่าบุตรชาวกลันทะ) พร้อมด้วยสหายไปสู่กรุงเวสาลี เห็นพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม จึงแวะเข้าไปสดับธรรมะ มีความเลื่อมใสใคร่จะออกบวช จึงกราบทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่พระศาสดายังไม่ประทานอนุญาตให้บวช เพราะมารดาบิดายังไม่อนุญาต. สุทินนะจึงกลับไปขออนุญาตท่านมารดาบิดา แต่ไม่ได้รับอนุญาต จึงอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้รับอนุญาตเช่นเดิม สุทินนะจึงนอนลงกับพื้น อดอาหารถึง ๗ วัน มารดาบิดาอ้อนวอนให้ล้มความตั้งใจ ก็ไม่ยอม พวกเพื่อน ๆ มาอ้อนวอน ก็ไม่ยอม ในที่สุด พวกเพื่อน ๆ อ้อนวอนให้มารดาบิดาของสุทินนะอนุญาต ก็ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ออกบวช ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ทางวัชชีคาม.

    ครั้งนั้น แคว้นวัชชี (ซึ่งมีกรุงเวสาลีเป็นราชธานี) เกิดทุพภิกขภัย พระสุทินนะมีญาติเป็นคนมั่งคั่งมาก เมื่อเดินทางไปถึงกรุงเวสาลี ญาติ ๆ ทราบข่าวก็นำอาหารมาถวายเหลือเฟือ พระสุทินนะก็ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายอีกต่อหนึ่งแล้วเดินทางไปกลันทคาม (ตำบลบ้านเดิมของตน). ความทราบถึงมารดา บิดา, บิดาจึงนิมนต์ไปฉัน มารดาก็นำทรัพย์สมบัติมาล่อเพื่อให้สึก พระสุทินนะไม่ยอมจึงไม่สำเร็จ. ต่อมามารดาพระสุทินนะรอจนภริยาของพระสุทินนะ (ตั้งแต่ในสมัยยังไม่ได้บวช) มีระดู ได้กำหนดจะมีบุตรได้ จึงพานางไปหาพระสุทินนะที่ป่ามหาวัน ชวนให้สึกอีก พระสุทินนะไม่ยอม จึงกล่าวว่า ถ้าไม่สึกก็ขอพืชพันธุ์ไว้สืบสกุล. ครั้งนั้นยังไม่มีการบัญญัติวินัยห้ามเสพเมถุน พระสุทินนะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่พอทำได้ เพื่อให้มีบุตรสืบสกุล จึงเสพเมถุนด้วยภริยาของตน ซึ่งต่อมานางตั้งครรภ์และคลอดบุตร. บุตรของพระสุทินนะจึงได้นามว่าเจ้าพืช. ภริยาของพระสุทินนะ ก็ได้นามว่ามารดาของเจ้าพืช. ต่อมาทั้งมารดาและบุตรออกบวชได้สำเร็จอรหัตตผลทั้งสองคน.

    กล่าวถึงพระสุทินนะเกิดความไม่สบายใจขึ้นภายหลัง ถึงขนาดซูบผอม ภิกษุทั้งหลายถามทราบความ จึงพากันติเตียน และนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนเรื่องนั้น ทรงติเตียนแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.๑

    อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม)

    ต่อมามีภิกษุวัชชีบุตร ชาวกรุงเวสาลี เข้าใจว่าห้ามเฉพาะเสพเมถุนกับมนุษย์ จึงเสพเมถุนด้วยนางลิง ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติเพื่อเติมให้ชัดขึ้นว่า ห้ามแม้ในสัตว์ดิรัจฉาน.

    ภิกษุเสพเมถุนขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ภายหลังขอเข้าอุปสมบทอีก พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติมิให้อุปสมบทแก่ผู้เช่นนั้น.

    ต่อจากนั้น มีคำอธิบายตัวสิกขาบทอย่า��¸‡à¸¥à¸°à¹€à¸­à¸µà¸¢à¸”ทุก ๆ คำ พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างประกอบ.

    ภิกษุ ๕ ประเภท ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว (หรือถูกบังคับแต่ไม่ยินดี) ๒. ภิกษุผู้เป็นบ้า ๓. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน (หมายถึงเป็นบ้าไปชั่วขณะด้วยเหตุอื่น ไม่ใช่บ้าโดยปกติ อรรถกถาแก้ว่า ผีเข้า ในสมัยนี้เทียบด้วยเป็นบ้าเพราะฤทธิ์ยาบางชนิด) ๔. ภิกษุผู้มีเวทนากล้า ไม่รู้ตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง ๕. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.

    วินีตวัตถุ (เรื่องที่ทรงวินิจฉัยชี้ขาด)

    ต่อจากนั้น มีการแสดงตัวอย่างที่ภิกษุทำไปเกี่ยวกับสิกขาบทนี้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน และพระผู้มีพระภาคทรงวินิจฉัย ไต่สวน และชี้ขาดว่า ต้องอาบัติบ้าง ไม่ต้องอาบัติบ้าง ตามเงื่อนไขทางพระวินัยทั้งหมดมีประมาณ ๗๒ เรื่อง.

    ( ๑. พระสุทินนะไม่ต้องอาบัติ เพราะเป็นต้นบัญญัติ ไม่มีการปรับอาบัติย้อนหลัง )

    อิ อิ พุทธบัญญัติ ไม่ปรับย้อนหลัง แต่ กม.ไทย เคยมีผล ย้อนหลัง เหอะ เหอะ เหอะ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    10 ปี ที่ผ่านมา

    คำว่า อาบัติ มาจากภาษาบาลีว่า อาปตติ หมายถึง “การทำผิดทางวินัยของพระสงฆ์” พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยแก่พระภิกษุสงฆ์ไว้เป็นสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ ให้พระภิกษุปฏิบัติเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อการปฏิบัติธรรม ขจัดอาสวะกิเลสตามที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ หากภิกษุละเมิดวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็เรียกว่า อาบัติ หรือต้องอาบัติ เมื่อวินัยมีจำนวนมากดังนี้ ในบางครั้งพระภิกษุจึงอาจเผอเรอ กระทำผิดไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จึงได้ทรงบัญญัติวิธีแก้ความผิดนั้น คนทำผิดต้องรับโทษตามความผิดเพื่อจะได้รู้สำนึกและไม่กระทำผิดอีกต่อไป เมื่อความผิดมีความหนักเบาต่างกัน โทษก็ต้องหนักเบาต่างกันไปด้วย

    การทำผิดทางวินัยหรืออาบัติของพระภิกษุสงฆ์ จำแนกตามหมวดหมู่ได้ดังนี้

    อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่ละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ เสพเมถุน ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง ฆ่ามนุษย์ให้ตาย หรืออวดอุตริมนุสสธรรม ภิกษุผู้กระทำผิด เรียกว่า ต้องอาบัติปาราชิก โทษที่ได้รับเป็นโทษหนัก คือ การขาดจากความเป็นภิกษุ

    อาบัติขั้นรองลงมา คือ สังฆาทิเสส หมายถึงความผิดในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวน ๑๓ ข้อ เช่น มีความกำหนัดอยู่แล้วจับต้องกายหญิง เป็นสื่อชักให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นต้น ภิกษุผู้กระทำผิดเรียกว่า ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษระดับกลาง ต้องรับโทษ “อยู่กรรมทรมานตน” จึงจะพ้นอาบัติ การอยู่กรรมทรมานตน คือ การอยู่ในที่สงบในช่วงเวลาหนึ่ง สำรวมกายใจ ใคร่ครวญพิจารณาโทษของตนแล้วตั้งใจไม่กระทำความผิดเชà¹��นนั้นอีก

    อาบัติขั้นรองลงไป คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มีจำนวน ๓๐ ข้อ ปาจิตตีย์ มีจำนวน ๙๒ ข้อ เป็นโทษเบา เรียกชื่อเช่นเดียวกับความผิดนั้นเช่นเดียวกัน คือ ผิดขั้นนิสัคคิยปาจิตตีย์ ก็เรียกว่าต้องอาบัตินิสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติขั้นต่ำลงไปเป็นโทษเบา คือ ปาฏิเทสนียะ มีจำนวน ๔ ข้อ การปฏิบัติผิดเสขิยวัตรข้อใดข้อหนึ่งใน ๗๕ ข้อ จัดเป็นโทษเบา ผู้ที่ทำผิดโทษเบาจะต้องแสดงความผิดของตนต่อคณะสงฆ์

    อนิยต มีจำนวน ๒ ข้อ เป็นความผิดที่ไม่กระจ่างชัด ว่าควรจัดเป็นโทษระดับใด จึงต้องมีการไต่สวนและพิจารณากำหนดขั้นโทษตามพยานหลักฐาน

    อธิกรณสมถะ มีจำนวน ๗ ข้อ เป็นวิธีการพิจารณาว่าจะตัดสินความผิดนั้นหรือไม่อย่างไร เช่น ตัดสินตามเสียงข้างมาก การประนอมยอมความ เป็นต้น

    ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

    เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอาบัติ ก็ถือกันว่าภิกษุรูปนั้นไม่บริสุทธิ์ จะไม่สามารถลงโบสถ์ร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุอื่นๆ ได้ จะต้องแก้อาบัติให้ตนกลับมีความบริสุทธิ์เสียก่อน การไม่กระทำความผิดข้อใดๆ ก็คือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัด นั่นเอง

    การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัด เฉพาะเพื่อสำนึกผิด ยกจนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้

    ปาราชิก

    คำว่า ปาราชิก สันนิษฐานว่าแปลว่า “ผู้แพ้” อาจหมายถึง “ผู้แพ้แก่วิถีชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา” ปาราชิกเป็นอาบัติขั้นที่ร้ายแรงที่สุด ภิกษุไม่ว่ารูปใด ถ้าหากอาบัติถึงขั้นปาราชิกแล้วจะสิ้นสภาพการเป็นภิกษุทันที แม้ว่าจะยังครองผ้าเหลืองหรือปฏิบัติตนอย่างภิกษุอื่นๆ อยู่ก็ตาม ภิกษุที่รู้ตนเองว่าอาบัติปาราชิกแล้วสามารถลาสิกขาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างฆราวาสทั่วไปได้ แต่หากยังคงดื้อครองผ้าเหลืองหลอกให้ผู้คนกราบไหว้อยู่อีก ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ

    อาบัติปาราชิกมี ๔ ประการ ได้แก่ การเสพเมถุน การลักทรัพย์ การฆ่ามนุษย์ และการอวดอัตริมนุสธรรม

    ๑. การเสพเมถุน คือ การร่วมประกอบกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำกับผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือกระทำกับสัตว์ก็ตาม ปาราชิกข้อการเสพเมถุน บางทีก็เรียกกันว่า ปฐมปาราชิก แปลว่า “ปาราชิกข้อแรก”

    ๒. การลักทรัพย์ คือ การนำทรัพย์ของผู้อื่นไปเป็นของตนโดยเจตนา ในเมืองไทยกำหนดว่า การลักทรัพย์มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป เป็นการผิดหรือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก การเจตนาแอบอ้างความคิดหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการเบียดบังเอาเงินในกองทุนที่มีผู้ศรัทธาถวายเป็นทานเพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ หรือกิจของศาสนามาใช้ส่วนตัว ก็ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิกเช่นกัน

    ๓. การฆ่ามนุษย์ คือ การเจตนาทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ไม่ว่าจะลงมือฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าให้ก็ตาม ถือเป็นความผิดปาราชิกข้อที่ ๓ ทั้งสิ้น

    ๔. การอวดอุตริมนุสธรรม คือ การพูดอวดผู้อื่นว่าตนได้บรรลุธรรมะระดับสูง เช่น บรรลุโสดาบัน บรรลุอรหันต์ เป็นต้น ไม่ว่าตนจะได้บรรลุธรรมตามที่ตนได้อวดอ้างไปจริงหรือไม่ก็ตาม

    อาบัติปาราชิก หากผิดแม้แต่เพียงข้อเดียวก็ถือว่าภิกษุผู้อาบัติสิ้นสภà¸��พการเป็นภิกษุแล้ว แม้จะไม่มีใครล่วงรู้หรือจับได้ก็ตาม การกราบไหว้บูชาภิกษุที่อาบัติปาราชิก นอกจากจะไม่เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังผิดมงคลที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่ว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชาอีกด้วย

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    เพราะจุดมุ่งหมายของการเป็นพระ กับการเสพเมถุน ต่างกัน

    .....จุดมุ่งหมายของการบวชเป็นพระ เพื่อ ตัดกิเลส...----> มีปลายทาง คือ พระนิพพาน

    .....ส่วนการเสพเมถุน เป็นการปล่อยใจ ปล่อยอารมณ์ตามความอยาก...ทำให้กิเลสพอกพูน นำมาซึ่งความเพียรพยายามแสวงหาวัตถุกามมาครอบครองให้มากเท่าที่จะมากได้ ในที่สุดก็กลายเป็นความหลง ยึดมันถือมันอยู่กับวัตถุกามนั้น ๆ....----> มีปลายทาง คือ อบายภูมิ นรก เปรต อสุรกาย...จร้า!!

    ******* ทั้งสองไปด้วยกันไม่ได้ ด้วยประการฉะนี้ จร้า!! *******

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    กามคุณเป็นกิเลสร้อยรัดอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเราไม่หลุดพ้นไปสู่นิพพานได้ ทำให้ขัดกับวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการ��¸šà¸§à¸Š นั่นก็คือการไปนิพพาน นอกจากกามคุณแล้ว การยึดติดกับรูปรส กลิ่น เสียงทั้งหลายนั้นก็ทำให้คนเรายากที่จะหลุดพ้น บางคนแค่กลิ่นเหม็นนิดเดียวก็ทนไม่ได้ หรืออาหารไม่ได้ปรุงด้วยน้ำปลา น้ำตาลก็กินไม่ได้ แต่การบวชเป็นพระนั้นห้ามรับประทานอาหารแล้วรู้สึกว่าอร่อยด้วยซ้ำ ทุกอย่างที่มีบนโลกล้วนเป็นเครื่องเศร้าหมองและมายา ไม่มีอะไรยึดติดได้แน่นอน โดยเฉพาะเซ็กและความรัก ที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างถาวร เป็น"ห่วง" หรือ"ราหุล" ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสังสารตลอดไป

    แหล่งข้อมูล: เป็นผู้แต่งหนังสือธรรมะขายค่ะ
  • KK
    Lv 4
    10 ปี ที่ผ่านมา

    ถ้าไม่มีกฎห้าม ชายไทย หรือชายทั้งโลก คงบวชกันหมด ไม่ต้องทำงาน มีคนกราบไหว้ มีภรรยาได้ ขอบวชมั่ง

  • ?
    Lv 5
    10 ปี ที่ผ่านมา

    อาจไม่ตรงกับคำถามนัก แต่นี่คือเหตุผมที่พระพุทธเจ้าบัญญัติศีลสำหรับพระภิกษุ

    http://www.sil5.net/index.asp?autherid=12&ContentI...

  • ?
    Lv 5
    9 ปี ที่ผ่านมา

    กลัวติดใจหรือเปล่า

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    เหตุผลที่แท้จริงในการห้ามพระเสพเมถุนคืออะไร?

    ตอบ : เบื้องหลังของข้อห้ามนี้เกิดจากพระสุทินนะกลับไปเสพเมถุนกับภรรยาของตนตามคำขอร้องของบิดามารดา โดยพระสุทินนะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่พอทำได้เพื่อให้มีบุตรสืบสกุลเพราะขณะนั้นยังไม่มีการบัญญัติวินัยห้ามเสพเมถุน แต่ภายหลังพระสุทินนะเกิดความไม่สบายใจ คิดมากจนซูบผอม ภิกษุทั้งหลายถาม เมื่อทราบความจึงพากันตำหนิติเตียนและนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ห้ามภิกษุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด

    เบื้องหลังหรือที่มาของศีล 5

    ข้อห้ามในศีล 5 หรือวินัยต่าง ๆ นั้น โดยมากพระพุทธเจ้ามิได้ทรงคิดห้ามเองซึ่งเบื้องหลังของศีล 5 นั้นถูกตั้งขึ้นโดยมีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่

    (1) ต้องมีใครทำอะไรที่เป็นต้นบัญญัติ

    (2) แล้วไม่ดีไม่งาม

    (3) มีผ��¸¹à¹‰à¸•à¸´à¹€à¸•à¸µà¸¢à¸™

    (4) พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามเป็นคราว ๆ ไป คือห้ามตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิใช่ทรงคิดห้ามเองโดยไม่มีเหตุเกิดขึ้น

    (5) ข้อห้ามเหล่านั้นจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายบ้านเมืองในขณะนั้นด้วย ซึ่งอาจมีการเพิ่มเติมหรือยกเลิกภายหลังได้

    สรุป

    1. เมื่อเข้าใจที่มาที่ไปของศีล 5 แล้วก็จะทราบว่า ศีล 5 นั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้คนที่ทำผิดนั้นกลับสู่ภาวะปกตินั่นเอง

    2. สำหรับคนที่ผิดปกติ (ทำผิด) ศีลมีไว้ให้รักษา

    3. สำหรับคนที่ปกติ (ไม่ได้ทำผิด) ศีลมีไว้ให้ละ เพราะไม่ได้มีผลอะไรโดยตรงสำหรับเขา ดังนั้น คนที่ไม่ได้ทำผิดข้อใดข้อหนึ่งเลย แต่ไปถือรักษาข้อใดข้อหนึ่งอย่างเคร่งครัด (ยึดมั่นถือมั่น) แสดงว่ายังไม่เข้าใจว่า "ศีลมีไว้ทำไม?"

  • 10 ปี ที่ผ่านมา

    เหตุผลที่แท้จริงก็คงมีแต่พุทธองค์ท่านหรือบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายในองค์ประชุมครั้นเมื่อมีการชำระศิลศาสนครั้งโน้นนนนนนนนนนนนน.......ครับ

    แต่ถ้าตอบด้วยการหลับตาแล้วมองไปเมื่อครั้งโน้นนนนนนนนนน ผมมั่นใจว่าเหตุผลแท้จริงของกฎข้อห้ามดังกล่าวคือ เพื่อไม่ให้ บุรุษเพศผู้ต้องก้าวเข้าสู่บรรพชิตนั้นไม่วอกแวกและมีสิ่งใดกวนจิตใจครับ ทั้งนี้เป็นที่ทราบดีว่า สตรีเพศนั้น น่ารักอ่อนโยน และล้วนแต่มีเสน่ห์ในตัวเองทั้งนั้น

    ดังเราจะเห็นว่า หนุ่มๆอกสามกลีบ ยัน อกสามแท่ง มักจะมีเหตุทำให้หลุดไปสู่ข้อผิดศิลอื่นๆเมื่อต้องพบสตรี อาทิ

    สตรีแฟนทิ้ง บุรุษเพศ เมาหมาาาาา อันนี้ก็ สุราเมระยะฯ

    สตรีแฟนทำแต่งาน ๆๆๆ บุรุษเพศ ก็หานรกขุมใหม่โดยอ้าง"ก็มูมู่ไม่มีเวลาให้มีมี่" อันนี้ก็กาเมฯ

    สตรีแฟนหน้าตีเกินวัยรุ่นปากซอยมองนิดนึง บุรุษเพศลุแก่โทสะ เดินเข้าไปถาม แต่เพื่อนดันฝากมีดปักช่องท้องกลับมา เลยโทรเรียกเพื่อน เอาปืนมายิงกราดดะ ไม่เว้นแม้แต่ป้ามาคอยเดินรับลูกกลับบ้านที่ป้ายรถเมล์ อันนี้ก็ ปาณาติปาตาฯ

    ยังมีอีกที่สตรีเพศทำให้ชายใหวหวั่น สั่นคลอนหัวใจ พุทธองค์ทรงมีพระเนตรอัลตราวิชั่น ก็เลย

    ตัตสตรีเพศต้องไม่อยู่ในจิตใจแก่ผู้ต้องบวชเป็นภิกษุในร่มแห่งความรื่นเย็นของพุทธศาสนา

    ครับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้